วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หะยีสุหลงยังมีชีวิตอยู่


หะยีสุหลงยังมีชีวิตอยู่

ชื่อเดิมบทความ หะยีสุหลงยังมีชีวิตอยู่
: ท่าทีของสยามต่อการหายตัวไปของหะยีสุหลงกับ การสืบสวน” 
ของ ตวนกู อับดุล เราะห์มาน
พุทธพล มงคลวรวรรณ
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ

              เหตุการณ์การหายตัวไปของหะยีสุหลงและกลายเป็นบุคคลสาบสูญในเวลาต่อมาเป็นเหตุการณ์สำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปา ตานีที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมาก โดยเฉพาะในงานเขียนเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่มีจำนวนมากใน ปัจจุบัน ในบทความนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะค้นหาความจริงแก่การหายตัวไปของหะยีสุ หลง แต่ต้องการที่จะทำความเข้าใจโลกการเมืองทั้งของไทยและมลายาในขณะนั้น ที่เป็นบริบทของกระแสความเคลื่อนไหวและข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ผู้เขียนศึกษาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าวของทางการไทยและบทบาทตวนกูอับ ดุลเราะห์มาน ประธานพรรคอัมโนและต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของมลายา ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญในเรื่องดังกล่าว ทั้งจากหนังสือพิมพ์ร่วมสมัยและเอกสารราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เห็นว่าปฏิกิริยาที่มีต่อการหายตัวไปของหะยีสุหลง ทั้งจากทางการไทยและตวนกูอับดุลเราะห์มานนั้นถูกกำหนดโดยการเมืองทั้งใน ประเทศไทยและมลายาเอง รวมถึงการเมืองระหว่างประเทศทั้งสองจนทำให้ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าว่า  หะยีสุหลงยังไม่ตาย” 
 


               การหายตัวไปของหะยีสุหลงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2497/1954 และกลายเป็นบุคคลสาบสูญในอีก 8 ปีต่อมา[1] เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ปรากฏในประวัติศาสตร์นิพนธ์มลายูปาตานีและงานเขียน เกี่ยวกับ ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยหลายชิ้น ทั้งยังเป็นเหตุการณ์ที่ถูกหยิบยกเพื่อชี้ให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงและ ความอยุติธรรมของ รัฐไทยในการจัดการพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เพราะการหายสาบสูญของหะยีสุหลงเป็นที่สันนิษฐานกันว่าเป็นการ อุ้มของทางเจ้าหน้าที่ไทย เช่นเดียวกับกรณี ทนายสมชายที่หายตัวไปจนถึงทุกวันนี้  

              ทางการไทยไม่เคยยอมรับว่ากรณีหะยีสุหลงหายสาบสูญนั้นเป็นการ อุ้มของเจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างได ทั้งนี้ก็ไม่ปรากฏว่าพบศพหรือร่องรอยหลักฐานที่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นกับ บุคคลเหล่านั้น นอกเสียจากว่าข่าวเล่าลือต่างๆ ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นคนอุ้ม - ฆ่าหะยีสุหลง  

           แต่เราก็พอจะที่เราทราบเกียรติภูมิของตำรวจไทยในยุคพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์เป็นอธิบดีกรมตำรวจ หรือที่เรียกกันว่า ยุคอัศวินและการใช้ความรุนแรงของกลไกรัฐด้วยวิธีการนอกกฎหมายเพื่อจัดการศัตรูทางการ เมืองและบุคคลที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงในช่วงทศวรรษ 2490[2]  

             ดังนั้นจึงเป็นที่ยอมรับกันว่าหะยีสุหลงก็เป็นเหยื่อของการฆาตกรรมทางการ เมืองเช่นเดียวกับบุคคลอื่นในยุคนั้น เช่น “4 ส.ส. รัฐมนตรีอีสาน” (ทองเปลว ชลภูมิ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถวิล อุดลและจำลอง ดาวเรือง)หรือนายเตียง ศิริขันธ์[3] นอกจากนี้จากบันทึกของ พ.ต.อ. พุฒิ บูรณสมภพ อดีตรองผู้กำกับการตำรวจสันติบาล ก็เขียนว่าเขาและทางตำรวจสันติบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการหะยีสุหลง ซึ่งประวัติย่อของหะยีสุหลงของมูลนิธิอาจารย์ฮัจยีสุหลงก็ใช้หลักฐานชิ้นนี้ ในการยืนยันว่าหะยีสุหลงถูกฆาตกรรม[4]

                การหายตัวไปของหะยีสุหลงถูกมองว่าเป็นการ อุ้ม (แม้ว่าในสมัยนั้นยังไม่มีคำนี้) ของตำรวจไทยตั้งแต่สมัยนั้น ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะได้เล่าถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ หลังจากหะยีสุหลงหายตัวไปจนกลายเป็นข่าวอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นกระแส วิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยชี้แจงในหมู่นักการเมืองและผู้นำ ศาสนาอิสลามในมลายา[5] จนทำให้รัฐบาลไทยต้องออกแถลงการณ์และส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ข่าวและทำความเข้า ใจแก่สื่อมวลชนว่าทางการไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ รวมถึงการเข้ามา สืบสวนของตนกู อับดุล เราะห์มานที่สงขลาเพื่อให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ถึงกระนั้นบทความนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะทำความกระจ่างหรือหา ความจริงเกี่ยวกับการหายสาบสูญของหะยีสุหลงมากไปกว่าการทำความเข้าใจโลกการเมืองของ สองฝากฝั่งพรมแดนที่เป็นตัวกำหนดหรือสร้างความจริงเกี่ยวกับการหายตัวไปของ หะยีสุหลงและความสำเร็จและล้มเหลวของการเคลื่อนไหวต่อสู้ของมลายูปาตานี

แกนนำมลายูโดนจับ สยามกลัวการปลุกระดมในรัฐทางใต้[6]

               กำลังตำรวจติดอาวุธของสยามบุกเข้าตรวจค้นบ้านและจับกุมต่วน ฮัจยี ซูลง บิน ฮัจยี กือจิเมื่อวันที่ 16 ที่ผ่านมา ส่วนผู้นำมลายูคนสำคัญอื่นๆ ได้แก่ วัน ออสมาน บิน วัน มูฮัมหมัดและ ต่วน เอช. นิก อับดุล ราชิด ถูกจับกุมในเวลาเดียวกัน

               ต่วน ซูลง ถูกจับกุมขณะกำลังสนทนากับผู้นำคนอื่นที่บ้านในจังหวัดปัตตานี ทางการสยามสงสัยว่าแกนนำมลายูเหล่านี้จัดการประชุมเพื่อปลุกระดมมวลชนใน ปัตตานี แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้กล่าวว่าการจับกุมไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาต่อต่วน ซูลมและพวก พวกเขายังไม่ได้ถูกนำตัวขึ้นศาลตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 16 มกราคมและเจ้าหน้าที่ได้คัดค้านการประกันตัว

            ต่วนซูลงเป็นประธานคณะกรรมการอิสลามปัตตานีและเป็นดัง โลหิตแห่งชีวิตของชาวมลายูในรัฐทางภาคใต้ของสยาม เขายังเป็นผู้นำทางศาสนาใน 4 รัฐ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สตูลและบางนรา สานุศิษย์ของเขาไม่เพียงแต่มลายู 700,000 คนใน 4 รัฐแต่ยังรวมถึงชาวมลายูในตอนเหนือของมลายาด้วย

             รัฐบาลสยามได้รับรายงานว่าชาวมลายูในสี่รัฐทางใต้ไม่พอใจกับการปกครองของทาง การสยามข่าวจากปัตตานีรายงานว่าคลื่นชาวมลายูจากกำปงรอบๆ หลั่งไหลไปให้กำลังใจครอบครัวของต่วนซูลมที่บ้าน ในเวลาเดียวกันพวกเขายังพยายามโน้มน้าวผู้ว่าราชการปัตตานีชาวสยามให้ปล่อย ตัวบุคคลเหล่านั้น นอกจากนี้ยังร้องผ่านโทรเลขไปถึงนายกรัฐมนตรีสยามที่กรุงเทพฯ ด้วย แต่ยังไม่มีการตอบรับแต่ประการใด
        (The Straits Times, 28 January 1948, p. 6.)

                ผู้อ่านในมลายารู้จักหะยีสุหลงในหน้าหนังสือพิมพ์หลายปีก่อนหน้าการตัวไปใน ปี 2497/1954 ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ใน มลายาลงข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมืองของปาตานีอย่างสม่ำเสมอในช่วงปี 2490/1947 – 2492/1949 ชื่อบุคคลที่กล่าวถึงอย่างบ่อยครั้งคือ เจ๊ะมาห์มุด มะไฮยิดดิน ในฐานะอดีตตวนกู บุตรชายของรายาองค์สุดท้ายของปาตานี กล่าวได้ว่าเป็น ผู้นำของ 4 รัฐมลายูในภาคใต้ของสยาม[7]  

              แต่อีกชื่อหะยีสุหลงเริ่มปรากฎขึ้นในพื้นที่ข่าวตอนต้นปี 2491/1948 เมื่อหะยีสุหลงโดนจับกุมด้วยข้อหากบฎ ซึ่งตามติดมาด้วยข่าวการเคลื่อนไหวของมะไฮยิดดิน Gabungan Melayu Patani Raya (GAMPAR) กรณีดุซงญอ การลุกฮือและ แบ่งแยกดินแดนซึ่งช่วงปี 2491/1948 - 2492/1949 เป็นช่วงที่เหตุการณ์ในปัตตานีได้ถูกนำเสนอในหนังสือพิมพ์ สเตรทไทม์มากที่สุดเลยก็ว่าได้[8] นอกจากนี้สเตรทไทม์ได้ติดตามการดำเนินคดีหะยีสุหลงกับพวกอย่างต่อเนื่องจนถึงมีมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น[9] แต่หลังจากปี 2493/1950 ข่าวคราวของหะยีสุหลงและสถานการณ์ในปัตตานีก็เงียบหายไป จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายนอีก 5 ปีต่อมา

หะยีสุหลงตายแล้ว? สยามยังไม่พบศพ

                กัวลาลัมเปอร์, พุธ - ทางการสยามที่สงขลาได้แจ้งต่อรัฐบาลสหพันธรัฐฯว่าไม่มีรายงานจากสถานีตำรวจ ไทยในภาคใต้ของสยามเลยว่ามีการพบศพของหะยีสุหลงและบุตรชาย
                หะยีสุหลง เป็นผู้นำชาตินิยมมลายู ผู้สนับสนุนการแบ่งแยกบริเวณ 4 จังหวัดภาคใต้ของสยามซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมลายูให้รวมเข้ากับสหพันธรัฐ
                รายงานการเสียชีวิตของเขาถูกนำเสนอครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ภาษามลายูที่ปีนัง
                (The Straits Times, 18 November 1954, p. 7.)

