วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เปิดปมข้อเท็จจริง ตากใบ เป็นกับดักหลอก


เปิดปมข้อเท็จจริง ตากใบ เป็นกับดักหลอก

       


        การเริ่มชุมนุมประท้วงของกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเมื่อ 25 ต.ค.47  เวลาประมาณ 0900 น. โดยมีกลุ่มบุคคล  และประชาชนเข้าร่วมประชุมประท้วงที่หน้า สภ.อ.ตากใบ เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัว ชรบ. 6 คน ที่ ถูกทางการแจ้งข้อหายักยอกทรัพย์ของทางราชการ(ปืนลูกซอง) แจ้งความเท็จรับของโจรและซ่องโจร ในเบื้องต้นได้มีประชาชนและ กลุ่มบุคคลมาชุมนุมประท้วงประมาณ 200 - 300 คน  

        ต่อมาได้มีแกนนำกลุ่มผู้ประท้วงติดต่อให้ประชาชนทั้งในและนอก พื้นที่มาร่วมชุมนุมประท้วงต่อกรณีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1,000-1,500 คน  ส่วนใหญ่มาจากต่างอำเภอ เช่น  อ.บาเจาะ อ.จะแนะ อ.เจาะไอร้อง อ.สุไหงโก - ลก อ.สุไหงปาดี อ.สุคิริน เมืองนราธิวาส และ อ.ตากใบ  เพื่อกดดันให้เจ้าหน้าที่ยอมปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 6 คนแม้ว่าผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ในพื้นที่พยายามชี้แจงทำความเข้าใจต่อ กลุ่มบุคคลผู้ร่วมชุมนุมประท้วง  ด้วยการพาผู้นำทางศาสนาประกอบด้วยคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสและญาติของผู้ต้องหาทั้ง 6 คน   มาขอร้องให้เลิกการชุมนุม
        แต่กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวไม่ได้เชื่อฟังและยุติการชุมนุม   ทั้งยังไม่ยอมรับฟังคำชี้แจงใดๆจากเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องกลุ่มแกนนำประมาณ 100 คนยัง  ได้ส่งเสียงโห่ร้องตะโกนขับไล่และขว้างปาของแข็งเข้าใส่จนทำให้ผู้ สื่อข่าวได้รับบาดเจ็บหลายราย   
        เหตุการณ์ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วยการทำลายทรัพย์สินและยานพาหนะที่ใช้ในราชการจนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก   ซึ่ง ทางราชการได้ชี้แจงซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงอยู่ในความ สงบและให้ตัวแทนมาพูดคุยตกลงทำความเข้าใจตามแนวทางสันติวิธี แต่ก็ไม่ยอมรับแนวทางในการแก้ปัญหา บางครั้งขณะที่ผู้นำทางศาสนาชี้แจงยังมีแกนนำบางคนชูรองเท้าอย่างไม่ให้ เกียรติผู้นำทางศาสนาแต่อย่างใด
        การชุมนุมประท้วงได้ยืดเยื้อไปจนถึงเวลา ประมาณ  1500  น. เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ในขณะนั้นพล.ท.พิศาล   วัฒนวงษ์คีรี มทภ.4 พล.ต.ท. มาโนช   ไกรวงศ์ ผบช.ภ.9 นายศิวะ  แสงมณี  รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ฯลฯ  ได้ประชุมหารือกันที่ห้องประชุม  สภ.อ.ตากใบ  เพื่อหาทางยุติการชุมนุมประท้วงจนได้ข้อยุติว่าให้ใช้มาตรการสลายการชุมนุมเบื้องต้นได้สั่งใช้รถดับ เพลิงฉีดน้ำเข้าใส่ผู้ชุมนุมประท้วงเพื่อสลายการชุมนุม


