นานมาแล้วตั้งแค่ยุคหิน มีผู้คนอาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ (แหลมทองอินโดจีน หรือคาบสมุทรมลายู) ผู้คนในยุคแรกนี้เกิดขึ้นจากการผสมผสานชาติพันธุ์ระหว่างพวกมองโกลอยด์ (มอญ พม่า ลาว เขมร เวียดนาม) พวกนิกริโต (เซมัง ซาไก ปาปวน) และพวกออสตราลอยด์ (ชวา สุมาตรา บาหลี ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย)
ผู้คนเหล่านี้อยู่ร่วมกันมาเป็นเวลาช้านาน ดังเห็นได้จากเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทิ้งไว้เป็นหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน หรือขวานฟ้า (บาตูลิตา) ทั้งรูปแบบเหลี่ยม ผืนผ้า และแบบมีบ่า พบอยู่ทั่วไปตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศจีน เรื่อยลงมาถึงบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และตลอดปลายแหลมทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่บ้านป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พบขวานหินนี้จำนวนมาก
นอกจากนี้ พระราชกวี หรือท่านเจ้าคุณอ่ำ ธัมมทัตโต วัดโสมนัสราชวรวิหาร ยังกล่าวไว้ในหนังสือ “พุทธศาสตร์สุวัณณภูมิปกรณ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทย”ซึ่งท่านได้ค้นคว้าและรวบรวมประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยจากการอ่านแผ่นกเบื้องจาน (กระเบื้องจาร) พบว่าคนไทยได้อาศัยอยู่ในแหลมทองแห่งนี้มาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล คนไทยสร้างบ้านแปลงเมือง มีการปกครอง มีภาษาหนังสือ และวัฒนธรรมเป็นของตนเองมาเป็นเวลาช้านานแล้ว
พลโทดำเนิร เลขะกุล ได้กล่าวถึงเมืองปัตตานีเก่าว่า ตามแนวชายฝั่งแม่น้ำปัตตานี พบหลักฐานการตั้งชุมชนโบราณเรียงรายกันอยู่หลายแห่ง เช่นที่บ้านเนียง –วัดหน้าถ้ำ ในเขตจังหวัดยะลา พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ในถ้ำในเขตวัดคูหาภิมุข แสดงให้เห็นว่าบริเวณนั้นเคยเป็นที่อยู่ของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์
เมื่อวันเวลาผ่านไป เกิดการอพยพย้ายถิ่น การติดต่อค้าขายกับผู้คนจากภายนอก สภาวะทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งการทำสงครามทำให้ผู้คนในดินแดนแถบนี้มีเลือดผสมผสานระหว่างคนเชื้อชาติต่างๆ ทั้งไทย จีน อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย กรีก โรมัน พม่า มอญ เขมร มลายู เซมัง ซาไก ชาวน้ำ และชนพื้นเมืองต่างๆ จึงน่าจะกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้คนกลุ่มใดในดินแดนแห่งนี้ที่มีสายเลือดบริสุทธิ์จากเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของตน
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย (ไท) มีอยู่หลายทฤษฏีด้วยกัน ในทางวิชาการปัจจุบันเชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณทางตอนใต้ของประเทศจีน และทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย โดยมีแนวคิดจากความคล้ายคลึงของภาษาถิ่น ประเพณี และวัฒนธรรม
นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาคและโบราณคดีไทยยังสนับสนุนทฤษฏีดังกล่าวนี้ โดยการศึกษาเปรียบเทียบมนุษย์สมัยหินที่ได้ทำการขุดค้นพบในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี กับโครงกระดูกคนไทยในปัจจุบัน พบว่ามีความเหมือนกันทุกอย่าง
แต่เดิม ดินแดนที่มีชนชาติไทยอาศัยอยู่ ผู้คนในดินแดนนั้นได้เรียกตนเอง และถูกเรียกจากชนเผ่าอื่นว่า “ชาวเซียม – สยาม – ชาม – ฉาน – ไต – ไท” ส่วนชื่อของแว่นแคว้น รัฐ หรืออาณาจักรจะใช้ชื่อเมืองหลวง หรือราชธานีเป็นสำคัญ เช่น อาณาจักรเงินยางเชียงแสน อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา เป็นต้น
จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ชื่อ “ประเทศสยาม”อย่างเป็นทางการในหนังสือสนธิสัญญาต่างๆ เพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี และการติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตก
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย”ตามแนวคิดชาตินิยม เมื่อ 24มิถุนายน พ.ศ.2482 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเรียกประชาชนและสัญชาติจาก “สยาม”เป็น “ไทย”อันหมายถึงความเป็นอิสระ ไม่เป็นทาส และได้ใช้มาจวบจนถึงปัจจุบัน
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายแห่งกล่าวไว้ว่า ชาวสยามได้มาอยู่บนดินแดนแหลมทองนี้เป็นเวลาช้านานแล้ว ดังเช่นในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์ชิง บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ.2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงส่งราชทูตไปถวายเครื่องบรรณาการ และพระราชสาร์นแด่จักรพรรดิเฉียนหลงฮ่องเต้ เจ้ากรมพิธีการทูตของจีนได้ถวายรายงานเรื่อง “เสียมหลอก๊ก”หรือสยามประเทศนั้นมีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งราชวงศ์สุย (พ.ศ.1124-1161) ราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161-1451)
สมัยนั้นเรียกว่าประเทศเซี้ยะโท้ว หรือ ฉีตู (สันนิฐานว่ามีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองไทรบุรี สงขลา นครศรีธรรมราช หรือเวียงสระที่สุราษฎร์ธานี) พระเจ้าแผนดินเซี้ยะโท้ว นับถือศาสนาพุทธ และมีแซ่เดียวกับพระพุทธเจ้า ชาวเสียมหลอก๊กนั้นเป็นชนชาติเดียวกับชาวฮูหลำ (อาณาจักรฟูนัน) ประเทศนี้ตั้งอยู่ริมทะเลทางทิศใต้
ในหนังสือสยาเราะห์กรือยาอันมลายูปะตานี ของอิบรอฮิม ซุกรี ได้บันทึกประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีไว้ว่า ในดินแดนแห่งนี้มีชาวสยามตั้งภูมลำเนาอยู่แต่เดิม หลังจากนั้นจึงมีชาวฮินดูจากอินเดียเดินทางเข้ามา และมีชาวมลายูเป็นชนชาติหลังสุดที่เข้ามาอาศัย
ตำนานเมืองปัตตานีบันทึกไว้ว่า ชาวสยามได้พากันอพยพเคลื่อนย้ายลงมสู่ดินแดนคาบสมุทธมลายูแห่งนี้ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10 – 11 และมีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับชนพื้นเมืองดั้งเดิม จนกระทั่งชาวสยามได้กลายเป็น ชนชั้นปกครอง และมีอำนาจเหนือดินแดนคาบสมุทธมลายู
ตำนานเมืองไทรบุรี – ปัตตานี กล่าวว่า พระเจ้ามะโรงมหาวงศ์ พร้อมเหล่าอำมาตย์ และข้าราชบริพารเดินทางจากอินเดียมาสร้างเมืองไทรบุรี (รัฐเคดาห์ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) พบชาวเสียมหรือชาวสยามเป็นหัวหน้า แสดงให้เห็นว่าชาวเสียมได้เข้าได้เข้ามาอาศัยอยู่ในแหลมมลายูเป็นเวลาช้านานแล้ว วัฒนธรรมและความเจริญของชาวเสียมคงเหนือกว่าชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ จึงได้การยอมรับและยกย่องให้เป็นผู้นำของชุมชน
สำหรับชนชาติมลายู พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้รวบรวมหนังสือพงศาวดาร และประวัติศาสตร์ภาษามลายูหลายเล่ม สรุปความได้ว่าชนชาติมลายูนั้นเกิดมาจากโอรังลาโวค หรือชาวน้ำ ผสมผสานทางเผ่าพันธุ์กับชนชาติไทยเมืองละโค (นครศรีธรรมราช) ชุมพร ไชยา และชวาในภายหลัง
ผู้คนในดินแดนแหลมทองหรือคาบสมุทรมลายูนี้ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน เกิดการผสมผสานเผ่าพันธุ์ และรวมตัวกันตั้งเป็นชุมชนปกครองกันเองโดยมีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้นำ ต่อมาชาวอินเดียได้เดินทางเข้ามาเพื่อการค้าขายและเผยแพร่ศาสนา วัฒนธรรม จึงมีการพัฒนาชุมชนขึ้นเป็นบ้านเมืองและแว่นแคว้นน้อยใหญ่ ดังปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่นอาณาจักรฟูนัน ทวารวดี ศรีวิชัย พันพัน ตักโกละ ตามพรลิงค์ และหนึ่งในนั้นคือ “ลังกาสุกะ”
ศาสตราจารย์ ขจร สุขพานิช กล่าวว่า ในพุทธศวรรษที่ 18 ชาวมลายูแต่เดิมอยู่บนเกาะสุมาตรา จนกระทั่งอีกประมาณ 111 ปีต่อมา ราชาปรเมศวร กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรมัชฌปาหิตในเกาะชวา ได้เข้ามาตั้งรัฐมลายูแห่งแรกบนปลายแหลมทองที่เมืองมะละกา เมื่อปี พ.ศ.1946 โดยมีฐานะเป็นประเทศราชของสยาม (รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุทธยา) ทั้งนี้คำว่า “ผู้อพยพ” หรือ “ผู้ข้ามฟาก”
ตนไทยปลายด้ามขวาน เรียบเรียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น