การทำความเข้าใจสภาวะการณ์ทางการเมืองในอียิปต์ไม่สามารถทำได้ หากไม่ทำความเข้าใจความเป็นมา แนวความคิด และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังองค์กรจัดตั้งที่รู้จักกันในชื่อ “ขบวนการภราดรภาพมุสลิม”
ภราดรภาพมุสลิม หรือ มุสลิม บราเธอร์ฮูด มูฟเมนต์ (เอ็มบีเอ็ม) เรียกขานกันในภาษาอารบิกว่า “อิกห์วาน อัล มุสลีมัน” ไม่ได้ถือกำเนิดเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ตรงกันข้ามเอ็มบีเอ็มเกิดขึ้นในฐานะเป็นองค์กรขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อสังคมมุสลิมและพี่น้องชาวมุสลิม
เอ็มบีเอ็มไม่ใช่ขบวนการใหม่ ไม่ได้เกิดขึ้นในทศวรรษนี้ หากแต่มีความเป็นมายาวนาน นานขนาดที่สามารถเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่เก่าแก่ที่สุด และใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ และเป็นหนึ่งในขบวนการที่ทรงอิทธิพลและแรงบันดาลใจมากที่สุดในบรรดาขบวนการทั้งหลายในโลกมุสลิมในศตวรรษที่ 20
เอ็มบีเอ็มที่มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 85 ปีแล้ว คือต้นแบบของขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมในสังคมมุสลิมทั่วโลก ที่ผสมผสานการขับเคลื่อนในทางสังคม การดำเนินงานเพื่อการกุศล เข้ากับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ภราดรภาพมุสลิม ก่อตั้งในอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ.1928 ในห้วงเวลาที่ประเทศนี้ยังคงตกเป็นดินแดนใต้การปกครองของชาตินักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ
ผู้ก่อตั้งคือ ชีค ฮัสซัน อาเหม็ด อับเดล ราห์มาน มูฮัมเหม็ด อัล บานนา เรียกกันสั้นๆ ทั่วไปว่า ฮัสซัน อัล บานนา ซึ่งถือกันว่า เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณคนแรกของขบวนการอัล บานนา เกิดในครอบครัวปัญญาชนมุสลิมในมูห์มาดิยา พื้นที่ยากจนทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงไคโร ชีค อาหมัด อัล ซาตี ผู้เป็นบิดา เป็นอิหม่ามและครูสอนศาสนาในนิกายฮันบาลีประจำมัสยิดที่นั่น พี่น้องอัล บานนา ทั้ง ฮัสซัน และ กามาล จึงถูกเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาอยู่ในกรอบของศาสนาอย่างเคร่งครัด ยึดถือค่านิยมต่างๆ ตามคติของศาสนาอิสลามอย่างแนบแน่น
ภราดรภาพมุสลิมเดิมทีถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนศาสนาอิสลามให้แพร่หลาย ในเวลาเดียวกันก็ให้น้ำหนักไปที่การอุทิศตนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของ “พี่น้อง” อิสลามทั้งมวล แต่ในไม่ช้าไม่นานเอ็มบีเอ็มก็ต้องเคลื่อนไหวทางการเมืองควบคู่กันไปด้วย
เมื่อแหล่งที่มาของความไม่เป็นธรรม และความเดือดร้อนในสังคมยุคนั้น เกิดขึ้นจากอิทธิพลของเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมจึงเป็นการผลักดันอังกฤษออกไปให้พ้นจากการครอบงำอียิปต์ และ “ชำระล้าง” อิทธิพลตะวันตกทั้งมวลในสังคมให้หมดไปด้วย
เนื่องเพราะการดำเนินงานหลักประการหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมเป็นการให้ความช่วยเหลือต่อพี่น้องมุสลิม องค์กรของขบวนการที่อัล บานนา จัดตั้งขึ้นจึงได้รับการยอมรับและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ราวทศวรรษ 1940 ภราดรภาพมุสลิมกระจายตัวออกไปทั่วอียิปต์ มีการจัดตั้งสาขาของขบวนการขึ้นทั่วประเทศ แต่ละสาขาต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ หนึ่งคือ มัสยิด เพื่อประกอบพิธีการทางศาสนา หนึ่งคือ โรงเรียนเพื่ออำนวยให้เกิดการศึกษา สุดท้ายต้องมีสโมสรเพื่อการกีฬาและออกกำลังกาย
เพียง 10 ปีเศษ จำนวนสมาชิกของขบวนการภราดรภาพมุสลิมเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน แนวความคิดนี้แพร่หลายได้รับความชื่นชมไปทั่วโลกอาหรับ
ในทางการเมือง ภราดรภาพมุสลิมประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่า สนับสนุน “หลักการ” ต่างๆ ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมขบวนการนี้ก็กำหนด “เป้าหมาย” ของตัวเองขึ้นไว้จำนวนหนึ่งเช่นเดียวกัน
หนึ่งในจำนวน “เป้าหมาย” หลักของภราดรภาพมุสลิมคือ การรังสรรค์ “รัฐ” ที่ปกครองโดย “ชาเรีย” หรือกฎหมายอิสลามขึ้น คำขวัญที่มีชื่อเสียงที่สุด โด่งดังที่สุดในยุคนั้นของภราดรภาพมุสลิมที่ต่อมาถูกหยิบยืมมาใช้กันทั่วโลกมุสลิมก็คือ
ในยามที่ขบวนการถูกขับเคลื่อนขยายตัวออกไปทั่วประเทศ อัล บานนา เริ่มก่อตั้งกลุ่มติดอาวุธของขบวนการขึ้นมาด้วย เพื่อให้ช่วยทำหน้าที่เป็น “เครื่องมือพิเศษ” ในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองนั่นคือ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกู้ชาติอียิปต์ ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
“เครื่องมือพิเศษ” ของภราดรภาพมุสลิมเคลื่อนไหวอย่างปกปิดเป็นส่วนใหญ่เพื่อก่อกวนทำลายผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม ด้วยวิธีการอย่าง “ลอบวางระเบิด” และ “ลอบสังหาร”
ปลายปี 1948 เกิดคดีลอบวางระเบิด ทำลายผลประโยชน์ของอังกฤษและยิวในอียิปต์ขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลอียิปต์ภายใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคม ประกาศ ให้ภราดรภาพมุสลิมเป็นขบวนการนอกกฎหมาย ไม่นานหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี มาห์มูด อัล นูคราชี ก็ถูกลอบสังหาร
ฮัสซัน อัล บานนา ในฐานะผู้นำขบวนการเอ็มบีเอ็มออกแถลงการณ์ประณามการลอบสังหารดังกล่าว แต่จนแล้วจนรอดก็หนีไม่พ้นตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าสั่งการ ไม่นานให้หลัง อัล บานนา ก็ถูกมือปืนลึกลับผู้หนึ่งยิงเสียชีวิต เชื่อกันว่า เป็นการลงมือของหน่วยสืบราชการลับในเวลานั้น
ขบวนการภราดรภาพมุสลิมไม่ได้ตายไปพร้อมกับการเสียชีวิตของฮัสซัน อัล บานนา ผู้ก่อตั้งเพราะแม้ไม่สามารถขยายตัวอย่างเปิดเผย ยังคงดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องต่อไปภายใต้การปกครองที่กำกับโดยอังกฤษ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลักๆ ในอียิปต์ กลับตกอยู่ในมือของกลุ่มทหาร โดยเฉพาะบรรดานายทหารรุ่นใหม่ของประเทศ ที่รวมตัวกันขึ้นเป็นขบวนการ “ทหารหนุ่ม” ใช้ชื่อเรียกขบวนการของตัวเองว่า “ขบวนการทหารเสรี-เดอะ ฟรี ออฟฟิซเซอร์” ที่คลี่คลายขยายตัวมาจาก “สมาคมทหารเสรี” ก่อนหน้านั้น
22 กรกฎาคม ปี 1952 เดอะ ฟรี ออฟฟิซเซอร์ ก่อการรัฐประหาร ยุติการปกครองแบบในอียิปต์ พร้อมๆ ไปกับการยุติการปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ผู้วางแผนก่อรัฐประหารในครั้งนั้นคือ นายทหารหนุ่มจากเมืองอเล็กซานเดรีย ยศพันโทที่ชื่อ กามาล อับเดล นัสเซอร์ ฮุสเซน ที่รู้จักกันไปทั่วโลกหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอียิปต์ ในชื่อ กามาล อับเดล นัสเซอร์
ที่น่าสนใจก็คือ ในกระบวนการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐ เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น ภราดรภาพมุสลิมเองก็มีบทบาทร่วมอยู่ด้วยในฐานะเป็นผู้ให้การสนับสนุน นายทหารที่ทำหน้าที่เป็น “โซ่ข้อกลาง” ระหว่าง “ฟรี ออฟฟิซเซอร์” กับ ภราดรภาพมุสลิมในห้วงเวลาสำคัญตอนนั้นชื่อ อันวาร์ อัล ซาดัต ผู้ที่กลายเป็นประธานาธิบดีอียิปต์ในปี 1970 นั่นเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลใหม่ของอียิปต์ที่นำโดยคณะทหารกับ ภราดรภาพมุสลิมในช่วงเริ่มแรกจึงเป็นไปด้วยดี ในทิศทางของถ้อยทีถ้อยอาศัยและร่วมมือซึ่งกันและกัน แต่ยิ่งนับวันความร่วมมือยิ่งถดถอย การแตกแยกทางความคิดและแนวทาง ยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทุกที
พลเอก มูฮัมเหม็ด นากิบ “เจ้านาย” ที่ถูกนัสเซอร์เชิดขึ้นเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกได้เพียงไม่ช้าไม่นานก็เกิดแตกคอกับนัสเซอร์ และถูกนายทหารใต้บังคับบัญชาบีบพ้นตำแหน่งในปี 1954
ภราดรภาพมุสลิมฉกฉวยภาวะปั่นป่วนวุ่นวายพยายามยึดอำนาจด้วยการวางแผนลอบสังหารประธานาธิบดีนัสเซอร์ที่เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่ง แต่ล้มเหลว
เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เพียงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการทหารกับขบวนการทางศาสนาอย่างภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์กลายเป็นสองขั้วที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้เด็ดขาดเท่านั้น ยังส่งผลเปลี่ยนแปลงแนวทางของภราดรภาพมุสลิมไปอีกด้านอย่างชัดเจน
เปลี่ยนแปลงผ่านแนวคิดที่เผยแพร่ผ่านหนังสือของนักคิดนักเขียนผู้หนึ่งของ ภราดรภาพมุสลิม ชื่อ “เซยิด คุทต้าบ”
“เซยิด คุทต้าบ” เป็นกวี เป็นนักเขียน เป็นนักการศึกษา เป็น “นักทฤษฎี” ของศาสนาอิสลามและที่แน่นอนเป็นสมาชิกระดับแกนนำของภราดรภาพมุสลิม คุทต้าบถูกกล่าวหาจากรัฐบาลของนัสเซอร์ว่า เป็นผู้วางแผนลอบสังหารในครั้งนั้น
คุทต้าบเขียนหนังสือรวมทั้งสิ้น 24 เรื่อง มีทั้งที่เป็นนิยาย เป็นบทกวี เป็นความเรียงวรรณศิลป์ และที่เป็นบทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ว่ากันว่าทรรศนะของคุทต้าบหลากหลายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม สารัตถะที่สะท้อนออกมาชัดเจนและส่งอิทธิพลมาจนถึงทุกวันนี้คือ ทรรศนะต่อต้านค่านิยมและวัฒนธรรมตามแบบสังคมตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาที่เขาเห็นว่าหลงใหลในวัตถุแบบไม่ลืมหูลืมตา เต็มไปด้วยความรุนแรงในสารพัดรูปแบบ และแสวงหาความพึงพอใจทางเพศแบบไม่ยับยั้ง
สิ่งที่สะท้อนออกมาที่น่าสนใจอีกประการในงานเขียนของคุทต้าบคือ การสนับสนุนส่งเสริมให้มุสลิมใช้ “จีฮัด” (การต่อสู้ ดิ้นรน) ต่อบรรดาสังคมแห่ง “จาฮิลี” (ผู้ละเลยไม่สนใจ) ในทรรศนะของคุทต้าบสังคมทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมในแบบฉบับตะวันตก หรือสังคมตามแบบฉบับอิสลาม (ในเวลานั้น) จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนรูป แปลงโฉมครั้งใหญ่อย่างรุนแรง เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า
งานเขียนชิ้นสำคัญ 2 ชิ้นของเซยิด คุทต้าบ คือ “มาลิม ฟี อัล ทาริก” (ไมล์สโตน) ที่เป็นการบอกเล่าถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่าจะเป็นบทบาทของอิสลามทั้งในทางการเมืองและทางสังคมในอนาคต กับ “ฟี ไซลัล อัลกุรอ่าน” (ในร่มเงาแห่งอัล กุรอ่าน) ความเรียงแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาในคัมภีร์อัลกุรอ่านที่เขียนต่อเนื่องยาวถึง 30 เล่ม
ผู้ที่ชื่นชมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกมุสลิมยึดถือ คุทต้าบเป็นนักคิดและเป็นผู้พลีชีพเพื่ออิสลามคนสำคัญคนหนึ่ง ผู้ที่ไม่เห็นด้วยในโลกตะวันตกเชื่อว่า นักคิดอย่างคุทต้าบเป็น “ต้นแบบ” และเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้เกิดขบวนการมุสลิมสุดโต่งขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อิสลามิก จีฮัด” และ “อัลเคด้า”
ในปี 1965 รัฐบาลอียิปต์ตัดสินใจกวาดล้างขบวนการภราดรภาพมุสลิม จับกุมคนอย่างเซยิด คุทต้าบ ส่งขึ้นศาลพิจารณาคดี แล้วตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
เมื่อปี 1966 ภราดรภาพมุสลิมกลายเป็นขบวนการใต้ดินสมบูรณ์แบบในอียิปต์มานับแต่บัดนั้น
ในราวทศวรรษ 1980 ภราดรภาพมุสลิมพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ภายใต้ความร่วมมือกับพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างพรรควอฟัด ในปี 1984 และกับพรรคแรงงานและเสรีนิยมในปี 1987
แต่ความสำเร็จในทางการเมืองในอีก 5 ปีต่อมา ที่พรรคที่ร่วมมือกับภราดรภาพมุสลิม กับผู้สมัครอิสระของขบวนการ สามารถได้ที่นั่งในสภาประชาชน (สภาล่าง) ของอียิปต์ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 1992 สร้างความแตกตื่นให้กับ ฮอสนี่ มูบารัก ประธานาธิบดีในเวลานั้นอย่างยิ่ง
และเป็นที่มาของการ “ปฏิรูป” กฎหมายครั้งใหญ่ในอียิปต์ เพื่อ “ขจัด” ภราดรภาพมุสลิมออกไปให้ได้ ตั้งแต่การแก้รัฐธรรมนูญ ห้ามองค์กรใดๆ ที่มีภูมิหลังหรือพื้นฐานทางศาสนาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แก้กฎหมายห้ามผู้สมัครอิสระลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย กฎหมายความมั่นคง จัดการกับสมาชิกเอ็มบีเอ็มอย่างต่อเนื่อง
พรรคฟรีดอม แอนด์ จัสทิซ ภายใต้การนำของ โมฮัมเหม็ด มอร์ซี คือพรรคการเมืองของภราดรภาพมุสลิมที่ประสบความสำเร็จทางการเมืองสูงสุด ได้ที่นั่งในสภาประชาชน เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ในสภาชูรา (สภาสูง) อีกราว 50 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน
น่าเสียดายที่ 85 ปี ผ่านไป ภราดรภาพมุสลิมก็ยังไม่สรุปบทเรียนของตนเอง ไม่ประนีประนอม ไม่ยินยอมเปิดทางให้ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งของสังคมได้มีส่วนกับประชาธิปไตยที่ร่วมกันต่อสู้จนได้มา ไม่ยินยอมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการกำหนดอนาคตของอียิปต์
ภราดรภาพมุสลิม หรือ มุสลิม บราเธอร์ฮูด มูฟเมนต์ (เอ็มบีเอ็ม) เรียกขานกันในภาษาอารบิกว่า “อิกห์วาน อัล มุสลีมัน” ไม่ได้ถือกำเนิดเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ตรงกันข้ามเอ็มบีเอ็มเกิดขึ้นในฐานะเป็นองค์กรขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อสังคมมุสลิมและพี่น้องชาวมุสลิม
ชีค ฮัสซัน อาเหม็ด อับเดล ราห์มาน มูฮัมเหม็ด อัล บานนา
เอ็มบีเอ็มไม่ใช่ขบวนการใหม่ ไม่ได้เกิดขึ้นในทศวรรษนี้ หากแต่มีความเป็นมายาวนาน นานขนาดที่สามารถเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่เก่าแก่ที่สุด และใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ และเป็นหนึ่งในขบวนการที่ทรงอิทธิพลและแรงบันดาลใจมากที่สุดในบรรดาขบวนการทั้งหลายในโลกมุสลิมในศตวรรษที่ 20
เอ็มบีเอ็มที่มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 85 ปีแล้ว คือต้นแบบของขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมในสังคมมุสลิมทั่วโลก ที่ผสมผสานการขับเคลื่อนในทางสังคม การดำเนินงานเพื่อการกุศล เข้ากับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ภราดรภาพมุสลิม ก่อตั้งในอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ.1928 ในห้วงเวลาที่ประเทศนี้ยังคงตกเป็นดินแดนใต้การปกครองของชาตินักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ
ผู้ก่อตั้งคือ ชีค ฮัสซัน อาเหม็ด อับเดล ราห์มาน มูฮัมเหม็ด อัล บานนา เรียกกันสั้นๆ ทั่วไปว่า ฮัสซัน อัล บานนา ซึ่งถือกันว่า เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณคนแรกของขบวนการอัล บานนา เกิดในครอบครัวปัญญาชนมุสลิมในมูห์มาดิยา พื้นที่ยากจนทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงไคโร ชีค อาหมัด อัล ซาตี ผู้เป็นบิดา เป็นอิหม่ามและครูสอนศาสนาในนิกายฮันบาลีประจำมัสยิดที่นั่น พี่น้องอัล บานนา ทั้ง ฮัสซัน และ กามาล จึงถูกเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาอยู่ในกรอบของศาสนาอย่างเคร่งครัด ยึดถือค่านิยมต่างๆ ตามคติของศาสนาอิสลามอย่างแนบแน่น
ภราดรภาพมุสลิมเดิมทีถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนศาสนาอิสลามให้แพร่หลาย ในเวลาเดียวกันก็ให้น้ำหนักไปที่การอุทิศตนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของ “พี่น้อง” อิสลามทั้งมวล แต่ในไม่ช้าไม่นานเอ็มบีเอ็มก็ต้องเคลื่อนไหวทางการเมืองควบคู่กันไปด้วย
เมื่อแหล่งที่มาของความไม่เป็นธรรม และความเดือดร้อนในสังคมยุคนั้น เกิดขึ้นจากอิทธิพลของเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมจึงเป็นการผลักดันอังกฤษออกไปให้พ้นจากการครอบงำอียิปต์ และ “ชำระล้าง” อิทธิพลตะวันตกทั้งมวลในสังคมให้หมดไปด้วย
เนื่องเพราะการดำเนินงานหลักประการหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมเป็นการให้ความช่วยเหลือต่อพี่น้องมุสลิม องค์กรของขบวนการที่อัล บานนา จัดตั้งขึ้นจึงได้รับการยอมรับและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ราวทศวรรษ 1940 ภราดรภาพมุสลิมกระจายตัวออกไปทั่วอียิปต์ มีการจัดตั้งสาขาของขบวนการขึ้นทั่วประเทศ แต่ละสาขาต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ หนึ่งคือ มัสยิด เพื่อประกอบพิธีการทางศาสนา หนึ่งคือ โรงเรียนเพื่ออำนวยให้เกิดการศึกษา สุดท้ายต้องมีสโมสรเพื่อการกีฬาและออกกำลังกาย
เพียง 10 ปีเศษ จำนวนสมาชิกของขบวนการภราดรภาพมุสลิมเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน แนวความคิดนี้แพร่หลายได้รับความชื่นชมไปทั่วโลกอาหรับ
ในทางการเมือง ภราดรภาพมุสลิมประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่า สนับสนุน “หลักการ” ต่างๆ ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมขบวนการนี้ก็กำหนด “เป้าหมาย” ของตัวเองขึ้นไว้จำนวนหนึ่งเช่นเดียวกัน
หนึ่งในจำนวน “เป้าหมาย” หลักของภราดรภาพมุสลิมคือ การรังสรรค์ “รัฐ” ที่ปกครองโดย “ชาเรีย” หรือกฎหมายอิสลามขึ้น คำขวัญที่มีชื่อเสียงที่สุด โด่งดังที่สุดในยุคนั้นของภราดรภาพมุสลิมที่ต่อมาถูกหยิบยืมมาใช้กันทั่วโลกมุสลิมก็คือ
“อิสลาม อิส เดอะ โซลูชั่น” อิสลามคือทางออกประการเดียวเท่านั้น!
ในยามที่ขบวนการถูกขับเคลื่อนขยายตัวออกไปทั่วประเทศ อัล บานนา เริ่มก่อตั้งกลุ่มติดอาวุธของขบวนการขึ้นมาด้วย เพื่อให้ช่วยทำหน้าที่เป็น “เครื่องมือพิเศษ” ในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองนั่นคือ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกู้ชาติอียิปต์ ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
“เครื่องมือพิเศษ” ของภราดรภาพมุสลิมเคลื่อนไหวอย่างปกปิดเป็นส่วนใหญ่เพื่อก่อกวนทำลายผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม ด้วยวิธีการอย่าง “ลอบวางระเบิด” และ “ลอบสังหาร”
ปลายปี 1948 เกิดคดีลอบวางระเบิด ทำลายผลประโยชน์ของอังกฤษและยิวในอียิปต์ขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลอียิปต์ภายใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคม ประกาศ ให้ภราดรภาพมุสลิมเป็นขบวนการนอกกฎหมาย ไม่นานหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี มาห์มูด อัล นูคราชี ก็ถูกลอบสังหาร
ฮัสซัน อัล บานนา ในฐานะผู้นำขบวนการเอ็มบีเอ็มออกแถลงการณ์ประณามการลอบสังหารดังกล่าว แต่จนแล้วจนรอดก็หนีไม่พ้นตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าสั่งการ ไม่นานให้หลัง อัล บานนา ก็ถูกมือปืนลึกลับผู้หนึ่งยิงเสียชีวิต เชื่อกันว่า เป็นการลงมือของหน่วยสืบราชการลับในเวลานั้น
ขบวนการภราดรภาพมุสลิมไม่ได้ตายไปพร้อมกับการเสียชีวิตของฮัสซัน อัล บานนา ผู้ก่อตั้งเพราะแม้ไม่สามารถขยายตัวอย่างเปิดเผย ยังคงดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องต่อไปภายใต้การปกครองที่กำกับโดยอังกฤษ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลักๆ ในอียิปต์ กลับตกอยู่ในมือของกลุ่มทหาร โดยเฉพาะบรรดานายทหารรุ่นใหม่ของประเทศ ที่รวมตัวกันขึ้นเป็นขบวนการ “ทหารหนุ่ม” ใช้ชื่อเรียกขบวนการของตัวเองว่า “ขบวนการทหารเสรี-เดอะ ฟรี ออฟฟิซเซอร์” ที่คลี่คลายขยายตัวมาจาก “สมาคมทหารเสรี” ก่อนหน้านั้น
กามาล อับเดล นัสเซอร์ ฮุสเซน
ที่น่าสนใจก็คือ ในกระบวนการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐ เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น ภราดรภาพมุสลิมเองก็มีบทบาทร่วมอยู่ด้วยในฐานะเป็นผู้ให้การสนับสนุน นายทหารที่ทำหน้าที่เป็น “โซ่ข้อกลาง” ระหว่าง “ฟรี ออฟฟิซเซอร์” กับ ภราดรภาพมุสลิมในห้วงเวลาสำคัญตอนนั้นชื่อ อันวาร์ อัล ซาดัต ผู้ที่กลายเป็นประธานาธิบดีอียิปต์ในปี 1970 นั่นเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลใหม่ของอียิปต์ที่นำโดยคณะทหารกับ ภราดรภาพมุสลิมในช่วงเริ่มแรกจึงเป็นไปด้วยดี ในทิศทางของถ้อยทีถ้อยอาศัยและร่วมมือซึ่งกันและกัน แต่ยิ่งนับวันความร่วมมือยิ่งถดถอย การแตกแยกทางความคิดและแนวทาง ยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทุกที
พลเอก มูฮัมเหม็ด นากิบ “เจ้านาย” ที่ถูกนัสเซอร์เชิดขึ้นเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกได้เพียงไม่ช้าไม่นานก็เกิดแตกคอกับนัสเซอร์ และถูกนายทหารใต้บังคับบัญชาบีบพ้นตำแหน่งในปี 1954
ภราดรภาพมุสลิมฉกฉวยภาวะปั่นป่วนวุ่นวายพยายามยึดอำนาจด้วยการวางแผนลอบสังหารประธานาธิบดีนัสเซอร์ที่เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่ง แต่ล้มเหลว
เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เพียงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการทหารกับขบวนการทางศาสนาอย่างภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์กลายเป็นสองขั้วที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้เด็ดขาดเท่านั้น ยังส่งผลเปลี่ยนแปลงแนวทางของภราดรภาพมุสลิมไปอีกด้านอย่างชัดเจน
เปลี่ยนแปลงผ่านแนวคิดที่เผยแพร่ผ่านหนังสือของนักคิดนักเขียนผู้หนึ่งของ ภราดรภาพมุสลิม ชื่อ “เซยิด คุทต้าบ”
“เซยิด คุทต้าบ” เป็นกวี เป็นนักเขียน เป็นนักการศึกษา เป็น “นักทฤษฎี” ของศาสนาอิสลามและที่แน่นอนเป็นสมาชิกระดับแกนนำของภราดรภาพมุสลิม คุทต้าบถูกกล่าวหาจากรัฐบาลของนัสเซอร์ว่า เป็นผู้วางแผนลอบสังหารในครั้งนั้น
คุทต้าบเขียนหนังสือรวมทั้งสิ้น 24 เรื่อง มีทั้งที่เป็นนิยาย เป็นบทกวี เป็นความเรียงวรรณศิลป์ และที่เป็นบทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ว่ากันว่าทรรศนะของคุทต้าบหลากหลายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม สารัตถะที่สะท้อนออกมาชัดเจนและส่งอิทธิพลมาจนถึงทุกวันนี้คือ ทรรศนะต่อต้านค่านิยมและวัฒนธรรมตามแบบสังคมตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาที่เขาเห็นว่าหลงใหลในวัตถุแบบไม่ลืมหูลืมตา เต็มไปด้วยความรุนแรงในสารพัดรูปแบบ และแสวงหาความพึงพอใจทางเพศแบบไม่ยับยั้ง
สิ่งที่สะท้อนออกมาที่น่าสนใจอีกประการในงานเขียนของคุทต้าบคือ การสนับสนุนส่งเสริมให้มุสลิมใช้ “จีฮัด” (การต่อสู้ ดิ้นรน) ต่อบรรดาสังคมแห่ง “จาฮิลี” (ผู้ละเลยไม่สนใจ) ในทรรศนะของคุทต้าบสังคมทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมในแบบฉบับตะวันตก หรือสังคมตามแบบฉบับอิสลาม (ในเวลานั้น) จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนรูป แปลงโฉมครั้งใหญ่อย่างรุนแรง เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า
งานเขียนชิ้นสำคัญ 2 ชิ้นของเซยิด คุทต้าบ คือ “มาลิม ฟี อัล ทาริก” (ไมล์สโตน) ที่เป็นการบอกเล่าถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่าจะเป็นบทบาทของอิสลามทั้งในทางการเมืองและทางสังคมในอนาคต กับ “ฟี ไซลัล อัลกุรอ่าน” (ในร่มเงาแห่งอัล กุรอ่าน) ความเรียงแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาในคัมภีร์อัลกุรอ่านที่เขียนต่อเนื่องยาวถึง 30 เล่ม
ผู้ที่ชื่นชมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกมุสลิมยึดถือ คุทต้าบเป็นนักคิดและเป็นผู้พลีชีพเพื่ออิสลามคนสำคัญคนหนึ่ง ผู้ที่ไม่เห็นด้วยในโลกตะวันตกเชื่อว่า นักคิดอย่างคุทต้าบเป็น “ต้นแบบ” และเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้เกิดขบวนการมุสลิมสุดโต่งขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อิสลามิก จีฮัด” และ “อัลเคด้า”
ในปี 1965 รัฐบาลอียิปต์ตัดสินใจกวาดล้างขบวนการภราดรภาพมุสลิม จับกุมคนอย่างเซยิด คุทต้าบ ส่งขึ้นศาลพิจารณาคดี แล้วตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
เมื่อปี 1966 ภราดรภาพมุสลิมกลายเป็นขบวนการใต้ดินสมบูรณ์แบบในอียิปต์มานับแต่บัดนั้น
ในราวทศวรรษ 1980 ภราดรภาพมุสลิมพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ภายใต้ความร่วมมือกับพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างพรรควอฟัด ในปี 1984 และกับพรรคแรงงานและเสรีนิยมในปี 1987
แต่ความสำเร็จในทางการเมืองในอีก 5 ปีต่อมา ที่พรรคที่ร่วมมือกับภราดรภาพมุสลิม กับผู้สมัครอิสระของขบวนการ สามารถได้ที่นั่งในสภาประชาชน (สภาล่าง) ของอียิปต์ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 1992 สร้างความแตกตื่นให้กับ ฮอสนี่ มูบารัก ประธานาธิบดีในเวลานั้นอย่างยิ่ง
และเป็นที่มาของการ “ปฏิรูป” กฎหมายครั้งใหญ่ในอียิปต์ เพื่อ “ขจัด” ภราดรภาพมุสลิมออกไปให้ได้ ตั้งแต่การแก้รัฐธรรมนูญ ห้ามองค์กรใดๆ ที่มีภูมิหลังหรือพื้นฐานทางศาสนาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แก้กฎหมายห้ามผู้สมัครอิสระลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย กฎหมายความมั่นคง จัดการกับสมาชิกเอ็มบีเอ็มอย่างต่อเนื่อง
พรรคฟรีดอม แอนด์ จัสทิซ ภายใต้การนำของ โมฮัมเหม็ด มอร์ซี คือพรรคการเมืองของภราดรภาพมุสลิมที่ประสบความสำเร็จทางการเมืองสูงสุด ได้ที่นั่งในสภาประชาชน เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ในสภาชูรา (สภาสูง) อีกราว 50 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน
น่าเสียดายที่ 85 ปี ผ่านไป ภราดรภาพมุสลิมก็ยังไม่สรุปบทเรียนของตนเอง ไม่ประนีประนอม ไม่ยินยอมเปิดทางให้ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งของสังคมได้มีส่วนกับประชาธิปไตยที่ร่วมกันต่อสู้จนได้มา ไม่ยินยอมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการกำหนดอนาคตของอียิปต์
การครองอำนาจสูงสุดของเอ็มบีเอ็มจึงสั้นอย่างยิ่ง และนองเลือดอย่างยิ่งในเวลาต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น