 
         แต่กลุ่มผู้ประท้วงกลับใช้ก้อนหินและสิ่งของที่หาได้ในบริเวณนั้นขว้างปาใส่เจ้าหน้าที่ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ ตำรวจ  ทหาร ทพ.  นย. และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอยู่ตลอดเวลาทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายนาย   ฝ่ายเจ้าหน้าที่จึงได้ใช้แก๊สน้ำตาและยิงปืนขึ้นฟ้าจนกระทั่งควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ สามารถจับกุมแกนนำและกลุ่มผู้ประท้วงได้จำนวน 1,288  คน  และตรวจพบอาวุธจำนวนหลายรายการ
เบื้องหลังเหตุการณ์กับดักขบวนการลวงประชาชน
         1. นายกามา  อาลี  อายุ 37 ปี/52  อยู่บ้านเลขที่ 137 ม.5  บ.โคกกูแว ต.พร่อน อ.ตากใบ  จว.น.ธ.  หน.ชรบ. บ.โคกกูแว ฯ  ซึ่งถูกดำเนินคดี พร้อมพวกอีก 5 คน ( ชรบ.ผู้ใต้บังคับบัญชา ) ในข้อหาร่วมวางแผนปล้นปืน ชรบ. บ.โคกกูแวฯ ทั้ง 6 คนให้การรับสารภาพ จนนำไปสู่การชุมนุมประท้วงเหตุการณ์ตากใบ เมื่อ 25 ต.ค.47 โดยศาลพิพากษาจำคุก 7 ปี   ภายหลังได้รับการลดหย่อนเหลือจำคุกเพียง 3 ปี 6 เดือนตามคดีดำที่   1639/2547 คดีแดงที่ 1638/2547 ลง 8 ธ.ค.47  โดยพ้นโทษ  เมื่อ 28 มี.ค.51 ต่อมานายกามาฯ ถูกควบคุมตัวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ 6 มิ.ย.51 เนื่องจากตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าก่อความไม่สงบในพื้นที่ อ.ตากใบ ฯ 
          2. ความเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจากการสัมภาษณ์หลังถูกจับ
             2.1 ประมาณเดือน พ.ค.- มิ.ย.47  นายกามาฯ  ยอมรับว่าถูกชักชวน/ปลุกระดมจาก นายไชนุง   ยะปา  ราษฎร บ้านเลขที่ 167  ม.5 บ.โคกกูแว   ต.พร่อน  อ.ตากใบฯ  ในขณะนั้นนายไชนุงฯ เป็นครูสอนศาสนา ร.ร.ตาดีกานูรลูฮูดาห์  บ.โคกกูแวฯ  โดยใช้อาคารโรงเรียนตาดีกา   เป็นสถานที่บรรยายปลุกระดม  โดยมี นายอับดุลเลาะ   บีเบ๊าะ  บุตรชายโต๊ะอิหม่ามมัสยิด   นูรลู ฮูดาห์  และนายอาแว  บินมะ  อดีตสมาชิก อบต. ม.5 บ.โคกกูแวฯ  คอยช่วยเหลือ/จัดหาสมาชิกมาเข้ารับฟังการบรรยายปลุกระดม ทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้ชักชวนลักษณะบังคับขู่เข็ญให้ราษฎรในหมู่บ้านเข้าเป็นแนวร่วมหากปฏิเสธก็จะได้รับอันตรายหรือถูกทำร้ายโดยมีสมาชิก/แนวร่วมในหมู่บ้านโคกกูแวฯ  ประมาณ 20 คน   ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย   กลุ่มละประมาณ 5 - 6 คน เพื่อเข้ารับฟังการบรรยายแต่ละครั้ง  ในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที
 
             2.2 ผู้ที่กระทำพิธีสาบานตน (ซูมเปาะ) ให้กับนายกามาฯ  คือ นายไชนุงฯ  โดยเอามือประสานกันและให้สัญญาว่าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนเท่าที่จำได้  จำนวน 4 ข้อ  คือ
                   1) ต้องเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ได้รับคำสั่ง 
                   2) ช่วยกันบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน  
                   3) ขอพรต่อพระเจ้าให้ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมาย     
                   4) ต้องสมัครใจเข้ารับการฝึกร่างกาย, ยุทธวิธีต่าง ๆ  หรือการฝึกยิงปืนหรือวางระเบิด
             2.3 การเตรียมก่อเหตุ
                   - ก่อนเกิดเหตุเมื่อประมาณเดือน ก.ย.47   ได้มีการร่วมประชุมวางแผนที่ ร.ร.ตาดีกานูรลูฮูดาห์  ม.5 บ.โคกกูแว  ต.พร่อน  อ.ตากใบฯ   จำนวน 3 ครั้ง  และ นายนิเซ็ง  นิสุหลง/นิมุ  อายุ 38 ปี/51   แกนนำใน อ.ตากใบฯ ได้โทรศัพท์ไปหานายกามาฯ และข่มขู่ให้นำอาวุธปืนของ ชรบ.ไปให้ หากคนใดไม่ให้หรือขัดขืนจะทำร้ายทั้งผู้ที่ขัดขืนและครอบครัวด้วย  โดยให้นำอาวุธปืนไปไว้ตามที่นัดในวันที่  11 ต.ค.47
             2.4 ข้อเท็จจริงวันเกิดเหตุจุดเริ่มต้นของกับดัก
                   - เมื่อ 11 ต.ค.47  เวลาประมาณ  1800 นายนิเซ็งฯ ได้สั่งการให้นายกามาฯ  ไปบอกกับ ชรบ.ทุกคนนำปืนไปที่คลองชลประทานตามจุดที่นัดหมายไว้  และในเวลาประมาณ 1900  นายนิเซ็งฯ และนายรอมอลีฯ ได้เดินทางมารับอาวุธปืนไป  โดยใช้รถ จยย. จำนวน 2 คัน ยี่ห้อ ฮอนด้าเวฟ สีน้ำเงิน (ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน) สำหรับนายรอมอลี ฯ ขับขี่ตามหลังโดยไม่ทราบว่าเดินทางไปที่ใด
           3. พฤติกรรมหลังการจับกุมเวลาที่ขบวนการรอปลุกระดม
             - เมื่อประมาณกลางเดือน ต.ค.47 นายกามาฯ ถูก จนท.ตร.สภ.ตากใบฯ  จับกุมตัว  ที่บ้านพักในข้อหาร่วมปล้นปืนของทางราชการ  พร้อมเพื่อน รวม  6 คน โดย ควบคุมตัวไว้ที่ สภ.ตากใบฯ จำนวน 8 วัน   จึงได้ย้ายสถานที่ควบคุมไปไว้ที่ สภ.เมืองนราธิวาส  จำนวน  5  วัน ขณะที่ถูกควบคุมตัว ที่ สภ.เมืองนราธิวาส ได้มีราษฎรในพื้นที่ ๓ จชต. มาร่วมชุมนุมประท้วงเพื่อให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด จากการวางแผนเตรียมปล่อยข่าวลือ และปลุกระดมชาวบ้านโดยการเตรียมการของขบวนการ  ซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการชุมนุมประท้วงที่หน้า สภ.ตากใบฯ  เมื่อ 25 ต.ค. 47 และปิดกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก  
          และกลุ่มก่อความไม่สงบนำเอาเหตุการณ์ดังกล่าวมาเป็นข้อกล่าวอ้างในการชี้นำ/ปลุกระดม ว่า จนท.จับกุม และทำร้ายผู้บริสุทธิ์ตามแผนที่วางไว้ก่อนแล้วเพื่อเป็นเงื่อนไขของพื้นที่ และให้องค์กรสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมจุดกระแสเพื่อให้ประชาคมโลกมองภาพ เหตุการณ์ว่าเป็นการใช้อำนาจของรัฐรังแกชนกลุ่มน้อยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร้มนุษยธรรม
 
             - ขบวนการ BRN Co - ordinate  อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่หน้า สภ.ตากใบ เมื่อ 25 ต.ค. 47   มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน  โดยการหลอกลวง  ข่มขู่  และบีบบังคับให้ ชรบ.นำอาวุธ ไปมอบให้ขบวนการฯ ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายจนนำไปสู่การจับกุม หลังจากนั้นปลุกระดมให้ราษฎรชุมนุมประท้วงกดดันให้ จนท.ปล่อยตัวเตรียมการและใช้รถขนคนมาร่วมชุมนุมประท้วง  ก่อเหตุจลาจลเพื่อยั่วยุให้ จนท.ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจนทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น สร้างบาดแผลร้าวลึกในสังคม จชต. ซึ่งผลสุดท้ายเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์จนทำให้ นายกามาฯ  เข้าใจเป็นอย่างดีว่าตนเองถูกหลอกจากกลุ่มก่อความไม่สงบและได้ สำนึกผิดกับการกระทำของตนเอง   ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่หน้า สภ.ตากใบฯ  เป็นเหตุให้พี่น้องชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม บาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีผลดีเลยที่จะนำ เรื่องเหตุการณ์ตากใบมาเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวตอกย้ำความรู้สึก ประชาชนให้ผูกยึดกับความสูญเสีย และทำให้ผู้ร้ายตัวจริงคือ กลุ่มขบวนการแสวงประโยชน์จากการสูญเสียของประชาชนที่หลงกล และทำร้ายผู้บริสุทธิ์ทุกวัน
การดำเนินการเยียวยาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
        1. ญาติของผู้เสียชีวิตได้ฟ้องคดีแพ่งกับส่วนราชการดังนี้.-
                 ศาล จว.ป.น. ดำเนินการฟ้องเป็น 3 สำนวน
1. คดีหมายเลขดำที่ 899/2548
2. คดีหมายเลขดำที่ 903/2548
3. คดีหมายเลขดำที่ 911/2548
        ศาล จว.ป.น. ได้นำสำนวน 3  สำนวนเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตั้งแต่ 19 มิ.ย.49 จนถึง 7 พ.ย.49  โดยโจทย์ทั้ง 3 สำนวนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในความผิดฐานละเมิด เป็นเงิน ๑๐๗,๔๔๘,๘๗๓ บาท ทั้ง 2 ฝ่าย ได้นำหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น  จึงเหลือยอดเงินจำนวน 42,201,000 บาท จำเลยได้นำเงินดังกล่าวไปวางที่ศาลครบถ้วนแล้ว คดีแพ่งทั้ง๓ คดีจึงยุติ
                 ศาล จว.น.ธ. ดำเนินคดีเป็น ๔ สำนวน
1. คดีหมายเลขดำที่ 150/2549
2. คดีหมายเลขดำที่ 734/2548
3. คดีหมายเลขดำที่ 733/2548
4. คดีหมายเลขดำที่ 744/2548
     รวม 4 คดี  โจทย์รวม 30 คน เรียกค่าเสียหายรวม 22,637,999.57 บาท        

           เมื่อ 5 มิ.ย. 50 ศาล จว.น.ธ. ได้นัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงค่าเสียหายและเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยโจทย์ทั้ง 4 สำนวนฟ้องร้องค่าเสียหายจากจำเลยในความผิดฐานละเมิดจาก  22,637,999.57 บาท เหลือจำนวน 6,935,500 บาท ซึ่งเมื่อ 9 ส.ค.50 ศาล จว.น.ธ. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทย์กับจำเลย  พร้อมกับโจทย์ทั้งหมดได้ยื่นคำร้องถอนฟ้องแล้ว  ศาลได้ตรวจดูสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วเห็นว่าไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงพิพากษาให้เสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญา
 
        2. รัฐบาล ปัจจุบันโดย นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์   ชินวัตร ได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้จ่ายเงินเยียวยาโดย ศอ.บต. พิจารณาเยียวยาตามผู้ร้อง ผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบคนละ 7,500,000 บาท รวมทั้งการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม คุณธรรมจากภาครัฐด้วยดี ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนถึงปัจจุบันจนผู้ได้รับผลกระทบมีชีวิต และจิตใจดีขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมา

           รายา ยาลอ

http://narater2010.blogspot.com/


      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม