แบมะ ฟาตอนี
เมื่อวันที่ 7-9 ก.ย.57 มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ร่วมกับกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามคูเวต สถาบันวะสะฏียะฮ์ มาเลเซีย และมหาวิทยาลัยอิสลามรัฐสุมาตราเหนือ อินโดนีเซีย ได้จัดโครงการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ หัวข้อ “แนวทางสายกลางของประชาชาติที่ดีเลิศ สู่สังคมสันติสุขและประชาคมอาเซียน” (International on Wasatiah) ณ หอประชุมวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ม.ฟาฎอนี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
วัตถุประสงค์ ในการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้เพื่อให้นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศได้นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการในศาสตร์ที่เกี่ยวกับแนวทางสายกลาง อันเป็นประโยชน์ที่เหมาะสมในสังคมพหุวัฒนธรรมและประชาคมอาเซียน
อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการและเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และข้อคิดเห็นทางวิชาการในหมู่คณาจารย์ และนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาผลงานวิจัย ผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
ประการสุดท้ายเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย นักวิจัย หน่วยงานหรือองค์กรการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ และส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่จากผลงานที่ได้มีการนำเสนอในวารสารระดับนานาชาติ
การดำเนินจัดกิจกรรม เมื่อ 7 ก.ย.57 มีการบรรยายพิเศษโดยนักวิชาการด้านอิสลามศึกษาของไทยและคูเวต ส่วนในวันที่ 8 – 9 ก.ย.57 เป็นการนำเสนอบทความโดยนักวิชาการของไทยและต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศกาตาร์ คูเวต มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ ในหัวข้อ “แนวทางสายกลางและสันติวิธีของอิสลามในรูปแบบต่างๆ”
สาระสำคัญของการจัดประชุมสัมมนา คือ เพื่อนำองค์ความรู้การสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ในศาสตร์แขนงต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ให้สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและสงบสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมโลกสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัยฟาฎอนี กล่าวว่า “แนวคิดสายกลางมีในศาสนาอิสลามอยู่แล้ว มุสลิมทุกคนจะต้องเดินตามแนวทางของท่านศาสนทูต นบีมูฮัมหมัด ในอิสลามนั้นมีทั้งหลักศรัทธา ที่เป็นเสมือนกับหลักการทฤษฎีที่ระบุไว้ และทำให้เกิดรูปธรรมด้วยหลักปฏิบัติ หากศรัทธาอย่างเดียวแล้วไม่ปฏิบัติก็ไม่เกิดผล”
นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต.กล่าวว่า “หลักการที่ดีจะไม่เกิดผล หากไม่มีการปฏิบัติที่ดีด้วยเช่นกัน ศอ.บต.มีนโยบายในการรณรงค์สนับสนุนให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยึดถือหลักความดี 9 ประการ เช่น ความกตัญญู วินัย ความสะอาด ความซื่อสัตย์ และการตรงต่อเวลา เป็นต้น”
ผศ.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฎอนี กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด “อัลวะสะฏียะฮ์”หรือ แนวทางสายกลาง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่รัฐบาลคูเวตให้การสนับสนุนเพื่อเผยแพร่และทำความเข้าใจมุมมองที่เป็นกลางของโลกมุสลิม ความเป็นแนวทางสายกลางนั้น เป็นจิตวิญญาณและที่ท่านศาสนทูต นบีมูฮำหมัด ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง
สำหรับนายมี คูลัยฟฺ บินมูษีบ อัลอูซัยนะห์ รองปลัดกระทรวงฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ประสานงานและกิจการฮัจญ์ กระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามคูเวต ได้ระบุถึงความจำเป็นของมุสลิมในการทำความเข้าใจแนวความคิดทางสายกลางในศาสนาอิสลาม เพราะแนวความคิดจะส่งผลต่อการกระทำ หากเข้าใจแนวทางสันติแห่งอิสลามแล้ว จะเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ ดังนั้นรัฐบาลคูเวตจึงมีความพยายามที่จะสนับสนุนการทำความเข้าใจต่อแนวคิดนี้ให้เผยแพร่สู่ชาวมุสลิมทั่วโลก
นักวิชาการด้านด้านอิสลามศึกษาของไทยและต่างประเทศ (กาตาร์ คูเวต อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ญี่ปุ่น ศรีลังกา และฟิลิปปินส์) ได้ร่วมกันอ่านปฏิญญาของการประชุมนานาชาติ เรื่องสายกลาง“อัลวะสะฎียะฮ์”โดยมีมติเสนอให้จัดตั้งสถาบันวะสะฎียะฮ์ ที่มหาวิทยาลัยฟาฎอนี พร้อมส่งเสริมและเผยแพร่แนวความคิดสายกลางในศาสนาอิสลาม เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นหนึ่งเดียวของมุสลิมกับความสัมพันธ์กับศาสนิกชนของศาสนาอื่นๆ นอกจากนี้ ผศ.ดร.อับดุลเลาะห์ หนุ่มสุข ผู้อำนวยการสถาบันวะสะฎียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักจุฬาราชมนตรี ได้อธิบายความหมายของ “อัลวะสะฎียะฮ์”คือ “ความสมดุล ความยุติธรรม การค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดเป็นกลาง และความเที่ยงตรง”
