ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒ (เก็บความจาก เอกสารวิจัย) ในห้วงปี พ.ศ.๒๕๐๑ จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบครึ่งศัตวรรษ ได้มีผู้เขียนเอกสารวิจัยเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสถาบันการศึกษาด้านความมั่นคงหลายแห่ง ทำให้เห็นได้ว่า ปัญหาดังกล่าวมมีความต่อเนื่อง ยืดเยื้อ ยาวนาน สลับซับซ้อน แต่มีจุดมุ่งหมายที่ไม่เปลี่ยนแปลง สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน และน่าจะดำเนินต่อไปในอนาคต ผู้ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากเหตุการณ์มักจะไม่เข้าใจปัญหา และมักจะไม่ใส่ใจเนื่องจากเป็่นเรื่องที่อยู่ไกลตัว มีธรรมชาติของปัญหาที่ผิดแผกแตกต่างออกไป จากคนส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้เกิดความสับสน ในสาเหตุของปัญหาในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ และเอกชน อย่างไรก็ตามได้มีผู้ที่ทราบปัญหาในระดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ และมีหน้าที่ในการแก้ปัญหา รวมทั้งผู้ที่สนใจปัญหานี้ได้เขียนเอกสารวิจัย เสนอสถาบันด้านความมั่นคงในระดับสูง ที่ตนได้ศึกษาอยู่ประมาณกว่าร้อยท่าน พอประมวลสาระต่าง ๆ ได้ดังนี้ ๑. เรื่องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ๑. ศาสนาอิสลาม มีอิทธิพลเหนือขนบธรรมเนียมประเพณีของอิสลามิกชนอยู่มาก เพราะเป็นธรรมนนูญชีวิต มีคัมภีร์กุรอ่าน ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมายอยู่ในตัว ทุกคนต้องเรียนรู้ และปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ๒. มุสลิมทุกคนถือว่าเป็นนักบวช การประกาศตนเป็นมุสลิมนั้นเพียงแต่ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ ว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ มะหะหมัด เป็นศาสนทูตของ อัลเลาะห์ ๓. ชาวมุสลิมไม่มีการกราบไหว้บูชารูปเคารพ เช่น รูปปั้นหรือภาพต่าง ๆ ดังนั้นศิลปะ และปูชนียวัตถุจึงไม่มี มีแต่สุเหร่า มัสยิด และคัมภีร์กุรอ่าน เท่านั้น มีการต่อต้านการกลืนศาสนาอย่างรุนแรง อาจยอมตายเพื่อศาสนาได้ง่าย ๆ ถือว่าเป็นบุญมาก ถ้าสามารถชักชวนคนศาสนาอื่นให้เป็นมุสลิมได้ ถือว่าเป็นบุญมาก แต่ตนเองเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นไม่ได้เด็ดขาด ถือเป็นบาปหนักมาก ๔. การตกจากศาสนาอิสลาม เกิดขึ้นได้ในทางใดทางหนึ่งในสามทางคือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทางกายเช่น กราบไหว้รูปปั้นภาพจำลอง ที่สมมติเป็นที่สักการะ ทางวาจา เช่น พูดว่าอัลเลาะห์ มีรูปร่างหน้าตาอย่างนั้นอย่างนี้ หรือพูดว่าการนมัสการอัลเลาะห์ไม่เห็นได้ดีอะไร ทางใจ เช่นสงสัยในเรื่องนรก สวรรค์ เป็นต้น ๕. วัฒนธรรมอิสลาม มีที่มาแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่น คือมาจากคัมภีร์กุรอ่าน และซุนนะห์ ของนบีมูฮัมหมัด จึงมีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา สังคม หรือสิ่งแวดล้อม เป็นวัฒนธรรมที่แข็ง ๖. ศาสนาอิสลามส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของประเทศนั้น มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาไว้ทั้งในกุรอ่าน และคำสอนของนีมูฮัมหมัด ว่าการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิม ผู้ใดเรียนภาษาของอีกพวกหนึ่ง จะปลอดภัยจากการหลอกลวงของบุคคลเหล่านั้น และการศึกษาทางโลกก็จำเป็น ๗. นบีมูฮัมหมัด กล่าวว่า ผู้ใดปรารถนาความสุขในโลกต้องศึกษา ผู้ใดปรารถนาในโลกหน้าก็ต้องศึกษา ผู้ใดปรารถนาความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าต้องศึกษาทั้งสองทาง ๘. ซุนนะห์ หมายถึงบรรดาโอวาท วจนะ (หะดิส) การปฎิบัติ (จริยวัตร) และคำชี้แจงปัญหาใดปัญหาหนึ่งของนบีมูฮัมหมัด ตลอดจนคำกล่าว และการปฎิบัติของสาวก หะดิสเป็นส่วนหนึ่งของซุนนะห์ ที่มาของซุนนะห์สรุปได้ ๓ ประการคือ (๑) นบี ฯ กล่าวสั่งสอนหรือให้แนวทางแก่สาวก (๒) นบี ฯ กล่าวหลังจากเห็น หรือทราบเหตุการณ์ที่เกิดแก่สาวก (๓) จริยวัตรที่นบีปฏิบัติ ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้ได้พบเห็น และบอกต่อ ๆ กันมา ๙. ศาสนาอิสลามห้ามการกินดอกเบี้ย จากผู้ยากไร้หรือการหมุนเวียนเงินด้วยวิธีมิชอบต่าง ๆ ห้ามการพนัน ไม่รักษาคำมั่นสัญญา นินทาว่าร้าย หมิ่นประมาทผู้อื่น กล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นโดยไม่มีความจริง ลอบกัดลับหลัง ๑๐. อิสลามถือว่ามนุษย์ทุกคน ถือกำเนิดมาเป็นทารก เป็นผู้บริสุทธิ์ไร้เดียงสา และไม่มีความรับผิดชอบต่อบาปกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่เชื่อถือเรื่องกรรมแต่ชาติก่อน ถือว่าคนทุกคนเกิดมาด้วยความปรารถนาของพระเจ้า เมื่อเกิดมาแล้วสิ่งที่เขาได้กระทำในสิ่งที่บัญญัติให้กระทำ และละเว้นการกระทำในสิ่งที่บัญญัติให้เว้น จะได้รับการตัดสินในวันสุดท้ายของโลก การดำรงชีวิตในโลกก็เพื่อสะสมสิ่งที่ดีวามไว้เป็นสมบัติตน เพื่อเป็นเสบียงในโลกหน้า ๑๑. อิสลามถือความเสมอภาค ความยุติธรรม ภราดรภาพ ผู้ปกครองคือ ผู้รับใช้ประชาชน อุดมการณ์คือ การรักษาความสงบ ไม่รุกราน หรือก้าวร้าวใคร ถ้ามีการขัดแย้งต้องหาทางปรองดอง ถ้าเป็นขั้นเบาให้อดทน ถ้ารุนแรงมากต้องสูญเสียอุดมการณ์ กุรอ่านอนุญาตให้ต่อสู้ได้เต็มที่ ๑๒. กุรอ่านบัญญัติให้มุ่งทำลายต้นตอที่เป็นความชั่ว วิธีระงับความชั่วไม่ได้อยู่ที่การนิ่งดูดาย หรือสั่งห้ามไม่ให้ต่อต้าน ต้องขวนขวายหาทางป้องกัน หรือควบคุมไว้ในอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อม ๑๓. กุรอ่านบัญญัติว่า "สูเจ้าทั้งหลายอย่าก่อความเสียหายขึ้นในแผ่นดิน การรักชาติกำเนิดรับใช้ปฐพีที่เกิด เป็นส่วนหนึ่งในศรัทธามั่นในอัลเลาะห์" ๑๔. การแต่งกายแบบมุสลิมทั้งที่ตนไม่ได้เป็นมุสลิม ชาวมุสลิมถือว่าเป็นการล้อเลียน ๑๕. ศาสนาอิสลามมีจำนวนผู้นับถือมากที่สุดในโลก และเป็นอันดับสองในไทย หลักการของศาสนาไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคม เว้นแต่ไม่เข้าใจในหลักการอิสลามเท่านั้น ๑๖. คัมภีร์กุรอ่านป็นบทบัญญัติจากอัลเลาะห์ ให้แก่นบีมูฮัมหมัด ต่างกรรมต่างวาระ รวบรวมเรียบเรียงเป็นเล่มมีทั้งหมด ๖,๖๖๖บทบัญญัติ (Ayat) แบ่งออกเป็น ๓๐ ส่วน ๑๔๔ บท (ซูเราะห์) อิจญ์มะอ์ เป็นความเห็นอันเกี่ยวกับปัญหากฎหมายอิสลามของสาวก ในยุคถัดมา ปรากฎอยู่ในกุรอ่าน และหะดิส ๑๗. อิสลามสอนว่า ความแตกต่างทางศาสนา และความเชื่อถือนั้น เป็นธรรมชาติของมนุษย์ และไม่ควรถือเป็นสิ่งกีดกันความสามัคคีระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ๑๘. อิสลามไม่ได้บังคับให้ผู้ใดละทิ้งศาสนาของตน มาถืออิสลาม ในกุรอ่านมีคำเตือนจากอัลเลาะห์ ให้มุสลิมใช้สติปัญญา และโวหารอันแยบยล ในการร่วมอภิปรายกับศาสนาอื่น ทำให้เขาเหล่านั้นเห็นพ้องโดยดุษฎีภาพ โดยยกเอาเหตุผลมาเสนอพร้อมอ้างอิงด้วยหลักฐาน ๑๙. ไม่ว่าชาวอิสลามจะไปไหน เขาจะให้คู่ต่อสู้เลือกได้ ๓ อย่างคือ กุรอ่าน บรรณาการ หรือตาย ๒๐. นบีมูฮัมหมัด ได้สอนอุดมคติแก่มุสลิมว่า ดาบถือกุญแจไขประตูสวรรค์ เลือดหนึ่งหยด เพื่อพระเจ้าชนะการบริจาคทั้งมวล แรมศึกเพื่อพระเจ้าหนึ่งคืน มีผลมากกว่าถือศีลอดหนึ่งเดือน ตายในสงครามเพื่อพระเจ้า พระเจ้าจะล้างบาปให้หมด ๒๑. เนื้อหาในศาสนาอิสลาม แบ่งได้เป็นสองพวกคือ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และเปลี่ยนแปลงได้ ตามกาลเวลาและสถานที่ ประการแรกระบุไว้แน่นอนตายตัว ประการหลังระบุไว้กว้าง ๆ หรือไม่ระบุเลย ให้อยู่ในวิจารณญาณของชาวมุสลิม ว่าสิ่งไหนควรไม่ควรเช่นการเลือกอาชีพ และการศึกษา ๒๒. บทบัญญัติซาริอาห์ เป็นเครื่องมือชี้นำในการดำเนินชีวิต ทั้งในด้านปัจเจกบุคคล ชุมชน รวมถึงรัฐด้วย สังคมมุสลิมในระดับอุดมคติหมายถึง สังคมที่ดำเนินการตามหลักการ หรือบทบัญญัติในซาริอาห์ กลุ่มผู้รู้ทางศาสนาจะทำหน้าที่ตีความ เพื่อให้ประชาชน หรือรัฐนำเอากฎเกณฑ์และหลักการเหล่านั้นมาปฏิบัติ ๒๓. กฎหมายอิสลามมาจากหลักฐานทางศาสนา ๔ ประการ คือ กุรอ่าน หะดิส หรือซุนนะห์ อิจญ์มะอ์ และกิยาส ซึ่งได้มีการปรับปรุงมาถึง (ฮิจเราะห์ ศักราช ๓๐๐) หลังจากนั้นไม่มีการแก้ไขอีก คงใช้หลัก ๔ ประการในการพิจารณาตีความ กระทรวงยุติธรรมได้ตั้งคณะ กก.แปลกฎหมายเป็นภาษาไทย เพื่อใช้ในกระบวนการยุติธรรมใน จชต.และได้มีการตรา พรบ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามใน ๔ จชต. เมื่อปี ๘๙ ๒๔. ศาสนาอิสลามสอนไม่ให้ฆ่ามนุษย์ถึงแม้เป็นศัตรู ถ้าเลิกคิดร้ายต่อกันก็ต้องให้อภัยไม่ฆ่ากัน แต่ชนอาหรับซึ่งเป็นชนพวกแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม มีนิสัยชอบรบราฆ่าฟัน จึงเอาศาสนาอิสลามมาบังหน้า เข้ารุกราน และฆ่าฟันผู้คนที่นับถืออิสลาม อ้างว่าเพื่อเผยแพร่ศาสนา แต่ข้อเท็จจริงนั้นเพื่อยึดทรัพย์ จับเชลย ๒๕. หลักการของศาสนาพุทธกับศาสนาอิสลามผิดแผกแตกต่างกันมาก ๒๖. จากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม บทบัญญัติของอิสลามจึงต้องกำหนดขึ้น ให้มีความเด็ดขาด เพื่อให้สามารถควบคุมประชาชนได้ นบีมูฮัมหมัด เป็นทั้งผู้นำศาสนา และผู้ปกครองบ้านเมือง ดังนั้นบทบัญญัติจึงต้องมีลักษณะเป็นกฎหมายไปในตัว เพื่อสามารถต่อสู้ให้อยู่รอด ๒. ศาสนาอิสลามในไทย ๑. ศาสนาอิสลามถือว่า ชาวอิสลามทุกคนมีสภาพเป็นนักบวชตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกคนต้องเรียนศาสนาใครไม่เรียนถือว่าบาป และในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ยังสอนบิดเบือนอีกว่า การเรียนอย่างอื่นถือว่าเป็นบาป แต่ความจริงในอัลกุรอ่านมิได้ห้ามเรียนวิชาอื่น ๒. คนมุสลิมรังเกียจศาสนาอื่น โดยเฉพาะคนไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะถือว่า การคบค้ากับผู้ถือศาสนาอื่นเป็นบาป จะเปลี่ยนศาสนาไม่ได้ หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม บางข้อ ขัดกับบทบัญญัติทางกฎหมาย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าถูกกีดกัน กดขี่ บีบบังคับ ๓. สถาบันที่ทรงอิทธิพลคือ ปอเนาะ ซึ่งเป็น รร.สอนศาสนาอิสลาม ตามแบบที่รับมาจากอียิปต์และแพร่เข้าสู่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๕๐ ทุกหมู่บ้านจะมีปอเนาะ เพื่อให้การศึกษาในด้านศาสนาโดยเฉพาะแก่เยาวชน โดยมีโต๊ะครู เป็นเจ้าของ และเป็นผู้สอน หลักสูตรที่เรียนไม่จำกัดระยะเวลา โต๊ะครูอาศัยแรงงานของลูกศิษย์มาช่วยงานธุรกิจของตน ปอเนาะไหนมีลูกศิษย์ (โต๊ะปาเก) มากก็จะมีอิทธิพลมาก ทุกหมู่บ้านจะมีปอเนาะ (ตั้งขึ้นอย่างเสรีรัฐ ไม่ได้ควบคุมมาก่อน เริ่มคุมเมื่อ มิ.ย.๐๙ โดยให้จดทะเบียนแล้วแปรสภาพเป็น รร.ราษฎร ห้ามตั้งปอเนาะใหม่) ๔. ผู้นำทางศาสนามักได้รับการแต่งตั้งโดยไม่คำนึงถืงพื้นฐานการศึกษา และศาสนาทำให้ไม่รู้ซึ้งถึงแก่นแท้ของศาสนาอิสลาม ทุกอย่างดูเป็นเรื่องของศาสนาไปทั้งสิ้น ๕. มุสลิมนับถือศานาเคร่งครัด เคารพบูชาผู้นำ และผู้มีความรู้ทางศาสนาอย่างยิ่ง ชี้ชวนอย่างไรก็ทำตาม ผู้ที่ประชาชนนับถือมากที่สุดคือ โต๊ะครู ที่ตั้งปอเนาะ ใครไม่นับถือโต๊ะครูถือว่าบาป ๖. ผู้นำศาสนาฉวยโอกาสเรื่องภาษา หาประโยชน์เข้าตน สอนประชาชนให้เกลียดภาษาไทยอ้างว่าเป็นภาษาพุทธศาสนา มุสลิมต้องพูดภาษามลายูเท่านั้น ผู้นำศาสนาบิดเบือนหลักศาสนาเพื่อประโยชน์ตน ๗. สภาพโดยทั่วไปของไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถ้าแยกเอาวัฒนธรรมบางเรื่องออกจากศาสนา แล้วลักษณะโดยทั่วไปของครอบครัว อันเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ ได้ถือแบบอย่างครอบครัวชาวไทยภาคใต้ทั้งสิ้น ๘. หลักศาสานาอิสลามคือ คัมภีร์ กุรอ่าน เขียนไว้เป็นภาษาอาหรับ ปัจจุบันมีผู้แปลเป็นไทยแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และชาวไทยอิสลาม ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เลื่อมใส ชาวไทยอิสลามส่วนใหญ่ จึงไม่ทราบรายละเอียดในคัมภีร์ ผู้รู้ศาสนาจึงเป็นบุคคลสำคัญ ต้องเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นที่เชื่อถือและกลายเป็นบุคคลสำคัญ ๙. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้มีการแปลคัมภีร์กุรอ่าน เป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่ และมอบให้ประชาชนไทยอิสลาม และองค์การอิสลามต่าง ๆ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสมทบทุนสร้างมัสยิดในจังหวัดต่าง ๆ หลายแห่ง ๑๐. ผู้นำศาสนาได้แก่ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่ามบางคน ทำการปลุกระดมชี้นำชาวไทยอิสลาม ในลักษณะที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น ให้เกลียดเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกลียดคนไทยที่นับถือศาสนาอื่น ผลักดันคนไทยพุทธให้ออกจากพื้นที่ด้วยวิธีต่าง ๆ ๑๑. การปฎิบัติของดาวะห์ ได้ขยายตัวกว้างออกไปยิ่งขึ้นก่อให้เกิดผลเสียหายทาง เศรษฐกิจเพราะสมาชิกไม่ประกอบอาชีพใด ๆ ทั้งสิ้น หลีกเลี่ยงไม่เคารพกฎหมาย ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ของชาติ ๑๒. จุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายศาสนาอิสลามในไทย มีมาแต่สมัยอยุธยาคือ พระยาเฉกฮาหมัดรัตนเศรษฐี (คนแรก) ต่อมาก็มีบรรดาศักดิ์เรื่อยมาจนถึงคนที่ ๕ ประมาณปี ๒๔๗๙ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๘ มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลามจุฬา ฯ มีฐานะเป็นข้าราชการประจำ ในมาตรา๓ ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๑ กำหนดฐานะ จุฬาฯ ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬา ฯ เพื่อให้คำปรึกษาแก่กรมการศาสนา กับเกี่ยวกับศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม และมีเงินอุดหนุนฐานะตามสมควร ๑๓. คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาปี พ.ศ.๒๔๘๘ มาตรา ๕ มีว่ารัฐบาลจัดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกาาธิการ ในกิจการเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ในมาตรา ๖ ระบุว่าคณะกรรมการ ฯ ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสลาม จำนวนไม่ค่ำกว่า ๕ นาย แต่งตั้งถอดกถอน โดยพระบรมราชโองการ ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จุฬา ฯ เป็นประธานโดยตำแหน่ง มีกรรมการกลาง ๓๓ คน ๑๔. ศาสนาอิสลามแพร่เข้ามาในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยมีพ่อค้าชาวอาหรับ และอินเดียนำาเผยแพร่ เจริญรุ่งเรืองตามชายทะเลของเกาะสุมาตราก่อน แล้วขยายเข้ามาในแหลมมลายู และอินโดเนเซียแพร่เข้าไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ๑๕. ปอเนาะ แปลว่า กระท่อม เป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลาม ก่อนในอียิปต์ก่อน ต่อมาได้แพร่ขยายเข้ามาในมาเลเซีย แล้วเข้ามาสู่ไทยแพร่ไปทุก จังหวัดที่มีมุสลิมอยู่ ปอเนาะที่เก่าแก่ที่สุดของไทยเริ่มปี ๒๔๔๒ ปอเนาะประกอบด้วย บ้านโต๊ะครู และกระท่อมเล็ก ๆ ซึ่งนักเรียนสร้างอาศัยอยู่ ผู้จัดการปอเนาะต้องเป็นคนมุสลิมเท่านั้น ผู้เป็นโต๊ะครูต้องเป็นหะยี มีอำนาจบารมีสูงเหนือจิตใจไทยอิสลามในสังคมนั้น ๑๖. ภาษามลายู ใช้สอนศาสนาอิสลามในปอเนาะ มีคัมภีร์กุรอ่านเพียงเล่มเดียวที่ใช้ภาษาอาหรับ ทำให้ภาษามลายูท้องถิ่น (ภาษายาวี) มีอิทธิพลเหนือภาษาไทย ๑๗. ตำราเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เป็นภาษามลายูทั้งสิ้น ตำราที่พิมพ์เป็นภาษาไทยมีอยู่น้อยมาก มักไม่สมบูรณ์ไม่เป็นที่นิยม ๑๘. ปี พ.ศ.๒๕๓๘ มีมัสยิดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ๒,๘๐๐ แห่ง กรรมการ ๓๐,๐๐๐ คน มีจังหวัดที่จัดตั้งคณะกรรมการประจำ จังหวัดอยู่ ๑๘ จังหวัด มีกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ๔๐๐ คน (จังหวัดละ ๑๕ คน) กรุงเทพมหานครมี ๓๐ คน ๑๙. ในมาเลเซียไม่มีปอเนาะ การสอนศาสนา และภาษาอาหรับในมาเลเซีย ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียน โดยตรงปอเนาะมีเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเท่านั้น ๒๐. วัฒนธรรมอิสลามมาจากอาหรับ ประเพณีต่าง ๆ ของอิสลามถูกนำมาใช้ในงานพิธีต่าง ๆ มีแทรกอยู่ในศิลปะ และวรรณคดีของชาติด้วย ๒๑. ศาสนาอิสลามบัญญัติว่า เจ้าทั้งหลายอย่าก่อความเสียหายขึ้นในแผ่นดิน การรักชาติกำเนิด รับใช้ปฐพีที่เกิด ส่วนหนึ่งของศรัทธา ขบวนการโจรก่อการร้ายไปบิดเบือนว่า การรักชาติกำเนิด เป็นส่วนหนึ่งของศรัทธา ๒๒. ขบวนการโจรก่อการร้าย ซึ่งนิยมใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา มีการเผยแพร่ใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นัดประชุมโดยอ้างพิธีทางศาสนาบังหน้า กล่าวโจมตีรัฐบาล ประชาชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยทั่วไปนับถือนิกายสุหนี่ เช่นเดียวกับมาเลเซีย และโลกมุสลิมส่วนใหญ่ ๒๓. จุดแข็งของขบวนการโจรก่อการร้ายอาศัยศาสนาอิสลาม โดยอ้างว่าขบวนการของตนต่อสู้เพื่อศาสนา ๓. เรื่องเกี่ยวกับคนไทยอิสลาม ๑. ไทยอิสลาม เป็นคำที่ทางราชการบัญญัติขึ้น เพื่อใช้เรียกคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม ๒. ชาวไทยอิสลามใน จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มที่จะแยกตัวไปอยู่กับมาเลเซีย เนื่องจากเห็นว่ามีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมเดียวกัน และเมื่อมีการปลุกระดม และบิดเบือนทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี ทำให้ความรู้สึกดังกล่าวรุนแรงฮึกเฮิมยิ่งขึ้น มีความรู้สึกว่าตนไม่ใช่คนไทย เป็นคนมลายู จึงไม่ควรขึ้นอยู่กับประเทศที่ต่างศาสนา และไม่ยอมพูดและเรียนภาษาไทยถือว่าเป็นบาป ๓. ได้รับการสอนจากผู้นำศาสนาว่า ชาวอิสลามทุกคนต้องศึกษาภาษาอิสลาม เพื่อให้เข้าใจศาสนาของตน เด็กส่วนใหญ่ถูกบังคับไม่ให้พูดภาษาไทย ๔. คนไทยอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่นิยมเรียน และพูดภาษาไทย เมื่อรัฐบาลพยายามส่งเสริมให้เรียนภาษาไทยและพูดภาษาไทย จึงเกิดความรู้สึกว่าถูกบีบบังคับ ไม่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอิสลาม ๕. จังหวัดสตูล มีสภาพผิดไปจากจังหวัดชายแดนภาคใต้อื่น ๆ ที่คนพื้นเมือง เพียง ๒ - ๓ ตำบล เท่านั้นที่ไม่นิยมพูดภาษาไทย ส่วนสงขลาไม่มีปัญหาเรื่องภาษาเลย ๖. มุสลิมทุกคนนับถือศาสนาเป็นสรณะแห่งชีวิต และปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด ภายใต้การสั่งสอน และกำกับดูแลของผู้นำศาสนาที่ประชาชนเชื่อถือ ผู้นำศาสนาจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจของประชาชน ๗. ไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสำนึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของตนอย่างสูง โดยเฉพาะเกี่ยวกับอารยธรรม หรือความยิ่งใหญ่ของปัตตานี เห็นว่าเจ้าเมืองปัตตานีนับถือศาสนาอิสลามมาโดยตลอด เมืองปัตตานีเป็นของมลายูมาก่อนไทยยึดครองภายหลัง ๘. ชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม มิได้อพยพหรือมีเชื่อสายอินเดีย ปากีสถานหรือมาเลย์ จึงรังเกียจ ถ้ามีผู้มาเรียกว่า แขก ๙. ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับประชากรในกลันตัน ตรังกานูและเปรัค ของมาเลเซีย ๑๐. คนไทยอิสลามภูมิใจในศาสนาของตน ถือว่าศาสนาอิสลามดีกว่าศาสนาอื่น ดูถูกและรังเกียจคนต่างศาสนา ไม่ต้องการคบหาสมาคมด้วย การที่คนต่างศาสนา โดยเฉพาะข้าราชการจะไปแนะนำ ชี้ชวนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จึงทำได้ยากบางครั้งเจตนาดีกลับเสียได้ ๑๑. ชาวไทยอิสลามในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเป็นอยู่ง่าย ๆ รักสงบ ว่านอนสอนง่าย อ่อนน้อม เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ ผู้ที่สามารถทำให้เขาเชื่อถือได้ จะได้รับการยกย่อง และปฎิบัติตามข้าราการ ได้รับการยกย่องเป็นทุนเดิมอยู่มาก คำพูดที่ใช้กับข้าราชการมักนำเอาศัพท์สูง ๆ ที่ใช้กับจ้าวมาใช้ ผู้ที่ผ่านงานปกครองภูมิภาคต่าง ๆ มาแล้วกล่าวว่า การปกครองคนไทยอิสลามสี่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ง่ายกว่าภาคอื่นทั้งหมด ๑๒. โดยทั่วไปประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะชาวไทยอิสลามส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่อง และไม่ใส่ใจเรื่องการเมืองมากนัก มุ่งทำมาหากินด้วยความสงบ ๑๓. การปฎิบัติประจำวันของไทยอิสลามใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีแหล่งที่มา ๒ ทางคือ จากบทบัญญัติทางศาสนาโดยตรง และจากจารีตประเพณี และการปฎิบัติตั้งแต่เดิม ซึ่งสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ทั้งสองแหล่งกลมกลืนกันอย่างแนบแน่นชาวบ้านธรรมดาแยกไม่ออก ส่วนมากเชื่อว่าการฝ่าฝืน หรือบ่ายเบี่ยง จะเป็นบาป ๑๔. นิกายในศาสนาอิสลามมี ๔ นิกายคือ ซาฟีย์อี ฮานาฟี ฮำบาลี และมาลิกี ชาวไทยอิสลามใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้นับถือนิกายซาฟีย์อี ๑๕. คนไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่รู้ถึงความเป็นพลเมืองของตนเอง และพูดว่าเราเป็นคนแขก อยู่ในปกครองของพระยาเมืองไทย แต่เดิมสมัยพ่อและสมัยปู่นั้น พระยาเมืองเป็นแขกเหมือนกัน พระยาเมืองไทยเพิ่งมาภายหลัง คนที่พูดภาษาไทย และนับถือพุทธศาสนา เท่านั้นที่เป็นคนไทย ๑๖. อิทธิพลของศาสนาอิสลามที่ด้อยการศึกษา ถูกชักจูงเสี้ยมสอน และปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดไปในทางแบ่งแยก ว่า คนไทยอิสลามกับคนไทยพุทธ ไม่ใช่คนชาติเดียวกัน ผลักดันคนไทยอิสลามให้มีใจออกห่างจากความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ ให้เกลียดชังคนต่างศาสนา โดยเฉพาะคนไทยพุทธ ๑๗. วิชาที่เรียนในปอเนาะ เป็นวิชาเกี่ยวกับศาสนาทั้งสิ้นมี ๗ ประการ นอกจากนี้ยังมีการเรียนภาษามลายูท้องถิ่น (ยาวี) คณิตศาสตร์ ภาษาไทย เป็นต้น ๑๘. โต๊ะครู จะยึด กีตาบ (หนังสือสอนศาสนา) เป็นหลักในการสอนแล้วอธิบายตามเนื้อหา โดยที่นักศึกษาก็มีกีตาบอยู่ในมือคนละเล่ม เมื่อสอนเล่มใดเล่มหนึ่งจบ ก็จะเริ่มสอนเล่มอื่นต่อ หรือไม่ก็สอนซ้ำ กีตาบมีทั้งเป็นภาษามลายู และภาษาอาหรับ ซึ่งสั่งซื้อจากต่างประเทศ ๑๙. การสอนของโต๊ะครูบางคนก็ชักจูงให้เกิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่ผิด ๆ ไปได้ง่าย เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ เช่น การสอนว่า การพูดการเรียนภาษาไทยเป็นบาป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ๒๐. ความไม่พอใจของชาวไทยอิสลามมีหลายประการ เช่น ปี พ.ศ.๒๔๗๗ รัฐบาลได้ออกใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัว ซึ่งขัดกับความเชื่อของอิสลาม (ต่อมาได้มีการยกเว้นการใช้ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้) ๒๑. กระทรวงยุติธรรมได้ตั้ง คณะกรรมการแปลกฎหมายเป็นภาษาไทย เพื่อใช้ในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ ๔. ปัจจัยจากภายนอก ๔.๑ แผนการจัดตั้งรัฐบาลมลายู ปัตตานี เป็นรัฐอิสระ ไม่ขึ้นกับไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๐ มีการโฆษณา ตั้งหน่วยกู้ชาติ จัดหาทุนและอาวุธ การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยให้คนมลายูปัตตานีทุกคนหาที่ดินไว้ เพื่อกีดกันคนไทยพุทธเข้ามาอยู่ ๔.๒ ในห้วงเวลานั้น ปัตตานีมีสมาชิก ๗,๐๐๐ คน ยะลา ๕,๐๐๐ คน ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่างประเทศ หากโครงการของนายเจ๊ะอับดุลลาร ฯ สำเร็จจะ สถาปนาเป็นรัฐสาธารณรัฐมาลายูเหนือ (Republic Malayu Utara) มีอาณาเขตตั้งแต่คอคอดกระ ไปถึงสุไหงโกลก เมื่อแยกได้แล้ว จะได้เข้าร่วมจัดตั้งสหภาพมาเลเซีย ซึ่งมีพรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซียสากล พรรคฝ่ายค้านของประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศมุสลิมได้กำหนดโครงการไว้ จะรวมอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นสหภาพมาเลเซีย ๔.๓ หลัง ๓๐ ส.ค.๒๕๐๐ เมื่อประเทศเพื่อนบ้าน ได้รับเอกราชมีนักการเมืองบางกลุ่ม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มแสดงบทบาทชักจูงชาวไทยอิสลาม ให้แบ่งแยกดินแดน ๔.๔ ขบวนการโจรก่อการร้าย ใช้ดินแดนประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะรัฐที่อยู่ติดกัยไทย เป็นฐานปฏิบัติการ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในรัฐนี้ ทำการชักจูงนักการเมือง และเยาวชนไทยอิสลาม เข้าไปศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน ปลูกฝังลัทธิชาตินิยมประเทศเพื่อนบ้าน พยายามเลือกทายาทเจ้าเมืองเดิม ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นตัวเชิด ขบวนการโจรก่อการร้ายได้ตั้งองค์กรของตนขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓ ๔.๕ ปี ๐๔ มีการจัดตั้งองค์การบังหน้าต่าง ๆ เช่น พรรคนิยมภาคใต้ ดำเนินการคำบงการขององค์การกู้ชาติมลายูเหนือ ได้รับความนิยมจากไทยอิสลาม อย่างกว้างขวาง ทำการเกลี้ยกล่อมสมาชิก ยุยงชาวไทยอิสลามให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ใช่คนไทย ๔.๖ สมัยประธานาธิบดีผู้หนึ่งของประเทศเพื่อนบ้าน ที่อยู่ถัดออกไปต้องการรวมประเทศ ประเทศอิสลามทั้งสอง และจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเข้าด้วยกัน ได้ใช้ฐานปฏิบัติการในไทย ชักจูงคนไทยอิสลาม และชาวประเทศเพื่อนบ้านไปฝึกอาวุธในประเทศเพื่อนบ้าน ๔.๗ นักการเมืองบางกลุ่มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับอิทธิพลจากคนบางกลุ่มในประเทศเพื่อนบ้าน มีพฤติกรรมที่เป็นปฎิปักษ์ต่อรัฐบาลไทย และต่างประเทศ ๔.๘ รัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน แถลงเป็นทางการอยู่เสมอว่า ไม่มีส่วนรู้เห็นในการแบ่งแยกดินแดน แต่ก็ไม่สามารถทำการรุนแรงได้ ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านทั้งสองพรรค ได้สนับสนุนขบวนการนี้อย่างลับ ๆ มานานแล้ว คือ พรรคฝ่ายค้านพรรคหนึ่ง มีนโยบายชาตินิยม อาศัยศาสนาอิสลามเป็นเครื่องมือปลุกปั่น มีเสียงข้างมาก และได้ปกครองที่อยู่ติดกับไทย พรรคฝ่ายค้านทั้งสอง เรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้าน ผนวกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ๔.๙ พรรคฝ่ายค้านของประเทศเพื่อนบ้าน ใช้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเครื่องมือหาเสียง โดยทำเป็นนโยบายของพรรคว่าจะผนวกสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ๔.๑๐ วิธีการแทรกซึม โดยส่งคนเข้ามาเป็นครูสอนศาสนาตามปอเนาะ ปลุกปั่นเยาวชนให้ตื่นตัวรักชาติ ศาสนา พิมพ์หนังสือแจกตามปอเนาะ มีข้อความโน้มน้าวใจเยาวชนไปในทางการเมือง มีความรู้สึกขัดต่อความสงบเรียบร้อย ขอให้ขยายการเรียนภาษามลายูในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และใกล้เคียง ให้สร้างปอเนาะเพิ่ม สนับสนุนเยาวชนไทยอิสลาม ไปศึกษาต่างประเทศ ให้ตั้งหน่วยกู้ชาติ เพื่อเป็นตัวแทนดำเนินงานตามแผนการณ์ออกไปทุกอำเภอ ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เว้นจังหวัดสตูล ซึ่งมอบให้เจ๊ะอับดุลลาร หวังปูเต๊ะ ดำเนินการเป็นอิสระ นัดประชุมกล่าวคำปราศรัยตามสุเหร่า และปอเนาะ ในวันทำพิธีทางศาสนา บางครั้งมีคนสำคัญของประเทศเพื่อนบ้าน มาพูดชักชวนยุยงปลุกปั่นให้แยกดินแดนโดยเอาศาสนาบังหน้า สร้างหลักฐานสำหรับตัวบุคคลให้ถือสองสัญชาติ คือ ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน สนับสนุนไทยอิสลามทุกคนให้รักษากรรมสิทธิ์ที่ดินของตนไว้ ๔.๑๑ ตนกูอับดุลเราะห์มาน เคยกล่าวว่า "ถ้าเขาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ตราบใด รับประกันได้ว่าเรื่องพรรค์นี้ (การแบ่ง แยกดินแดน) จะไม่มีเด็ดขาด แต่ถ้า คนอื่นมาเป็น ตนไม่รับรอง" ๔.๑๒ ประเทศอิสลามในอัฟริกาประเทศหนึ่ง ใช้อุดมการณ์มุสลิม เมื่อ ๑๑ ก.ย.๑๒ ถือว่าศาสนาอิสลามเป็นมรดกตกทอดของชาวประเทศนั้น ส่งเสริมให้จัดตั้งองค์การทางศาสนา เรียกว่า สมาคมเพื่อการเผยแพร่ศาสนาอิสลามทั่วโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ สนับสนุนเงินสร้างโรงเรียนอิสลาม สุเหร่า และศูนย์กลางมุสลิมประจำถิ่น สนับสนุนชนกลุ่มน้อยในประเทศต่าง ๆ ให้มีอำนาจในรัฐบาล หรือสนับสนุนการแยกดินแดน การก่อการร้ายระหว่างประเทศปี พ.ศ.๒๕๒๗ ประเทศดังกล่าวช่วยขบวนการโจรก่อการร้ายในประเทศไทย ๑๕ ล้านบาท ๔.๑๓ ประเทศในอัฟริกาประเทศหนึ่ง สนับสนุนเงินสร้างโรงเรียนอิสลาม สุเหร่า และศูนย์กลางมุสลิมประจำถิ่น ปี ๑๗ ประเทสดังกล่าวช่วยขบวนการโจรก่อการร้าย ๑๕ ล้านบาท ๔.๑๔ รัฐมนตรีที่ดิน และศาสนาของประเทศของประเทศเพื่อนบ้าน ได้จัดสรรที่ดินชิดแดนไทย ให้ชาวไทยอิสลามในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าไปอยู่นับพันครอบครับครัว แล้วโอนสัญชาติออกบัตรประชาชนให้เป็นคนของตน ออกทุนให้ขบวนการโจรก่อการ้าย บังคับซื้อที่ดินราคาถูกจากชาวไทยพุทธ มาเป็นกรรมสิทธิ์ ๔.๑๕ บุคคลสำคัญในรัฐบาลกลางของ ประเทศเพื่อนบ้าน และรัฐบาลแห่งรัฐให้การสนับสนุน ขบวนการโจรก่อการร้ายทางลับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ไม่เคยช่วยไทยปราบ ขบวนการโจรก่อการร้าย โดยอ้างว่าชาวประเทศเพื่อนบ้าน จะไม่พอใจรัฐาล ได้แต่เพียงระงับมิให้ขบวนการโจรก่อการร้าย นำปัญหาชาวมุสลิม เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมระดับ รัฐมนตรีต่างประเทศ ของกลุ่มประเทศอิสลามเท่านั้น ๔.๑๖ ประเทศเพื่อนบ้าน ให้การสนับสนุนขบวนการโจรก่อการร้ายลับ ๆ มานานเพื่อให้ขบวนการโจรก่อการร้าย เป็นส่วนหนึ่งในการสกัดกั้น โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา และประกาศรับสมัครเด็กหนุ่มไปเป็นทหารรับจ้าง ซึ่งที่จริงจ้างให้เข้าร่วมขบวนการโจรก่อการร้าย ๔.๑๗ ปี ๒๗ ประเทศมุสลิมกว่า ๔๐ ประเทศ ผนึกตัวกันเป็นสันนิบาตมุสลิมโลก ประเทศที่สนับสนุนขบวนการโจรก่อการร้ายที่สำคัญคือ ประเทศมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ ๔.๑๘ การส่งหน่วยออกปฎิวัติอิสลามภาคใต้ โดยการสนับสนุนของกลุ่มประเทศมุสลิม ผ่านคนไทยอิสลาม ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ดำเนินงาน โดยมีเป้าหมาย และมีการดำเนินงานอย่างมีขั้นตอน ในระยะแรกทางราชการไม่อาจดำเนินการได้อย่างเฉียบขาด เนื่องจากการเคลื่อนไหวแฝงไว้ในเรื่องศาสนา มีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย ๔.๑๙ ปัญหาคนสองสัญชาติ พรรคฝ่ายค้านพรรคหนึ่ง ของประเทศเพื่อนบ้าน แสวงหาประโยชน์จากคนเหล่านี้ในการออกเสียงเลือกตั้ง ในปี ๒๓ ประเทศเพื่อนบ้านเจรจากับไทย และเห็นพ้องที่จะแก้ปัญหานี้ ปี ๒๔ ออกมาตรการแก้ไขโดยไม่ออกบัตร ประชาชนให้กับ ประชาชนของอีกประเทศหนึ่ง และให้มีการข้ามพรมแดนเฉพาะจุดที่ได้รับอนุญาต ให้แต่ละฝ่ายทำสมุดรายชื่อบุคคลที่สงสัยว่า จะมีสองสัญชาติ และแลกเปลี่ยนกัน แต่การดำเนินการไม่คืบหน้า แรงงานไทยเข้าไปทำงานในรัฐ ที่อยู่ติดเขตแดนไทยสองรัฐ ประมาณ ๓๖,๐๐๐ คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานเกษตรและประมง ๔.๒๐ บางประเทศในตะวันออกกลาง เคยสนับสนุน ขบวนการโจรก่อการร้าย อย่างจริงจังระหว่าง ปี ๒๒ - ๒๕ หลังจากโคไมนีปฎิวัติ และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เป็นสาธารณรัฐอิสลาม ปี ๒๗ ประเทศดังกล่าวเปลี่ยนท่าทีจากการสนับสนุน ขบวนการโจรก่อการร้ายอย่างเปิดเผย มาเป็นการเผยแพร่ความคิดการปฎิวัติอิสลามแทน และส่งออกแนวคิดนี้ เพื่อเผยแพร่นิกายชีอะห์ เพื่อปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่จากผู้ปกครอง และจัดรูปการปกครองเป็นรัฐอิสลาม ไทยมีแนวโน้มที่จะถูกใช้เป็นฐานในการเผยแพร่ สำหรับภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีท่าทีประนีประนอมกว่ารัฐอิสลาม ๔.๒๑ บางประเทศในตะวันออกกลาง เคลื่อนไหวต่อเนื่อง ชี้นำทางความคิดให้มีการเรียกร้อง การปฎิบัติตนของชาวไทยอิสลาม ความเคร่งครัดในศาสนา มีไทยอิสลามบางส่วนที่เดิมเป็นสุหนี่ อันเป็นนิกายที่ไทยอิสลามทั้งหมดนับถือ หันไปนับถือชีอะห์แบบประเทศดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งในสังคมมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๔.๒๒ ประเทศเพื่อนบ้านเคยมีปัญหา โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ไทยได้ร่วมมือปราบปรามจนยุติการต่อสู้ ขณะที่ทางไทยมีปัญหา ขบวนการโจรก่อการร้าย ได้เจรจาขอให้ประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมมือปราบปราม แต่ประเทศเพื่อนบ้านยังสงวนท่าที ๔.๒๓ ในการประชุมประเทศ OIC หลายครั้ง ขบวนการโจรก่อการร้าย พยายามนำปัญหาชายแดนภาคใต้ เข้าสู่ที่ประชุมแต่ถูกยับยั้งจากประเทศเพื่อนบ้านคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และมิตรประเทศได้แก่ ปากีสถาน ตุรกี และอียิปต์ ๔.๒๔ OIC เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล และสันนิบาตมุสลิมโลก ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน ได้รับการสนับสนุนจากประเทศมุสลิมสายกลาง โดยเฉพาะบางประเทศในตะวันออกกลาง มีบทบาทในการเผยแพร่ศาสนา และช่วยเหลือสังคมไทยอิสลาม ในทางสร้างสรร ๔.๒๕ การช่วยเหลือของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่การให้พื้นที่ชายแดนบริเวณรัฐที่อยู่ติดเขตแดนไทยบางรัฐ สร้างค่ายพักฝึกอาวุธ โดยอาศัยทหารตามแนวชายแดน ใช้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นที่ตั้ง สำนักงานของขบวนการต่าง ๆ ตำรวจประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุน ขบวนการโจรก่อการร้ายในการคัดเลือกคนเข้าเป็นสมาชิกพรรค ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ชนะการเลือกตั้งในรัฐที่ติดเขตแดนไทยบางรัฐเป็นส่วนใหญ่ สนับสนุนขบวนการโจรก่อการร้าย อาศัย ฃขบวนการโจรก่อการร้ายเป็นฐานเสียงทางการเมือง ใช้ขบวนการโจรก่อการร้ายเป็นกันชนกับ โจรจีนมอมมิวนิสต์มลายา ๔.๒๖ กลุ่มประเทศอาหรับให้การช่วยเหลือ โดยเปิดเผยในรูปการให้เงินมาส่งเสริมการศึกษา และศาสนามีตัวแทนศาสนาอิสลามของกลุ่มประเทศอาหรับ เข้ามาสังเกตการณ์ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๔.๒๗ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นต้นมา การก่อความไม่สงบได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศมากขึ้น ๔.๒๘ ช่วงปี ๑๗ - ๑๘ สถานการณ์การก่อการ้ายการร้าย มีความรุนแรงอย่างมาก ปี ๓๓ - ๓๔ ความรุนแรงลดลงเนื่องจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ได้ยุติบทบาท คงเหลือโจรก่อการร้ายเพียงกลุ่มเดียว แต่ความรุนแรงได้ลดลงจนถึงระดับที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ฯ ปัจจุบัน (ปี ๔๒) ขบวนการโจรก่อการร้าย เป็นปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย มิใช่เป็นปัญหาความมั่นคง จึงใช้กฎหมายอาญาเป็นหลัก ประกอบกับมหาดไทยได้ขอยกเลิก พรบ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อ เม.ย.๔๒ ๔.๒๙ ตั้งแต่ ต.ค.๑๙ ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มจัดทำบัตร ประชาชนให้กับคนไทยอิสลามที่อยู่ตาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนชาวไทยในภาคใต้บางส่วน มีความเข้าใจว่า การมีบัตรประชาชนทั้งของไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดความได้เปรียบ มีสิทธิประโยชน์มากขึ้น จากการเป็นบุคคล ๒ สัญชาติ ๔.๓๐ เม.ย.๒๔ ชายไทยอิสลาม ๑.๒๐๐ คน ได้อพยพข้ามเขตไทยเข้าไปในรัฐเปรัคและเคดาห์ เข้าสู่กลันตันเป็นครั้งแรก เพราะได้รับความเดือดร้อนจาก กฎหมายประเทศเพื่อนบ้าน และทหารไทย ผู้อพยพดังกล่าวไปจากกลุ่มพูโล รัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านได้จัดศูนย์อพยพจากอำเภอเบตง ขึ้นที่อำเภอบาสิงค์ รัฐเคดาห์ จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้วันละ ๑๐ เหรียญประเทศเพื่อนบ้าน และให้ที่ดิน ๒๕ ไร่/คน เจ้าหน้าที่ไทยจากเบตง ขอเข้าพบ แต่ทางประเทศเพื่อนบ้านไม่ยอม แล้วได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ไปยังองค์การมุสลิมโลก และกาชาดสากล ขอความช่วยเหลือ ๔.๓๑ ปี ๓๐ OIC ยอมรับผุ้แทน BIPP เข้าร่วมประชุมใหญ่ขององค์การในฐานะผู้สังเกตการณ์ ๔.๓๒ ๗ มี.ค.๓๔ ผู้แทนจาก ๔ องค์การร่วมต่อสู้ ประชุมที่กลันตัน มอบหมายให้นาย กุสตาด อับดุล วาฮับ ยะลา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการดาวะห์ ๔.๓๓ ๑ ต.ค.๔๑ ที่ประชุม ที่นิวยอค์ มีมติรับไทยเข้าเป็นผู้สังเกตุการณ์ ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไทยได้ทำหนังสือถึงเลขา และรัฐมนตรีต่างประเทศสมาชิก ๕๓ ประเทศ แจ้งความประสงค์ และขอรับการสนับสนุนการสมัครเข้าร่วมของไทยใน OIC ๕. เรื่องเกี่ยวกับขบวนการก่อการร้าย (ขบด. ขจก. จกร.) ๕.๑ ปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดน (ขบด.) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเรื้อรังมานาน ไม่ใช่เรื่องปั้นขึ้นมาของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีแนวโน้มเป็นปัญหาระหว่างต่างประเทศ มีการเตรียมนำเรื่องเข้าสู่การประชุมของสหประชาชาติ ๕.๒ แม้ มะไฮยิดดินและหะยีสุหรง จะตายแล้วก็ตาม พวกที่ยังอยู่ เช่น ตวนกู ยาลา มาเซร์ และพรรคพวกในรัฐกลันตัน และภาคใต้ของไทย คงดำเนินการคิดแยกดินแดน โดยอาศัยหลัก ๘ ประการคือ (๑) ทำให้เกิดความปั่นป่วนระส่ำระสาย (๒) การจัดตั้งทางการเมือง และหน่วยกู้ชาติ (๓) จัดหาทุนและอาวุธ (๔) ดำเนินการเรื่องกรรมสิทธิที่ดินโดยการรับรอง จัดซื้อโดยรวมกันซื้อ ยึดกรรมสิทธิป่า (๕) สนับสนุนคนจากกลันตัน ตรังกานู มาสู่ดินแดนได้ผลมากในเขตอำเภอระแงะ อำเภอรือเสาะ อำเภอแว้ง มีเข้ามาอยู่แล้ว ๑๐,๐๐๐ คน แอบอ้างว่าเป็นคนไทย ๕.๓ ขบวนการโจรก่อการร้าย ส่วนใหญ่เป็นคนสองสัญชาติ ๕.๔ ขบวนการโจรก่อการร้าย เรียกร้องเงินบริจาคจากคนไทยอิสลามที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ อ้างว่านำไปใช้ในการต่อสู้ของขบวนการ ๕.๕ ขบวนการโจรก่อการร้าย ใช้กลุ่มพลังมวลชนวัยรุ่นต่อสู้ในแนวทางสันติ เช่นกลุ่มยุวมุสลิม ประจำจังหวัดต่าง ๆ กลุ่มนักศึกษาไทยมุสลิมแห่งต่างประเทศไทย กลุ่มเอกภาพ โดยใช้เงื่อนไขปัญหาด้านเชื้อชาติ ศาสนา ขนบประเพณี เช่น การแต่งกายชุด ฮิยาบ ใน วิทยาลัยครูแห่งหนึ่งในยะลา ๕.๖ ขบวนการโจรก่อการร้าย กลุ่มต่าง ๆ ยังคงมีอิทธิพลเหนือชาวไทยอิสลามใน จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมาก เพราะอำนาจรัฐไม่สามารถคุ้มครอง เขาได้เต็มที่อิทธิพลดังกล่าวจะชี้นำการปฎิบัติ ๕.๗ ในนราธิวาสชาวไทยอิสลามทำอาชีพเกษตรกรรม กระจายไปตามพื้นราบเชิงเขาในอดีตเคยเป็นของไทยพุทธ หรือคนจีน แต่เขาเหล่านี้ ถูกบังคับให้ออกนอกพื้น ที่ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปิดสวนยาง ลอบฆ่า ทำให้ผู้มีอิทธิพลเข้าไปกว้านซื้อในราคาถูก และเป็นคนไทยอิสลาม ๕.๘ ไทยอิสลามแทบทุกหมู่บ้านตกอยู่ในอิทธิพลของ ขบวนการโจรก่อการร้าย ๕.๙ ยุทธวิธีด้านการเมืองของ ขบวนการโจรก่อการร้ายคือ สร้างความแตกแยกไทยพุทธ - ไทยมุสลิม ขยายแนวร่วมสู่วงการศาสนาขยายความขัดแย้งธรรมดา ให้เป็นสงครามศาสนา ยกระดับการต่อสู้จาก ขบวนการโจรก่อการร้ายเป็นสงครามประชาชาติ เพื่อนำปัญหาเข้าสู่การพิจารณาขององค์การระหว่างชาติ การดำเนินการด้านการทหาร เน้นการก่อวินาศกรรม สร้างความปั่นป่วน ก่อกวนความสงบสุข แสวงหาประโยชน์จากการข่มขู่ ๕.๑๐ ขบวนการโจรก่อการร้ายมีโครงสร้างการจัดที่ถาวร กำหนดอุดมการณ์ต่อสู้ไว้ในธรรมนูญของขบวนการชัดเจน เพื่อแยก จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง ดำเนินการมาต่อเนื่องยาวนาน อาศัยความได้เปรียบในเรื่องโครงสร้างของสังคม คือ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งผิดแผกคนส่วนใหญ่ของต่างประเทศ เป็นเงื่อนไขในการต่อสู้ได้รับความร่วมมือกับจาก ประชาชน ๕.๑๑ การประชุมองค์การมุสลิมโลก (OIC) หลายครั้งโจรก่อการร้ายพยายามนำปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าสู่ที่ประชุม แต่ถูกยับยั้งไว้ โดยผู้แทนจากมาเลเซีย อินโดนิเซีย ปากีสถาน ตุรกี และอียิปต์ ๕.๑๒ ยุทธศาสตร์การแบ่งแยกดินแดน ตั้งเป็นรัฐปัตตานี (๑) การเมืองในต่างประเทศ ให้ดำรงอุดมการณ์ร่วมกันสร้างฐานทางการเมือง โดยอาศัยกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลไทยที่เปิดช่องว่าง สมัครเข้าช่วงชิงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ในระดับท้องถิ่นถึงระดับรัฐสภา และระดับรัฐบาล (๒) การเมืองนอกต่างประเทศ (เพื่อนบ้าน) ให้ กกล.ของขบวนการทุกรูปแบบ ทำหลักฐานเป็นบุคคลสองสัญชาติ (๓) การเมืองนอกต่างประเทศตะวันออกกลาง ให้คัดเลือกเยาวชนไปศึกษาแล้วกลับมารับราชการ เป็นผู้นำชุมชน ส่งไปฝึก อว.เพื่อมาเป็น กกล. (๔) การศาสนาให้ผู้นำศาสนาทำให้หมู่มุสลิมทำตนเคร่งครัด ต่อจริยธรรม และนิติศาสตร์สังคม ระเบียบประเพณีอิสลาม ตั้งปอเนาะให้มาก ปรับการนับถือนิกายสุหนี่ เป็น ชีอะห์ สายตะวันออกกลาง (๕) การเศรษฐกิจให้เปลี่ยนมาอยู่ในมือมุสลิมทุกสาขา ๕.๑๓ มีการปลุกระดมต่อคนไทยอิสลามใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สำนึกถึงชาตินิยม เน้นความแตกต่างในการนับถือศาสนา ภาษา ประเพณี วัฒนธรรม โฆษณาชวนเชื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง ให้คนมุสลิม และต่างประเทศเข้าใจผิดว่ารัฐบาลไทยกดขี่ ข่มเหงคนมุสลิม และบิดเบือนประวัติศาสตร์ว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ เคยเป็นของต่างประเทศเพื่อนบ้านมาก่อน เพื่อให้เป็นปัญหาที่นานาชาติควรเข้าไปเกี่ยวข้อง พยายามสร้างเงื่อนไข หรือเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลยอมไม่ได้ สร้างความแตกแยกระหว่างคนไทยพุทธกับไทยอิสลามพยายามใช้อิทธิพลบังคับให้ไทยพุทธในพื้นที่นอกเมืองให้อพยพออกจากพื้นที่ ขู่บังคับไม่ให้คนไทยอิสลามส่งบุตรหลานเข้าเรียนหนังสือไทยด้วยการข่มขู่ครู และ เผาโรงเรียน ลอบทำร้าย เรียกค่าคุ้มครองใส่ร้าย ข้าราชการที่เข้มแข็ง บังคับซื้อที่ดินชาวไทยพุทธ ให้ไทยพุทธทิ้งถิ่น ๕.๑๔ หลักการดำเนินการ ๖ ประการ เป็นแนวทางการแบ่งแยกดินแดน (๑) ปลุกใจประชาชนอิสลามให้สำนึกถึงชาตินิยม (๒) โฆษณาให้เห็นว่า ข้าราชการไทยกดขี่ข่มเหง เบียดเบียน เก็บภาษีอากร ไม่ทำนุบำรุงบ้านเมือง (๓) เรียกร้องขอสิทธิต่าง ๆ จากรัฐบาลชนิดที่ยอมให้ไม่ได้ (๔) เผยแพร่โฆษณาข่าวบิดเบือนจากความเป็นจริงทาง หนังสือพิมพ์ ทั้งใน และนอกต่างประเทศ (๕) กลั่นแกล้งร้องเรียนกล่าวโทษ ข้าราชการ (๖) ก่อให้เกิดความปั่นป่วนระส่ำระสาย ๕.๑๕ แผนการจัดตั้งรัฐบาลปัตตานี ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๙๐ และดำเนินการต่อไปตามคติที่ถือว่า พระเจ้ามิได้เป็นเทพเจ้าในวันเดียว กรุงโรมมิได้เนรมิตในวันเดียว จึงต้องถือหลักสามัคคีไว้ และจะสำเร็จได้ ๕.๑๖ การครอบครองที่ดินที่อำเภอรือเสาะ อำเภอแว้ง อำเภอระแงะ ได้ผลดีมีคนจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้าไปอยู่แล้วประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และจะเข้าไปเรื่อย ๆ ๕.๑๗ การจัดตั้งกองโจรหมู่บ้าน สำหรับคุ้มครองหมู่บ้าน โดยให้ทุกหมู่บ้านประกอบด้วยเยาวชนที่คัดเลือกแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่เคยเป็นทหาร ยังไม่มีครอบครัว และมีความรู้ ทุกคนต้องสาบานตัวแบบทหาร ๕.๑๘ ขบวนการโจรก่อการร้ายอ้างว่าตนประสบความสำเร็จ โดยสามารถส่งตัวแทนเข้ามาเป็นผู้บริหารหรือเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ ในระดับกลาง และระดับสูงของต่างประเทศข้อน่าสังเกตคือ เมื่อเกิดการเผาโรงเรียน ๓๖ แห่งใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีนักการเมืองที่เป็นมุสลิมแสดงความเห็นไม่เชื่อว่า เป็นการกระทำของ ขบวนการโจรก่อการร้ายเห็นว่าน่าจะเป็นของ เจ้าหน้าที่ของรัฐมากกว่า ๕.๑๙ ผู้ก่อการร้ายพยายามรวมประเพณีวัฒนธรรมมุสลิมเป็นศาสนาอิสลาม ประเพณีวัฒนธรรมไทยเป็นศาสนาพุทธ ผู้นำศาสนามีความเชื่อว่า เมื่อต่างประเทศเจริญ ประชาชนมีรายได้ดี จะทำให้ ประชาชนไม่เคร่งครัดในศาสนา ๕.๒๐ ทุกขบวนการต่างถือว่ารัฐบาลไทยเป็นนักจักรวรรดินิยม ซึ่งตนไม่อาจปรองดองได้ ทุกขบวนการเน้นการต่อสู้ด้วยอาวุธ เพื่อเอกราชของ ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๕.๒๑ การต่อสู้ของ ขบวนการโจรก่อการร้ายเน้นหนักการใช้เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณี ให้เกิดการขัดแย้งระหว่างไทยพุทธ - ไทยอิสลาม ๕.๒๒ ขบวนการโจรก่อการร้าย และ โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันคือ โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาต้องการปลดปล่อย ต่างประเทศเพื่อนบ้าน ส่วน ขบวนการโจรก่อการร้ายพยายามแยกดินแดนโดยได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้ง ขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา เคยขัดแย้งหรือประทะกันด้วยอาวุธ ต่างคนต่างอยู่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือ ขบวนการโจรก่อการร้ายเลย ๕.๒๓ ขบวนการโจรก่อการร้ายถือกำเนิดจากกลุ่มคนที่เป็นมุสลิม ๕.๒๔ ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ขบวนการโจรก่อการร้ายแทรกซึมเคลื่อนไหวในหมู่ญาติมิตร มีการเรียกค่าคุ้มครอง ข่มขู่ คุกคาม ผู้ที่ขัดขืนไม่มีอุดมการณ์ทางการเมืองต่อไป โฆษณาชวนเชื่อหาสมาชิก เรียกร้องมุสลิมโลกช่วยเหลือ แม้ ขบวนการโจรก่อการร้ายจะตั้งขบวนการใหม่คือมุจาฮีดีน แต่ทั้งสามขบวนการยังตกลงผลประโยชน์กันไม่ได้ ๕.๒๕ ขบวนการโจรก่อการร้ายเลือกปฏิบัติการเฉพาะครูของ โรงเรียนรัฐบาลที่สอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา แต่บรรดา โรงเรียนราษฎรสอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) อยู่อย่างปกติสุข ๕.๒๖ กลุ่มดังกล่าว เคยนำเสนอชัดเจนว่า จะเอาองค์กรศาสนามาเป็นองค์ทางการเมือง ดังที่ได้จัดตั้งกลุ่มเอกภาพมุสลิมขึ้น ภายหลังได้มาเป็นฐานเสียงให้กับผู้สมัคร ผู้แทนราษฎร บางจังหวัดในจังหวัดชานแดนภาคใต้ กลุ่มคนเหล่านี้มีอยู่ไม่น้อย ที่ทำตัวเคร่งในอุดมการณ์ ต่อสู้เพื่อรัฐอิสลามในทุกวิถีทาง ๕.๒๗ พ.ศ.๒๓๓๒ - ๒๓๓๓ แขกซายัด คนหนึ่ง (โต๊ะ ซาเหยด) อ้างตัวว่าเป็นเชื้อสาย นบีมูฮำมัด มาจากอินเดีย อ้างว่าเป็นผู้รู้เวทมนต์วิชาไสยศาสตร์ ปรากฎตัวที่ปัตตานี ยุยงให้พระยาปัตตานี ตั้งตนเป็นเอกราช พระยาสงขลา ตามไปตีได้ปัตตานี จับพระยาปัตตานีได้ส่งตัวไปขังที่กรุงเทพ ฯ จนตาย ๕.๒๘ ประวัติการก่อความไม่สงบ เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระยาพิพิธภักดี (อับดุลกาเดร์) เจ้าเมืองปัตตานี และหัวเมืองใกล้เคียง เริ่มแข็งข้อที่ปัตตานีจึงมีการปราบปรามรุนแรง เรียกว่า ปราบขบถภาคใต้ ต่อมารัชสมัย ร.๖ ก็มีการแข็งเมืองอีกหลายครั้ง โดยลูกหลานเชื้อสายของพระยาพิพิธ ฯ พวกขบถหนีไปอยู่กับญาติพี่น้องที่รัฐกลันตัน ตรังกานู แต่ได้ส่งคนมายุยงปลุกปั่นพรรคพวกในไทยอยู่เสมอ ๕.๒๙ การก่อการจราจลเพื่อปลดแอกของไทยอิสลาม รวม ๖ ครั้ง ในปี พ.ศ.๒๓๒๙, ๒๓๔๙, ๒๓๖๔, ๒๓๗๐ และ ๒๔๔๕ ๕.๓๐ ขบวนการโจรก่อการร้าย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๑ โดยพรรคพวก ตวนกู ปัตตาเด เซร์ และ ตวนกู ยาลานาเซร์ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒ ทางราชการจึงได้ประกาศให้บรรดาสมาชิก ขบวนการโจรก่อการร้าย เข้ามอบตัวต่อทางราชการ มีผู้มอบตัว ๒๐๐ คน ๕.๓๑ หลังสงครามมหาเอเชียบูรพา สงบใหม่ ๆ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๑ ขบวนการโจรก่อการร้าย ที่แทรกซึมเข้ามาใน จังหวัดนราธิวาส คือ กรมที่ ๑๐ ในการนำของอับดุลราชิคไมยิดดิน ทำการปล้นฆ่าคนไทยและคนจีน ที่ไม่ยอมร่วมมือ ประกาศปิดสวนยาง รวบรวมชาวบ้านไทยอิสลาม ๑,๐๐๐ คน เข้ายึดบ้านดุซงยอ ตำบลจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ไว้ได้เมื่อ ๒๘ เม.ย.๙๑ ทางการเข้ายึดคืนโดยใช้กำลังทหารเข้ากวาดล้าง ๕.๓๒ พ.ศ.๒๔๙๐ หะยีสุหรง ประธานกรรมการอิสลาม ปัตตานี และเป็นโต๊ะครูอยู่ในตลาด มีลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสมาก ได้รับมอบนโยบายแบ่งแยกดินแดน จากมะไฮยิดดิน มาดำเนินการใช้วิธี ๖ ประการ (๑) ปลุกใจคนไทยอิสลามให้สำนึกถึงชาตินิยม (๒) โฆษณาให้เห็นว่า ขบวนการโจรก่อการร้าย ไทยกดขี่ข่มเหง เรียกเก็บแต่ภาษีอากร ไม่ทำนุบำรุงบ้านเมือง (๓) เรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยยอมให้ไม่ได้ (๔) เผยแพร่ข่าวที่บิดเบือนทาง หนังสือพิมพ์ ทั้งในและนอกต่างประเทศ (๕) กลั่นแกล้งเรียกร้องกล่าวโทษ ข้าราขการไทย (๖) ก่อให้เกิดความปันส่วน ระส่ำระสายในบ้านเมือง ๕.๓๓ ๗ เม.ย.๒๔๙๐ หะยีสุหรง เรียกร้องต่อรัฐบาล ๗ ข้อต่อรัฐบาล เขาถูกจับ เมื่อ ๑๖ ม.ค.๙๑ พร้อมหลักฐานเอกสารการแยกดินแดน กับพรรคพวกอีก ๓ คน ทางราชการส่งฟ้องที่นครศรีธรรมราช ในข้อหากบฎ ศาลตัดสินจำคุก ๗ ปี ข้อเรียกร้อง ๗ ข้อคือ (๑) ขอให้รัฐบาลไทยแต่งตั้งข้าหลวงใหญ่ มีอำนาจปกครอง ๔ จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ผู้ที่จะรับตำแหน่งข้าหลวงใหญ่นี้ ต้องเป็นคนนับถือศาสนาอิสลาม เกิดใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งตลอดไป โดยไม่มีการสับเปลี่ยนตัว (๒) ขอให้เงินรายได้ที่ได้จากภาษีอากรใน ๔ จังหวัดนี้ มาใช้บำรุงภายใน ๔ จังหวัดภาคใต้นี้เท่านั้น (๓) ขอให้รัฐบาลให้สอนภาษามลายู ใน โรงเรียนตามตำบลต่าง ๆ จนถึงชั้นประถม ๔ (๔) ขอให้รัฐบาลแต่งตั้งชาวมลายูใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นข้าราชการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ (๕) ขอให้รัฐบาลใช้ภาษามลายูในสถานที่ราชการไปพร้อมกับภาษาไทย (๖) ขอให้รัฐบาลให้อำนาจแก่คณะกรรมการอิสลามออกกฎหมายเองได้ โดยความเห็นชอบของข้าหลวงใหญ่ (๗) ขอให้รัฐบาลแผนกศาลพิจารณาคดีแพ่งเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ออกต่างหากและให้มีอิสระในการพิจารณาดำเนินคดี ๕.๓๔ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๒ พรรคพวก ตวนกู ปัตตารอ และตวนกู ยาลา รวบรวมผู้คนจำนวนมาก ปล้นฆ่า ประชาชน ณ บ้านปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ ตามแผนการแบ่งแยกดินแดน ทางการต้องปราบอยู่นานถึง ปี พ.ศ.๒๔๙๒ พวกนี้จึงมอบตัว ๕.๓๕ พ.ศ.๒๔๙๘ - ๒๕๐๐ หะยีสุหรง เป็นผู้มีบทบาทมากที่สุด ในขบวนการแบ่งแยกดินแดน มีการกวาดล้างผู้ร่วมงานอีกหลายคน ๕.๓๖ ปี พ.ศ.๒๕๐๒ ขบวนการโจรก่อการร้าย ก่อวินาศกรรม เผาสถานที่ราชาการ เผาโรงเรียน ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ จากการปราบปรามทำให้ขบวนการโจรก่อการร้าย แตกออกเป็นกลุ่มย่อย ขัดขวางไทยอิสลามไม่ให้เกี่ยวข้องไทยพุทธ เพื่อผลแบ่งแยกดินแดน ๕.๓๗ ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ เมื่อหะยีอามีน กับพรรคพวกถูกจับกุม อดีตรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนรษฎรสตูลผู้หนึ่ง ได้รับช่วงดำเนินการต่อโดยไม่แสดงตัว มีพวกเป็นข้าราชการผู้ใหญ่มาก ไม่มีใครพาดพิงถึง การดำเนินการแบ่งเป็น ๓ สาย คือ สายโต๊ะอิหม่าม สายกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสายปอเนาะ ๕.๓๘ ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ปัตตานีมีสมาชิก ๗,๐๐๐ คน ยะลา ๕,๐๐๐ คน สตูล ๓,๐๐๐ คน ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่างประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ให้กองทุนเรียกว่า กองทุนเอาชนะโลกเสรี ๕.๓๙ พ.ศ.๒๕๐๔ พรรคพวก ตวนกู ยาลา นาเซร์ (อดุลย์ ณ สายบุรี ) หนึ่งในเจ็ดของคณะผู้สืบต่อแนวคิด ได้พิมพ์หนังสือบิดเบือนประวัติศสตร์ ชื่อประวัติรัฐปัตตานี โจมตีรัฐบาลไทย ปลุกปั่นให้รักชาติมลายู พิมพ์ที่กลันตัน ๕.๔๐ หลังปี พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๒ เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น จนรัฐบาลต้องใช้มาตรการเด็ดขาด บางพื้นที่ต้องประกาศปิดกั้นบางจุด ได้แก่ พื้นที่เทือกเขาบูโด อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส อำเภอสายบุรี อำเภอบายอ จังหวัดปัตตานี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว เป็นฐานปฎิบัติการของ เปาะเยะ มีพรรคพวกมาก ๕.๔๑ เปาะสู วาแมติซา อดีตครูใหญ่โรงเรียนจารึงตาคง ต.ท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ถูกจับ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ในข้อหาแยกดินแดน แต่ศาลปล่อยตัวเพราะหลักฐานอ่อน ๑๐ ก.ย.๑๕ เปาะสู วางแผนเข้าโจมตี อำเภอรามันห์ ร่วมกับกำนัน วานิ สามะ ใช้กำลัง ๔๐ คน ๕.๔๒ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ - ๒๕๑๒ สหพันธ์ครูยะลา จัดทำข้อมูลการกระทำของขบวนการโจรก่อการร้าย ๔๐ ครั้ง จับครู ๘ ครั้ง ยิงครู ๕ ครั้ง ปล้นเงินเดือน ๑ ครั้ง เผาโรงเรียน ๒๖ แห่ง (อนุทินรัดทด) ๕.๔๓ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ทางการยึดเอกสาร ขบวนการโจรก่อการร้ายได้ที่ อำเภอยะรัง ปัตตานี กล่าวถึงการจัดตั้งกำลังในรูปของกองโจรหมู่บ้าน โจมตีนโยบายรัฐบาลในการเปลี่ยนสภาพปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร ๕.๔๔ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ทางการได้เอกสารการจัดตั้งกองทัพปลดปล่อย ชื่อหน่วยกู้อิสรภาพแห่งชาติสาธารณรัฐปัตตานี มีภารกิจบ่อนทำลาย ศร.ของต่างประเทศ ด้วยการปิดสวนยาง การทำนาไร่ ร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม ๕.๔๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางการได้เอกสารขบวนการกู้ชาติปัตตานี ให้ทราบถึงความรับผิดชอบ การโจมตี และยึดสถานี ตำรวจอำเภอรามันห์ จังหวัดยะลา เมื่อ ๓๐ ก.ย.๑๕ เพื่อวัตถุประสงค์ตักเตือนรัฐบาลไทย และประชาชนในเรื่อง (๑) ให้มีมนุษยธรรม และปลดปล่อยผู้ที่ถูกจับกุมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๒) ให้มีความยุติธรรมไม่กดขี่ ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๓) ให้ระลึกอยู่เสมอว่า เราเป็นชาติที่ต่างกันมีความคิดเชื่อถือ ตลอดจนขนบประเพณีที่ต่างกัน มีภาษาพูดไม่เหมือนกัน ประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการเอกราช ๕.๔๖ ปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้เอกสารศูนย์กรรมการพรรครักชาติปัตตานี เรียกร้องสิทธิพิเศษสำหรับสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๕ ประการ ต่อรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ที่สำคัญประการหนึ่งคือ เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นรัฐปัตตานีแต่อยู่ในความคุ้มครองของรัฐบาลไทยที่กรุงเทพ ฯ ๕.๔๗ หลังเกิดเหตุการณ์วุ่นวายในกรุงเทพ ฯ เมื่อ ๑๔ ต.ค.๑๖ หลังจากนั้นเพียง ๕ วัน พรรคประชาชาติปัตตานี ได้พิมพ์ใบปลิว ลง ๑๙ ต.ค.๑๖ เรียกร้องต่อรัฐบาลชุดใหม่ ๕ ข้อ มีสระสำคัญประการหนึ่งคือ ต้องการพรรคการเมืองพรรคเดียว ที่สนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยให้ไทยมุสลิมเป็นผู้นำ ในการปกครองประเทศ และใช้ภาษามลายู ต้องการให้ ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นรัฐเดียวกัน ๕.๔๘ จากเอกสารลับของขบวนการโจรก่อการร้าย ที่ทางการจับได้ นำลงในหนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ เมื่อ ๒,๓ ก.ค.๑๗ มีสาระกล่าวถึงการดำเนินการในปี พ.ศ.๒๕๑๗ ในหลายเรื่อง กล่าวถึงขบวนการเริ่มงานตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๙๐ มีการทำประวัติมลายู ปัตตานีแจกต่อในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งตัวแทนไปปอเนาะมัสยิด ให้โจมตีรัฐบาล ให้ทุกคนซื้อปืน อ้างว่าไว้ป้องกันตัว ให้หาที่ดินไว้ครอบครอง กันคนไทยไม่ให้เข้าไปอยู่ ไม่แต่งงานกับคนไทย ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ มีปืนที่ยะลา ๖,๐๐๐ กระบอก ปัตตานี ๘,๐๐๐ กระบอก นราธิวาส ๑๐,๐๐๐ กระบอกการโฆษณาเรื่องการเมืองโดยอ้างศาสนาเป็นหลักได้ผลดีมาก ๕.๔๙ ช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ สถานการณ์การก่อการร้าย มีความรุนแรงอย่างมาก ปี พ.ศ.๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ ความรุนแรงลดลง เนื่องจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และโจรคอมมิวนิสต์มลายา ได้ยุติบทบาท คงเหลือโจรก่อการร้ายเพียงกลุ่มเดียว แต่ความรุนแรงได้ลดลง จนถึงระดับที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ฯ ปี พ.ศ.๒๕๔๒ โจรก่อการร้าย เป็นปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย มิใช่ปัญหาความมั่นคง จึงใช้กฎหมายอาญาเป็นหลัก ประกอบกับ มหาดไทยได้ขอยกเลิกพระราชบัญญัติ ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อ เม.ย.๔๒ ๕.๕๐ ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้เอกสารหน่วยประชาสัมพันธ์ ของขบวนการก่อการร้าย จะดำเนินการดังนี้ (๑) จะต่อต้านและทำลายระบบล้มล้างศาสนา และทำลายภาษามลายู ตลอดถึงการทำลายวัฒนธรรมมลายูภาคใต้ โดยการปิดโรงเรียนไทย จับครูเรียกค่าไถ่ ยิงครู และเจ้าหน้าที่ ผู้เปลี่ยนหลักสูตรภาษามลายู การเขียน การอ่านมลายูให้เป็นไทย (๒) เผาโรงเรียนที่สร้างเพื่อทำลายวัฒนธรรมมลายูอิสลามปัตตานี เช่น โรงภาพยนต์ ซ่องโสเภณี สถานที่ลีลาศ การเขียน การอ่านมลายูให้เป็นไทย (๓) ลอบฆ่า และจับตำรวจ ทหาร ที่ทำลายอิสรภาพ เอกราช เสรีภาพ และชีวิตทรัพย์สินสมบัติของชาวมลายู ๕.๕๑ เหตุการณ์ประท้วงที่ปัตตานี จากกรณีที่ชาวไทยอิสลาม ๕ คน ถูกสังหาร เมื่อ ๒๙ พ.ย.๑๘ โดยกกล่าวหาว่า หน่วยนาวิกโยธิน ที่ตั้งอยู่ ณ บ้านเชิงเขา ตำบลบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ทางราชการยอมชดใช้เป็นเงิน ๓๒,๐๐๐ บาท และรับดำเนินคดี แต่ชาวไทยอิสลามใน อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เริ่มชุมนุมประท้วงที่ตำบลตะโล๊ะดารามัน อำเภอสายบุรี เมื่อ ๓ ธ.ค.๑๘ โดยมีครูใหญ่ ผู้จัดการปอเนาะสะพานม้า อำเภอสายบุรี เป็นหัวหน้าอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ผู้หนึ่ง เป็นที่ปรึกษาชาวไทยอิสลาม และนักเรียนจากปอเนาะต่าง ๆ ในอำเภอสายบุรี ๒,๐๐๐ คน มาประท้วงที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี สส.สอบตก พรรคชาติไทย ให้การสนับสนุน - วิทยุกระจายเสียงที่รัฐกลันตัน ได้เรียกร้องยุยงให้ไทยอิสลามสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมตัวขับไล่ทหาร - มีการตั้งศูนย์พิทักษ์ ประชาชนเป็นกองอำนวยการ มีผู้อ้างตัวเป็น นักศึกษาจาก มาเลเซีย - รามคำแหง และผู้แทนกลุ่มมุสลิมจาก อำเภอมีนบุรี กรุงเทพ ฯ เข้าร่วมด้วย การปลุกระดมใช้ภาษามลายูพื้นเมือง และภาษามาเลเซียกลาง เน้นหนักการแบ่งแยกไทยพุทธ - ไทยอิสลาม สลับกันไป ๕.๕๒ ๘ พ.ค.๑๘ เปาะสู และลูกน้อง ๑๗ คน มอบตัวที่ อำเภอรามัน ยะลา พร้อม ปลย.เอ็ม ๑๖ ๒๒ กระบอก คาร์บีน ๗ กระบอก เอ็มทรี ๑ กระบอก สถานการณ์ทั่วไปไม่ดีขึ้น ขบวนการโจรก่อการร้าย กลุ่มต่าง ๆ ในสังกัด เปาะเยะ จับคนเรียกค่าไถ่มากยิ่งขึ้น คุกคามครูประชาบาล จนโรงเรียนต้องปิด ๒๔ แห่ง ๕.๕๓ ก.ค.๑๘ พรรคพวกเปาะสู เข้ามอบตัวรวม ๑๒๒ คน (รวม ๗๗ คน เดิมด้วย) เมื่อทำประวัติแล้วปล่อยตัว พร้อมอาวุธ และทางการออกหนังสือรับรองให้ความคุ้มครอง ของผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และนายอำเภอรามัน ยังความขมขื่นของฝ่ายปราบปราม ชาวบ้านเรียกขบวนการโจรก่อการร้าย พวกนี้ว่า โจรบัตรแข็ง พวกนี้สะพายอาวุธอย่างเปิดเผย เข้าไปขู่เอาเงินค่าคุ้มครองในเขตอำเภอรามัน ๕.๕๔ ปี พ.ศ.๒๕๐๘ บุคคลชั้นแนวหน้าของ ขบวนการโจรก่อการร้ายที่หลบหนีไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน ได้กลับมายุยงปลุกปั่น ประชาชนอีก โดยจัดตั้งหน่วยงานระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เป็นหน่วยงานย่อย ใช้ศาสนาเป็นเครื่องบังหน้า ก่อกวนให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างไทยพุทธ - ไทยอิสลาม เสริมสร้างความรู้สึกทางเชื้อชาติ ใช้ปอเนาะเป็นเครื่องมือสำคัญติดต่อ หัวหน้าศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ถัดออกไป ตามแผนการจัดตั้งมหาอาณาจักร ของประธานาธิบดีของประเทศดังกล่าว แต่แผนล้มเหลวจากการเสียอำนาจของประธานาธิบดีของประเทศนั้น ๕.๕๕ มีการประท้วงของไทยอิสลาม ระหว่าง ๑๑ ธ.ค.๑๘ - ๒๕ ม.ค.๑๙ ที่มัสยิดกลางปัตตานี มีผู้มาร่วมชุมนุมหลายหมื่นคน จากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่และจากกรุงเทพ ฯ มีการส่งหนังสือเชิญชวน ผู้แทนมุสลิมจาก อินโดนิเซีย มาเลเซีย ซีเรีย ลิเบีย ให้มาสังเกตการณ์ ๕.๕๖ ๑๓ ม.ค.๑๙ รัฐบาลส่ง รมต.ประจำสำนักนายก ฯ มาพบผู้แทนกลุ่มประท้วงที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มประท้วงขอให้ถอนทหารออกจากภาคใต้ ทั้งหมดใน ๗ วัน ตกลงกันได้ ๗ ข้อ ๒๕ ม.ค.๑๙ สลายตัว ๕.๕๗ หลังเหตุการณ์สงบลง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ ทหารได้ลดบทบาท และอำนาจลงไป เป็นผลให้โจรก่อการร้าย มีโอกาสตั้งตัวขึ้นมาเงียบ ๆ เริ่มแสดงอิทธิพลตั้งแต่ปลาย ปี พ.ศ.๒๕๓๐ ทวีความรุนแรงในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ลดลงไปบ้างในปี พ.ศ.๒๕๓๒ และมีแนวโน้มลดลงในช่วงต่อ ๆ ไป ๕.๕๘ การรวมตัวของกองกำลังติดอาวุธของโจรก่อการร้าย ทำมาแล้ว ๓ ครั้ง ในปี พ.ศ.๒๕๒๗, พ.ศ.๒๕๒๘ และ พ.ศ.๒๕๓๒ ๕.๕๙ ปี พ.ศ.๒๕๓๑ การก่อการร้ายทวีความรุนแรงขึ้นมาอีก มีความถี่สูงโดยเฉพาะใน มี.ค.๓๑ ช่วงที่มีการประชุม องค์การมุสลิมโลก (OIC) เช่น วางเพลิงเผาโรงเรียน ๔ แห่ง วางระเบิดพระพุทธทักษิณ ฯ วัดเขากง ก่อนเลือกตั้งทั่วไป โจรก่อการร้าย เผาโรงเรียน และสถานีอนามัย ในนราธิวาส ๑๑ แห่ง ๕.๖๐ ปี พ.ศ.๒๕๓๑ ขบวนการโจรก่อการร้าย อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมทั้งด้านการเมือง และการทหาร ผู้นำโจรก่อการร้าย ระดับสูงหาทางปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยรวมสมาชิกจากพูโล และ บีอาร์เอ็น เข้าด้วยกัน เป็นขบวนการ มูจาฮีดีน แต่ไม่ประสบความผลเท่าที่ควร เพราะขาดการสนับสนุนจากมวลชนในท้องถิ่น และในบางพื้นที่ยังถูกต่อต้านจากไทยอิสลามด้วยกันเอง ๕.๖๑ ปี พ.ศ.๒๕๓๑ การก่อการร้ายขบวนการต่าง ๆ ลดลง ไม่มีเสรีการปฎิบัติ คาดว่าจะยุติสถานการณ์ สู้รบ โครงการมุสลิมสันติทำให้โจรก่อการร้าย แนวร่วมและผู้สนับสนุนออกมารายงานตัว เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยถึง ๖๕๒ คน โจรก่อการร้ายแปรสภาพเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ ก่อวินาศกรรม เผาโรงเรียน ซุ่มโจมตี เจ้าหน้าที่ของรัฐสูงขึ้น ขัดขวางไทยอิสลาม ไม่ให้เกี่ยวข้องในพุทธ ๕.๖๒ โจรก่อการร้าย มีความมุ่งหมายในพื้นฐานที่จะคุกคามไม่ให้วัด หรือราษฎร ชาวพุทธอาศัยอยู่ใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มานานแล้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ เคยใช้ระเบิดขนาด ๕๐ ปอนด์ ซ่อนไว้ใต้ฐานพระพุทธรูป ผลการคุกคามทำให้พระสงฆ์ บางวัดในนราธิวาส ไม่กล้าออกบิณฑบาตร บางวัดต้องย้ายไปจำพรรษาที่วัดในจังหวัดอื่น ๕.๖๓ ๗ มี.ค.๓๔ ผู้แทนจาก ๔ องค์กร ร่วมต่อสู้ประชุมที่กลันตัน มอบหมายให้ นาย กุสตาด อับดุล วาฮับ ยะลา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการดาวะห์ ๕.๖๔ มิ.ย.๓๔ สภาต่อสู้แห่งชาติปัตตานี จะฝึกรวมเพื่อจัดตั้งกองทัพแห่งปัตตานี มีสมาชิกจาก ๔ ขบวนการเข้าฝึกที่เขาลิแป อำเภอแว้ง นราธิวาส และยะลา ผู้นำจาก ๔ขบวนการ ยื่นหนังสือต่อ ประธานสภาสูงสุด สภาร่วมต่อสู้แห่งชาติปัตตานี เปิดเผยผู้นำการต่อสู้ของรัฐปัตตานี ต่อชาวโลก และประกาศจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติปัตตานี จะเริ่มประกาศ ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ๕.๖๕ กลาง ส.ค.๓๕ โจรก่อการร้าย พูโล ผู้นำขบวนการกล่าวว่าจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ในการแบ่งแยกดินแดนด้วยการปฎิบัติของกองกำลังติดอาวุธเพียงอย่างเดียว จะต้องเป็นการปฎิบัติการจิตวิทยาต่อประชาชน ควบคู่กันไป โดยเน้นแนวร่วมระดับผู้นำท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา และผู้มีฐานะทางสังคม และให้ขยายผลทางด้านศาสนา ต่อกลุ่มที่เผยแพร่ศาสนาอิสลาม เพื่อขยายงานท้องถิ่นไปสู่ระดับรัฐบาล ๕.๖๖ โรงเรียนที่ถูกเผา ๓๖ แห่ง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ ๑ ส.ค.๓๖ อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งขบวนการโจรก่อการร้าย ต่อต้านเนื่องจากมิได้สอนศาสนาอิสลาม ส่วนบรรดาปอเนาะไม่เคยถูกเผา แม้แต่แห่งเดียว ๕.๖๗ ขบวนการโจรก่อการร้าย อ้างว่าตนประสบความสำเร็จ โดยสามารถส่งตัวแทนเข้ามาเป็นผู้บริหาร หรือเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ ในระดับกลาง และระดับสูงของประเทศ ข้อน่าสังเกตคือ เมื่อเกิดการเผา โรงเรียน ๓๖ แห่ง ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีนักการเมืองที่เป็นมุสลิมแสดงความเห็นไม่เชื่อว่า เป็นการกระทำของขบวนการโจรก่อการร้าย เห็นว่าน่าจะเป็นของเจ้าหน้าที่ของรัฐมากกว่า ๕.๖๘ ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ขบวนการพูโล ออกแถลงการณ์เรียกร้อง ให้รัฐบาลปล่อยปัตตานีเป็นรัฐอิสระ ขู่วางระเบิดพระพุทธทักษิณ ฯ วางแผนสังหารบุคคลสำคัญ ขู่วางระเบิดสถานีรถไฟ ทำให้สมาพันธ์ครู ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอขอปิดโรงเรียน ใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึง ๘๙๐ แห่ง เป็นเวลา ๒๐ วัน ๖. การดำเนินการของรัฐ ๖.๑ พ.ศ.๒๓๓๒ - ๒๓๓๓ แขกซายัด คนหนึ่ง (โต๊ะซาเหยด) อ้างตัวว่าเป็นเชื้อสาย นบีมูฮำมัด มาจากอินเดีย อ้างว่าเป็นผู้รู้เวทมนต์วิชาไสยศาสตร์ ปรากฎตัวที่ปัตตานี ยุยงให้พระยาปัตตานี ตั้งตนเป็นเอกราช พระยาสงขลาตามไปตีได้ปัตตานี จับพระยาปัตตานีได้ ส่งตัวไปขังที่กรุงเทพ ฯ จนตาย ๖.๒ พ.ศ.๒๔๕๕ พระยาพิพิธภักดี (อับดุล กาเดร์) ขอเบี้ยหวัดย้อนหลัง แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่โปรดให้เพราะเห็นว่าเป็นกบฎ ต่อมาได้ขอครอบครองที่ดิน ๖๐๐ แปลง อ้างว่าเป็นมรดก แต่ศาลตัดสินว่า ที่ดินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน ๖.๓ พ.ศ.๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางนโยบายการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไว้ ๖ ประการ ๖.๔ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้นำลัทธิชาตินิยม หรืออุดมการณ์รัฐนิยมมาใช้ เพื่อก่อให้เกิดการประสมประสานทางวัฒนธรรม แต่ดูเหมือนจะไร้ผล ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๖.๕ สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ยกเลิกการเรียนภาษามลายูในโรงเรียนชั้นประถม ห้ามนำหนังสือจากมาเลเซีย มาสอนในโรงเรียน อพยพชาวไทยพุทธ จากภาคอื่นเข้าไปตั้งถิ่นฐาน พยายามอบรมเยาวชนในโรงเรียนว่าเป็นคนไทย แต่นับถือศาสนาอิสลาม ๖.๖ หลังสงครามมหาเอเซียบูรพา สงบใหม่ ๆ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๑ ขบวนการโจรก่อการร้ายที่แทรกซึมเข้ามในจังหวัดนราธิวาส คือ กรมที่ ๑๐ ในการนำของอับดุลราชิคไมยิดดิน ทำการปล้นฆ่าคนไทย และคนจีน ที่ไม่ยอมร่วมมือ ประกาศปิดสวนยาง รวบรวมชาวบ้านไทยอิสลาม ๑,๐๐๐ คน เข้ายึดบ้านดุงซอยอ ตำบลจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ไว้ได้เมื่อ ๒๘ เม.ย.๙๑ ทางการเข้ายึดคืนโดยใช้กำลังทหารบก และทหารเรือ เข้ากวาดล้าง ๖.๗ พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐบาลให้เสรีภาพทางศาสนา แต่งตั้งจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการอิสลามกลาง กระทรวงมหาดไทย ตั้งกองประสานงานพิเศษ ในกรมการปกครอง ๖.๘ กฎหมายครอบครัว และมรดกฝ่ายอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกเมื่อ ๙ พ.ค.๘๙ ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร ดาโต๊ะยุติธรรมที่กำหนดให้เลือกตั้งจังหวัดละ ๒ คน ไม่ได้รับความนิยมจาก ประชาชนการปรึกษาคดีเกี่ยวกับครอบครัว และมรดกยังคงเป็นไปนอกสถาบันศาล ไทยอิสลามจะแสวงหาผู้นำทางศาสนาที่มีชื่อเสียง เพื่อขอคำปรึกษา แนะนำตามรูปแบบ และธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณถึงปัจจุบัน ๖.๙ รัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ ได้ประกาศมาตรการหลายประการ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่จะนำไปสู่การแยกดินแดนเช่น พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันขึ้นหลายระดับ ทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างประชาชฃนกับรัฐบาล เช่นตำแหน่งจุฬาราชมนตรี สถาบันศึกษาศาสนาอิสลาม คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่ง ประเทศไทย และประจำจังหวัดที่มี ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามอยู่มาก ๖.๑๐ พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม ใช้คำว่าประชาชนชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามแทนที่จะเรียกว่า ผู้นับถือศาสนามุฮัมหมัดและไทยอิสลามอย่างแต่ก่อน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นไทยมุสลิม หะยีสุหลง กล่าวว่าไทยอิสลามถูกปกครองโดยสยาม คำว่าไทยอิสลาม ซึ่งใช้เรียกอยู่เวลานั้นเป็นสิ่งเตือนใจดังกล่าว จึงขอให้รัฐบาล เรียกไทยอิสลามว่า มลายูมุสลิม เพื่อโลกภายนอกจะได้เข้าใจในความแตกต่างของไทยอิสลาม กับชาวไทยทั่วไป ๖.๑๑ พระราชบัญญัติอุมถัมภ์ฝ่ายอิสลาม กำหนดให้ผู้นำศาสนาของไทย อิสลามต้องขึ้นอยู่กับส่วนกลางเป็นการขัดกับความรู้สึกของคนบางกลุ่ม บางพวก สถาบันต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดตั้งใหม่ จึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบริหารและประสานความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างที่หวัง ๖.๑๒ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๒ พรรคพวกตวนกู ปัตตารอ และตวนกู ยาลา รวบรวมผู้คนจำนวนมากปล้มฆ่าประชาชน ณ บ้านปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ ตามแผนการแบ่งแยกดินแดน ทางการต้องปราบอยู่นานถึง ปี พ.ศ.๒๔๙๒ พวกนี้จึงมอบตัว ๖.๑๓ ขบวนการโจรก่อการร้าย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑ โดยพรรคพวกตวนกู ปัตตาเดเซร์ และตวนกูยาลานาเซร์ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒ ทางราชการจึงได้ประกาศ ให้บรรดาสมาชิก ขบวนการโจรก่อการร้าย เข้ามอบตัวต่อทางราชการมีผู้มอบตัว ๒๐๐ คน ๖.๑๔ หน่วยนาวิกโยธิน เข้าไปปฏิบัติการครั้งแรกที่ นราธิวาส ครั้งปราบกบฎดุซงยอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ ต่อมาในปลาย ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้เข้ามาปฏิบัติการ โดยอยู่ในความควบคุมทางยุทธการของ กองอำนวยการรักษาความสงบภาคใต้ (กอ.รสต.) ในนราธิวาส และที่อำเภอสายุบรี ปัตตานี ซึ่งเป็นปมสำคัญที่ใช้เป็นแหล่งส้องสุม และหลบหนีไปกลันตันของ ขจก. ๖.๑๕ พ.ศ.๒๔๙๘ - ๒๕๐๐ หะยีสุหรง เป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในขบวนการแบ่งแยกดินแดน มีการกวาดล้างผู้ร่วมงานอีกหลายคน ๖.๑๖ เกิดเหตุการเรียกร้องให้ยกเลิกการขึ้นทะเบียนมัสยิดกรือเซะ เป็นโบราณสถาน ที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ มีการอภิปรายที่มัสยิดกรือเซะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๓ หลังปี พ.ศ.๒๕๓๙ จัดถี่ขึ้นล่าสุดโจมตีรัฐบบาลถึงการตายของหะยีสุหรง ประกาศพร้อมทำสงครามกับรัฐบาลที่กดขี่มุสลิม กล่าวจาบจ้วงหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีความรุนแรงในการชุมนุมทำร้ายตำรวจบาดเจ็บสาหัส ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสั่งจับกุมแกนนำ ๓ คน พรรคพวก ๑๒ คน ๖.๑๗ แผนปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้าย ที่สำคัญ นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ มี ๕ ครั้ง จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๙ คือในปี พ.ศ.๒๕๐๘ , ปี พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๑, ปี พ.ศ.๒๕๑๑, ปีพ.ศ.๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ , ปี พ.ศ.๒๕๑๓ - ๒๕๑๙ ๖.๑๘ กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดหลักการปกครองสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับข้าราชการในพื้นที่มี ๖ ประการ และในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้กำหนดนโยบายไว้เป็นสองลักษณะคือ นโยาบายเฉพาะเรื่อง กับนโยบายทั่วไป ออกมาตามลำดับ ในปี พ.ศ.๒๕๐๙, ๒๕๑๒, ๒๕๑๗, ๒๕๑๘, ๒๕๒๐ และ ๒๕๒๑ นโยบายทั่วไป กำหนดครั้งแรกเมื่อ ๒๔ ม.ค.๒๑ เป็นนโยบายความมั่นคงของชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ มีการทบทวนนโยบาย ปี พ.ศ.๒๕๒๑ คือ - สถานการณ์ในอดีต มีพื้นฐานจากความแตกต่างทางศาสนา ขนบประเพณี และวัฒนธรรม มีฐานเศรษฐกิจที่แคบ มีขบวนการโจรก่อการร้าย หลายกลุ่ม มีการแทรกแซงจากภายนอก โดยเฉพาะประเทศมุสลิมหัวรุนแรง - สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต มีปัญหา ๒ ประการคือ ความไม่สงบ และความไม่เข้าใจการแก้ปัญหาที่ผ่านมา ไม่แยกมิตรแยกศัตรู มีสถานการณ์เพิ่มเติมคือ การส่งออกปฏิวัติอิสลาม ของอิหร่าน ขบวนการโจรก่อการร้าย มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น หลังจากที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้นมากว่า ๕ ปี - นโยบายที่กำหนด มี ๒ ประการคือ สร้างความเข้าใจและให้เกิดความสงบสันติ นโยบายมี ๘ ประการ ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ประสานนโยบายระหว่างส่วนกลางกับพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับผิดชอบวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ๖.๑๙ หลังปี พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๒ เหตุการณ์แรุนแรงมากขึ้น จนรัฐบาลต้องใชัมาตรการเด็ดขาด บางพื้นที่ต้องประกาศปิดกั้นบางจุด ได้แก่ พื้นที่เทือกเขาบูโด อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส อำเภอสายบุรี อำเภอบายอ จังหวัดปัตตานี อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นฐานปฎิบัติการของ เปาะเยะ มีพรรคพวกมาก ๖.๒๐ เปาะสูวาแมติชา อดีตครูใหญ่โรงเรียนจารึงตาคง ตำบลท่าธง อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ถูกจับ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ในข้อหาแยกดินแดน แต่ศาลปล่อยตัวเพราะหลักฐานอ่อน ๑๐ ก.ย.๒๕๑๕ เปาะสู วางแผนเข้าโจมตี สภ.อ.รามันห์ ร่วมกับกำนัน วานิ สามะ ใช้กำลัง ๔๐ คน ๖.๒๑ พ.ศ.๒๕๑๑ การปราบปรามได้ผลดีทำให้กลุ่มโจรซบเซาลงไปมาก ครั้นทางราชการระงับการปราบปราม ไปชั่วระยะหนึ่ง กลุ่มโจรกลับพื้นที่คืนชีพ ๖.๒๒ พ.ศ.๒๕๑๒ ใช้แผนรามคำแหง มีการจัดตั้ง กองอำนวยการปราบปรามพิเศษเขต ๙ ขึ้น โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อำนวยการ ใช้กำลังตำรวจภูธร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองร่วมกันได้ผลดีมาก จับกุมคนร้ายได้ ๗๒๘ คน มอบตัว ๔๕ คน ยึดปืนได้ ๑๐๐ กระบอก ขบวนการโจรก่อการร้าย ตาย ๕๘ คน ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นมาก ๖.๒๓ ๑๐ พ.ย.๑๓ มท.มีคำสั่งแต่งตั้ง กองอำนวยการปราบปรามพิเศษเขต ๙ (กอ.ปพร.เขต ๙) ตามแผนป้องกันและปราบปรามผู้ร้ายพิเศษ โดยมีแนวคิดให้ฝ่ายปกครอง ผนึกกำลังร่วมกับฝ่ายตำรวจ โดยใกล้ชิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ที่นราธิวาส ผลการปราบปราม ตั้งแต่ พ.ย.๑๓ - ม.ค.๑๕ มีการปะทะ ๘๗ ครั้ง ขบวนการโจรก่อการร้าย ตาย ๘๖ คน มอบตัว ๙๗ คน จับได้ ๑,๒๖๕ คน ยึดปืนได้ ๒๑๓ กระบอก ๖.๒๔ กระทรวงมหาดไทยทำโครงการส่งนักศึกษาไทยอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕ ๑๔ เข้าเรียนในระดับพาณิชยการ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก ๖.๒๕ ปี พ.ศ.๒๕๑๔ ทางการได้เอกสารการจัดตั้งกองทัพปลดปล่อยชื่อ หน่วยกู้อิสระภาพแห่งชาติธารณรัฐปัตตานี มีภารกิจบ่อนทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการปิดสวนยาง การทำนาไร่ ร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม ๖.๒๖ ข้าราชการระดับบริหารไม่มีนโยบายการปราบปรามที่แน่นอนต่อเนื่อง เมื่อเริ่มปราบปรามครั้งแรกในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ทำการปราบปรามโจรก่อการร้าย ทำเยี่ยงผู้ร้ายธรรมดา พอเห็นส่อว่าเป็นโจร การเมืองก็หมดสมัยเสียก่อน ๖.๒๗ โจรก่อการร้าย เดิมเรียก ขบวนการแบ่งแยกดินแดน (ขบด.) เปลี่ยนเป็น ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) เมื่อ ๒๗ ม.ค.๑๕ เปลี่ยนเป็น โจรก่อการร้าย (จกร.) ตามอนุมัติ ผู้อำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์ (ผอ.ปค.) เมื่อ ๒๓ ก.พ.๓๘ เพื่อลดระดับความสำคัญ ให้เป็นเพียงการก่อการร้ายในท้องถิ่น ๖.๒๘ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ ทางการได้เอกสารขบวนการกู้ชาติปัตตานี ให้ทราบถึงความรับผิดชอบการโจมตี และยึดสถานีตำรวจ อำเภอรามันห์ จังหวัดยะลา เมื่อ ๓๐ ก.ย.๒๕๑๕ เพื่อวัตถุประสงค์ ตักเตือนรัฐบาลไทย และประชาชนในเรื่อง (๑) ให้มีมนุษยธรรม และปลดปล่อยผู้ที่ถูกจับกุมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๒) ให้มีความยุติธรรมไม่กดขี่ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๓) ให้ระลึกอยู่เสมอว่าเราเป็นชาติที่ต่างกันมีความเชื่อถือ ตลอดจนขนบประเพณีที่ต่างกัน มีภาษาพูดไม่เหมือนกัน ประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการเอกราช ๖.๒๙ ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้เอกสารศูนย์กรรมการพรรครักชาติปัตตานี เรียกร้องสิทธิพิเศษสำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๕ ประการ ต่อรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ที่สำคัญประการหนึ่งคือ เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรัฐปัตตานีแต่อยู่ในความคุ้มครองของรัฐบาลไทยที่กรุงเทพ ฯ ๖.๓๐ การแก้ปัญหาขวบนการโจรก่อการร้าย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ.๒๕๑๕) รัฐบาลแก้ปัญหาที่เนื่องจากโจรผู้ร้ายเท่านั้น ไม่ได้แก้ปัญหาด้านอื่น อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ๖.๓๑ สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ มีปัญหาเฉพาะหน้ามาก การปราบปรามชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้แต่งตั้ง พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา เป็น ผู้อำนวยการรักษาความสงบภาคใด้ การปราบปรามจึงเริ่มใหม่ ใช้กำลังทหารร่วมกับตำรวจ ๖.๓๒ ๒๓ เม.ย.๒๕๑๗ ขบวนการโจรก่อการร้ายกลุ่มเจ๊ะ กูติง จับพยาบาลมิชชั่นนารี ๒ คน เรียกค่าไถ่ ๑๐ ล้านบาท เพื่อต่อเรองทางการเมืองกับอังกฤษ และมาเลเซีย แต่ไม่สำเร็จ ทั้งสองคนถูกขบวนการโจรก่อการร้าย ยิงทิ้ง เมื่อ ก.ย.๒๕๑๗ ๖.๓๓ ๑๖ ธ.ค.๒๕๑๗ กลุ่มพิทักษ์สวัสดิภาพครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑,๐๐๐ คน ออกแถลงการณ์ให้ครูหยุดสอนจนกว่าจะได้ครูสตรี ๓ คน ที่ขบวนการโจรก่อการร้ายจับวตัวไปกลับคืนมา ๖.๓๔ การจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะเจ้าหน้าที่ขึ้นเป็นพิเศษ ๑) คณะเจ้าหน้าที่รับผิดชอบความมั่นคงปลอดภัย ตั้งสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ฯ คือ พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า ๒) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งผู้ตรวจราชการกระทรวงวมหาดไทย เป็นประธาน ๓) กองอำนวยการรักษาความสงบภาคใต้ กองทัพภาคที่ ๔ มี พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา เป็น ผู้อำนวยการ ๖.๓๕ สมัยรัฐบาล มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีนโยบายให้ขบวนการโจรก่อการร้าย เข้ามอบตัว และให้หยุดการปราบปรามไว้ชั่วระยะหนึ่ง ๖.๓๖ ๘ พ.ย.๒๕๑๘ เปาะสู และลูกน้อง ๑๗ คน มอบตัว และมีการมอบตัวอีก ๒ ครั้ง รวม ๑๒๒ คน แต่สถาการณ์ไม่ดีขึ้นในโรงเรียนประชาบาลใน อ.ยี่งอ ต้องปิดถึง ๒๔ แห่ง ๖.๓๗ มหาดไทย จัดให้จุฬาราชมนตรี กับกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เดินทางไปบรรยาย ศาสนาอิสลามแก่ชาวไทยอิสลาม ตามภูมิภาคต่าง ๆ ปีละ ๒ ครั้ง จัดอิหม่าม มาศึกษาดูงานใน กรุงเทพ ฯ ตามโครงการประชาสัมพันธ์ เริ่มปี ๒๐ ๖.๓๘ ปี พ.ศ.๒๕๒๑ คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้กองทัพบก ดำเนินการโครงการทหารพรานในภาคใต้ จัดตั้งครั้งแรก ๑๓ กองร้อย ปี พ.ศ.๒๕๒๔ โอนให้ กองทัพภาคที่ ๔ จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจอาสาทหารพราน ( ฉก.อส.ทพ.) รับผิดชอบ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ เปลี่ยนเป็น กองกำลังทหารพราน กองทัพภาคที่ ๔ (กกล.ทพ.ทภ.๔) ได้รับอนุมัติจัดตั้ง ๓๖ กองร้อย ๖.๓๙ ไทยกับมาเลเซียตกลงร่วมกันปราบโจรคอมมิวนิสต์มลายา ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย ปรากฎว่าการปฏิบัติการทุกครั้งอยู่ในไทย มาเลเซีย มีการติดต่อกับขบวนการโจรก่อการร้าย ในพื้นที่ปฏิบัติการเพื่องานข่าวกรอง จากหลักฐานที่ยึดได้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ ที่อำเภอมายอ ปัตตานี ระบุว่า มีการติดต่อประสานงานกันระหว่างสำนักงาน ขบวนการโจรก่อการร้ายในกลันตันกับทางการมาเลเซีย ๖.๔๐ คณะกรรมการนโยบาย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๒๑ ม.ค.๒๑ มีกรรมการ อยู่ ๒ คณะ เพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ๑) ระดับชาติ มีเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน ๒) ระดับท้องถิ่น มี แม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นประธาน การปฏิบัติไม่ได้ผล ไม่ได้รั้บการตอบสนองจากหน่วยงานระดับสูง ขาดความพร้อมด้านงบประมาณ ๖.๔๑ กองอำนวยการรักษาความสงบภาคใต้ (กอ.รสต.) เผชิญปัญหาการเมือง และไม่มีอำนาจทางกฎหมายรองรับ ได้ถูกยุบเลิกไป และตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แทนโดยมีกฎหมายรองรับคือ กฎหมายป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ๖.๔๒ ปัตตานี ได้ประกาศเป็น จังหวัดสันติสุขถาวร เมื่อ ๑๕ ตำบลค.๒๗ ในภาพรวม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มสงบเรียบร้อยลงเป็นลำดับ ๖.๔๓ การดำเนินการปรับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ศูนย์อำนวยการบริหารภาคใต้ (ศอ.บต.) ทำแผนพัฒนาระยะ ๓ ปี (ปี พ.ศ.๒๕ ๒๘ - ๒๕๓๐) มี ๙ แผนงาน ๓๗ โครง งป.๕,๖๘๗ ล้านบาท ครอบคลุมกิจกรรมทุกด้าน การปฏิบัติเชื่องช้า ต้องยืดเวลาไปจนถึง ปี พ.ศ.๒๔๓๔ ๖.๔๔ โครงการไทยมุสลิมแก้ปัญหาไทยมุสลิม ได้นำเอาโครงสร้างทางสังคมของไทยอิสลามมาศึกษาวิเคราะห์ และพัฒนาใช้โครงสร้างนี้ เป็นโครงสร้างทางสังคม ให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชนทั่วไป ในการแก้ปัญหาของไทยอิสลามด้วยตัวมันเอง ภายใต้การชี้นำอย่างมีระบบจากองค์กร ที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยองค์กรของรัฐ แก้ปัญหาองค์กรที่จัดตั้ง (คณะทำงาน) โดยอาศัยโครงสร้างผู้นำมุสลิมทางสังคม เพื่อขจัดความขัดแย้งต่อต้าน ใช้ยุทธวิธีแก้ปัญหาทีละอย่าง ใช้มุสลิมส่วนใหญ่ที่ไม่มีปัญหามาแก้ปัญหามุสลิมที่เป็นปัญหา โครงการนี้ขยายตัวอย่างกว้างขวางมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านการเมือง และสังคมจิตวิทยา เป็นผลดี ได้รับความร่วมมือ และสมใจจากชาวไทยอิสลามมาก แต่มิได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ๖.๔๕ คณะทำงานไทยมุสลิมแก้ปัญหาไทยมุสลิม ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ ริเริ่มโดย ผบ.พล.ร.๕ ๒๕ มิ.ย.๓๑ ไทยอิสลามห้า จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสวันรัชมังคลาภิเษก ที่ปัตตานีเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกิจกรรมซึ่งริเริ่มโดยสังคมมุสลิมเอง เกิดความรู้สึกใหม่ว่า กิจกรรมวันสำคัญของชาติ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกศาสนา ๖.๔๖ โจรก่อการร้ายแสวงประโยชน์จากศาสนาอิสลาม ขอความช่วยเหลือจากมาเลเซีย ไทยแก้ปัญหาตามนโยบายความมั่นคง ฯ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๓๑ - ๒๕๓๕ ทำให้โจรก่อการร้ายออกมามอบตัวจำนวนมาก ปัจจุบัน (ปี ๒๕๔๑) โจรก่อการร้ายที่เหลืออยู่มีการรวมตัวกันเรียกว่า ขบวนการเบอร์ซาตู ประกอบด้วยพูโล บีอาร์เอ็น และมุจาฮีดิน แผนปฏิบัติงานของเบอร์ซาตูคือการก่อวินาศกรรม โดยใช้วัตถุระเบิด ๖.๔๗ พล.ร.๕ และ กกล.ผสมเฉพาะกิจไทย ได้กำหนดโครงการคณะทำงานไทยมุสลิม แก้ปัญหาไทยมุสลิม ๖ โครงการ ๖.๔๘ โครงการเพื่อความหวังใหม่ (พวม.) เริ่มปี ๓๒ เป็นโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีสาเหตุพื้นฐานจากปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม โครงการ พวม.มุ่งพัฒนาด้านสังคมจิตวิทยาไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ด้วย ๖.๕๙ จากแนวโน้มของสถานการณ์ตั้งแต่ปี ๓๐ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ได้จัดทำโครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่ (พวม.) ของ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีงปประมาณ ๓๒ ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ กองอำนวยการโครงการเพื่อความหวังใหม่ ได้ดำเนินการหลัก ๔ ประการ เพื่อให้ประชาชนปลอดภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยส่งหน่วยทักษิณพัฒนา (นทพ.) หน่วยพิทักษ์ประชาชน และ ทรัพยากร (นพช.) หน่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (นพฐ.) ออกปฎิบัตใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๖.๕๐ โครงการเพื่อความหวังใหม่ เป็นโครงการหนึ่งของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการป้องกัน และปราบปรามคอมมิวนิสต์ (ผอ.ปค.) เป็นประธานมีวัตถุประสงค์ เพื่อผสมผสานการพัฒนา และการปราบปรามเข้าด้วยกันอย่างมีเอกภาพ บนพื้นฐานแห่งความเข้าใจ โดยให้ทหารเป็นผู้ช่วยเหลืองานของฝ่ายปกครอง ๖.๕๑ โครงการเพื่อความหวังใหม่ กองทัพภาคที่ ๔ ทำ ๔ แผนงานหลัก มีหน่วยปฏิบัติการ ๑๙ หน่วย มีหน่วยทักษิณพัฒนา (นทพ.) เป็นแผนปฏิบัติการจิตวิทยา และช่วยประชาชน แผนความมั่นคงด้านการรักษาความปลอดภัย มีหน่วยพิทักษ์ประชาชน (นพป.) ๓๐ ชุด ไปอยู่ตามหมู่บ้านที่ล่อแหลม แผนพัฒนาการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ใช้แผน ๓ ปี ของ ศอ.บตำบลไปปรับปรุงตามความจำเป็น และแผนประชาสัมพันธ์ ทำร่วมกันระหว่าง กองทัพภาคที่ ๔ กับ ศอ.บต. ๖.๕๒ โครงการเพื่อความหวังใหม่ (พวม.) ของประชาชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปลี่ยนชื่อเป็นโครงการทักษิณพัฒนา ๖.๕๓ ๑ ตำบลค.๒๕๓๓ - ๓๑ ธ.ค.๒๕๓๓ พตท.๔๓ เปิดแผนยุทธการยุทธชัย ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ อย่างต่อเนื่องได้ผลทำให้การก่อการร้ายลดลง ก่อนหน้านี้ ขจก.มีการเคลื่อนไหวใน ๑๔ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ ๓๒ ตำบล ๖.๕๔ แนวทางแก้ปัญหาโจรก่อการร้าย เริ่มปี พ.ศ.๒๕๓๕ ดำเนินการมา ๒ ปีเศษ มีความคืบหน้าไปมาก มีการพบปะเจรจา ๒ ครั้ง แต่ด้วยปัจจัยเวลา และผู้บริหารระดับสูงของกองทัพบก จึงได้เปลี่ยนนโยบายไป ๖.๕๕ นโยบายความมั่นคง ฯ เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ คณะรัฐมนตรี เห็นชอบเมื่อ ๗ มิ.ย.๓๗ โดยได้ทบทวนของเดิมพบว่า มีปัญหาการพัฒนาล่าช้า การก่อการร้าย และการใช้ความรุนแรงยังมีอยู่ต่อไป สภาพทางสังคมจิตวิทยาไม่เปลี่ยนแปลงกลุ่มโจรก่อการร้ายไม่เปลี่ยนแปลงกลุ่ม จกร.ยังมีอยู่ สาระสำคัญของนโยบายมี ๗ ประการ ๖.๕๖ นโยบายการแก้ปัญหา ได้ออกมาตามลำดับจนถึงนโยบายความมั่นคง ฯ เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ มีวัตถุประสงค์ ๗ ข้อ นโยบาย ๑๕ ข้อ มีด้านเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การเมือง การปกครอง การรักษาความสงบ การต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์ และการบริหารนโยบาย ๖.๕๗ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ได้เชิญ เอกอัครราชทูต และ ผู้ช่วยทูตทหาร ของประเทศอิสลาม ไปรับทราบสถานการณ์ที่แท้จริง ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์โครงการทักษิณพัฒนา ๒ ครั้ง ใน ส.ค.๓๘ และ เม.ย. - พ.ค.๓๙ ๖.๕๘ ๒๓ เม.ย.๓๙ มีคำสั่งสำนักนายก ฯ เรื่อง การปรับปรุงการบริหารคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคง จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีรองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการ และเลขา ฯ ให้แต่งตั้งสำนักงานคณะกรรมการ อก. แก้ไขปัญหาความมั่นคง จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สชตำบล) ขึ้นใน สมช. ๖.๕๙ ให้มีการตั้งองค์กรแก้ปัญหาในระดับพื้นที่ โดยให้กระทรวงมหาดไทย ตั้ง ศอ.บต. ให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อำนวยการ ตั้ง พตท.๔๓ ใน กอ.รมน.ภาค ๔ ๖.๖๐ กกล.ทพ.ทภ.๔ ได้รับมอบภารกิจให้จัดกำลังปฏิบัติตามแผนงาน กอ.รมน.โดยมอบให้กรม ทพ.ที่ ๔๑ และ ๔๓ จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการปราบโจรก่อการร้าย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นทางยุทธการ พตท.๔๓ ๖.๖๑ นโยบายความมั่นคง ฯ ของไทยต่อมาเลเซีย (ปี พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๔๒) สมช.มีมติเมื่อ ๑๒ มิ.ย.๔๐ มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อคือ ๑) ให้ความสัมพันธ์ทุกด้านเป็นไปอย่างใกล้ชิดบนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน ๒) ในพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย มีความมั่นคงปลอดภัย และเจริญก้าวหน้า มีนโยบายรองรับ ๑๔ ข้อ ๖.๖๒ ปี พ.ศ.๒๕๔๑ กระทรวงมหาดไทย ถือว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย ไม่ใช่ปัญหาความมั่นคงตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ๖.๖๓ คำสั่ง สำนักนายก ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ เรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงมหาดไทย ริเริ่มเนื่องจากวิเคราะห์สถานการณ์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าปัจจุบันทางราชการสามารถควบคุมได้ โจรก่อการร้าย ไม่สามารถต่อสู้ด้วยอำนาจรัฐด้วยกำลังอาวุธได้ ๖.๖๔ การดำเนินนโยบายต่อชาวไทยอิสลาม ยึดนโยบายรวมพวกมาตลอด ไม่ถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อย ๖.๖๕ มีการส่งโต๊ะครูจำนวนหนึ่งไปกรุงเทพ ฯ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชาวมุสลิม ในส่วนกลางและส่งกลับเมื่อเหตุการณ์ค่อยสงบลง ๖.๖๖ ประสบการณ์จากอดีตได้บทเรียนว่า การวางแนวนโยบายกับการนำไปปฏิบัตินั้น บางทีไม่เป็นไปเหมือนที่คาดหวัง ความล้มเหลวของนโยบายบางอย่าง ส่งผลร้ายให้เกิดขึ้น และมีผลเสียยืดเยื้อ จนแก้กันไมทั่วถึง ทำให้กล่าวได้ว่า นโยบายที่ไม่ดีพอนั้น ไม่มีนโยบายเสียเลยดีกว่า ๖.๖๗ แนวทางยุทธศาสตร์ และนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องอาศัยทฤษฎียอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ถือว่ามนุษย์อาจผิดแผกแตกต่างกันในทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา การแต่งกาย และอื่น ๆ แต่สามารถครองชีวิตอยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างสันติ ๗. ข้อมูลทั่วไป ๑. จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับบริเวณตอนเหนือของรัฐปะลิส เคดาห์ (ไทรบุรี) เปรัค และกลันตัน คนไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเดินทางผ่านไปมาและเข้าออกมาเลเซียอยู่เสมอ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสังคมมาเลเซียมากกว่าสังคมไทย คิดอยู่เสมอว่าตนเองไม่ใช่คนไทย ๒. ไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับมาเลเซีย ๖๔๗ กิโลเมตร เป็นเขตทางบก ๕๕๒ กิโลเมตร ทางน้ำ ๙๕ กิโลเมตร พรมแดนไทมาเลเซีย มีช่องทางผ่านเข้าออก ๒๙ ช่องทาง เป็นช่องที่ถูกกฎหมาย ๖ ช่องทาง (ด่าน) อยู่ในสตูล ๑ ช่องทาง (ด่านเบตง) นราธิวาส ๒ ช่องทาง (ด่านตาบา และด่านสุไหงโกลก) ๓. จังหวัดนราธิวาสทางทิศใต้ มีอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโกลก และอำเภอแว้ง ติดต่อกับรัฐกลันตันและเปรัคของมาเลเซีย โดยมีแม่น้ำโกลกเป็นเส้นกั้นเขตแดน มีทางรถไฟข้ามแดนไทย - มาเลเซีย ที่สุไหงโกลก จังหวัดยะลา ติดต่อกับรัฐเคดาห์ และเปรัคของมาเลเซีย ทางด้านอำเภอเบตง บันนังสตา และอำเภอยะหา โดยมีภูเขาสันปันน้ำเป็นแนวเขตแดน มีทางรถยนต์เชื่อมต่อไทย - มาเลเซีย ที่ อำเภอเบตง จังหวัดสตูล ติดต่อกับรัฐปะลิสของมาเลเซีย การคมนาคมติดต่อไทย - มาเลเซีย ใช้ทางทะเล ๔. จังหวัดสตูล มีเปอร์เซนต์ของคนไทยอิสลามสูงกว่าอีกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่มีบรรยากาศเป็นทางไทยอยู่มาก การทำพิธีทางศาสนาอิสลามบางอย่าง มักจะมีพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาปนอยู่ด้วย เช่น การเข้าสุหนัดก่อนเริ่มพิธีจะมีพิธีทางพุทธศาสนาก่อนแล้ว จึงทำพิธีทางอิสลาม ๕. ชาวมลายูได้เปลี่ยนศาสนาไปนับถืออิสลาม เมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๔ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙) เมื่อรัฐมะละกาถูกปกครองโดยผู้นับถืออิสลาม ๖. พ.ศ.๒๔๕๑ อังกฤษได้ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส จากไทย ๗. พ.ศ.๒๔๘๘ จัดตั้งสหพันธรัฐมลายู (Federation of Malaya) พ.ศ.๒๕๐๖ สิงคโปร์ ซาบาห์และซาราวัค ได้เข้ามารวมและก่อตั้งเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย สิงคโปร์แยกตัวออกไป เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ ๘. มาเลเซียเป็นสังคมหลายเชื้อชาติ หลายภาษา ประกอบด้วย ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ มาเลย์ จีน และอินเดีย ในอัตราร้อยละ ๔๕ , ๓๖ และ ๙ อีกร้อยละ ๑๐ เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม มาเลเซียมีปัญหาเรื่องเชื้อชาติร้ายแรงมาก ไม่มีค่านิยมร่วมกันอยู่เลย ขาดปัจจัยยึดเหนี่ยว ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างชาวจีนกับชาวมาเลย์ ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ยุบสภา ให้สภาปฏิบัติการแห่งชาติบริหารประเทศแทน ๙. สงครามปากีสถานตะวันออก - ตะวันตก เป็นผลผลิตของสงครามทางศาสนา ตั้งเป็นประเทศบังคลาเทศได้ เพราะความสามัคคีของชาวปากีสถาน ที่นับถืออิสลาม การต่อสู้แบ่งแยกดินแดน ๑๐. ชาวสวนยาง สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่มีสวนยางขนาดเล็ก ประมาณครอบครัวละ ๑๕ ไร่หรือน้อยกว่า ปัตตานี และนราธิวาส มีสวนยางขนาดเล็กที่สุดในภาคใต้ ในระยะยาวจะมีขนาดเล็กไปกว่านี้ตามลำดับ ร้อยละ ๗๖ ของกรรมกรชนบทเป็นกรรมกรกรีดยาง ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่สุดของชนชั้นกรรมาชีพ อาชีพรองลงมาคือชาวนา มีที่ดินทำนาน้อยมาก เฉลี่ยครอบครัวละ ๖ ไร่ ผลผลิตต่ำ ๑๑. ภาษามลายูท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มีคำแปลความหมายเฉพาะว่าสัญชาติ คงใช้คำว่ามายอ ซึ่งแปลได้ทั้งสัญชาติและภาษารวมกัน คำว่ามายอมลายู จึงแปลว่าสัญชาติมลายูไปในตัว ๑๒. ไทยคุ้นเคยและรู้จักศาสนาอิสลามและชาวมุสลิมมานาน ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๒ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘) ๑๓. จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพื้นที่ ๒๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากร ๒.๙๕ ล้านคน เป็นคนอิสลาม ร้อยละ ๖๗ นราธิวาส ร้อยละ ๘๒ รายได้เฉลี่ย ๓๐,๐๐๐ บาทต่อปี (ปี ๓๙) ๑๔. มลายูรับเอาศาสนา และวัฒนธรรมอาหรับมาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิต ความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปจากคนไทยมาก จนเกือบเป็นคนละเชื้อชาติไปเลย ๑๕. ชาวมลายู มีขนบประเพณีคล้ายคลึงกับชาวชวา หรือเอเซียมาก สันนิษฐานว่า อพยพมาจากชวา การแต่งกายเอาส่วนหนึ่งของศาสนา มาเป็นวัฒนธรรมด้วย ๑๖. ในที่ซึ่งมีคนจำนวนตั้งแต่ ๔๐ คนขึ้นไปมักจะมีมัสยิด หรือสุเหร่าหนึ่งแห่ง จุคนได้ ๒๐๐ - ๓๐๐ คนเป็นอย่างมาก ทำให้คนมีโอกาสได้พบกัน มีความสามัคคีกันอยู่เฉพาะในกลุ่มของตน แต่กับกลุ่มอื่นมักมีเรื่องขัดแย้งกันอยู่เสมอ ๑๗. ในกลันตัน มีคนสัญชาติไทยนับถือพุทธศาสนาจำนวนมาก อาศัยอยู่แต่ทางมาเลเซีย ยังไม่อนุมัติให้ถือสัญชาติมาเลเซีย ทำให้ขาดสิทธิในด้านต่าง ๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ๑๘. พลเมืองมาเลเซีย เชื้อชาติจีนมีจำนวนเกือบใกล้เคียงกับคนมลายู และมีแนวโน้มจะมากกว่าในอนาคต แต่ละเชื้อชาติแยกกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ไม่ปะปนกัน ๑๙. อาณาจักรนครศรีธรรมราช มีเมืองขึ้นตั้งแต่กระบุรีไปสุดแหลมมลายู มี ๑๒ หัวเมืองใหญ่ (เมือง ๑๒ นักษัตร) ได้แก่สายบุรี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี ยะรัง พัทลุง ตรัง ชุมพร บันไทเสมอ สมุเลา ตะกั่วป่า และกระบุรี ๒๐. ศาสนสถานใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ๒,๔๐๖ แห่ง เป็นมัสยิด - สุเหร่า ๑,๕๙๐ แห่ง ๒๑. มัสยิดเป็นแบบของกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมอิสลาม นอกจากจะทำพิธีทางศาสนา แล้วปัจจุบันมัสยิดหลายแห่งได้จัดสอนวิชาศาสนาแก่ยุวชนมุสลิม โดยสร้างเป็นอาคารอยู่ใกล้เคียงมัสยิด เรียกว่า โรงเรียนตาดีกา บางแห่งเรียกโรงเรียนพัรดูอีน ๘. ปรากฎการณ์ ๘.๑ พ.ค.๐๕ ไทยอิสลาม ๒,๐๐๐ คนเศษ จากไทยและมาเลเซีย ไปแสวงบุญที่เมกกะ ได้ร่วมประชุมที่เมกกะ ผลการประชุมให้มีการจัดตั้งสมาคมขึ่น ๒ สมาคม คือ สมาคมอาดูน (สมาคมนักศึกษาหนุ่ม) และสมาคมชาวปัตตานี ร่วมกับสมาคมซาอุ ฯ ดำเนินการเพื่อแบ่งแยกดินแดนสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งตัวเป็นอิสระ หรือรวมกับมาเลเซีย ที่ประชุมได้ยกปฎิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ มาพิจารณาลงมติให้ดำเนินการโดยสันติวิธี คือ ให้คนไทยอิสลามในไทย เป็นผู้ร้องเรียนต่อสหประชาชาติ ๘.๒ ปี พ.ศ.๒๕๑๒ เกิดโจรก๊กต่าง ๆ มากมาย แทบทั่วภาคใต้ ยกเว้นจังหวัดสตูล ๘.๓ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ - ๒๕๑๖ มีการจับครูที่สอนอยู่ในพื้นที่ห่างไกลไปเรียกค่าไถ่หลายราย คนไทยอิสลามไม่ค่อยถูกจับไปเรียกค่าไถ่ ๘.๔ ความสัมพันธ์ของ ขบวนการโจรก่อการร้าย, โจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้ก่อการ้าย พบว่า ผกค. ได้พยายามขยายมวลชนเข้าสู่ชาวไทยอิสลาม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอเวลา หลัง ต.ค.๑๖ นิสิต นักศึกษา นักเรียน ได้หลบหนีเข้าป่า ร่วมกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ใน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พวกนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นไทยอิสลาม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) โดยผู้ก่อการร้ายฉวยโอกาส รวบรวมคนเหล่านี้ ตั้งเป็นกองกำลังติดอาวุธ ได้ดึงขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรคอมมิวนิสต์มลายาบางส่วน เข้าร่วมให้ชื่อว่า กองทัพปลดแอกมุสลิมไทย ที่ค่ายเขต ๒ บนเทือกเขาโต๊ะเจ๊ะเด๊ะ บ้านมาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เมื่อ ส.ค.๒๑ ต่อมา เมื่อ ต.ค.๒๑ ขบวนการ BRN และ PULO ได้ประกาศถอนตัว เนื่องจากระดับหัวหน้าของ BRN ถูกสังหาร ๘.๕ ตั้งแต่ ต.ค.๑๙ มาเลเซียเริ่มจัดทำบัตรประชาชน ให้กับคนไทยอิสลามที่อยู่ตามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนชาวไทยในภาคใต้บางส่วนมีความเข้าใจว่า การมีบัตรประชาชนทั้งของไทยและมาเลเซีย ทำให้เกิดความได้เปรียบมีสิทธิประโยชน์มากขึ้น จากการเป็นบุคคล ๒ สัญชาติ ๘.๖ ไทยกับมาเลเซีย ตกลงร่วมกันปราบโจรคอมมิวนิสต์มลายาตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย ปรากฎว่าการปฏิบัติการทุกครั้งอยู่ในไทย มาเลเซียมีการติดต่อกับ ขบวนการโจรก่อการร้ายในพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่องานข่าวกรองจากหลักฐานที่ยึดได้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ ที่อำเภอบายอ จังหวัดปัตตานี ระบุว่า มีการติดต่อประสานงานกัน ระหว่างสำนักงานขบวนการโจรก่อการร้ายในกลันตัน กับทางการมาเลเซีย ๘.๗ พ.ย.๒๓ กลุ่มนักศึกษามุสลิม จัดงาน ๑๕ ศตวรรษมุสลิม ที่ธรรมศาสตร์ มีการจัดโปสเตอร์ให้คำขวัญ มีการอภิปราย มีการแสดงละคร อาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬา ฯ ผู้หนึ่งที่นับถือศาสนาอิสลามสนับสนุนโคไมนี ว่าทำถูกต้อง ให้ชาวมุสลิมยึดถือปฏิบัติ และศึกษาแบบอย่าง ๘.๘ พื้นที่การเคลื่อนไหวในปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีทุกอำเภอในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๔๕ ลดลงเหลือ ๙ ตำบลใน ๔ อำเภอของจังหวัดนราธิวาส ๘.๙ ปี พ.ศ.๒๕๒๗ - ๒๕๒๙ การก่อการร้ายลดลงมาก ครั้งแรก ปี พ.ศ.๒๕๓๑ มีเหตุการณ์รุนแรง ๒๐ ครั้ง ๘.๑๐ การมอบตัวของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย มีขบวนการโจรก่อการร้ายเพียงส่วนน้อย ๘.๑๑ ปี พ.ศ.๒๕๓๐ อุดมการณ์ ขบวนการโจรก่อการรร้ายเสื่อมคลายลง ไม่มีการปฏิบัติการทางทหาร ขบวนการโจรก่อการร้ายระดับหัวหน้า ซ่อนตัวในมาเลเซีย ประชุมกันชี้นำสมาชิกในไทย เคลื่อนไหวขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ลักลอบส่งสมาชิกที่ฝึกแล้วมาปฏิบัติงานในไทย โจรคอมมิวนิสต์มลายาเคลื่อนไหวลดลงมาก เนื่องจากโจรคอมมิวนิสต์มลายากลุ่มใหญ่ (กรม.๘ เขต ๒) ได้ออกมามอบตัว ๘.๑๒ แนวโน้มมีของขบวนการโจรก่อการร้าย (ปี พ.ศ.๒๕๓๒) ได้ขยายตัวเข้าไปในพื้นที่ของโจรคอมมิวนิสต์มลายา (ที่เข้ามอบตัว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒) ๘.๑๓ ความสนใจเรื่องการศึกษาทางศาสนาดูจะทวีขึ้นในระยะหลังนี้ ครูสอนศาสนาย้ำเรื่องความสำคัญและจำเป็นของการเรียนรู้เรื่องศาสนาแก่ชาวบ้าน โดยผ่านทางอิหม่าม และนักเรียนของตน ๘.๑๔ ผู้นำมุสลิมเปลี่ยนรูปตนเองไปตามยุคสมัย แบ่งออกเป็น ๔ ช่วง (๑) พ.ศ.๒๔๔๔ - ๒๔๗๕ ผู้นำส่วนใหญ่เป็นพวกเจ้าเมืองผู้เสียอำนาจ กษัตริย์มุ่งเน้นความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และประวัติศาสตร์ (๒) พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๔๘๘ ผู้นำเก่าหันไปพึ่งมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษเรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง ผู้นำศาสนาเริ่มมีบทบาทเข้ามาในฐานะผู้นำทางการเมือง มีหะยีสุหรง เป็นต้น (๓) พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๕๑๖ ผู้มีบทบาทสำคัญคือ ผู้นำศาสนา มีอายุลดลงเป็นคนหนุ่มมากขึ้น (๔) พ.ศ.๒๕๑๖ - ๒๕๒๔ สังคมไทยเปลี่ยนตัวเร็ว มีความรุนแรง ตื่นตัวทางการเมือง ๙. มุมมองและข้อสังเกต ๙.๑ ปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดนเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง เรื้อรังมานาน ไม่ใช่เรื่องที่ปั้นแต่งขึ้นมาของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ (ท้องถิ่น)มีแนวโน้มเป็นปัญหาระหว่างประเทศ มีการเตรียมนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมของสหประชาชาติ ๙.๒ การทำความเข้าใจปัญหา สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะละเว้นการเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะข้อมูลดังกล่าว เหมือนแสงสว่าง ที่ส่องให้เห็นลู่ทางที่จะเข้าไปถึงปัญหา ๙.๓ วิกฤตกาลที่เกิดมาแล้วในอดีตหลายครั้ง สาเหตุและรูปการณ์เป็นไปทำนองเดียวกัน กับปัญหาที่เผชิญอยู่ปัจจุบัน ๙.๔ ยุคใดผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน หรือมีความยุ่งยากทางการเมือง หรือบ้านเมืองอ่อนแอพวกคิดแยกดินแดนจะฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ๙.๕ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูโดยผิวเผินเหมือนมีความสงบเรียบร้อยดี แต่ความจริงกลับตรงกันข้ามคือมีสถานการณ์คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งรุนแรง บางครั้งเบาบาง บางครั้งสงบ แต่ส่วนลึกยังมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ โดยต่อเนื่องคล้ายคลื่นใต้น้ำ ๙.๖ การต่อสู้ของขบวนการโจรก่อการร้าย เน้นหนักการใช้เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีให้เกิดการขัดแย้งระหว่างไทยพุทธ - ไทยอิสลาม ๙.๗ ขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรคอมมิวนิสต์มลายา มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน คือ โจรคอมมิวนิสต์มลายา ต้องการปลดปล่อยมาเลเซีย ส่วนขบวนการโจรก่อการร้าย พยายามแยกดินแดนโดยได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้ง ขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรคอมมิวนิสต์มลายา เคยขัดแย้งหรือประทะกันด้วยอาวุธ ต่างคนต่างอยู่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือ ขบวนการโจรก่อการร้าย เลย ๙.๘ ปกติไทยพุทธกับไทยอิสลามนั้นต่างคนต่างอยู่ มีอยู่น้อยที่เป็นชุมชนผสมผสาน หรืออยู่ร่วมกัน มักไม่มีกิจกรรมอะไรร่วมกันนักชุมชนไทยอิสลามบางแห่ง อยู่ไกลชุมชนไทยพุทธมาก ตลอดทั้งปีจะไม่เคยแม้กระทั่งเห็นชาวพุทธเลย ส่วนในเมืองแตกต่างกันออกไป จึงมีการติดต่อกันพอสมควร แม้ไม่สนิทสนมกันมาก ในเมืองแบ่งออกเป็นสองพวกคือ ไทยอิสลามเก่ากับไทยอิสลามใหม่ ไทยอิสลามเก่าเคร่งครัดศาสนา ไม่คบค้าสมาคมกับไทยพุทธ ไม่เคยมีกิจกรรมอะไรร่วมกัน แต่ไทยอิสลามใหม่มีการคบค้าสมาคมกับไทยพุทธค่อนข้างสูง และมีกิจกรรมร่วมกันพอสมควร ๙.๙. พ.ศ.๒๔๘๘ จัดตั้งสหพันธรัฐมลายู (Federation of Malaya) พ.ศ.๒๕๐๖ สิงคโปร์ ซาบาห์และซาราวัคได้เข้ามารวม และก่อตั้งเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย สิงคโปร์แยกตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ ๙.๑๐ หลังจากเหตุการณ์วุ่นวายระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๑ - ๒๔๙๓ สงบเรียบร้อยแล้วเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ได้ลางเลือนไปจากความทรงจำของผู้คนจนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๐ มาเลเซียได้รับเอกราชได้ปรากฏ ขบวนการโจรก่อการร้าย กลุ่มต่าง ๆ คุกคามประชาชน โดยเฉพาะไทยพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะแรกเข้าใจว่าเป็นโจรผู้ร้ายธรรมดา กว่าจะรู้ว่าเป็นการกระทำของ ขบวนการโจรก่อการร้าย ก็เกือบสายเกินแก้ ๙.๑๑ ภัยสำคัญที่สุดของมาเลเซียคือ โจรคอมมิวนิสต์มลายาซึ่งมีฐานปฏิบัติการในไทย มาเลเซียขอร้องไทยให้ปราบโจรคอมมิวนิสต์ ไทย - มาเลเซีย ได้ทำข้อตกกองบัญชาการอยู่ในกลันตัน มาเลเซียรู้เรื่องดี ๙.๑๒ ชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผิดแผกแตกต่างไปจากชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในแง่ที่ว่าไม่ได้อพยพเข้ามาเหมือนชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ แต่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้นมาแต่โบราณกาล ดังนั้นนโยบายรัฐบาลจึงมิได้กำหนดเป็นพิเศษ นอกจากมีข้อยกเว้นบางประการ ๙.๑๓ สภาพทางสังคมจิตวิทยาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผิดแผกแตกต่างจากภาคอื่นโดยสิ้นเชิง คือ มีเอกลักษณ์ทางศาสนา ภาษา และประวัติศาสตร์ ๙.๑๔ การก่อการร้ายโดยแท้จริงแล้วหวังผลทางการเมือง มิได้เกิดจากกลไกของรัฐเป็นฝ่ายสร้างเงื่อนไข ๙.๑๕ ขบวนการโจรก่อการร้าย เลือกปฏิบัติการเฉพาะครูของโรงเรียนรัฐบาลที่สอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา แต่บรรดาโรงเรียนราษฎรสอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) อยู่อย่างปกติสุข ๙.๑๖ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชื่อหมู่บ้าน และตำบล ส่วนมากเป็นภาษามาเลย์ ที่เป็นภาษาไทยมีน้อย ไทยอิสลามนิยมตั้งชื่อตัว และชื่อสกุลตามวัฒนธรรมอิสลาม ตั้งชื่อเป็นภาษามาเลย์ และภาษาอาหรับ ๙.๑๗ ไทยมุสลิมไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการต่อสู่โจรคอมมิวนิสต์มลายาด้วย แม้ไทยมุสลิมไม่ได้สนับสนุนโจรคอมมิวนิสต์มลายา แต่ไม่ได้ต่อต้าน ขบวนการโจรก่อการร้าย บางพื้นที่ร่วมมือกับโจรคอมมิวนิสต์มลายา ๙.๑๘ ไทยอิสลามใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีไม่เกินร้อยละ ๕ ที่ให้การสนับสนุนขบวนการโจรก่อการร้าย เพราะเป็นญาติพี่น้องกัน ไม่ใช่ด้วยอุดมการณ์เหมือนกัน ร้อยละ ๕ ไม่ชอบร้อยละ ๙๐ วางเฉย ๙.๑๙ การศึกษาใน ปอเนาะ ถ้ามองให้ลึกอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแยกตัวออกจากสังคมไปอยู่อย่างโดดเดี่ยว อารยธรรมภายนอกไม่มีทางเข้าไปปะปนได้ ๙.๒๐ ปัญหาโจรก่อการร้าย จะใช้การเจรจาอย่างเดียวเช่น โจรคอมมิวนิสต์มลายา ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เป็นไปได้ยากเนื่องจากโจรก่อการร้ายมีหลายกลุ่ม ไม่มีเอกภาพ มีการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ การเมือง ศาสนา และองค์กรมุสลิมโลก ๙.๒๑ มีการสังหารผู้ที่ไม่ยินยอม ไม่ยอมเป็นพวก ไม่สนับสนุน ขัดขวางขบวนการ สงสัยทรยศหรือหักหลัง แม้คนมุสลิมก็สังหาร ๙.๒๒ ปี พ.ศ.๒๕๓๑ รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้นำลัทธิชาตินิยมหรืออุดมการณ์รัฐนิยมมาใช้ เพื่อก่อให้เกิดการประสมประสานทางวัฒนธรรม แต่ดูเหมือนจะไร้ผลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๙.๒๓ รัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ ได้ประกาศมาตรการหลายประการ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่จะนำไปสู่การแยกดินแดนเช่น พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันขึ้นหลายระดับ ทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เช่น ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี สถาบันศึกษาศาสนาอิสลาม คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย และประจำจังหวัด ที่มีประชาชนนับถือศาสนาอิสลามอยู่มาก ๙.๒๔ พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม ใช้คำว่าประชาชนชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามแทนที่จะเรียกว่า ผู้นับถือศาสนามุฮัมหมัด และไทยอิสลามอย่างแต่ก่อน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นไทยมุสลิม ๙.๒๕ สำหรับชาวมาเลย์มุสลิม คำว่ามลายูกับคำว่ามุสลิม มีความหมายอย่างเดียวกัน ส่วนคำว่าไทย หรือสยามกับคำว่าพุทธก็เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน การเรียกว่าไทยอิสลาม จึงไม่สามารถที่จะเป็นไทยทั้งพุทธ (ไทย) และมุสลิม (อิสลาม) นี่เป็นเหตุผลของไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้บางส่วน ๙.๒๖ พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม กำหนดให้ผู้นำศาสนาของไทยอิสลาม ต้องขึ้นอยู่กับส่วนกลาง เป็นการขัดกับความรู้สึกของคนบางกลุ่มบางพวก สถาบันต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดตั้งใหม่ จึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบริหาร และประสานความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างที่หวัง ๙.๒๗ กฎหมายครอบครัวและมรดกฝ่ายอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกเมื่อ ๙ พ.ค.๘๙ ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร ดาโต๊ะยุติธรรม ที่กำหนดให้เลือกตั้งจังหวัดละ ๒ คน ไม่ได้รับความนิยมจาก ประชาชนการปรึกษาคดีเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกยังคงเป็นไปนอกสถาบันศาล ไทยอิสลามจะแสวงหาผู้นำทางศาสนา ที่มีชื่อเสียง เพื่อขอคำปรึกษา แนะนำตามรูปแบบ และธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณถึงปัจจุบัน ๙.๒๘ ข้อเรียกร้องของ หะยีสุหรง ๗ ประการคือ การจัดตั้งดินแดนที่มีความเป็นตัวของตัวเองในทางวัฒนธรรม ไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดนทางการเมือง อย่างเด็ดขาด เป็นเงื่อนไขขั้นต่ำสุดที่ไทยอิสลามต้องการ เขาถูกจับตัวดำเนินคดี ก่อให้เกิดการจลาจลที่นราธิวาส คือ กบฎคุซงยอ เมื่อ ๒๖ - ๒๘ เม.ย.๙๑ นับเป็นการต่อต้านรัฐบาลที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของไทยอิสลาม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๙.๒๙ มีการจัดตั้งสาธารณรัฐปัตตานีหรือสหพันธรัฐปัตตานี ดำเนินการโดยนักการเมืองทั้งในและนอกประเทศ โดยอาศัยความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา ขนบประเพณี โครงร่างปรากฎชัดในปี พ.ศ.๒๕๑๐ มีโจรก๊กใหญ่หลายก๊ก เก็บภาษีเถื่อน ปิดสวนยาง ปิดบริษัทการค้า ปิดโรงเรียน ฆ่าครู จับคนไปเรียกค่าไถ่ เหยื่อส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธ หรือไทยอิสลามที่ไม่ยอมจ่ายเงิน หรือไม่ยอมทำตามคำเรียกร้องของ ขบวนการโจรก่อการร้าย ขบวนการโจรก่อการร้ายมีเครื่องแบบสนามชุดเขียว เสื้อและหมวกปักดาวแดง และอักษรมลายู โจรแต่ละก๊กขึ้นตรงต่อหัวหน้าคือ เปาะเยะ ๙.๓๐ การแก้ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (ปี ๑๕) รัฐบาลแก้ปัญหาที่เนื่องจากโจรผู้ร้ายเท่านั้น ไม่ได้แก้ปัญหาด้านอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ๙.๓๑ การที่จะได้รับความร่วมมือจากประชาชนในกิจกรรมมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกิจกรรมนั้นไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา รู้เข้าใจ จะได้รับความร่วมมืออย่างสูงจากชาวไทยอิสลาม หมู่บ้านไทยอิสลามเคยได้รับรางวัลการพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง และเคยได้รับรางวัลหมู่บ้าน อพช.ดีเด่น ๙.๓๒ ระดับบริหารไม่มีนโยบายการปราบปรามที่แน่นอนต่อเนื่อง เมื่อเริ่มปราบปรามครั้งแรกในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม ได้ทำการปราบปราม ขบวนการโจรก่อการร้าย ทำเยี่ยงผู้ร้ายธรรมดา พอเห็นส่อว่าเป็นโจรการเมืองก็หมดสมัยเสียก่อน ๙.๓๓ สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ มีปัญหาเฉพาะหน้ามาก การปราบปรามชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้แต่งตั้ง พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา เป็นผู้รักษาความสงบภาคใต้ (กอ.รสต.) การปราบปรามจึงเริ่มใหม่ ใช้กำลังทหารร่วมกับตำรวจ ๙.๓๔ สมัยรัฐบาล มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีนโยบายให้ขบวนการโจรก่อการร้ายเข้ามอบตัว และให้หยุดการปราบปรามไว้ชั่วระยะหนึ่ง ๙.๓๕ ต้นปี พ.ศ.๒๕๑๗ มีการตั้งกลุ่มขบวนการโจรก่อการร้ายขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก มี การก่อการร้ายขึ้นอย่างรุนแรงกว้างขวาง โดยเฉพาะจับคนเรียกค่าไถ่มากที่สุด เป็นประวัติการณ์ ๙.๓๖ การปล่อยตัวคนร้ายที่เข้ามามอบตัว หรือปล่อยตัวคนร้ายหลังจากได้รับการอบรมจาก เจ้าหน้าที่ ประชาชน หวาดเกรงพวกนี้มาก ๙.๓๗ ขบวนการโจรก่อการร้าย เดิมเรียก ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ต่อมาเห็นว่าทำให้ไทยอิสลามที่ไม่ได้เกี่ยวข้องสะเทือนใจ นอกจากนั้นชื่อดังกล่าวยังเป็นการรับรองสถานภาพทางการเมืองของขบวนการดังกล่าว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) เมื่อ ๒๗ ม.ค.๑๘ ๙.๓๘ ประสบการณ์จากอดีตได้บทเรียนว่าการวางแนวนโยบายกับการนำไปปฎิบัตินั้น บางทีไม่เป็นไปเหมือนที่คาดหวัง ความล้มเหลวของนโยบายบางอย่าง ส่งผลร้ายให้เกิดขึ้น และมีผลเสียยืดเยื้อจนแก้กันไม่ทั่วถึง ทำให้กล่าวได้ว่านโยบายที่ไม่ดีพอนั้น ไม่มีนโยบายเสียเลยดีกว่า ๙.๓๙ การนิยมไปแสวงบุญที่เมกกะ แต่ละปีมีจำนวนมาก ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของไทยอิสลาม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เสียไปปีละเป็นจำนวนมาก ๙.๔๐ นโยบายการปราบปรามของหน่วยเหนือรวนเร ไม่แน่ชัดว่าจะให้ปฎิบัติอย่างไร ขาดความต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ต่างหน่วย ต่างดำเนินงานกันเอง แต่ละจังหวัด เอาตัวรอดเฉพาะตน ๙.๔๑ ขบวนการโจรก่อการร้าย ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นชาวไทยอิสลามทั้งสิ้น ย่อมได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากชาวไทยอิสลามด้วยกัน และได้รับการสนับสนุนจากประเทศมุสลิมด้วย ๙.๔๒ การแก้ปัญหาระยะเริ่มแรกเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้พิจารณาว่าขบวนการโจรก่อการร้าย คือใคร ทำให้การแก้ปัญหาผิดทิศทาง มักจะพิจารณาว่า เป็นปัญหาอาชญากรรมธรรมดา มุ่งเน้นในเรื่องกฎหมายและตัวบุคคลเช่น ผู้ร้าย ๙.๔๓ ไม่สามารถแยกขบวนการโจรก่อการร้ายออกจากประชาชนในหมู่บ้าน มีจุดอ่อนด้านการข่าว เพราะไม่เข้าใจภาษาท้องถิ่น ทำปฏิบัติการจิตวิทยา ไม่ได้ผล เพราะประชาชน ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจภาษาไทย และไม่ไว้วางใจคนศาสนาอื่น ๙.๔๔ รัฐบาลไม่อาจตั้งมวลชนขึ้นต่อสู้กันเองได้ เนื่องจากประชาชน ในพื้นที่ผูกพันกับ ขบวนการโจรก่อการร้าย มากกว่า ๙.๔๕ ขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรคอมมิวนิสต์มลายาเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน แต่รัฐบาลจัดความสำคัญในการปราบปรามเป็นอันดับสอง รองจากโจรคอมมิวนิสต์มลายา ๙.๔๖ รัฐบาลยังไม่ได้กำหนดนโยบายการประชาสัมพันธ์ สำหรับชนกลุ่มน้อย (ไทยอิสลาม) ไว้อย่างชัดเจน ๙.๔๗ ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย มีสาเหตุจากด้านสังคมจิตวิทยา อันเนื่องจากความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี และกลายมาเป็นปัญหาทางการเมือง ๙.๔๘ การที่จะสลายแนวความคิดในการแบ่งแยกดินแดนเป็นเรื่องยากมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมีการสืบทอดเจตนารมณ์ต่อกันมาตลอด ๙.๔๙ ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาสังคม วัฒนธรรม จารีตประเพณี ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคง ฯ ๙.๕๐ กำลังประชาชน ยังไม่มีขีดความสามารถป้องกันตนเอง เนื่องจากขาดการชี้นำ และการวางแผนที่ดี ประชาชนมองไม่เห็นความสำคัญของกำลังที่ฝึกมาแล้ว ๙.๕๑ ประเทศมุสลิมมีการแบ่งกลุ่มและขัดแย้งกันเอง บางครั้งใช้ ประเทศไทยเป็นเวทีในการแข่งขันการแผ่อิทธิพล และแสวงประโยชน์ ๙.๕๒ เดิมรัฐบาลมุ่งจัดการศึกษาเป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ๙.๕๓ พื้นฐานลักษณะโครงสร้างของประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อื่น ๆ ๙.๕๔ รัฐเห็นสังคมไทยอิสลามมีความเปราะบาง จึงปล่อยให้ไทยอิสลามจัดการเกี่ยวกับการศึกษากันเอง โดยรัฐคุมอยู่ห่าง ๆ คอยให้ความช่วยเหลือตามแต่จะร้องขอ ๙.๕๕ โครงสร้างและธรรมนูญของขบวนการโจรก่อการร้าย เป็นจุดแข็งประการหนึ่งของ ขบวนการโจรก่อการร้าย ๙.๕๖ ถ้าแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ถูกจุด อาจล่อแหลมกลายเป็นปัญหาระหว่าง ประเทศได้ง่าย เพราะเหตุการณ์เกิดคาบเกี่ยวระหว่างไทย - มาเลเซีย ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย เป็นปัญหาของชนกลุ่มใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๙.๕๗ นโยบายบางอย่างขัดกับหลักศาสนาอิสลาม จึงไม่ได้รับความร่วมมือจากไทยอิสลาม และขบวนการโจรก่อการร้าย ถือเป็นเงื่อนไขในการโฆษณาชวนเชื่อ โจมตีเจ้าหน้าที่ ไทยอิสลามเชื่อว่าการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ที่เป็นไทยพุทธ ถือว่าผิดหลักศาสนาถือว่าเป็น ซีริค ๙.๕๘ ขบวนการโจรก่อการร้าย ทำทุกอย่างที่มีลักษณะขัดต่อศาสนาอิสลาม เช่นขัดขวางการรณรงค์ให้รู้ภาษาไทย ขัดขวางไม่ให้บุตรหลานไทยอิสลาม เรียนรู้ภาษาไทย โดยเผาโรงเรียน จับครูไปเรียกค่าไถ่ เรียกค่าคุ้มครองจากครูไทยพุทธ ๙.๕๙ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มักปฏิบัติเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายก็ยุติ ทำให้ขบวนการโจรก่อการร้าย ฉวยโอกาสเข้าทำการอีก ๙.๖๐ ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ มี พระราชบัญญัติ ผู้อำนวยการรักษาความสงบภายในประเทศ ออกมาใช้ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการ ต่อมาได้มีการยกเลิกอำนาจของพระราชบัญญัติดังกล่าว ใน ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ทำให้การใช้กำลังฝ่ายทหารขาดอำนาจทางกฎหมายมารองรับ ๙.๖๑ การใช้นโยบาย ๖๖/๒๓ ยุติโจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้เกือบสิ้นเชิง แต่สำหรับขบวนการโจรก่อการร้ายเพียงซบเซาเท่านั้น ๙.๖๒ ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม ประเทศมุสลิมโดยเฉพาะ มาเลเซีย. ๙.๖๓ คำสั่ง สร. ที่ ๖๖/๒๓ ซึ่งใช้ในการปราบปรามการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ยังไม่มีรายละเอียดด้านปฏิบัติการจิตวิทยา ๙.๖๔ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษโดยให้ทหารมีบทบาทเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาจน สถานการณ์ดีขึ้น ใน ปี พ.ศ.๒๕๓๙ มีการปรับบทบาทฝ่ายทหาร กับฝ่ายพลเรือนใหม่ โดยลดบทบาทฝ่ายทหารลง จนปี ๔๕ ได้ยกเลิก หน่วยงานพิเศษทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน ให้หน่วยปกติรับผิดชอบต่อไป ๙.๖๕ มุมมองเจ้าหน้าที่ของรัฐ สมัยก่อนมองปัญหาเป็นเพียงผู้ร้ายธรรมดา ใช้กำลังปกติเข้าปราบปราม ระยะต่อมา เจ้าหน้าที่ไม่สามารถแยกขบวนการโจรก่อการร้าย ออกจาก ประชาชน ได้ มวลชนในพื้นที่กลายเป็นแนวร่วม และสนับสนุนในทุก ๆ ด้านเจ้าหน้าที่ไม่สามารถพิทักษ์พื้นที่ถาวรได้ ๙.๖๖ ทุกครั้งที่มีการปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้าย ระดับนำและสมาชิกส่วนหนึ่งจะหนีไปอยู่มาเลเซีย ๙.๖๗ โครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่ (พวม.) ผลงานส่วนใหญ่เป็นที่ยอมรับในความสำเร็จเพียงระดับหนึ่ง ๙.๖๘ ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้ายมีลักษณะเหมือนโจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้กาอการร้ายคอมมิวนิสต์มลายา แต่ปัญหามีความละเอียดอ่อน และสลับซับซ้อนกว่า ๙.๖๙ พตท.๔๓ มีภารกิจหลักในการต่อสู้เอาชนะขบวนการโจรก่อการร้าย แต่ไม่ได้ทำภารกิจหลักคือ เปิดแผนยุทธการต่อขบวนการโจรก่อการร้ายน้อยมาก ในบางปี เช่นปี พ.ศ.๒๕๒๘ ไม่ได้เปิดแผนยุทธการต่อ ขบวนการโจรก่อการร้าย เลย ๙.๗๐ ฝ่ายทหารจัดทำโครงการเพื่อความหวังใหม่ เริ่มปี พ.ศ.๒๕๓๒ ในสายงาน กองอำนวยการรักษาความมั่นคง (กอ.รมน.) ทำให้มุสลิมเข้าใจรัฐบาลมากขึ้น ไม่สามารถหาสมาชิกเพิ่มประชาชนไม่ให้การสนับสนุนเช่นแต่ก่อน ๙.๗๑ แนวทางยุทธศาสตร์ และนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องอาศัยทฤษฎียอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมถือว่า มนุษย์อาจผิดแผกแตกต่างกัน ในทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา การแต่งกาย และอื่น ๆ แต่สามารถครองชีวิตอยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างสันติ ๙.๗๒ นโยบายการกลมกลืนทางวัฒนธรรมสำเร็จยากใช้เวลาหลายชั่วอายุคน นโยบายพหุนิยมทางวัฒนธรรม มีลักษณะผ่อนปรนคนกลุ่มใหญ่ยอม ให้คนกลุ่มน้อยดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมเดิม ๙.๗๓. การบริหารราชการขาดเอกภาพ ผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่มีอำนาจแท้จริง มีหน่วยงานซ้ำซ้อน ขาดการประสานงานกัน ยังไม่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น บริการประชาชน ล่าช้า ๙.๗๔ การปราบ ๆ หยุด ๆ ไม่มีนโยบายที่ต่อเนื่องแน่นอน ทำความลำบากใจแก่ผู้ปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ ขบวนการโจรก่อการร้ายตั้งตัวกลายเป็นศึกยืดเยื้อ ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ขาดหลักประกัน จำต้องยอมอยู่ใต้อิทธิพล ขบวนการโจรก่อการร้าย ๙.๗๕ นโยบายให้ขบวนการโจรก่อการร้าย มอบตัวขัดแย้งกับฝ่ายปราบปรามในทางปฏิบัติ ๙.๗๖ ในระดับเจ้าหน้าที่ปราบปราม เมื่อรัฐบาลมีนโยบายไม่แน่นอน การปราบปรามก็ทำเพียง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าผลักขบวนการโจรก่อการร้าย ให้พ้นท้องที่ของตนออกไป ๙.๗๗ มีคนไม่น้อยกล่าวว่า การเข้าถึงประชาชน เท่ากับหาเรื่องใส่ตัวเอง เพราะทำให้เกิดความสัมพันธ์ส่วนตัว ประชาชน มาขอความช่วยเหลือ ทำให้ตนต้องเดือดร้อน ดังนั้นหลักการเข้าถึงประชาชน จึงเป็นทฤษฎีที่ปฏิบัติได้ยากเพราะฝ่ายรับไม่รู้จักขอบเขต ๙.๗๘ รัฐบาลให้สิทธิชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการปฏิบัติตามประเพณีทางศาสนามากกว่าประชาชน ในภาคอื่น แต่ยังมีมุสลิมบางคน บางกลุ่ม บิดเบือนข้อเท็จจริง โฆษณาว่ารัฐบาลไทยไม่ให้ความเป็นธรรมไทยอิสลาม ยุยงปลุกปั่นให้ก่อความไม่สงบ หลายครั้งหลายหนตั้งแต่สมัย ร.๕ ๙.๗๙ ความเข้มข้นของการต่อต้านแม้ว่าจะลดน้อยลงด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่จะทำให้หมดไปได้ยาก เพราะการสนับสนุนจากประชาชนเชื้อสายเดียวกัน ทำให้อนุมานได้ว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเผ่าพันธ์ชาตินิยม ๙.๘๐ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยพุทธกับไทยอิสลาม เป็นความสัมพันธ์ระดับประชาชน ต่อ ประชาชน โดยทั่วไปค่อนข้างดี ไทยอิสลามส่วนหนึ่งมีความกังวลใจว่า จากเหตุการณ์และพฤติกรรมของคนจำนวนน้อยนั้น จะทำให้ชาวไทยพุทธมีความไม่ไว้วางใจต่อคนไทยอิสลามส่วนใหญ่ ๙.๘๑ มีหลายจุดที่ข้าราชการไทยได้รับความไว้วางใจจากชาวไทยอิสลามอย่างแท้จริง และเป็นขวัญใจของชาวไทยอิสลามอย่างไม่เสื่อมคลาย เพราะทำตนให้สนิทสนมกับไทยอิสลามมีความเข้าใจในวิถีชีวิต ให้ความเคารพในสิ่งที่ไทยอิสลามนับถือ ๙.๘๒ การที่จะได้รับความร่วมมือจากประชาชน ในกิจกรรมมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่า กิจกรรมนั้นไม่ขัดกับหลักศาสนา และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนารู้เข้าใจ จะได้รับความร่วมมืออย่างสูงจาก ประชาชน หมู่บ้านไทยอิสลามเคยได้รับรางวัลการพัฒนาหมุ่บ้านตัวอย่างของกรมการพัฒนาชุมชน และเคยได้รับรางวัลหมู่บ้าน อพป. ดีเด่น ๙.๘๓. ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยพุทธกับไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีลักษณะทางลบมากกว่าบวก นับวันจะมีความรุนแรง และซับซ้อนมากขึ้น ๙.๘๔ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลยังขาดความเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของปัญหา ทำให้เกิดความผิดพลาดในการดำเนินนโยบาย และปฏิบัติในการสร้างความเข้าใจ และสัมพันธ์อันดีต่อไทยอิสลาม ๙.๘๕ เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถทำให้ ประชาชน เกิดความศรัทธา และร่วมมือในการรักษาความสงบ ยังไม่สามารถทำให้ ประชาชนกล้าแสดงออก ในการต่อต้านขบวนการโจรก่อการร้าย ๙.๘๖ เงื่อนไขปัญหาพื้นฐานยังมีอยู่ สามารถหยิบยกขึ้นมา เพื่อชี้นำชักจูงมวลชนได้ตลอดเวลา เป็นเสมือนคลื่นใต้น้ำพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ๙.๘๗ ส่วนใหญ่ชาวไทยอิสลามยอมรับว่าทางราชการให้ความเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของ ประชาชนภาคใต้ และชาวไทยอิสลามให้โอกาสด้านการศึกษา และรับราชการมากขึ้น ๙.๘๘ นโยบายความมั่นคง ฯ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากไม่ถูกต้องแล้วยังผิดพลาดทั้ง ๓ ฉบับ มีจุดอ่อนขาดยุทธศาสตร์ มองปัญหาเพียงบางด้านคือ ด้านสังคมจิตวิทยาและเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ได้มองปัญหาอธิปไตย ทั้งที่ปัญหาเกิดจากประวัติศาสตร์ทางการเมือง การปกครอง โจรก่อการร้ายมีกองกำลัง ติดอาวุธ มีธรรมนูญปกครองไว้ชัดเจน เพียงเพื่อแบ่งแยกดินแดน มีการสืบทอดเจตนารมณ์เป็นช่วง ๆ มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ๙.๘๙ ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังถูกบิดเบือนประเด็น กำลังสร้างภาพให้สังคมหลงประเด็น หากผู้ใดขาดข้อมูล และมิได้ติดตามสถานการณ์ และแนวทางแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องแล้ว วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ผิดพลาด ปัญหาที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไข ๙.๙๐ ปัญหาแบ่งเป็น ๓ ระดับคือ ระดับผิวหน้า เช่น ความยากจน ยาเสพติด การก่อการร้ายการศึกษา อิทธิพล การปฏิบัติตัวของขบวนการโจรก่อการร้าย ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้มีอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศปัญหาระดับโครงสร้าง ของสังคม เป็นเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรม ระเบียบกฎหมาย บางอย่างไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมุสลิมปัญหาระดับวัฒนธรรม หมายถึงทั้งหมดของการดำเนินชีวิตที่ถูกหล่อหลอมของสังคม มีอิทธิพลต่อความเชื่อ ความคิด ๙.๙๑ การที่จะได้รับความร่วมมือจากประชาชนในกิจกรรมมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกิจการนั้นไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา รู้เข้าใจ จะได้รับความร่วมมืออย่างสูงจากชาวไทยอิสลาม หมู่บ้านไทยอิสลามเคยได้รับรางวัลการพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง และเคยได้รับรางวัลหมู่บ้าน อชพ.ดีเด่น ๑๐. ข้อเสนอแนะ ๑๐.๑ การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสลับซับซ้อน มีประเด็นปลีกย่อยมากมาย จึงต้องเอาประเด็นสำคัญก่อน เพื่อให้สถานการณ์ผ่อนคลาย นำไปสู่การแก้ปัญหาในลำดับรองต่อไป ๑๐.๒ นโยบายแก้ปัญหาที่ผ่านมาขาดความชัดเจน ขาดเอกภาพ ขาดการมุ่งสู่การแก้ปัญหาให้เกิดผลแท้จริง การแก้ปัญหาต้องเริ่มด้วยคิดถูกทำถูก ๑๐.๓ ปัญหาแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับสากล ระดับชาติ และะระดับท้องถิ่น - ระดับสากล บทบัญญัติอิสลาม กำหนดให้มุสลิมไม่ว่าเป็นชนชาติใดต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จึงเป็นหน้าที่ของประเทศมุสลิมทั่วโลก จะช่วยเหลือมุสลิมที่ประสบทุกข์ยาก โดยเฉพาะการกดขี่จากรัฐบาลต่างศาสนา - ระดับชาติ มีทั้งด้านการเมืองทั้งภายในและภายนอกระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การก่อการร้ายปัญหาต่าง ๆ เชื่อมโยงกันใกล้ชิด สลับซับซ้อนละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เกินขีดความสามารถของหน่วยราชการระดับพื้นที่จะแก้ไขได้ตามลำพัง - ระดับพื้นที่ เป็นปัญหาชี้ขาด หากแก้ได้ผลก็จะแก้ปัญหาระดับชาติ และระดับสากลได้ ๑๐.๔ การแก้ปัญหาวนเวียนอยู่กับเรื่องเก่า ๆ แล้วไปลงที่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐาน แต่ไม่ได้วิเคราะห์เจาะลึกว่าปัญหาแก่นแท้คือ ปัญหาใด ผู้กำหนดนโยบาย และแนวทางแก้ปัญหา ขาดความเข้าใจสภาพปัญหาที่แท้จริง ต่างคนต่างทำขาดเอกภาพ ๑๐.๕ สาเหตุที่การแก้ปัญหาไม่ประสบผลเนื่องจาก ขาดความต่อเนื่องในการแก้ปัญหา อย่างที่แก้ปัญหาไม่มีพื้นฐานความคิดที่เป็นสากล การแก้ปัญหาไม่ครบวงจร ๑๐.๖ การแก้ไขปัญหาต้องมีการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละพื้นที่ที่แน่นอน ๑๐.๗ ควรสร้างความเข้าใจระหว่างกัน โดยให้ผู้นำมุสลิมมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา สร้างความเข้าใจกับ ปชช. ๑๐.๘ ควรศึกษาถึงองค์กรศาสนาอิสลามว่ามีวัตถุประสงค์และการดำเนินการที่เกื้อกูลหรือเป็นภัยต่อบ้านเมืองอย่างไร และปฏิบัติต่อองค์กรนั้น ๆ ตามเหมาะสม ๑๐.๙ ควรส่งเสริมการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ให้คนไทยอิสลามมีความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้นำทางศาสนา ให้มีการเผยแพร่ไปในทางเดียวกัน ๑๐.๑๐ จัดหาผู้มีความรู้ทางศาสนาออกเผยแพร่ทำความเข้าใจกับประชาชน เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ให้เข้าใจหลักคำสอนที่แท้จริง ถูกต้อง คลายอิทธิพลของบรรดาโต๊ะครูต่าง ๆ ๑๐.๑๑ ควรตั้งสภาหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพื่อคอยขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ชาวไทยอิสลาม และรัฐบาลถกเถียง วางแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด ๑๐.๑๒ ควรสร้างเอกลักษณ์ชนชาติไทย ให้เกิดแก่ไทยอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดขึ้น ๑๐.๑๓ ควรจัดหาผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ มาเรียบเรียงประวัติศาสตร์ ในส่วนนี้เสียใหม่ให้ชัดเจน ว่าเขาหล่านี้ไม่ใช่ชาวมลายู แต่เป็นคนไทยที่ผสมผสานกับชาวพื้นเมืองเดิม ภาษาพูดไม่ใช่ภาษามลายูแท้เป็นภาษาอินโดนีเซีย ๑๐.๑๔ ควรสอดส่องบุคคลที่จะชักนำชาวไทยมุสลิมให้กระด้างกระเดื่อง หรือสร้างความเข้าใจผิดต่อ เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ๑๐.๑๕ ต้องทบทวนนโยบายรัฐบาลเสียใหม่ นโยบายที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามยึดถือคือ คำสั่ง สร. ที่ ๖๖/๒๓ ซึ่งไม่ใช่นโยบายเกี่ยวกับขบวนการโจรก่อการร้าย โดยตรง ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย ไม่เหมือน โจรคอมมิวนิสต์มลายา ๑๐.๑๖ สังคมชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นสังคมปิด การเข้าถึงประชาชนต้องเข้าไปหา ไม่ใช่ดึงเอามาจากสังคมของเขา มาสู่สังคมของประเทศโดยส่วนรวม ๑๐.๑๗ ควรเน้นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแทนการพัฒนาที่ตัวคน ๑๐.๑๘ การเข้าถึงใจกลางของสังคมมุสลิมต้องเข้าไปทางอ้อมคือ เข้าไปทางสภาวะแวดล้อมของสังคมเช่น ต้องพัฒนาพื้นที่นำสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งบำรุงความสุข และอารยธรรมแปลกใหม่ที่ไม่ขัดหลักศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีเข้าไปในพื้นที่ ๑๐.๑๙ ควรริเริ่มกิจกรรมร่วมไทยพุทธ - ไทยอิสลาม ที่ไม่ใช่เรื่องเชื้อชาติ ศาสนาและขนบประเพณี เช่น การเล่นกีฬา การพัฒนาสาธารณประโยชน์ ๑๐.๒๐ ใช้สื่อมวลชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางประชาสัมพันธ์ ระหว่างขบวนการโจรก่อการร้าย กับ ประชาชนทุกหมู่เหล่าโดยการใช้ภาษาไทย และภาษามลายูท้องถิ่น ๑๐.๒๑ การประชาสัมพันธ์ พิจารณาปรับปรุงรายการวิทยุ โทรทัศน์ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับความต้องการขนบประเพณี และวัฒนธรรมของประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีเรื่องของศาสนาอิสลาม ภาษาท้องถิ่น และวิชาการใช้กิจกรรมบันเทิง ภาพยนตร์ ดนตรี หนังตะลุง การละเล่นพื้นเมือง ฯลฯ เป็นเครื่องมือเผยแพร่ภาษาไทย จูงใจให้เรียนภาษาไทย ๑๐.๒๒ ควรจัดให้กำลังพลได้รับการศึกษาอบรม หลักสูตรความมั่นคงของชาติทุกระดับ และเรียนรู้เรื่องศาสนาอิสลาม ขนบประเพณีของไทยอิสลาม ๑๐.๒๓ ควรใช้สื่อมวลชนทุกประเภททำประชาสัมพันธ์ ชักจูงประชาชน ให้มาสนับสนุนรัฐบาล หาทางให้ชาวไทยอิสลามเป็นสังคมเปิดโดยเร็ว ๑๐.๒๔ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องให้บริการประชาชน ต้องใช้ภาษาไทยโดยไม่ผ่านล่าม เพื่อให้ประชาชนต้องใช้ภาษาไทยมากขึ้น เพื่อลดผลตอบแทนที่เขาได้รับ ๑๐.๒๕ รัฐบาลควรนำการศึกษาภาคบังคับมาใช้กับเยาวชนมาบังคับใช้กับเยาวชนไทยอิสลามใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อนเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ๑๐.๒๖ ควรปรับหลักสูตรที่ใช้อยู่ในโรงเรียนทุกประเภทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์แท้จริงของสังคม ด้วยการให้เรียนหนังสือไทย กับอักษรยาวีควบคู่กันไป และควรบรรจุวิชาเกี่ยวกับหลักศาสนวัฒนธรรม ประเพณี ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลามไว้ในหลักสูตร ๑๐.๒๗ พระบรมราโชวาท เมื่อ ๑๐ ต.ค.๓๑ แก่นายกรัฐมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่คือ การวางแผนงานใหญ่ ๆ ไม่ค่อยได้ผลควรวางแผนพัฒนาเป็นส่วน ๆ เป็นเรื่อง ๆ ไป การสอนภาษาไทยต้องใช้วิธีการแนบเนียนใช้วิทยุโทรทัศน์ช่วย โดยใช้ภาษาไทยปนภาาาท้องถิ่น (ยาวี) การปฏิบัติการจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ ในการเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เคยชิน และเอิ้อต่อการพัมนา ต้องประสานกันให้ได้ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานต้องเข้าใจไทยอิสลาม เข้าใจหลักศาสนา ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ ๑๐.๒๘ การแก้ไขควรใช้วิธีค่อยทำค่อยไป เพื่อให้ ประชาชน คุ้นเคยไปทีละเล็กละน้อย และสามารถปรับตนเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ โดยไม่รู้ตัว ๑๐.๒๙ ควรสร้างทัศนคติที่ดี สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ทุกฝ่ายทุกกลุ่ม ๑๐.๓๐ รัฐบาลไม่สามารถปราบขบวนการโจรก่อการร้าย ให้หมดสิ้นได้ เพราะไม่ได้รับความร่วมมืออย่างแท้จริงจากมาเลเซีย ๑๐.๓๑ เงื่อนไขการเจรจาปราบโจรคอมมิวนิสต์มลายา ไทยควรเอามาเป็นเครื่องต่อรองกับมาเลเซีย ๑๐.๓๒ ควรสร้างหมู่บ้าน ปชด. ตลอดแนวแขตแดนไทย - มาเลเซีย เพื่อป้องกันการเข้าออกของ ขบวนการโจรก่อการร้าย ๑๐.๓๓ ควรจัดนิคมสร้างตนเองให้ชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งชาวไทยจากภูมิภาคอื่นเข้าไปทำมาหากินในนิคมนั้นด้วย ๑๐.๓๔ การแก้ไขปัญหาขบวนการโจรก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ไข เพื่อสร้างทัศนคติที่ต่อชาวไทยอิสลามในพื้นที่ นอกจากการปราบปราม และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน แล้วจะต้องมีการปฏิบัติการด้านการเมืองในเชิงรุกกับมาเลเซียควบคู่กันไปด้วย ๑๐.๓๕ ควรรวมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นภาคการปกครองของกระทรวงมหาดไทย คือ จัดผู้ว่าราชการจังหวัดภาคคุม ๖ จังหวัด ขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรี ๑๐.๓๖ การปกครองแผ่นดินปัตตานี ซึ่งเป็นสังคมหลากหลาย ควรยึดแบบอย่างของบ้านเมืองนานาชาติเป็นแนวปฎิบัติ ควรเอาแบบสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศสังคม ที่มีการอยู่ร่วมกันแบบหลายชาติ หลายภาษา อย่างมีเสรีภาพ และมีประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง ภายใต้การปกครองเดียวกันของประเทศ ๑๐.๓๗ ควรจัดตั้งกรรมการที่ปรึกษาแผ่นดินปัตตานี ที่แต่งตั้งจากผู้นำ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนกลุ่มชน หรือกลุ่มอาชีพ เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ หรือช่วยแนะนำการพัฒนา ๑๐.๓๘ ควรสร้างกิจกรรมสันติสุข (สันตินิมิตร) เช่น กีฬา การร่วมขนบประเพณี หมู่บ้านไทยพุทธ ไทยอิสลาม อยู่ในที่เดียวกัน ๑๐.๓๙ ควรจัดให้มีการประชุมสัมมนา เพื่อให้ความรู้แก่ผู้นำ และพัฒนาคุณภาพประชาชน ๑๐.๔๐ ส่งเสริมการเล่นกีฬา เนื่องจากไทยอิสลามนิยมเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล เซปักตะกร้อ ในระดับตำบล ๑๐.๔๑ จัดสถานศึกษาให้อยู่ในลักษณะที่เด็ก ๆ ในแต่ละหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กันได้มีโอกาสเรียนร่วมกัน จะได้สนิทสนมไปมาหาสู่กัน ๑๐.๔๒ การผสมผสานทางสังคม ถือหลักประเพณีที่มีพิธีกรรมทางสังคมมาก จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เกิดการผสมผสานทางสังคมมาก เช่น ส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนประเพณีของชาวไทยทั้งสองกลุ่มให้ถูกต้องตามพิธีกรรม ที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา ส่งเสริมการพัฒนาสาธารณประโยชน์ร่วมกันตามความจำเป็น และความต้องการของ ปชช. ในท้องถิ่น ๑๐.๔๓ ส่งเสริมผู้นำทางศาสนาจัดสัมมนาผู้นำทางศาสนา เพื่อส่งเสริมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทางโลก เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตโดยไม่ขัดหลักศาสนา ๑๐.๔๔ ธรรมจาริกทางศาสนาอิสลาม ควรคัดเลือกจากผุ้นำศาสนาในท้องถิ่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ดำเนินการเอง ๑๐.๔๕ ด้านการศาสนา ควรขอความร่วมมือจากจุฬาราชมนตรี และ กก.อิสลามทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดระบบการศึกษาศาสนาอิสลามเสียใหม่ ให้เป็นไปตามคำสอนที่ถูกต้อง เป็นมาตรฐานเดียวกัน การปฎิบัติทางศาสนาและการปฎิบัติทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับสังคม และเศษฐกิจสมัยใหม่เช่นเดียวกับประเทศมุสลิมที่เจริญแล้ว ๑๐.๔๖ นโยบายการกลมกลืนทางวัฒนธรรมสำเร็จยากใช้เวลาหลายชั่วอายุคน นโยบายพหุนิยมทางวัฒนธรรม (พ.ศ.๒๕๓๒) มีลักษณะผ่อนปรนคนกลุ่มใหญ่ ยอมให้คนกลุ่มน้อยดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมเดิม ๑๐.๔๗ ในฐานะที่ปอเนาะและโต๊ะครู เป็นที่รวมแห่งจิตใจของประชาชนอยู่แล้ว จึงควรใช้ปอเนาะให้เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชน ทั้งด้วยการพัฒนาปอเนาะโดยตรง และการใช้นักศึกษาของปอเนาะช่วยประชาชนพัฒนาชุมชน ๑๐.๔๘ ควรจัดการปกครองท้องถิ่นให้ดีที่สุด ให้อำนาจอิสระ (ATOMOMY) ให้มาก การให้อำนาจอิสระต้องไม่มาก จนมีผลกระทบกระเทือนต่ออำนาจอธิปไตย ๑๐.๔๙ แนวคิดในการป้องกันและปราบปราม พยายามศึกษาและเข้าถึงจิตใจประชาชน ให้ได้ ๑๐.๕๐ ควรจัดตั้งตู้รับคำร้องเรียนประจำหมู่บ้าน ๑๐.๕๑ แนวทางแก้ปัญหากับเจ้าหน้าที่ ของรัฐทุกระดับ ความเร่งด่วนสูงสุดคือ การสร้างเอกภาพในความคิด และเอกภาพในการปฎิบัติ รวมทั้งการให้ความรู้ การทำความเข้าใจนโยบายแก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สื่อมวลชน องค์กรมุสลิม รวมทั้งประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ๑๐.๕๒ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่เกือบทุกปัญหา ประการสำคัญต้องแก้ไขให้ตรงจุด มีความต่เนื่องจริงจัง และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยมีโครงการที่แน่นอน ๑๐.๕๓ ปัญหาโจรก่อการร้ายจะใช้การเจรจาอย่างเดียวเช่น โจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากโจรก่อการร้าย มีหลายกลุ่ม ไม่มีเอกภาพ มีการเชื่อยโยงกับต่างประเทศ การเมือง ศาสนา และองค์กรมุสลิมโลก จึงต้องกำหนดยุทธวิธีกันทีละคำ ทำให้เป้าหมายเบาบางลง จกร.มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ต้องแก้ไขพร้อม ๆ กันคือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง ๑๐.๕๔ แนวทางแก้ไขต้องสร้างกลยุทธหลักในการพัฒนาภาคใต้ จำเป็นต้องมีแผนรับ และแผนรุกควบคู่กันไปตามข้อเสนอของ ศอ.บต. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ คือ - แผนรับ เพื่อแก้ปัญหาที่สร้างสมมานาน การเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน เป็นปัญหารอง - แผนรุก เป็นแผนที่จะกลายเป็นขบวนการร่วมกันของคนในภาคใต้ ที่สามารถใช้พลังรุกได้หลายทาง เพราะทางภาคใต้มีทรัพยากรมาก โครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สงขลา โครงการสร้างท่าเรือชายฝั่งที่ปัตตานี โครงการนิคมอุตสาหกรรมที่สงขลาและปัตตานี ฯลฯ ๑๐.๕๕ ควรปรับปรุง ศอ.บต.ให้เป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการของจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง และควรมีอำนาจพอที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างฉับพลัน ๑๐.๕๖ ควรใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นคง ฯ ดังนี้ - ลดอิทธิพลขบวนการโจรก่อการ้าย กดดันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐให้กลุ่มโจรออกไปจากพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และควบคุมอาวุธสงครามอย่างจริงจัง เปิดโอกาสให้ ขบวนการโจรก่อการร้าย กลับใจเข้ามอบตัว ดึงผู้นำท้องถิ่นมาร่วมมือกับราชการลงโทษเจ้าหน้าที่ ของรับที่ช่วยเหลือขบวนการโจรก่อการร้าย อย่างรุนแรง โดยเฉพาะตำรวจ และ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง สร้างความสัมพันธ์อันดีกับมาเลเซีย โดยใช้เงื่อนไขโจรคอมมิวนิสต์มลายา ประชาสัมพันธ์ ต่อประเทศมุสลิมให้เข้าใจ สะกัดกั้นไม่ให้ขบวนการโจรก่อการร้ายแสวงหาเด็ก และเยาวชนในหมู่บ้านไทยอิสลาม เพื่อส่งไปเรียนต่อในกลุ่มประเทศอาหรับ ทางราชการาควรรับเด็ก และเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กำพร้าและยากจนมาไว้ในอุปการะ โดยตั้งศูนย์สงเคราะห์เด็กภาคใต้ขึ้นกำกับดูแล ปอเนาะ มัสยิด และสถานที่ประกอบศาสนกิจอย่างใกล้ชิด สำรวจทะเบียนให้ครบถ้วน ติดตามสอดส่องการเดินทางออกนอกประเทศของบุคคลบางคนบางกลุ่ม ที่จะก่อให้เกิดผลเสียแก่ชาติ - การพัฒนาพื้นที่ ทำทั้งแผนรับและแผนรุก โดยทำแผนพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น ๓ ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับภาค และระดับจังหวัด ประการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน ฝึกประชาชน เป็นหลักโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เป็นบุคคลกลุ่มเป้าหมาย ยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ๑๐.๕๗ ทุกครั้งที่ขบวนการโจรก่อการร้ายปฎิบัติการร้าย ทำให้ไทยอิสลามเสียชีวิต และบาดเจ็บ ควรชี้นำให้ไทยอิสลามเห็นว่าขบวนการโจรก่อการร้าย มิได้ปฎิบัติตามคำสอนของคัมภีร์กุรอ่าน ที่ทำร้ายประชาชน แสดงว่าไม่จงรักภักดีต่อประเทศ อันเป็นแผ่นดินเกิด ซึ่งศาสนาอิสลามถือว่าเป็นบาป ๑๐.๕๘ ควรจัดชุดปฏิบัติการจิตวิทยา ขยายผลให้มีการประณามการกระทำที่โหดร้ายทารุณของ ขบวนการโจรก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ถูกทำร้ายโดยทันที เพื่อให้ ประชาชน เอาใจออกห่าง ขบวนการโจรก่อการร้าย ๑๐.๕๙ ควรจัดชุดปฎิบัติการขนาดเล็กลาดตะเวนในพื้นที่ล่อแหลมอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดัน ขจก. ไม่ให้มีเสรีในการปฎิบัติ ๑๐.๖๐ ควรหาความคุ้มครองราษฎรไทยพุทธให้สามารถประกอบอาชีพใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างปลอดภัย เพื่อมิให้อพยพทิ้งถิ่นฐานออกจากพื้นที่ จัดตั้งหมู่บ้านป้องกันชายแดน (ปชด.) บริเวณชายแดนด้านกลันตัน ๑๐.๖๑ ควรจัดชุดปฎิบัติการสกัดกั้นเส้นทางหนีทั้งทางบก และทางทะเล โดยเฉพาะบริเวณชายแดนติดต่อกลันตัน ตั้งจุดตรวจทุกเส้นทางที่จะไปชายแดนกลันตัน ตัดเส้นทางส่งกำลังทั้งภายในและภายนอก ชี้แจงสื่อมวลชนว่าขบวนการโจรก่อการร้ายเป็นอาชญากร ที่ทำร้ายประชาชน ประฌามการกระทำทีป่าเถื่อน ระดมกำลังทุกรูปแบบ เข้าปราบปรามอย่างทันท่วงที ให้ขบวนการโจรก่อการร้าย ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบแต่แรก ทำให้ผู้สนับสนุน หมดกำลังใจ ประชาชนที่เป็นพลังเงียบ จะหันมาช่วยเจ้าหน้าที่มากขึ้น เพราะทุกคนอยากมีส่วนร่วมกับผู้ชนะ ๑๐.๖๒ การไล่ล่าขบวนการโจรก่อการร้าย แบบกัดไม่ปล่อยของกองทัพภาคที่ ๔ ถือว่าเป็นการกดดันขบวนการโจรก่อการร้าย อย่างได้ผล ๑๐.๖๓ เรื่องที่สำคัญาคือ ด้านสังคมจิตวิทยา และการสนับสนุนจากต่างประเทศ หากแก้ไขปัญหาสำคัญได้ปัญหาอื่นจะหมดไป หรือเบาบางลง ๑๐.๖๔ ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาใหญ่ต้องแก้ไขทันที และทำอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กันทุกปัญหาคือ ความโน้มเอียงทางเชื้อชาติและศาสนา ๑๐.๖๕ ปัญหาโจรก่อการร้ายจะใช้การเจรจาอย่างเดียวเช่น โจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นไปได้ยากเนื่องจากโจรก่อการร้ายมีหลายกลุ่ม ไม่มีเอกภาพ มีการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ การเมือง ศาสนา และองค์กรมุสลิมโลก จึงต้องกำหนดยุทธวิธีกินทีละคำ ทำให้เป้าหมายเบาบางลง โจรก่อการร้ายมีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ต้องแก้ไขพร้อม ๆ กันคือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง ๑๐.๖๖ แนวทางแก้ปัญหากับเจ้าหน้าที่ ของรัฐทุกระดับ ความเร่งด่วนสูงสุดคือ การสร้างเอกภาพในความคิด และเอกภาพในการปฎิบัติ รวมทั้งการให้ความรู้ การทำความเข้าใจนโยบายแก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สื่อมวลชน องค์กรมุสลิม รวมทั้งประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง |
วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554
การแก้ปัญหาชายแดนใต้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น