                หลังหะยีสุหลงและอาห์หมัด บุตรชายพร้อมด้วย แวสะแม มูฮัมหมัดและเจ๊ะสาเฮาะ ยูโซ๊ะ ออกจากบ้านเพื่อไปพบตำรวจสันติบาลที่สงขลา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2497/1954 และไม่ได้กลับบ้านอีกเลย ครอบครัวของหะยีสุหลงก็ออกตามหาทั้งที่ปัตตานี สงขลาและกรุงเทพฯ ทั้งทำหนังสือร้องเรียนและเข้าพบนายตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการภาค ไปจนถึงรัฐมนตรีเพื่อให้ตามหาบุคคลทั้ง 4 แต่ก็ดูเหมือนไร้ผล 

             ทั้งไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยราชการต่างๆ มากนัก[10] จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน ข่าวการหายตัวไปของหะยีสุหลงพร้อมกับระบุว่าถูกเจ้าที่ตำรวจไทยสังหาร ก็ปรากฎขึ้นบนหน้าหนังสือพิมพ์ในมลายา โดยเฉพาะอุตูซันมลายู ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ภาษามลายูที่ทรงอิทธิพลที่สุดในมลายา (ขณะนั้นพิมพ์ด้วยตัวยาวีและตีพิมพ์ที่สิงคโปร์)  

           เรื่องนี้หนังสือพิมพ์หัวต่างๆ ได้มีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องทั้งยังสันนิษฐานไปว่าหะยีสุหลงถูกทางการไทยสังหารเสียชีวิต และติดตามความเคลื่อนไหวและท่าทีของบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการทราบถึงความเป็นไปของหะยีสุหลงและพวกที่หายตัวไปซึ่งทำให้เห็นว่า ข่าวหะยีสุหลงเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางและองค์กรมลายูมุสลิมต่างๆ ในมลายาก็สนใจติดตาม เช่น  
               สมาคมอิสลามทั่วมลายาที่สิงคโปร์ได้เปิดประชุมพิเศษเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2497/1954 เพื่ออภิปรายเรื่องหะยีสุหลงหายตัวไป เรียกร้องให้มีเรื่องดังกล่าวเป็นญัตติในที่ประชุมผู้นำศาสนาอิสลามในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเป็นการกดดันให้รัฐบาลไทยออกมาชี้แจง เพราะเรื่องหะยีสุหลง เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ของไทยถ้าหะยีสุหลงและพวกถูกตำรวจไทยยิงทิ้งดังที่เป็นข่าวแล้ว ย่อมชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลไทยได้ปกครองอย่างไม่เป็นธรรมส่วนเจ๊ะไมดิน เบนมหะหมัดอิบราฮิม ที่ปรึกษารัฐตรังกานู นายกอัมโนและสมาคมอิสลามตรังกานู ให้ความเห็นว่าจริงอยู่หะยีสุหลงและพวกเป็นราษฎรไทย แต่ด้วยท่านเป็นมุสลิม ซึ่งมุสลิมทั่วโลกจะต้องรับรู้และคัดค้านการกระทำอันอยุติธรรมของรัฐบาลไทยต่วนเช็กอิสมาแอล จากโกตาบารูและหะยีมุหะหมัดนูร์ น้องเขยหะยีสุหลงและเป็นองคมนตรีรัฐกลันตันก็สนับสนุนญัตติการประชุมของ สมาคมอิสลามฯ ที่สิงคโปร์ นอกจากกลันตันยังมีอีกหลายสมาคมที่สนับสนุนญัตติของสิงคโปร์ เช่น ที่ปีนังและสลังงอ[11]

                จากข่าวและกระแสการเคลื่อนไหวในมลายาทำให้สถานเอกอัคราชทูตอังกฤษที่ กรุงเทพฯมีหนังสือมายังกระทรวงต่างประเทศของไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2497/1954 ว่า ตามที่ข่าวหนังสือพิมพ์ในสหพันธรัฐมลายาและสิงคโปร์ ได้ลงข่าวเกี่ยวกับการหายตัวไปของหะยีสุหลงและพวกอย่างต่อเนื่อง โดยอุตูซันมลายู ฉบับวันที่ 23 พฤศจิกายนได้ลงข่าวว่าหะยีสุหลงและพวกถูกทางการไทยยิงเสียชีวิตที่เกาะช้าง” (Pulau Gajah) ข่าวยังระบุว่าทางอุตูซันมลายูได้สอบถามไปยังกงสุลใหญ่ประจำสิงคโปร์ใน เรื่องดังกล่าว ซึ่งทางกงสุลไทยก็รับปากว่าจะสอบถามไปยังสงขลาและจะได้แถลงแก่สื่อมวลชนภาย หลังและบางกอกโพสต์ฉบับวันที่ 29 กันยายนก็ระบุว่านายอุดม บุณยประสพ ผู้ว่าราชการภาค 9  ได้สั่งการหาตัวหะยีสุหลงกับพวกแล้วนั้น แต่จนบัดนี้ทางการไทยก็ยังคงนิ่งเงียบมิได้แถลงหรือดำเนินการอื่นใดให้เกิด ความกระจ่าง ซึ่งทางอังกฤษเป็นห่วงว่าด้วยสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดความไม่สงบในสหพันธรัฐมลายาและราชอาณานิคมสิงคโปร์ยิ่งไปกว่านั้นเกรงว่าสถานการณ์จะเลวร้ายไปกว่านั้นโดยเฉพาะในกลันตันที่อาจทำให้ประชาชนเข้าร่วมกับแผนกมลายูของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายามากขึ้นซึ่งอยู่ในฝั่งไทยและอาจมีการติดต่อกับกลุ่มหัวรุนแรงในขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้ สถานเอกอัคราชทูตอังกฤษเสนอแนะว่ารัฐบาลไทยควรจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการ หายตัวไปของหะยีสุหลงและพวกก่อนที่สถานการณ์ต่างๆ จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น[12]

                ดูเหมือนว่าทางกรุงเทพฯ จะไม่ใส่ใจกับการหายตัวไปของหะยีสุหลง การร้องเรียนขอความช่วยเหลือของครอบครัวในสี่เดือนที่ผ่านมาแทบจะไม่ได้รับ ความสนใจจากส่วนราชการในกรุงเทพฯ เลย[13]   

              ทั้งนี้ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะไม่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่กรุงเทพฯ[14] จนกระทั่งกระทรวงการต่างประเทศได้รับหนังสือจากสถานทูตอังกฤษ ที่ทำให้ทางกรุงเทพฯ ตื่นตัวขึ้นมาอย่างกะทันหัน 

             ในวันเดียวกันนั้น กระทรวงต่างประเทศมีโทรเลขด่วน (เวลาส่งโทรเลข คือ 23.30 น.!) ถึงสถานกงสุลใหญ่ที่สิงคโปร์ เพื่อของคำชี้แจงเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์กับอุตูซันมลายูและมีหนังสือไปยัง กระทรวงมหาดไทยเพื่อ ขอให้ออกคำแถลงเกี่ยวกับการสาปสูญของหะยีสุหลงซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือตอบกลับอย่างรวดเร็วใน 2 วันถัดมา ว่าที่ประชุมกรมประมวลราชการแผ่นดินมีมติให้เรียกผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดปัตตานีมารายงานพร้อมนำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงในต้นสัปดาห์หน้า จากความรีบเร่งและการแสดงความไม่พอใจของกระทรวงต่างประเทศที่กรุงเทพฯ ต่อกงสุลใหญ่ที่สิงคโปร์ถึงการไม่รายงานให้กระทรวงทราบเรื่อง เห็นได้ชัดว่าปฏิกิริยาของรัฐบาลไทยต่อการหายสาบสูญของหะยีสุหลงนั้นเกิด ขึ้นจากต่างประเทศล้วนๆ ซึ่งภายในไม่กี่วันกระทรวงมหาดไทยได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการหายตัวไปของ หะยีสุหลงดังต่อไปนี้[15]

แถลงการณ์
                เนื่องจากในระหว่างนี้หนังสือพิมพ์ไทยและต่างประเทศบางฉบับได้ลงข่าวเกี่ยว กับการหายตัวไปของหะยีสุหรงอย่างสับสน อันอาจจะทำให้มีความเข้าใจผิดเกิดขึ้นในหมู่ชนได้ กระทรวงมหาดไทยจึงขอแถลงดังต่อไปนี้

                หะยีสุหรงเป็นนักการเมืองโดยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ถูกจับกุมฐานเตรียมการก่อการจลาจลและถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกตามกฎหมาย ลักษณะอาญา มาตรา ๑๐๔ มีกำหนดโทษ ๔ ปี ๘ เดือน แต่ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอภัยโทษปลดปล่อยตัวให้เป็นอิสระไป ก่อนครบกำหนดโทษจำคุกตามคำพิพากษา

                หะยีสุหรงเมื่อได้ปล่อยตัวไปแล้วก็หาได้ล้มเลิกความคิดในทางการเมืองไม่ ยังดำเนินการแบบใต้ดินอยู่กับสมัครพรรคพวกทั้งในและนอกประเทศ หัวหน้าสันติบาลพิเศษที่จังหวัดสงขลาสืบทราบ จึงได้เชิญตัวหะยีสุหรงกับพวกอีก ๓ คน คือ นายแอสาแม นายเจ๊ะเฮาะ และนายเจ๊ะอาลีไปพบระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๗

                ในวันที่ ๖ สิงหาคม มีนายเจ๊ะอาลีแต่เพียงผู้เดียวไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ สอบสวนปากคำแล้วก็ให้ตัวกลับไป โดยได้นัดวันให้มาพบอีกครั้งหนึ่ง ส่วนหะยีสุหรงกับพวกอีก ๒ คนนั้นได้แจ้งว่าป่วยจะมาพบเจ้าหน้าที่ตำรวจภายหลัง แต่ก็มิได้กำหนดวันแน่นอน ต่อมาในวันที่ ๑๓ สิงหาคม เวลากลางวัน ซึ่งพ้นกำหนดวันนัดหมายแล้วจึงได้มาพบ ในวันนั้นหัวหน้าหน่วยสันติบาลพิเศษไปราชการที่อื่นเสียมิได้อยู่ ณ ที่ทำการสงขลา เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นรองจึงได้สอบสวนบันทึกปากคำไว้ แล้วก็ให้หะยีสุหรงกับพวกกลับไป โดยนัดให้มาพบหัวหน้าหน่วยสันติบาลในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๙๗ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ปรากฏว่าหะยีสุหรงและล่ามที่มาด้วยได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกเป็นหลักฐาน

                ครั้นเมื่อถึงวันกำหนดนัดครั้งที่ ๒ นายเจ๊ะอาลีแต่เพียงผู้เดียวได้มาพบเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลพิเศษที่สงขลา ตามนัด ส่วนหะยีสุหรง นายแอสาแม นายเจ๊ะเฮาะหาได้ไปพบไม่ ได้หายตัวไป

                การหายตัวไปของหะยีสุหรงกับพวกนี้ หนังสือพิมพ์ต่างประเทศฉบับหนึ่งซึ่งเป็นปากเสียงในเรื่องนี้ไดลงข่าวในตอน แรกว่า หะยีสุหรงเป็นผู้นำทางการเมือง ๔ จังหวัดภาคใต้ในทางคิดแบ่งแยกดินแดน หลังจากถูกตำรวจสันติบาลเรียกตัวก็หลบหนีไปทำการใต้ดิน ต่อมาลงข่าวว่าถูกตำรวจไทยฆ่าตาย มีผู้พบเห็นในแม่น้ำสายหนึ่งทางภาคใต้ของปัตตานี ต่อมาลงข่าวว่าหะยีสุหรงยังมีชีวิตอยู่และอยู่ในระหว่างกักกันของรัฐบาลไทย ต่อมาลงข่าวว่าหะยีสุหรงถูกนำตัวไปเกาะช้าง ใกล้จังหวัดสงขลา ชาวมุสลิมซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ๆ ได้ยินเสียงปืน ๔ นัด  

             แต่นั้นมาก็ไม่มีผู้ใดพบปะอีกเลย ซึ่งจะเห็นได้ว่าข่าวเหล่านี้ขัดแย้งกันเองในตัว การหายไปของหะยีสุหรงกับพวกนี้ ถ้าจะสันนิษฐานกันแล้ว ก็อาจมีข้อสันนิษฐานได้หลายทาง เนื่องจากหะยีสุหรงเป็นนักการเมืองมีการติดต่อทำการแบบใต้ดินอยู่กับสมัคร พรรคพวกทั้งภายในและนอกประเทศดังกล่าวแล้ว

                เรื่องนี้กระทรวงมหาดไทยมิได้นิ่งนอนใจในอันที่จะสืบสวนค้นหาความจริงเมื่อ ได้ทราบเหตุก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและตำรวจดำเนินการสืบสวนเป็นลำดับ มา และในขณะนี้ก็กำลังดำเนินการสืบสวนและสอบสวนอยู่ จึงขอแถลงเพื่อทราบข้อเท็จจริงทั่วกัน

                                                                                                                                         กระทรวงมหาดไทย
                                                                                                                                         ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗

หะยีสุหลง - การปฏิเสธ

              กรุงเทพฯ, วันอาทิตย์ - โฆษกกรมตำรวจได้แถลงว่า ารกล่าวหาในหน้าหนังสือพิมพ์ภาษาพื้นเมืองมลายาที่ว่าหะยีสุหลง ผู้นำของ ขบวนการมุสลิมแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ของสยามได้ถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสยามในข้อหาเป็นแกนนำในขบวนการปลดปล่อยนั้นเป็นการปล่อยข่าวโดยพวกคอมมิวนิสต์เพื่อปลุกระดมประชาชนให้เกลียดชัง รัฐบาล
              โฆษกกรมตำรวจ ยังแถลงต่อไปว่า หะยีสุหลงได้มาพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจริงแต่ได้รับอนุญาตให้กลับไปหลังจาก ซักถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว
รอยเตอร์
(The Straits Times, 13 December 1954)

                ก่อนหน้าแถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ทางตำรวจก็ได้แถลงก่อนหน้านั้นแล้วว่าตำรวจไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่าง ใดกับการหายตัวไปของหะยีสุหลง ซึ่งหนังสือพิมพ์ในมลายาก็ได้ลงข่าวแถลงการณ์ปฏิเสธของทางการไทย[16]  

                พร้อมกันนั้นกรมประมวลราชการแผ่นดินได้ส่งข้าราชการ 2 นาย (ซึ่งเป็นมุสลิมทั้งสองนาย) ได้แก่ ร้อยตำรวจเอกสุไชย ไชยสุกุมาร และนายสุธี กุลยานนท์ ไปสิงคโปร์เพื่อสยบข่าวลือ โดยทั้งสองได้ไปที่สำนักงานของหนังสือพิมพ์อุตูซันมลายู ดังปรากฎเป็นข่าว 2 วันติด  
                 ในอุตูซันมลายู คือวันที่ 23 ธันวาคม 2497/1954 ที่พาดหัวว่า หะยีสุหลงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นบุคคลที่เคร่งครัดต่อศาสนาดยในเนื้อข่าวก็ระบุว่า ร.ต.อ. สุไชย กล่าวว่าเป็นไปไม่ได้ที่ทางการไทยจะสังหารหะยีสุหลงและพวก  

              ซึ่งน่าสังเกตว่าร.ต.อ.สุไชยไม่ได้ให้ข่าวโจมตีหะยีสุหลงแบบในแถลงการณ์หรือ การแถลงข่าวของโฆษกกรมตำรวจก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ยังลงภาพ ร.อ.สุไชย และดร. เย. กุลยานนท์สวมหมวกซอเกาะห์พร้อมคำบรรยายใต้ภาพว่า ร.อ. สุไชย มีชื่อแบบมุสลิม คือ หะยีฮาโรน และดร. เย คือ หะยีอับดุลกุโฟร์  

               ส่วนวันต่อมาก็พาดหัวว่าการดำเนินการสืบสวนค้นคว้าหาตัวหะยีสุหลงในแหลมมลายูซึ่งถือว่าเป็นภารกิจของทั้งสองคนนี้และกล่าวว่ารัฐบาลไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ เกี่ยวกับข่าวการหายตัวไปของหะยีสุหลง ในบันทึกที่อธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดินมีไปถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อรายงานการ ปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่กรมทั้งสองนั้น ระบุว่าได้ปฏิบัติภารกิจดังนี้คือ  
             หนึ่งได้ดำเนินการสืบสวนหาหลักฐานการหายตัวของหะยีสุหลง ณ เมืองสิงคโปร์ โดยวิธีตรงและวิธีอ้อม และ

              สองได้ติดต่อกับหัวหน้าพรรคอัมโน ซึ่งเป็นพรรคใหญ่และสำคัญที่สุดของมลายูให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและ ตำรวจไทยเพื่อรับการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการหายตัวไปของหยีสุหลง  

              ซึ่งผลของการปฏิบัติราชการดังกล่าวก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี คือทำให้พรรคอัมโนและหนังสือพิมพ์อุตูซันมลายู ตลอดชนประชาชนมลายูแน่ใจว่าทางการไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้[17]  

        ส่วนการเข้าไป สืบสวนหาหลักฐานนั้นในบันทึกฯ ของอธิบดีเผ่าไม่ได้ระบุว่าได้พบหลักฐานอะไรบ้างนอกเสียจากทราบว่าหลักฐาน ที่หนังสือพิมพ์อุตูซันมลายูลงข่าวเกี่ยวกับการหายตัวไปของหะยีสุหลงนั้น ความจริงไม่มีหลักฐานใดๆ นอกจากจดหมายที่ผู้อื่นส่งไปให้เท่านั้น[18]  

        ดูเหมือนว่าภารกิจครั้งนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่การหาร่องรอยการหายตัวไปของหะยี สุหลงดังที่อุตูซันมลายูพาดหัวข่าว แต่เป็นปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อเสียมากกว่าและผลของการโฆษณาชวนเชื่อนี้ดูจะ สำเร็จจริงตามคำกล่าวอ้าง

หะยีสุหลงยังไม่ตาย
             ปีนัง, วันจันทร์ - ตวนกูอับดุลเราะห์มานแถลงที่ปีนังวันนี้ว่าเขาเป็นที่พอใจว่าหะยีสุหลงผู้นำชาตินิยมมุสลิมยังคงมีชีวิตอยู่
                ตวนกูอับดุลเราะห์มานเพิ่งเดินทางกลับถึงเมื่อคืนนี้จากการเดินทางไปสงขลา อดีตหัวเมืองมลายูในสยาม เป็นเวลาสี่วัน ตวนกูกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ชาวสยามและชาวมุสลิมที่เขาไปสัมภาษณ์นั้นให้ความ ร่วมมือเป็นอย่างดี
                ตวนกูเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสยามไม่ได้สังหารหะยีสุหลงหรือไม่ได้มีส่วน เกี่ยวกับในทางใดทางหนึ่งเกี่ยวกับการหายไปของหะยีสุหลง
(The Straits Times, 28 December 1954, p. 7.)

หะยีสุหลงยังมีชีวิตอยู่ - เราะห์มาน
                ปีนัง, วันจันทร์ - หะยีสุหลง ผู้นำชาตินิยมมลายูยังมีชีวิตอยู่ ตนกูอับดุลเราะห์มานประธานสหองค์กรแห่งชาติมลายูกล่าวเมื่อวันนี้
                ตนกูอับดุลเราะห์มานได้กล่าวว่าข้อสรุปนี้มาจากการได้ไปสืบสวนที่สงขลา ประเทศไทยจนแน่ชัด เรื่องนี้เคยเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ว่าหะยีสุหลงและพวกนั้นถูกฆ่าตายโดยเจ้า หน้าที่ตำรวจไทย
(Singapore Tiger Standard, 28 December 1954)

                จากการเข้าไปแก้ข่าวและติดต่อกับ หัวหน้าพรรคอัมโนของร.ต.อ. สุไชย ไชยสุกุมารและสุธี กุลยานนท์จากกรมประมวลราชการแผ่นดิน ทำให้ตวนกูอับดุลเราะห์มาน ประธานพรรคอัมโน (United Malay National Organization - UMNO) เดินทางเข้ามายังสงขลาเพื่อ สืบสวน” (“investigation”) กรณีการหายตัวไปของหะยีสุหลง ในระหว่างวันที่ 23 - 26 ธันวาคม 2497/1954

                แต่การสืบสวนจนทราบข้อเท็จอันเป็นที่แน่ชัดตามที่ตวนกูกล่าวอ้างดังข่าวใน หนังสือพิมพ์สิงคโปร์นั้นคืออะไร ตวนกูสอบสวนอย่างไร

                จากข้อมูลฝั่งไทยพบว่าในการสืบสวนนั้นตวนกูอับดุลเราะห์มานได้เข้าพบ พ.ต.ท. บุญเลิศ เลิศปรีชา หัวหน้าหน่วยสันติบาลพิเศษภาคใต้ เพื่อสอบถามและหาความกระจ่างเกี่ยวกับการหายตัวไปของหะยีสุหลง การพบปะครั้งนั้นก็ได้มีการจดบันทึกการสนทนาเอาไว้และได้รายงานขึ้นไปยังกรม ประมวลราชการแผ่นดินและทางกรมฯ ก็รายงานตรงไปยังนายกรัฐมนตรี[19] ซึ่งเอกสารดังกล่าวทำให้เราพอเห็นการทำงานของตวนกู ดังนั้นจึงขอคัดลอกมาลงทั้งฉบับดังต่อไปนี้[20]

(สำเนา)
ลับ                                                                                   บันทึกการสนทนา
ระหว่าง
นายตวนกูอับดุลรามัน ประธานสมาคมอัมโน
กับ
พ.ต.ท. บุญเลิศ เลิศปรีชา หัวหน้าหน่วยสันติบาลพิเศษภาคใต้
ณ หน่วยสันติบาลพิเศษภาคใต้ จังหวัดสงขลา
วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๗ ระหว่างเวลา ๑๕.๐๐ น. ๑๖.๐๐ น.
-------------------------------

               ตวนกูอับดุลฯ                ขอบใจที่ส่งคนไปรับ
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ครั้งแรกจะไปรับเอง แต่ไม่สบายดังที่ท่านเห็นอยู่ ต้องการทราบอะไร ขอให้แจ้งให้ทราบไม่ต้องเกรงใจ
               ตวนกูอับดุลฯ                ขอบใจมาก วามยุ่งยากส่วนใหญ่ในเวลานี้ได้แก่เรื่องหะยีสุหลงกับพวกหายตัวไป สิ่งที่พูดกันในมลายู โดยฉะเพาะทางหนังสือพิมพ์ส่วนมากเป็นเรื่องไม่ตรงกับความจริง ข้าพเจ้าจึงได้ไปพบกงสุลไทยที่ปีนัง และกงสุลไทยปีนังให้แนะนำให้ข้าพเจ้ามาพบกับท่านที่นี่ เพื่อหาความกระจ่างในเรื่องนี้ แล้วจะได้กลับไปบอกกล่าวให้หายเข้าใจผิด
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ขอบใจมาก เรื่องนี้ข้าพเจ้าชี้แจงกับ มร. แมคดอก[21] ให้ทราบใว้ครั้งหนึ่งแล้ว และได้แจ้งกับ มร. แมคดอก ไว้ว่าขอให้ประธานอัมโนหรือกรรมการสมาคมมุสลิมในมลายูให้เข้ามาที่สงขลา เพื่อสืบสวนและสอบถามรายละเอียดได้ทุกประการ
               ตวนกูอับดุลฯ                มร. แมคดอก ไม่ได้พูดอะไรกับข้าพเจ้าในเรื่องนี้
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ถ้าเช่นนั้นจะขอชี้แจงให้ฟังอย่างละเอียดตั้งแต่แรกว่าทำไมจึงเรียกหะยีสุ หลงมาพบ คืออธิบดีกรมตำรวจได้ให้ข้าพเจ้ามาเป็นหัวหน้าจัดตั้งหน่วยสืบสวนพิเศษปราบ ปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์ และในขณะเดียวกันอธิบดีกรมตำรวจทราบว่าเหตุการเมืองทางใต้นั้น มีนักการเมืองคิดก่อการแบ่งแยกดินแดนขึ้นอีก ซึ่งเคยมีมาครั้งหนึ่งแล้ว ถ้ามีอย่างนั้นจริงก็ขอให้ข้าพเจ้าดำเนินการอย่างละม่อม อย่าให้มีการรุนแรง ครั้นข้าพเจ้าได้มาอยู่ที่หน่วยสันติบาลพิเศษสงขลานี้ได้ประมาณ ๖ เดือน สืบทราบว่าการที่ท่านอธิบดีกล่าวไว้เป็นความจริง ข้าพเจ้าขอพูดอย่างเปิดอกต้องการให้กระจ่าง ผู้ที่คิดในเรื่องการแบ่งแยกดินแดนนี้มีทั้งภายในและภายนอกประเทศ ภายในนั้นคือ หะยีสุหลง ภายนอกคือ ตวนกูไมยิดิน
               ตวนกูอับดุลฯ               ผู้ที่เป็นหัวหน้าคิดแบ่งแยกดินแดน คือ ตวนกูไมยิดิน ข้าพเจ้ารู้จักดี
               พ.ต.ท. บุญเลิศ               นอกนั้นมีคนอื่นในจังหวัดนราธิวาส ยะลา มีหลักฐานทุกอย่างในการที่จะจับกุมหะยีสุหลง เป็นการประชุม การเรี่ยไรเงิน ซึ่งการประชุมการเมืองอย่างนี้ผิดกฎหมายในเมืองไทย เราไม่อยากจับกุมต้องการปฏิบัติอย่างละม่อมจึงใคร่เรียกตัวมาทำความเข้าใจ ว่ากล่าวและขอร้องให้หยุดล้มเลิกความคิดนั้นเสีย ไมยิดินก็ได้ตายไปแล้ว หะยีสุหลงควรจะล้มเลิกความคิดนั้นเสีย อีกประการหนึ่งถ้าจับกุมหะยีสุหลงประชาชนอาจกล่าวหาว่ากลั่นแกล้ง เพราะหะยีสุหลงเพิ่งพ้นโทษมาใหม่ๆ การเรียกตัวมานั้นได้เรียกฉะเพาะชั้นหัวหน้ามา ๔ คน ปรากฎว่าเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มาพบในครั้งแรก คือ เจ๊ะอาลี อีก ๓ คนว่าป่วย เมื่อเจ๊ะอาลีมานั้นพูดรู้เรื่องเข้าใจกันดีแล้วก็กลับไป ต่อมาเมื่อ ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗ อีก ๓ คนก็มา แต่บังเอิญข้าพเจ้าไม่อยู่ ไม่ได้รอรับ ในวันที่หะยีสุหลงมานั้น ข้าพเจ้าไปราชการที่สะเดา จึงไม่ได้พบหะยีสุหลงเลยตลอดมาจนกระทั่งบัดนี้
               ร.ต.อ. อัมพรฯ               ข้าพเจ้าได้บอกกับ ตวนกูอับดุลรามันไว้แล้วว่า เมื่อหะยีสุหลงมาพบนั้น ข้าพเจ้าได้แจ้งให้ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลไทย ที่ต้องการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนชาวอิสลามโดยฉะเพาะในเรื่องศาสนา ถึงกับทางรัฐบาลได้มีงบประมาณเป็นจำนวนหลายล้านบาทเพื่อปรับปรุงความเป็น อยู่ของชาวไทยอิสลามให้อยู่ในสภาพที่ดี นอกจากนี้ยังได้ชี้แจง ตักเตือนมิให้เล่นการเมืองแบบนั้นอีก ขอให้ล้มเลิกความคิดที่มีอยู่ แล้วก็กลับไป ได้บอกให้มาพบกับ พ.ต.ท. บุญเลิศอีกครั้งหนึ่ง แต่จนบัดนี้ก็ไม่ได้พบ
               ตวนกูอับดุลฯ              เมื่อหะยีสุหลงมานั้น มาโดยส่วนตัวหรือมีคนคุ้มกันมา หรือว่าจับมา
               ร.ต.อ. อัมพรฯ             มาเอง ไปเอง ไม่ได้ไปส่งหรือไปรับ มาโดยรถไฟที่หาดใหญ่แล้วจับแท็กซี่มาสงขลา
               ตวนกูอับดุลฯ                กลับวันเดียวกันหรือเปล่า
               ร.ต.อ. อัมพรฯ               สอบถามแล้วก็ให้กลับในเย็นวันนั้นเอง
               ตวนกูอับดุลฯ                เรื่องตามข่าวหนังสือพิมพ์ในมลายูนั้นพูดกันสัปสนมาก ซึ่งตามข่าวนั้นคนส่วนมากในมลายูเห็นใจหะยีสุหลง และอาจเป็นความเข้าใจผิด ข้าพเจ้าจึงใคร่มาหาความจริงให้กระจ่างในเรื่องนี้ เพราะเหตุการณ์เช่นนั้นแสดงถึงพวกหนังสือพิมพ์ในมลายูและคนในมลายูแสดงถึง ความไม่เป็นมิตต์กับไทย
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ขอให้เชื่อเถิดว่าไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะทำร้ายหะยีสุหลงอย่างเช่นตามข่าวใน หนังสือพิมพ์นั้น
               ตวนกูอับดุลฯ                หนังสือพิมพ์เข้าใจผิดแน่
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            หะยีสุหลงนั้นชอบกับรัฐมนตรีมหาดไทยปัจจุบันที่เป็นการส่วนตัวแต่ครั้งท่าน เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี[22] ลูกชายหะยีสุหลงคือ โมหะหมัด ก็ชอบพอกับข้าพเจ้ามาก ไม่มีเหตุอะไรที่ตำรวจจะทำร้ายหะยีสุหลงกับพวก เรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรีและท่านอธิบดีตำรวจร้อนใจมาก ความจริงเป็นอย่างไรยังไม่มีใครรู้เป็นแต่สันนิษฐานไปต่างๆ เดาเอาเอง
               ตวนกูอับดุลฯ                ท่านมีความคิดเห็นส่วนตัวอย่างไร
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            มีความเห็นเป็น ๓ ทาง
        ๑. หะยีสุหลงอาจกลัวถูกจับเพราะ ร.ต.อ. อัมพร ได้สอบสวนและ ขอร้องให้หะยีสุหลงรับและให้บอกแผนการณ์ที่คิดแบ่งแยกดินแดน แต่หะยีสุหลงปฏิเสธ ร.ต.อ. อัมพร บอกว่าทางตำรวจมีหลักฐาน ซึ่งจะนำคดีฟ้องร้องหรือไม่อยู่ที่ พ.ต.ท. บุญเลิศ หะยีสุหลงอาจกลัวและหนีไป
        ๒. อาจหลบหนีไปต่างประเทศ โดยคิดว่าตำรวจรู้ความลับแล้ว จะทำอะไรในประเทศอีกไม่ได้ จึงอาจหนีไปร่วมกับพวกนอกประเทศ
         ๓. อาจเป็นแผนการณ์ของหะยีสุหลงต้องการให้ร้ายรัฐบาลไทย หลบซ่อนตัวทำข่าวว่าตำรวจทำร้าย ซึ่งอาจเป็นผลให้ราษฎรลุกฮือขึ้น
               ตวนกูอับดุลฯ             ตามคำกล่าวของท่านเชื่อว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่ว่ามีการฆ่าหะยีสุหลง
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ         ขอให้ท่านไปสืบสวนให้กระจ่างด้วยตนเองจากที่ไหนแหล่งใดก็ได้ แล้วขอให้กลับไปเขียนชี้แจงทางมลายูให้กระจ่างในเรื่องนี้
               ตวนกูอับดุลฯ                ขอบใจมาก ข้าพเจ้าในฐานะเป็นหัวหน้าของสมาคมอัมโน ซึ่งเป็นสมาคมของชาวมลายู มีสาขาในมลายูหลายแห่ง โดยฉะเพาะคนทางภาคใต้ของไทยนี้ข้าพเจ้าทราบว่ามีคนจากนราธิวาส ปัตตานี ประสงค์จะไปร่วมกับพวกอัมโนในมลายู แต่ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่าอัมโนในมลายูนั้น เป็นเรื่องของคนในมลายูโดยฉะเพาะไม่ต้องการให้เกี่ยวโยงมาถึงเมืองไทย และไม่ต้องการให้อัมโนมาแนะนำหรือชักชวนคนในเมืองไทยมาร่วม เพราะสมาคมอัมโนนี้รับรองโดยอังกฤษ ซึ่งเราต่อสู้เพื่อเอกราชตามรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับการใช้กำลัง เราไม่ต้องการนำอัมโนมาสู่เมืองไทย มีผู้ต้องการให้ไปเปิดสาขานอกประเทศ เช่นในซาราวัก แต่ข้าพเจ้าไม่ต้องการ
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ขอให้ระลึกว่ามลายูกับไทยนั้นมีความสัมพันธ์กันมาหลายร้อยปีแล้ว ถ้าเชื่อคำยุแหย่ให้เกิดการแตกแยกในความสัมพันธ์นี้ ก็อาจเป็นเครื่องมืออย่างดีในทางโจมตีของคอมมิวนิสต์
               ตวนกูอับดุลฯ                จริง มลายูและไทยต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แน่นอนถ้ามลายูได้รับเอกราชแล้วไม่มีปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมลายูต้องเป็นไปอย่างสนิทสนมแน่นแฟ้น
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ถ้าไทยกับมลายูมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเชื่อว่าคอมมิวนิสต์คงไม่สามารถทำอะไรได้
               ตวนกูอับดุลฯ                จริง เป็นเรื่องสำคัญและมีแนวนโยบายอันเดียวกัน
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ไทยและมลายูนั้นเป็นคอมมิวนิสต์ไม่ได้ ไทยมีศาสนา มลายูก็มีศาสนา เราควรร่วมกันป้องกันคอมมิวนิสต์ดีกว่าที่จะให้แตกแยกกัน เพราะคอมมิวนิสต์นั้นไม่ต้องการให้มีศาสนา
               ตวนกูอับดุลฯ                จริง เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าสนใจโดยฉะเพาะตัวข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยโดยแท้จริง มารดาของข้าพเจ้าก็เป็นคนไทย
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            โดยฉะเพาะภาคใต้นี้ถ้าข้าราชการคนไทยไม่ดี ข่มเหงชาวบ้าน เมาสุราเสเพล ข้าพเจ้าก็ได้พยายามเสนอผู้ใหญ่ย้ายหรือไล่ออกไปแล้วหลายคน และขอรับรองว่า ไม่มีใครยุ่งข่มเหงเหยียบย่ำทำลายศาสนาเลย
               ตวนกูอับดุลฯ                ความมุ่งหมายของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าโดยฉะเพาะที่รัฐเคดะห์มีคนไทยอยู่เป็นอันมาก มีที่ดินและตามกฎหมายของสหพันธรัฐมลายูก็อนุญาตให้เฉพาะคนไทยและมลายูเท่า นั้นครอบครองที่ดินได้ ส่วนคนจีนหรือพวกอื่นนั้นไม่อนุญาต คนไทยนั้นบางคนก็หันไปถือศาสนาอิสลาม บางคนก็ยังถือพุทธอยู่ ซึ่งเรื่องหะยีสุหลงนี้อาจทำให้เกิดความกระทบกระทั่งกันขึ้นได้ ข้าพเจ้าจะกลับไปชี้แจงให้หายเข้าใจผิดในเรื่องนี้
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ขอบใจที่ท่านมีความิดเช่นนี้ ชนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่มีความคิดในเรื่องแบ่งแยกดินแดนนี้ เพราะต้องการเป็นใหญ่เป็นโต ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับศาสนาแต่เอาเรื่องศาสนาขึ้นบังหน้า
               ตวนกูอับดุลฯ                มีคนเดียวเท่านั้น คือตวนกูไมยิดิน ผู้นี้เคยขอร้องอังกฤษให้ช่วยเหลือเรื่อง ๔ จังหวัดภาคใต้ของไทยนี้ แต่อังกฤษไม่ช่วย เลยผิดหวังจึงหันมาหาพรรคพวกในเมืองไทย
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ขอฝากความหวังกับท่านไปทำความเข้าใจทางมลายูต่อไปด้วย
               ตวนกูอับดุลฯ                จะทำ
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            ขอให้สืบสวนให้แน่ก่อน ไม่ใช่เชื่อข้าพเจ้าฝ่ายเดียว
               ตวนกูอับดุลฯ                ขอให้ท่านเข้าใจว่าการที่ข้าพเจ้ามานี้ ข้าพเจ้าไม่ต้องการมาเกี่ยวกับเรื่อง ๔ จังหวัดเลย ข้าพเจ้ามาทำความกระจ่างเรื่องหะยีสุหลงกับพวกโดยฉะเพาะ เพราะบรรยากาศในเรื่องนี้ในมลายูไม่สู้ดี ข้าพเจ้าจะกลับไปทำบรรยากาศในมลายูให้ดีขึ้นเท่านั้น ข้าพเจ้าได้ตั้งใจจะมาที่นี่หลายครั้งแล้ว จึงได้มาติดต่อพบกับกงสุลไทยที่ปีนัง ในชั้นแรกเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗ ตั้งใจจะมาแต่บังเอิญติดประชุมที่กัวลาลัมเปอร์
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            เรื่องการมาของกรรมการมุสลิมในมลายูหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่ต้องการมาทำความ กระจ่างในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้แจ้งไปกับ มร. แมคดอกแล้ว ให้มาพบกับข้าพเจ้าได้
               ตวนกูอับดุลฯ                ไม่ค่อยพบกับ มร. แมคดอกมากนักและ มร. แมคดอกก็ไม่ได้พูดอะไรในเรื่องนี้
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ            มร. แมคดอกอาจเห็นว่าการที่ข้าพเจ้าพูดไปนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาล คิดว่าข้าพเจ้าไม่มีสิทธิอนุญาตให้ท่านมาจึงอาจไม่ได้บอก เราทำความเข้าใจกันเป็นส่วนตัวอย่างท่านกับข้าพเจ้านี้ก็ได้
               ตวนกูอับดุลฯ                เมื่อวานนี้ข้าพเจ้าได้ไปประชุมร่วมกับข้าหลวงใหญ่สหพันธรัฐมลายู ข้าหลวงใหญ่ทราบว่าข้าพเจ้าจะมาสงขลา จึงแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่าการที่ข้าพเจ้ามานี้ไม่ได้มาในฐานะผู้แทนของ รัฐบาลสหพันธรัฐมลายู หรือผู้แทนของข้าหลวงใหญ่แต่อย่างใด แต่มาในฐานะหัวหน้าอัมโน เพราะอาจจะมีการเข้าใจผิดว่าข้าพเจ้าเป็นผู้แทนของรัฐบาลสหพันธรัฐมลายู ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ        ท่านควรพบกับผู้ว่าราชการภาคด้วยอีกคนหนึ่ง
               ตวนกูอับดุลฯ            จะไปพบในวันพรุ่งนี้ และข้าพเจ้าจะขอพบกับโต๊ะอีหม่ำที่นี่ได้ไหม
               พ.ต.ท. บุญเลิศฯ        ท่านจะพบกับใครที่ไหนก็ได้

-------------------------------
ร.ต.อ. ฉลอง สุริยะโขติ ผู้บันทึก

                ในวันต่อมา ตวนกูอับดุลเราะห์มานก็ไปพบกับนายอุดม บุณยประสพ ผู้ว่าราชการภาค ซึ่งเช่นเดียวกับบันทึกข้างบน มีการบันทึกการสนทนาแบบสรุปเอาไว้และนำรายงานต่อนายกรัฐมนตรีพร้อมกับบันทึก ข้างต้น ซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างอุดมกับตวนกูอับดุลเราะห์มานประกอบไปด้วยหลาย เรื่อง ไม่เฉพาะเรื่องหะยีสุหลงในที่นี้จะขอคัดมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องดังต่อไป นี้
 

(สำเนา)
ลับ                                                                                   บันทึกการสนทนา
ระหว่าง
นายตวนกูอับดุลรามัน ประธานสมาคมอัมโน
กับ
นายอุดม บุณยประสพ ผู้ว่าราชการภาค ๙
ณ บ้านพักผู้ว่าราชการภาค ๙ จังหวัดสงขลา
วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๙๗ เวลา  ๑๐.๓๐ น. ๑๑.๓๐ น.
-------------------------------
                เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ศกนี้ เวลา ๑๐.๓๐ น. ร.ต.ท. อัมพร จิตตปฏิมา ประจำกองสันติบาลพิเศษภาคใต้ ได้นำตวนกูอับดุลรามัน หัวหน้าพรรคการเมืองอัมโนมาพบกระผมที่บ้านพัก จึงขอประทานกราบเรียนรายงานเรื่องที่สนทนาดังนี้.-

                เมื่อได้แสดงความยินดีในการพบปะครั้งแรกต่อกันแล้ว ตวนกูฟื้นความหลังว่าเคยเป็นนักเรียนเทพศิรินทร์ แต่กลับมาอยู่ไทรบุรีตั้งแต่ปี ๑๙๑๔ แล้วไม่ได้เดินทางไปเยือนกรุงเทพฯ อีกเลย ตวนกูมีมารดาเป็นคนไทย มีพี่น้อง ๓ คน และเป็นน้องต่างมารดาของสุลต่านไทรบุรี นอกจากนี้ศพพี่ชายร่วมบิดาก็ยังฝังอยู่ที่กรุงเทพฯ มีเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นอยู่หลายคน เช่น หลวงถวิลฯ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และว่าคิดที่จะเยี่ยมพระนครอยู่เสมอ ตวนกูอุทมาดน้องชายกับวงศ์ญาติมีโอกาสดีได้เข้ามาชมงานฉลองรัฐธรรมนูญ (ได้พบกับกระผมที่กรุงเทพฯ) กลับไปเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ให้ฟังอย่างน่าตื่นใจ

ออกตัวมิได้มาเป็นทางการ
                ตวนกูออกตัวว่าเข้ามาสงขลาครั้งนี้เพื่อเยี่ยมเยียนพบปะผู้ที่ชอบพอและชม ภูมิประเทศเป็นส่วนตัวเพราะเป็นนักการเมืองไม่ใช่ข้าราชการ จึงมิได้มาในหน้าที่ราชการ และทั้งไม่อาจมาในฐานะนักการเมือง เพราะสหรัฐมลายูยังไม่ได้เอกราชสมบูรณ์จากอังกฤษ จนกว่าจะได้ดำเนินการเลือกตั้งเป็นขั้นๆ การมาครั้งนี้นำบุตรภรรยามาด้วย

พรรคการเมืองในมลายูยังปรารถนาได้สิงคโปร์มาอยู่ในปกครอง
                ตวนกูให้ทัศนะในทางการเมืองว่า แม้อังกฤษจะให้เอกราชสมบูรณ์ตามคำมั่นแต่ก็ยังกันสิงคโปร์ไว้ในอารักขาต่อไป พรรคการเมืองต่างๆ ในมลายูยังไม่พอใจเพราะสิงคโปร์เป็นดินแดนของสหรัฐมลายู อังกฤษไม่ควรกีดกัน

เหตุที่ตวนกูยังไม่เดินทางไปพระนครตามข่าวหนังสือโพสท์
                ตวนกูปรารภว่าเพราะเหตุที่เขาเป็นหัวหน้าพรรคอัมโน (อันเป็นพรรคใหญ่ที่สุดของกลุ่มมุสลิม) แต่ยังไม่ได้เอกราชสมบูรณ์ จึงรู้สึกตัวว่าไม่ทราบจะเข้าไปพระนครในฐานะอะไรและไม่ทราบจะอ้างเหตุผลอัน ใด เป็นข้อติดต่อกับทางราชการไทย .......

ตวนกูมีความเห็นด้านการศึกษาใน ๔ จังหวัดภาคใต้

                ตวนกูมีความเห็นว่าชาวอิสลามใน ๔ จังหวัดภาคใต้ยังไม่รู้คุณค่าของการศึกษาวิทยาการยุคปัจจุบัน เพราะเกรงว่าจะทำให้การนับถือและปฏิบัติกิจทางศาสนาเสื่อมลง ทั้งๆ ที่รัฐบาลไทยเปิดโอกาสทุกวิถีทางก็ไม่รับและศึกษา นับเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก กระผมชี้แจงว่า แต่เดิมมาอาจเป็นได้ และครูสอนศาสนามีส่วนอยู่ด้วยเพราะเกรงว่าคนจะฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์เกิด กว่าครูเหล่านั้น อย่างไรก็ตามในระยะ ๔ ๕ ปีมานี้ บิดา มารดาของเด็กมุสลิมใน ๔ จังหวัดตื่นตัวส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดหรือ โรงเรียนการช่างมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลการอบรมชี้แจงและเป็นผลในการศึกษาของรัฐบาลไทย นอกจากนี้จะให้ทุนนักเรียนใน ๔ จังหวัดเรียนวิชาครู สำเร็จแล้วจะส่งมารับราชการในภูมิลำเนา ในปี ๒๔๙๘ กระทรวงศึกษา จัดพิมพ์แบบเรียนสำหรับเด็ก ใน ๔ จังหวัด ขึ้นโดยเฉพาะการศึกษาจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยไม่มีปัญหา

ตวนกูปรารภเรื่องหะยีสุหลง
                ตวนกูปรารภต่อไปว่า การมาเยี่ยมสงขลาครั้งนี้มีเรื่องที่ชาวมลายูโดยเฉพาะคนในพรรคข้องใจถึงการ หายสาปสูญของหะยีสุหลงอยู่ เข้าใจกันว่าถูกทางราชการตำรวจไทยข่มเหงโดยไม่เป็นธรรม

                เรื่องนี้ตวนกูเชื่อว่า ความเข้าใจเช่นนั้นไม่เป็นความจริงและได้อธิบายให้เขาเหล่านั้นหายความข้อง ใจหลายครั้ง และแม้จะอธิบายต่อไปถึงว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องกิจการภายในของประเทศไทยโดย เฉพาะซึ่งไม่สมควรจะเกี่ยวข้อง ก็ยังมีผู้พูดเข้าใจไปในทำนองให้ร้ายราชการไทยอยู่ จึงถือโอกาสเข้ามาสดับตรับฟังด้วย เมื่อได้ทราบคำชี้แจงจากหัวหน้าหน่วยสันติบาลแล้วก็พอใจว่าเป็นเรื่องกล่าว ร้ายและเข้าใจผิด

                กระผมชี้แจงต่อไปว่า ตามที่ตวนกูเข้าใจในข้อที่ว่า เรื่องหะยีสุหลงเป็นเรื่องภายในของรัฐบาลไทยนั้นถูกแล้ว ขอออกความเห็นส่วนตัวว่า ถ้าหะยีสุหลงมิได้เป็นนักการเมือง มิได้เล่นการเมือง และมิได้ติดต่อกับนักการเมืองนอกประเทศอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบเรียบร้อย และผิดกฎหมายไทยแล้ว เหตุใดนักการเมืองในมลายูจึงจำต้องข้องใจในการหายสาปสูญของหะยีสุหลง ในประเทศไทย กล่าวโดยเฉพาะในหมู่มุสลิมด้วยกันมีผู้ที่ถูกทำร้ายถึงตาย หายสาปสูญก็มีอยู่หลายราย มิใช่เฉพาะหะยีสุหลงคนเดียว เหตุใดไม่มีนักการเมืองหรือผู้ใดเอาใจใส่ และนักการเมือง ในมลายูถือเอาสาเหตุเฉพาะตัวของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศไทยมาเป็นเหตุข้องใจด้วยหรือไม่

                พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัดว่า หะยีสุหลงมีการติดต่อทางการเมืองกับนักการเมืองนอกประเทศ การสาปสูญจึงเกิดความข้องใจขึ้น

                แต่เช่นนั้นกระผมเชื่อว่าตวนกูก็คงได้ทราบเรื่องจากเจ้าหน้าที่สันติบาล ไทยอย่างแจ่มแจ้ง เสมือนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของไทยสอบสวนการปฏิบัติราชการของข้าราชการไทย ซึ่งคงมีน้อยประเทศที่มีใจกว้างเช่นนี้ ทั้งนี้ก็เพราะราชการไทยรักความจริงความสุจริตใจเป็นสำคัญ

                กระผมลำดับเรื่องการเรียกตัวหะยีสุหลงของตำรวจสันติบาลว่า มีเหตุผลตามทางสืบสวนว่า หะยีสุหลงได้กระทำผิดกฎหมาย จึงเรียกมาปรับความเข้าใจแต่โดยดี

                ชี้แจงให้ตวนกูฟังว่า หะยีสุหลงมีความระมัดระวังตัวเพียงใด เช่นไม่มาพบตามนัดในครั้งแรก จนผู้ที่ถูกเรียกตัวร่วมกันได้กลับไปแจ้งให้ทราบว่าถูกซักถามด้วยเรื่องอะไร การมาก็มิได้จับกุม เกาะกุม ทั้งเป็นเวลากลางวัน นำผู้ติดตามมาด้วยหลายคน หะยีสุหลงกลับไปในวันนั้นเอง มีประจักษ์พยามยันได้ และมิได้พบกับ พ.ต.ท. บุญเลิศฯ หัวหน้าหน่วย เพราะหะยีสุหลงมาตามเชิญโดยไม่บอกให้ พ.ต.ท. บุญเลิศฯ ทราบล่วงหน้า  

              ก็บุคคลที่เล่นการเมืองมีความระมัดระวังตัวเป็นพิเศษมีชั้นมีเชิง เมื่อทราบว่าสันติบาลทราบความลับย่อมทิ้งไพ่ใบสุดท้ายให้แนวความคิดทางการ เมืองเป็นผลดีแก่ตนและโยนความผิดให้แก่ปรปักษ์โดยไม่ต้องสงสัย

                ในขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสสมัครพรรคพวกจะแพร่ข่าวอกุศลให้แก่ฝ่ายปรกปักษ์ ดังจะเห็นได้จากการแพร่ข่าวไม่อยู่กับร่องกับรอยกลับไปกลับมาของหนังสือ พิมพ์ในมลายู เมื่อใดการเมืองได้ผลเมื่อนั้นจึงปรากฎตัว กระผมมีความเข้าใจเช่นนี้เพราะได้สอบสวน สืบสวนอย่างรอบคอบ เชื่อมั่นว่าการสาปสูญของหะยีสุหลงเป็นเรื่องของหะยีสุหลงและพรรคพวกของเขา เอง นอกจากนี้ พณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ก็เป็นผู้ที่ชอบพอกับหะยีสุหลง พณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการและอธิบดีกรมตำรวจผู้เกลียดความอยุติธรรมต่างมีความข้อง ใจ และร้อนใจเท่าๆ กันกับข่าวอกุศล ก็คาดคั้นให้กระผมสอบสวนและสืบสวนอย่างหนักตลอดมา

                ในเมื่อเป็นโอกาสที่ตวนกูได้เห็นภูมิประเทศ สถานที่ ตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องแล้วก็ขอให้สืบสวนจนพอใจ กระผมไม่มีข้อปิดบังและยินดีให้ความสดวกทุกประการ

                ตวนกูรับรองว่าเจ้าหน้าที่ให้ความสะดวกและพอใจทุกอย่าง ไม่ข้องใจเป็นอย่างอื่น และขอขอบใจในเรื่องนี้และว่านอกจากจะชี้แจงให้ผู้ข้องใจทราบแล้วจะหาโอกาส ชี้แจงให้หนังสือพิมพ์ทราบเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้ง ๒ ประเทศต่อไป

กวดขันให้ข้าราชการอำนวยความสะดวกและเว้นการข่มเหงอย่างเด็ดขาดและต้องสุภาพเรียบร้อย
                กระผมได้ชี้แจงตวนกูต่อไปว่า นับแต่ได้รับต่างตั้งมารับราชการในภาคนี้ กระผมได้รับนโยบายจากท่านผู้ใหญ่ให้กวดขันข้าราชการให้อำนวยความสดวก และเว้นการข่มเหงและต้องสุภาพต่อประชาชน ซึ่งกระผมได้กำชับสอดส่องด้วยตนเองโดยใกล้ชิดเสมอมา ผู้ใดละเมิดไม่ว่าตำรวจหรือพลเรือน ถูกลงโทษอย่างหนักเสมอ แม้การเสพสุรามึนเมาในที่สาธารณะก็ถือเป็นโทษหนักเช่นเดียวกัน สังเกตเห็นว่าข้าราชการสังวรตัวมากขึ้น และจะดีขึ้นตามลำดับ

บุคคลิกลักษณะตวนกู
                สังเกตเห็นว่าเป็นคนสุภาพ พูดจาเปิดเผยไม่วางท่าไว้ตัว หรือประหยัดถ้อยคำมากนัก ฉลาด ได้รับการศึกษาดีมีอารมณ์สนุก ดูตั้งใจผูกมิตรกับฝ่ายไทยอยู่มากและเป็นคนที่ได้รับการยกย่องนับถือในมลายู มาก

                ถ้าข่าวอกุศลและหนังสือพิมพ์ในมลายูหยุดโจมตีรัฐบาลไทย ก็พอเชื่อได้ว่าเป็นข้อที่ตวนกูรับปากกับกระผมเป็นการกล่าวด้วยจริงใจ

                การสนทนาดำเนินไปประมาณ ๑ ชั่วโมง ตวนกูจึงลากลับ

                ในวันนั้นเวลา ๑๙.๐๐ น. กระผมได้นำรองผู้ว่าราชการภาคไปเยี่ยมตอบ ณ ที่พัก ตวนกูรับรองอย่างฉันท์มิตร เช่นขอร้องให้ถอดเสื้อ เลี้ยงเครื่องดื่ม (บรั่นดี) การสนทนาเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของตวนกูและญาติซึ่งเคยมาศึกษาเล่าเรียนใน ประเทศไทย ตำแหน่งหน้าที่ของตวนกูเมื่อญี่ปุ่นยึดครอง ประมาณ ๓๐ นาทีจึงลากลับ ก่อนจากตวนกูได้แนะนำบุตรชาย ๒ คนและภรรยาให้กระผมและรองผู้ว่าราชการภาครู้จัก

-------------------------------

                                                                                                       (ลงชื่อ)   อ. บุณยประสพ
                                                                                                            ผู้ว่าราชการภาค ๙

                จากบันทึกสนทนาทั้งสองชิ้นนี้เห็นได้ชัดว่าตวนกูอับดุลเราะห์มานมีธงคำตอบ ของคำถามแล้ว อย่างพูดที่ว่า เพื่อหาความกระจ่างในเรื่องนี้ แล้วจะได้กลับไปบอกกล่าวให้หายเข้าใจผิด”    “ซึ่งตามข่าวนั้นคนส่วนมากในมลายูเห็นใจหะยีสุหลง และอาจเป็นความเข้าใจผิดหรือ เชื่อว่า ความเข้าใจเช่นนั้นไม่เป็นความจริงและได้อธิบายให้เขาเหล่านั้นหายความข้อง ใจหลายครั้ง.... ก็ยังมีผู้พูดเข้าใจไปในทำนองให้ร้ายราชการไทยอยู่ จึงถือโอกาสเข้ามาสดับตรับฟังด้วย เมื่อได้ทราบคำชี้แจงจากหัวหน้าหน่วยสันติบาลแล้วก็พอใจว่าเป็นเรื่องกล่าว ร้ายและเข้าใจผิด 

             กล่าวคือตวนกูมีความคิดล่วงหน้าอยู่ก่อนแล้วว่า ชาวมลายูนั้นเข้าใจผิด ดังนั้น การสืบสวนของตวนกูอับดุลเราะห์มาน จึงสามารถเสร็จลุล่วงอย่างรวดเร็วและเมื่อกลับไปที่ปีนัง ตวนกูอับดุลเราะห์มานก็ให้ข่าวในทันทีว่า หะยีสุหลงยังมีชีวิตอยู่และทางการไทยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการหายสาปสูญ  

              การยืนยังเช่นนั้นย่อมขัดกับสิ่งที่หนังสือพิมพ์ในมลายานำเสนอมาตลอดและมี รายงานว่า หลังจากหนังสือพิมพ์มลายูได้รายงานข่าวตวนกูอับดุลเราะห์มานยืนยันว่าหะยี สุหลงไม่ได้ถูกฆาตกรรมโดยตำรวจสยามอย่างแน่นอนนั้น เขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง[23]  

             แต่ตวนกูก็ยังคงยืนยันเช่นเดิมหลายๆ วาระต่อมา เช่นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2498/1955 ที่กัวลาลัมเปอร์ ตวนกูกล่าวว่า เป็นเรื่องอันตรายถ้าความรู้สึกเคลือบแคลงสงสัยยังคงอยู่จะเป็นต้นตอปัญหา ความไม่สงบในภาคใต้ของสยามได้ ซึ่งเขาก็กล่าวย้ำอีกครั้งว่าผมเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่าหะยีสุหลงไม่ได้ถูกฆ่าโดยสยามหรือจากกระบวนการ สอบสวน ถ้าเขาถูกฆ่าจะต้องเป็นบุคคลอื่นไม่ใช่คนของรัฐบาลหรือตำรวจสยาม” 

               และอาจเป็นเพราะกระแสวิพากษ์วิจารณ์จึงทำให้ตวนกูต้องอธิบายเหตุผลและกระบวน การสืบสวนของตน ตวนกูชี้ว่าหะยีสุหลงเคยหายตัวไปครั้งหนึ่ง คือไปไซ่ง่อนและเป็นที่ทราบกันดีว่ามีสำนักงานใหญ่ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน เคยอยู่ที่กลันตันผมสันนิษฐานว่าแนวร่วมบางคนยังคงปฏิบัติงานอยู่ในกลันตันและเป็นเรื่องง่าย มากที่จะเดินทางข้ามมาจากสยาม 

            เขายังเล่าเกี่ยวกับเข้าไปสืบสวนว่าได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากเจ้า หน้าที่ตำรวจไทยและได้พบกับนายพันเอก (colonel) ที่เป็นหัวหน้าหน่วยสันติบาลที่สงขลา ซึ่งเป็นผู้เรียกตัวหะยีสุหลงมาจากปัตตานี ซึ่งได้รับทราบว่าหะยีสุหลงมีพฤติการน่าสงสัย การเรียกตัวมานั้นเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการระดมทุนเพื่อมัสยิดซึ่งทางตำรวจ สงสัยว่าเป็นเรื่องบังหน้าแท้จริงแล้วเงินนั้นนำไปสนับสนุนขบวนการแบ่งแยก ดินแดน ซึ่งวันที่ 13 สิงหาคม หะยีสุหลงพร้อมพวกอีก 4 คนหนึ่งในนั้นคือลูกชายของเขา ซึ่งนี่คือครั้งสุดท้ายที่ได้พบหะยีสุหลง นอกจากนี้ 

          ผมได้ตามร่องรอยหลังจากนี้และได้สัมภาษณ์มุสลิมที่มีตำแหน่งหน้าที่สูงและ ผมไปพบญาติที่เขามักมาพักที่บ้านบ่อยๆ เมื่อมาสงขลา แต่ก็ไม่พบหะยีที่นั่น ... ผมยังได้ไปกำปงที่ปาตานีที่หะยีสุหลงเคยมาพักบ่อยๆ และได้รับการบอกกล่าวว่าไม่มีใครรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหนตอนนี้แต่ก็มีคนหนึ่ง ที่หะยีสุหลงเคยมาอาศัยพักอยู่ด้วย บอกผมว่าหะยีสุหลงไปอยู่ที่กลันตันแล้ว[24]

                ตวนกูมาเยือนไทย

                ระหว่างที่อยู่ในสยามตวนกู เราะห์มานยังได้พบกับนายกรัฐมนตรีจอมพลพิบูลสงครามและเจ้าหน้าที่ระดับสูง หลายคน หลายคนเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกับผมเขากล่าวการพบปะครั้งนี้เป็นเรื่องการสังคมและไม่เกี่ยวกับการเมือง เหตุผลที่แท้จริงของผมที่มากรุงเทพฯ นี้ก็เพื่อจะมาคำนับหลุมศพของตวนกูยูโซฟพี่ชายของผมซึ่งเสียชีวิตที่นี่ เมื่อปี 1915
(The Straits Times, 10 April 1955)

                ในช่วงเวลาเดียวกับการหายตัวไปของหะยีสุหลงปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ในมลายา วันที่ 19 พฤศจิกายน 2497/1954 เซอร์ตันเชงล็อก ประธานสมาคมจีนมลายา (Malayan Chinese Association - MCA) ซึ่งขณะนั้นได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับอัมโนแล้วได้เข้าพบกงสุลไทยที่สิงคโปร์ เพื่อติดต่อขอเดินทางมาไทยเพื่อได้พบปะวิสาสะกับท่านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้านใกล้ เคียงในการที่จะปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้[25]  

                 ความพยายามเยือนไทยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินสายเยือนประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียเพื่อ จัดตั้งองค์การภาคีสนธิสัญญาต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในแนวทางเดียวกับ สปอ. (องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - SEATO)”[26] ในเรื่องนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงเทพฯ มีความเห็นค่อนข้างจะหลากหลาย บ้างก็เห็นว่าการเข้ามาไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะมาอย่างไม่เป็นทางการ แต่บางส่วนก็เห็นว่าตันเชงล็อกและพันธมิตรไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามา เพราะไม่ใช่รัฐบาลกับทั้งมลายาก็ไม่ใช่รัฐเอกราช ส่วนเรื่ององค์การภาคีสนธิสัญญาต่อต้านคอมมิวนิสต์ก็ไม่มีความจำเป็นต้องพูด คุยกันเพราะว่ามี สปอ.อยู่แล้ว 

              แต่เรื่องการขอมาเยือนไทยนั้นความประสงค์อันแท้จริงของเซอร์ เช็งล็องตันและอับดุลราห์มันน่าจะเพื่อหาเสียงสนับสนุนในการเรียกร้องเอกราช จากอังกฤษและสิทธิทางการเมืองอื่นๆ ของชาวจีนในมลายูแต่ในท้ายที่สุดกระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นว่าควรอนุญาตให้เข้ามาเยี่ยม เยียนอย่างไม่เป็นทางการได้และหากเกรงว่าจะกระทบกระเทือนกับอังกฤษก็ให้แจ้ง แก่สถานทูตอังกฤษทราบ แต่เนื่องจากการเข้ามาดังกล่าวอาจจะเกี่ยวกับกิจการภายในจึงเสนอให้กระทรวง มหาดไทยพิจารณาก่อนแล้วค่อยเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยและนายกรัฐมนตรีก็อนุญาตให้เข้าเยี่ยมได้และแจ้งกำหนด การให้เข้าพบระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ หรือไม่ก็ช่วงหลังประชุมสปอ. เดือนมีนาคม 2498/1955  

              ในท้ายที่สุด แม้ตันเซงล็อก ผู้ดำเนินการติดต่อเดินเรื่องจะไม่ได้มา ผู้ที่มาเป็นตัวแทนพันธมิตรจึงมีเพียง ตวนกูอับดุลเราะห์มาน กับคณะที่ประกอบด้วยเลขานุการของตันเชงล็อกและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอัมโน อีก 1 คน ได้มาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 เมษายนและเข้าพบนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงครามเมื่อวันที่ 7 เมษายน ซึ่งการเดินทางมากรุงเทพฯ  

              ครั้งนี้แม้ตวนกูอับดุลเราะห์มานจะอ้างว่ามาเป็นการส่วนตัวไม่เกี่ยวกับ เรื่องการเมือง แต่สื่อมวลชนได้ตั้งข้อสังเกตเช่นเดียวกับที่ความเห็นภายในกระทรวงการต่าง ประเทศว่า การเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ไทยสนับสนุนการรณรงค์เรียกร้อง เอกราชของมลายา ทั้งนี้เพราะพันธมิตรข้องใจใคร่อยากรู้ท่าที่ที่แน่ชัดของไทยก่อนที่จะออก แถลงการณ์สำหรับการเลือกตั้งทั่วสหพันธ์ที่จะถึงนี้ ซึ่งผลของการพบปะกับนายกรัฐมนตรีไทยจากแหล่งข่าวของสเตรทไทม์ระบุว่าจอมพล ป. พิบูลสงครามรับปากว่าจะสนับสนุนเอกราชของมลายาโดยแลกเปลี่ยนกับการที่พันธมิตรจะไม่สนับสนุนการเคลื่อนไหวใดๆ ในการแบ่งแยกในการแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ของสยามไปรวมมลายา 

              ทั้งยังระบุด้วยว่าการเยือนครั้งนี้ตวนกูอับดุลเราะห์มานได้หยิบยกกรณีการ หายตัวไปของหะยีสุหลงด้วยมาพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีไทยด้วยแต่เป็นไปเพื่อให้นายกรัฐมนตรีสยามมั่นใจว่า ขบวนการ [แบ่งแยกดินแดนที่มีหะยีสุหลงเป็นผู้นำ] ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมลายา  

              ในรายงานข่าวเดียวกันนั้นได้รายงานว่า ชาวสยามในกลันตันให้ความเห็นว่าตวนกูอับดุลเราะห์มาน ถูกหลอกให้เชื่อว่าหะยีสุหลงหนีมาอยู่ที่กลันตัน[27] เพราะก่อนหน้านี้ 3 วันหลังจากกลับมาจากกรุงเทพฯ ตวนกูได้ให้สัมภาษณ์กับสเตรทไทม์ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าหะยีสุหลงยังไม่ตาย เพราะเขาได้พบข้อมูลใหม่จากโทรเลขที่อธิบดีเผ่า ศรียานนท์ยื่นให้เขาอ่าน ซึ่งรายงานว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งพบ [หะยีสุหลง] ที่เซอมุดอาปี (Semut Api) ในกลันตันเมื่อเดือนก่อนและเมื่อทราบข่าวตวนกูก็ส่งคนออกไปตามหาทันที แต่ตอนนี้ยังไม่ได้รับรายงานกลับมา[28]

ชาวมลายูปัตตานีถือว่าเป็นผู้โชคร้ายที่สุด

            ในจำนวน 100 ล้านคนของประชากรของชนชาติมลายูทั้งหมดนั้นชาวมลายูปัตตานีถือว่าเป็นผู้โชค ร้ายที่สุด ถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบประชาธิปไตยเป็นเวลาที่ยาวนาน แต่ก็ไม่ใช่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่เป็นประชาธิปไตยที่แบ่งชนชั้นของเชื้อชาติซึ่งกำหนดโดยรัฐบาลสยาม โชคชะตาของชาวมลายูปะตานีจึงเปรียบได้กับต้นไม้เล็กๆ ชนิดหนึ่งที่ไม่มีวันเจริญเติบโตได้

(อิบรอฮิม ชุกรี, ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี, หน้า 95.)

                ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 2490 การเมืองไทยอยู่ในยุคที่เรียกว่า ยุคเผด็จการที่คณะรัฐประหารค่อนข้างมีอำนาจสมบูรณ์เหนือกลุ่มการเมืองอื่นๆ ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลคณะรัฐประหาร ในระบบราชการได้แก่ กลุ่มปรีดี เสรีไทย ทหารเรือและทหารนอกแถวอื่นๆ ถูกปราบปรามจนหมดสิ้นรวมถึงฝ่ายค้านนอกระบบราชการได้แก่ พวกนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง ตลอดจนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็สูญเสียอย่างหนักจากกรณีกบฏสันติภาพ เมื่อปี 2495/1952  

        ดังนั้นที่กรุงเทพฯ สถานะของคณะรัฐประหารที่ปกครองประเทศอยู่นั้นจึงค่อนข้างมีเสถียรภาพมาก[29]ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เช่นกัน นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวของผู้ลี้ภัยในกลันตันและกลุ่มผู้นำศาสนาที่มีหะยี สุหลงเป็นแกนนำคนสำคัญก็นับว่าเงียบสงบมาก ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายประนีประนอมต่อท้องถิ่นที่เกิดขึ้นช่วงต้นทศวรรษ 2490 และการจับกุมหะยีสุหลงและการเสียชีวิตของมะไฮยิดดินที่ทำให้ขบวนการมีความ ชะงักงัน  

             ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงไม่ได้ตอบสนองใดๆ ต่อการหายตัวไปของหะยีสุหลงแต่อย่างใด หรือแม้กระทั่งหากการหายตัวไปของหะยีสุหลงเป็นการ อุ้มของเจ้าหน้าที่จริง ก็เป็นเพราะรัฐบาลมีความมั่นใจว่าการหายตัวไปของหะยีสุหลงดังกล่าวจะไม่กลาย เป็นการจุดชนวนการเคลื่อนไหวหรือความวุ่นวายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้  

            ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงเพราะดูเหมือนว่ามีเพียงครอบครัวของหะยีสุหลงที่เป็น เดือดเป็นร้อนเรียกร้องให้ทางการหาตัวหะยีสุหลงให้พบ ขณะที่ในพื้นที่ไม่ปรากฏว่ามีความเคลื่อนไหวใดๆ ที่เป็นปฏิกิริยาต่อกรณีดังกล่าว การดำเนินการต่างๆ ของทางการไทยดังที่ได้เห็นในข้างต้นจึงมาจากแรงกดดันจากภายนอกอย่างสำคัญ  

            ดังนั้นแรงที่ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวจึงเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ความห่วงใยเกี่ยวกับการหายตัวไปของหะยีสุหลงคงไม่ใช่เรื่องความวุ่นวายที่จะ เกิดขึ้นภายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่คงหวั่นเกรงว่าจะเป็นเหตุให้พวกคอมมิวนิสต์หยิบยกกรณีดังกล่าวมาใช้เพื่อ ปลุกระดมคนในสองฟากฝั่งชายแดนไทย-มลายาซึ่งอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงภายใน ประเทศไทยได้ ดังมักพบอยู่เสมอว่าชนชั้นปกครองไทยมักมองปัญหาความมั่นคงว่ามีเงื่อนไขมาก จากภายนอก (โซเวียต จีน เวียดนาม ในกรณีของคอมมิวนิสต์ หรือมาเลเซีย ตะวันออกกลาง ฯลฯ ในกรณีของ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน”) มากกว่าที่จะมาจากเงื่อนไขภายในของสังคมไทยเอง

                ขณะเดียวกัน ตวนกูอับดุล เราะห์มาน ที่จู่ ๆ เข้ามาอาสาอย่างแข็งขันในการแก้ข่าวให้กับไทยและยืนกรานหลายต่อหลายครั้งว่า ทางการไทยไม่ได้ทำอะไรหะยีสุหลงและพวก ก็ต้องเข้าใจในแง่ที่ว่าอัมโนและพันธมิตร กลุ่มการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในขณะนั้นที่ตวนกูเป็นแกนนำอยู่นั้น จะไม่ได้ประโยชน์โภชย์ผลอันใดเลยจากกระแสความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการหายตัว ไปของหะยีสุหลง  

              ในขณะนั้นอัมโนและพันธมิตรกำลังเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษและ รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่งไปที่จะเกิดขึ้นในปี 2498/1955 กระแสการเคลื่อนไหวกรณีหะยีสุหลงหายตัวไปไม่เป็นผลดีกับอัมโนและพันธมิตร หากไปเข้าทางขบวนการชาตินิยมฝ่ายซ้ายที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมรวมมลายู (Pan-Malay Nationalism) เช่น พรรคชาตินิยมมลายู (PKMM - Malay Nationalist Party) ที่กลายเป็นพรรคนอกกฎหมายตั้งแต่ปี 2491/1948 ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่ฝ่ายมะไฮยิดดินและพวกปัตตานีลี้ภัยในกลันตันเลือก ข้าง[30] โดยในทางอุดมการณ์การเมืองแล้วค่อนข้างจะแตกต่างจากพรรคอัมโน ที่ถึงแม้จะเป็นชาตินิยมเหมือนกัน แต่นิยามชาติมลายูของอัมโนเองค่อนข้างจำกัดอยู่ภายในขอบเขตของบริติชมลายา [31]

              นอกจากการแข่งขันทางการเมืองภายในมลายาเองแล้ว ตวนกู อับดุล เราะห์มานเอง ก็คงไม่อยากมีปัญหากับเพื่อนบ้านอย่างไทย เพราะบริติชมลายา หรือแม้กระทั่งถ้าได้รับเอกราชแล้วก็ตาม มลายาก็ยังต้องการความร่วมมือจากไทยในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งมลายาต้องประกาศสถานการณฉุกเฉินมาตั้งแต่ปี 2491/1948 (Malayan Emergency) เพื่อจัดการกับปัญหาการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา การเป็นมิตรที่ดีกับไทยย่อมสำคัญต่อการจัดการปัญหา โจรจีนคอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวตามแนวชายแดนมลายา ไทย ซึ่งการแก้ไขปัญหาคอมมิวนิสต์นี้ยังเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่อังกฤษจะ มอบเอกราชให้กับมลายา นอกจากนี้ตวนกูอับดุลเราะห์มาน อัมโนและพันธมิตรยังต้องการแรงสนับสนุนจากไทยในการรณรงค์เพื่อเอกราชการด้วย ดังสะท้อนจากความพยายามเยือนไทยของตันเช็งล็อกและตวนกู ดังนั้นหากปล่อยกรณีหะยีสุหลงให้เป็นประเด็นเคลื่อนไหวในมลายาย่อมส่งผลต่อ การต่อสู้ทางการเมืองของอัมโนที่เป็นพรรคชาตินิยมมลายูเช่นกันและส่งผลต่อ การเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษในเร็ววันอีกด้วย

              ทางเลือกที่ดีที่สุดหรือสมเหตุสมผลที่สุดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมือง สำหรับตวนกูในฐานะผู้นำอัมโนและพันธมิตรที่ต้องการมีบทบาทนำในการเรียกร้อง เอกราช และไม่ให้กระทบกระเทือนกับความสัมพันธ์กับไทย ก็คือบอกว่าทางการไทยไม่ได้ฆ่าหะยีสุหลงและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการหายตัวไป แต่อย่างใด  เพื่อยุติกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้นใน มลายาไม่ให้ลุกลามบานปลายจนเป็นอุปสรรค์ต่อการเคลื่อนไหวของอัมโนและ พันธมิตร 

             ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ไทยเห็นว่า พรรคการเมืองที่จะสร้างมลายาที่เป็นเอกราชนั้นไม่ได้คิดที่จะสนับสนุนการ แบ่งแยกดินแดนที่มีคนชาติพันธุ์เดียวกับตนเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ให้ เป็นอิสระจากรัฐไทย ทั้งนี้ตวนกูเองย้ำในหลายโอกาสว่าอัมโนและพันธมิตร ไม่เคยคิดที่จะแทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน  

           สำหรับความเข้าใจเกี่ยวกับชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยของคนในมลายา นั้น แน่นอนว่าพวกเขาย่อมรับรู้ว่าชาวมลายูเหล่านั้นเป็นเพื่อนร่วม (เชื้อ) ชาติ แต่ตวนกูอับดุลเราะห์มานได้นิยามความเป็นมลายูปาตานี หรือชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยว่า แม้จะเป็นชาวมลายู แต่พวกเขาเป็นไทยมากกว่าและมีความสุขสบายดีภายใต้การปกครองของไทย ดังที่เขากล่าวว่า ชาวมลายูในสยามที่เขาเคยไปเยี่ยมนั้นค่อนข้างมีความสุขดีและภูมิใจในความเป็นคนสยาม พวกเขามีวิถีชีวิตแบบสยามและแทบไม่ได้แต่งกายแบบมลายูเลย จะแต่งเฉพาะในงานแต่งงานและเทศกาลสำคัญๆ เท่านั้น[32]

             ในยามที่หะยีสุหลงยังมีชีวิตอยู่อัตลักษณ์อันหลากหลายและซับซ้อนของเขาเป็น ตัวกำหนดชะตาชีวิต อันทำให้เขาต้องไปพัวพันกับบุคคลต่างๆ และโลกการเมือง แม้เขาจะไม่ได้เป็นนักแบ่งแยกดินแดนหรือแม้กระทั่งเป็นนักชาตินิยมก็ตาม แต่ก็ถูกแต้มสีให้ต้องตามจริตของแต่ละฝ่าย ทั้งฝ่ายชาตินิยมมลายูและรัฐไทย จนในท้ายที่สุดนำไปสู่การหายไปก่อนเวลาอันควร[33]   

        แม้กระทั่งเมื่อเขาไม่อยู่แล้วชะตากรรมของหะยีสุหลงและพวกที่หายตัวไปนั้น ก็ยังถูกกำหนดด้วยการเมืองทั้งระหว่างประเทศและบริบททางประวัติศาสตร์ที่ ใหญ่เกินกว่าชีวิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การหายตัวไปของหะยีสุหลงหรือแม้กระทั่งถูกฆาตกรรมจึงเป็นเรื่องการเมืองที่ ต่างฝ่ายต่างหยิบหยิบยกมาช่วงใช้หรือทำให้หลงลืมเพื่อวัตถุประสงค์อะไร บางอย่างของตนเอง  

              หลังการแก้ข่าวให้กับทางการไทยของตวนกูอับดุลเราะห์มาน การเคลื่อนไหวและกระแสข่าวเกี่ยวกับกรณีหะยีสุหลงดูจะคลี่คลายลงอย่างมากและ ไม่ปรากฏในหนังสือพิมพ์หลักๆ ของมลายาอีก เท่าที่พบมีเพียงหนังสือขอคณะกรรมการสู้รบของสมาคมมลายู ที่ไคโร (the Struggle Committee of the Malay Association, Cairo) ถึงกงสุลไทยประจำสิงคโปร์ ลงวันที่ 20 มีนาคม 2498/1955 ที่แสดงความห่วงใยต่อการหายตัวไปของหะยีสุหลงและพวกในฐานะที่เป็นมุสลิมและ เป็นมลายูเช่นเดียวกันและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยมีการสืบสวนอย่างเต็มรูปแบบโดยคณะทำงานที่ความเป็นอิสระและเป็นกลางเพื่อคลี่คลายกรณีการหายตัวไปของหะยีสุหลง ซึ่งเรื่องนี้ทางการไทยดูจะไม่ใส่ใจเพราะเชื่อมันว่าการจัดการกับปัญหาที่ ผ่านมาได้ทำให้กรณีนี้เป็นที่กระจ่างแล้ว ดังกล่าวว่าสถานกงสุลใหญ่รายงานความเห็นมาด้วยว่า โดยที่กระทรวงมหาดไทยได้ออกแถลงการณ์ทางวิทยุกระจายเสียงแล้ว และชาวมุสลิมทั้งที่สิงคโปร์และในสหพันธ์มลายาก็พึงพอใจ จึงเห็นว่าในกรณีนี้ทางสถานกงสุลใหญ่เพียงแค่ส่งสำเนาคำแถลงการณ์ไปให้ก็น่า จะเป็นการเพียงพอ[34] และบทความเรื่อง ปัตตานีโดย อัดนันอิล ฟิครี (Adnamel Fikrie) ในหนังสือพิมพ์ภาษามลายูชื่อ PATI ฉบับประจำเดือนมิถุนายน 2499/1956 ของพรรคประชาชน (Parti Rakyat) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในมลายา  ที่ได้กล่าวถึงการกดขี่ของสยามและการต่อสู้ของชาวปาตานี โดยกล่าวถึงสถานการณ์ในปัจจุบันโดยอ้างอิงถึงกรณีการหายตัวไปของหะยีสุหลง ว่า ตั้งแต่เรื่องหะยีสุหลงหายไปทำให้ข่าวต่างๆ ในปัตตานีเงียบเชียบเสมือนหินตกในน้ำ เพราะทางฝ่ายสันติบาลไทยได้กวดขันเรื่องนี้”  อันสะท้อนให้เห็นภาวะกระแสต่ำของการเคลื่อนไหวชาตินิยมในปาตานี ทั้งนี้ผู้เขียนบทความได้รับแรงบันดาลใจและฝากความหวังไว้กับการประชุมเอ ฟริกา เอเชียว่าจะเป็นทางที่จะไปสู่เอกราชของปาตานีได้เป็นผลสำเร็จ ดังที่กล่าวว่า ชาติมลายูที่ปักษ์ใต้ไทยต้องการกอบกู้เอกราช แต่ไม่สำเร็จผลเพราะไทยไม่ยอมยกให้  เพียงแต่ให้เกียรติแก่ตวนกูอับดุลราห์มัน ที่ไปเยี่ยมไทยโดยได้รับเชิญจากฝ่ายไทย โดยวิธีนี้ปัตตานีคงจะไม่ได้รับเอกราช เว้นแต่นำเรื่องเข้าไปที่ประชุม Afro – Asia พิจารณาต่อไป[35]

              อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมแล้วกระแสการเคลื่อนไหวสาธารณะเกี่ยวกับการหายตัวไป ของหะยีสุหลงถือว่ายุติลงคงมีเพียงครอบครัวและคนใกล้ชิดที่ยังคงติดตามหาและ มีเพียงเรื่องเล่าขานหลากหลายแบบว่าหะยีสุหลงถูกอุ้มฆ่าไปแล้วในหมู่ชาวบ้าน ในพื้นที่เท่านั้น นสพ.ซ้ายในมลายา ูชื่อ " ที่ สร. ก็น่าจะเป็นการเพียงพอ" และชาวมุสลิมทั้งที่สิงคโปร์และในสหพันธ์มลายาก็พึงพอใจ จึงเห็นว่าในกรณี  เช่นเดียวกันกับชะตากรรมของหะยีสุหลง มลายูปาตานีและแนวคิดชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ร่วมอุดมการณ์ชาตินิยมมลายูและโหนกระแสการปลดปล่อยอาณานิคมในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้  จากกระแสความเคลื่อนไหวตั้งแต่กลางทศวรรษ 2490 และกรณีการหายตัวไปของหะยีสุหลงได้กลายเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าความคิดดัง กล่าวนี้เป็นเรื่องเพ้อฝัน เพราะชาตินิยมมลายูแนวที่รวมเอามลายูปาตานีเข้าไว้ด้วยนั้นกลับเป็นฝ่ายพ่าย แพ้และการสร้างรัฐประชาชาติหลังการปลดปล่อยจากอาณานิคมก็เกิดขึ้นตามเส้นเขต แดนที่ลากกันเอาไว้โดยเจ้าอาณานิคม ทั้ง อังกฤษ ดัตช์และสยาม ที่จริงมะไฮยิดดินก็เคยคำนึงถึงจุดนี้มาแล้วตั้งแต่ปี 2491/1948 หลังจากเดินทางไปชวาและได้พบกับสุรการ์โน ดังข้อความในจดหมายถึงบาร์บารา วิททิงนัม-โจนส์ว่า

               ผมกำลังจนแต้มไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสำเร็จผล (ในการรวมปัตตานีเข้ากับมลายา) ทุกคนต่างชาเย็นเหลือเกินต่อโครงการนี้ ซ้ำยังบอกให้ล้มเลิกความคิด แล้วหันไปมุ่งทางอันที่จะเป็นประโยชน์กว่านี้ ข้าราชการชั้นสูงในมลายาก็แนะนำผมหลายครั้งแล้วว่าอย่ามัวเสียเวลากับ ปัตตานี เพราะไม่มีทางสำเร็จแน่[36]

              อาจ จะด้วยเหตุเหล่านี้นี้ ในช่วงปลายของทศวรรษ 2490 อิบรอฮิม ชุกรี จึงเขียนประวัติศาสตร์ของปาตานีขึ้นมา Sejarah Kerajaan Melayu Patani หรือ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปาตานี อันเป็นประวัติศาสตร์นิพนธ์แนวชาตินิยมเล่มแรกของปัตตานีที่กำลังจะบอกว่า พวกเขา มลายูปาตานีคือใคร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร 

        ซึ่งก็คือการประกาศตัวตนของมลายูปาตานี ที่แยกชัดออกมาจากมลายูในมลายา ที่ได้ทอดทิ้งพวกตน บางที่การตัดพ้อว่า ในจำนวน 100 ล้านคนของประชากรของชนชาติมลายูทั้งหมดนั้น ชาวมลายูปัตตานีถือว่าเป็นผู้โชคร้ายที่สุดอันเป็นอารมณ์ความรู้สึกของนักชาตินิยมปาตานีในขณะนั้น อาจจะไม่ได้หมายถึงการอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมของสยามเพียงอย่าง เดียว แต่อาจจะหมายถึงโอกาสและโลกทางการเมืองที่ดูเหมือนจะไม่เป็นใจให้กับพวกเขา เลยก็เป็นได้

รายการอ้างอิง
เฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร. หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ กบฏ...หรือวีรบุรุษแห่งสี่จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพฯ: มติชน, 2548.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. ความรุนแรงกับการจัดการความจริง”: ปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมถ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวมลายูมุสลิม. ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์ (บรรณาธิการ), มลายูศึกษา: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายูมุสลิมในภาคใต้, หน้า  150 – 182. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2550.
นันทวรรณ ภู่สว่าง. ปัญหาชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้. เอกสารอัดสำเนา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,  2521.
พุฒ บูรณสมภพ. บุรุษเหล็กแห่งเอเชีย. กรุงเทพฯ: ศูนย์รวมข่าวเอกลักษณ์, ม.ป.ป.[2528 – 2529?].
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 90, (2 ตุลาคม 2505): 2101.
สุธา ชัย ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย: ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่สอง (พ.ศ. 2491 – 2500). กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก, 2550.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2) กต. 16.3.4.2/3 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ, กรมเอเชียและแอฟริกา, กองเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์, ประเทศมาเลเซีย, เหตุการณ์ชายแดน,  เรื่องเซอร์ เช็ง ล็อค ตันและอับดุลรามันขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี (23 พฤศจิกายน 2497 – 5 เมษายน 2498).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2) กต. 16.3.4.2/4 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ, กรมเอเชียและแอฟริกา, กองเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์, ประเทศมาเลเซีย, เหตุการณ์ชายแดน, เรื่องขอให้ออกคำแถลงเกี่ยวกับหะยีสุหลงและพวก (6 ธันวาคม 2497 - 20 เมษายน 2498).
หอ จดหมายเหตุแห่งชาติ (3) สร 0201.17/13 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี, กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, บันทึกการสนทนาทางการทูต, เรื่องบันทึกการสนทนากับบุคคลสำคัญของสหพันธรัฐมลายู (6 มกราคม – 19 เมษายน 2498).
หอจดหมายเหตุแห่ง ชาติ (3) สร 2021.44/6 เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี, กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, บันทึกการสนทนาทางการทูต, เรื่องสรุปข่าวจากหนังสือพิมพ์ของกรมประมวลราชการแผ่นดิน (22 พฤศจิกายน 2497 – 31 กรกฎาคม 2499).
Ariffin Omar. Bangsa Melayu: Malay Concepts of Democracy and Community 1945 – 1950. Kuala Lumpur: Oxford University Press, 1993.
Kasian Tejapira, Commodifying Marxism: The Formation of Modern Thai Radical Culture, 1927 – 1958. Melbourne: Kyoto University Press and Trans Pacific Press, 2001.
Milner, Anthony. The Malays. West Sussex: Wiley-Blackwell, 2008.
Ockey, James. Individual Imaginings: The religio – nationalist pilgrimages of Haji Sulong Abdulkadir al-Fatani. Journal of Southeast Asian Studies 42,1 (February 2011): 89 – 119.
Singapore Standard. 20 November 1954.
Singapore Tiger Standard. 28 December 1954.
The Malay Mail.  6 January 1955.
The Straits Times. 28 January 1948.
The Straits Times. 9 February 1948
The Straits Times. 21 February 1948.
The Straits Times. 11 March 1948.
The Straits Times. 12 June 1948.
The Straits Times. 30 September 1948.
The Straits Times. 2 March 1949.
The Straits Times. 19 February 1950
The Straits Times. 18 November 1954.
The Straits Times. 13 December 1954
The Straits Times. 17 December 1954
The Straits Times. 26 December 1954.
The Straits Times. 28 December 1954.
The Straits Times. 10 April 1955.
The Straits Times. 12 April 1955.
Wilson, Hugh. Tengku Mahmud Mahyiddeen and the Dilemma of Partisan Duality. Journal of Southeast Asian Studies 23,1 (March 1992): 37 - 59.

http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม