เหตุการณ์คนร้ายไม่ทราบจำนวนได้ลอบวางเพลิงโรงเรียนในอ.ทุ่งยางแดง จำนวน 5 โรง และอ.มายอ จำนวน 1 โรง เมื่อคืนวันที่12 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น ได้สร้างความเสียหายและหวาดหวั่นอีกครั้ง
จนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องออกมาระบุว่า ต้องยกกรณี"ทุ่งยางแดงโมเดล"เป็นมาตรการกวดขันป้องกันเฝ้าระวังบูรณาการกัน ระหว่างพลเรือนทหารและเจ้าหน้าที่ต่างๆให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงฝ่ายบ้านเมือง โดยสั่งการให้ทุกกระทรวงเร่งเอางบประมาณลงไปในภาคใต้ให้เกิดผลโดยเร็ว ที่ผ่านมาเกิดน้อย เพราะแยกกันทำ ทหารก็ทำส่วนทหาร พลเรือนก็ทำส่วนพลเรือน แต่วันนี้ต้องมาดูแลกันทั้งหมด ได้สั่งคนเดียวต้องเดินตามนี้ และจะเอารูปแบบนี้มาใช้ เพราะไม่เช่นนั้นต่างฝ่ายก็จะเดินในทางของตัวเอง ส่วนการจัดตั้งกองพลทหารราบที่ดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 นั้น ขณะนี้เดินหน้าไปกว่า90%แล้ว เพราะกำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ซึ่งได้สั่งการ ให้แม่ทัพน้อยไปจัดทำเรื่องโครงสร้างในอนาคตจะทำอย่างไร ส่วนแม่ทัพใหญ่ต้องมาคุมเป็นคนสั่งการทั้งหมด เป็นคนรับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งทุกอย่างต้องดีขึ้น ถ้าไม่ดีขึ้นปีหน้าจะมีการตัดงบประมาณ
พล.อ.ประยุทธ์ เน้นย้ำว่าการแก้ปัญหาภาคใต้มีการบูรณาการ แต่ไม่เท่าที่ควร เพราะการบูรณาการคือต้องจัดทำงบประมาณ แผนงานโครงการต้องทำด้วยกัน หากแต่ละหน่วยงานเดินตามกฎหมายที่ตัวเองมีอยู่ โดยมีงบประมาณของตัวเอง แล้วใครจะมาสั่งตรงนี้ วันนี้สั่งหมด ทั้งหมดต้องเดินตาม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาญาจักร เป็นคนชี้เป้าตรงไหนมั่นคง ตรงไหนต้องทำเร่งด่วน ที่ผ่านมาชี้อย่างนี้ไม่มา โดยแม่ทัพภาคที่ 4 จะเป็นคนรับผิดชอบเด็ดขาด เพราะที่ผ่านมาไม่เด็ดขาด ต่างฝ่ายต่างเดินในทางของตัวเอง ทำอย่างนั้นไม่ได้
ตั้ง"พล.อ.อักษรา"หน.ทีมเจรจาสันติสุข
ในขณะที่ทีมพูดคุยสันติสุขนั้นพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ยังยืนยันให้พล.อ.อักษรา เกิดผล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก ทำหน้าที่อยู่ ส่วนกระแสข่าวที่ว่าทางมาเลเซียต้องการให้นายถวิล มาเป็นหัวหน้าชุดพูดคุยเจรจาสันติสุขก็ไม่เป็นความจริง
โดยการพูด คุยสันติสุขทางฝ่ายประเทศมาเลเซีย ยังไม่ได้ประสานติดต่อมา และยังไม่มีกระแสข่าวว่าทางมาเลเซียขอเลื่อนไม่ให้พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางไปเยือนมาเลเซียในขณะนี้ และการไปเยือนต่างประเทศเป็นการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีที่จะไปชี้แจง
สำหรับ คาดหวังการนำ"ทุ่งยางแดงโมเดล" มาใช้แก้ไขปัญหาในพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ต้องทำให้ได้ทุกพื้นที่ เพราะการนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดสันติสุขที่ยั่งยืน หากประชาชนในพื้นที่เข้าใจ ทุกๆศาสนาก็จะอยู่ร่วมกันได้ สำหรับภายหลังจากเกิดเหตุการณ์เผาโรงเรียน 6 แห่งในพื้นที่ยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่แต่ขอความร่วมมือให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
หลังเหตุการณ์การเผาโรงเรียนที่ จ.ปัตตานี ทำให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองตามมาด้วยโดยพล.อ.ประวิตร.ประวิตร ระบุว่ามีการแต่งตั้งนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหัวหน้าคณะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวเพื่อช่วยงาน ด้านความมั่นคง
ยัน"อานูวา ดือราแม"แกนนำอาร์เคเค เผาโรงเรียน
หลัง จาก พล.ท.ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 พร้อมด้วย นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต. และคณะได้เดินทางมาร่วมประชุมกับ นายอำเภอ และผู้กำกับ และปลัดอำเภอ พร้อมบุคลากรทางการศึกษา ในเขตอ.ทุ่งยางแดง และอ.มายอ จ.ปัตตานี ลงพื้นที่กรณีคนร้ายเผาโรงเรียนแล้วนั้น
ข้อสรุปที่ประชุม เชื่อว่าจะเป็นกลุ่มของนายอานูวา ดือราแม แกนนำกลุ่มอาร์เคเคชุดปฏิบัติการอ.ทุ่งยางแดง เพื่อเป็นการตอบโต้เจ้าหน้าที่ที่เข้าปิดล้อม และยึดอาวุธปืนได้ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่บ้านเขาดิน อ.ทุ่งยางแดง และเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรม นายอาหมัด ดือราแม พี่ชายของอานูวา ที่อ.ปะนาเระ เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้ากดดัน เข้าปิดล้อมตรวจค้นในหลายพื้นที่ เพื่อติดตามไล่ล่ กลุ่ม นายอานูวาดังกล่าวแล้ว
ขณะที่พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ย้ำว่าสถานการณ์การเผาโรงเรียน จ.ปัตตานียังสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ยืนยันจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นและหวังให้ผู้ที่มีความเห็นต่างกับรัฐให้ความ ร่วมมือด้วยการเข้ามาพูดคุย แต่ยืนยันจะไม่มีการแบ่งแยกดินแดนอย่างแน่นอน
"เชื่อ ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการตอบโต้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อสร้างสถานการณ์ เนื่องจากก่อนหน้านั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้จับกุมแกนนำของผู้ก่อความไม่สงบพร้อมกับอาวุธได้ใน พื้นที่"
ครู-นร.ร้องโฮ!ขอพื้นที่ให้เด็ก
นาย ปรีชา ยาชะรัด ผอ.โรงเรียนบ้านมะนังยง หนึ่งในโรงเรียนที่ถูกเผาทำลาย บอกว่าเสียใจที่ไม่สามารถปกป้องโรงเรียนไว้ได้ ทำให้นักเรียนไม่มีที่เรียนหนังสือเหมือนโรงเรียนในพื้นที่อื่นๆทั้งที่ กำลังจะเปิดการศึกษาและที่ผ่านมา มีการเตรียมจัดแผนการเรียนการสอน แต่สุดท้ายอุปกรณ์การเรียน สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์ต่างๆถูกเผาทำลายเสียหายทั้งหมด
" ผมไม่คิดว่าโรงเรียนจะ เป็นเป้าหมายที่ถูกทำลาย เพราะโรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้เด็กๆให้มีความทัดเทียมกับภูมิภา คอื่นๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ทำให้ตระหนักมากขึ้นว่าทุกคนต้องร่วมกันปกป้อง โรงเรียนของเรา อย่าให้มีใครมาเผาได้อีก และวอนขอผู้ที่กระทำในครั้งนี้ให้หยุด อย่าได้ทำลายโรงเรียนของเราอีก ขอให้เป็นที่ปลอดภัยสำหรับลูกหลานด้วย"
ขณะที่นางซาฮีเม๊าะ เล๊ะนุ๊ ครูโรงเรียนบ้านเขาดิน ยอมรับว่า โรงเรียนบ้านเขาดินเป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลชุมชนและอยู่ในจุดที่ห่างไกล ที่สุดในจำนวนโรงเรียนที่ถูกเผาครั้งนี้ และเป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุขึ้นกับโรงเรียน สร้างความเสียใจแก่ครู และผู้ปกครองอย่างมาก เนื่องจากโรงเรียนได้พัฒนาศักยภาพทั้งการศึกษา สภาพพื้นที่จนก้าวไปอยู่ในจุดที่ใกล้จะทัดเทียมโรงเรียนอื่นๆในพื้นที่ จนเป็นที่ยอมรับแต่สุดท้ายทุกอย่างถูกเผาทำลายไปกับกองเพลิง
"เสียใจ มากเพราะสิ่งที่เราสร้างกันมาไม่ได้ง่ายเลย แต่กลับพังหายไปเพียงไม่กี่ชั่วโมงและที่สำคัญเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็น ครั้งแรก ซึ่งแทบไม่มีเหตุผลใดที่มาทำกับโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้นมาซึ่งถือว่าสาหัสมาก ที่ผ่านมาเราเผชิญปัญหาเรื่องน้ำท่วม ทุกปี เราไม่มีท้อเพราะมีมาตรการเตรียมพร้อม เพื่อลดความเสียหายแต่สำหรับครั้งนี้เป็นความสูญเสียที่ไม่ใช่แค่อาคารเรียน แต่เป็นสภาพจิตใจทั้งครูและนักเรียน"
การเผาโรงเรียนจ.ปัตตานีเป็น ความสูญเสียครั้งใหญ่หลวงอีกครั้งกับเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ ก่อนที่ขบวนการเจรจาสันติภาพจะเกิดขึ้นระหว่างไทยกับมาเลเซีย
หวังว่า"สันติสุข"จะเกิดขึ้นได้จริงในแดนดินแห่งนี้ก่อนที่การสูญเสียเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น