แนวความคิดในการจัดตั้งรัฐอิสลามบริสุทธิ์ ที่กำลังขยายสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดความขัดแย้ง ก่อความรุนแรงตามมา เป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งพี่น้องมุสลิมในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศจะต้องรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิชาการ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่รัฐ ควรจะศึกษาแนวคิดสายกลาง (อัลวะสะฎียะฮ์) ในศาสนาอิสลามให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อไปเผยแพร่ทำความเข้าใจกับประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ไม่ให้ไปหลงผิด
จากการจัดโครงการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ หัวข้อ “แนวทางสายกลางของประชาชาติที่ดีเลิศ สู่สังคมสันติสุขและประชาคมอาเซียน” (International on Wasatiah) ในครั้งนี้เป็นการเผยแพร่แนวความคิดสายกลางในศาสนาอิสลามจากคูเวต ผ่านนักวิชาการด้านอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งสอดรับกับคำกล่าวของจุฬาราชมนตรี ระบุว่า สถาบันวะสะฎียะฮ์ จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่นักวิชาการ ผู้นำศาสนา และทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ชาวมุสลิม และเชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
เมื่อวันที่ 7-9 ก.ย.57 มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ร่วมกับกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามคูเวต สถาบันวะสะฏียะฮ์ มาเลเซีย และมหาวิทยาลัยอิสลามรัฐสุมาตราเหนือ อินโดนีเซีย ได้จัดโครงการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ หัวข้อ “แนวทางสายกลางของประชาชาติที่ดีเลิศ สู่สังคมสันติสุขและประชาคมอาเซียน” (International on Wasatiah) ณ หอประชุมวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ม.ฟาฎอนี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
วัตถุประสงค์ ในการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้เพื่อให้นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศได้นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการในศาสตร์ที่เกี่ยวกับแนวทางสายกลาง อันเป็นประโยชน์ที่เหมาะสมในสังคมพหุวัฒนธรรมและประชาคมอาเซียน
อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการและเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และข้อคิดเห็นทางวิชาการในหมู่คณาจารย์ และนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาผลงานวิจัย ผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
ประการสุดท้ายเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย นักวิจัย หน่วยงานหรือองค์กรการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ และส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่จากผลงานที่ได้มีการนำเสนอในวารสารระดับนานาชาติ
การดำเนินจัดกิจกรรม เมื่อ 7 ก.ย.57 มีการบรรยายพิเศษโดยนักวิชาการด้านอิสลามศึกษาของไทยและคูเวต ส่วนในวันที่ 8 – 9 ก.ย.57 เป็นการนำเสนอบทความโดยนักวิชาการของไทยและต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศกาตาร์ คูเวต มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ ในหัวข้อ “แนวทางสายกลางและสันติวิธีของอิสลามในรูปแบบต่างๆ”
สาระสำคัญของการจัดประชุมสัมมนา คือ เพื่อนำองค์ความรู้การสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ในศาสตร์แขนงต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ให้สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและสงบสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมโลกสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัยฟาฎอนี กล่าวว่า “แนวคิดสายกลางมีในศาสนาอิสลามอยู่แล้ว มุสลิมทุกคนจะต้องเดินตามแนวทางของท่านศาสนทูต นบีมูฮัมหมัด ในอิสลามนั้นมีทั้งหลักศรัทธา ที่เป็นเสมือนกับหลักการทฤษฎีที่ระบุไว้ และทำให้เกิดรูปธรรมด้วยหลักปฏิบัติ หากศรัทธาอย่างเดียวแล้วไม่ปฏิบัติก็ไม่เกิดผล”
นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต.กล่าวว่า “หลักการที่ดีจะไม่เกิดผล หากไม่มีการปฏิบัติที่ดีด้วยเช่นกัน ศอ.บต.มีนโยบายในการรณรงค์สนับสนุนให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยึดถือหลักความดี 9 ประการ เช่น ความกตัญญู วินัย ความสะอาด ความซื่อสัตย์ และการตรงต่อเวลา เป็นต้น”
ผศ.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฎอนี กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด “อัลวะสะฏียะฮ์”หรือ แนวทางสายกลาง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่รัฐบาลคูเวตให้การสนับสนุนเพื่อเผยแพร่และทำความเข้าใจมุมมองที่เป็นกลางของโลกมุสลิม ความเป็นแนวทางสายกลางนั้น เป็นจิตวิญญาณและที่ท่านศาสนทูต นบีมูฮำหมัด ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง
สำหรับนายมี คูลัยฟฺ บินมูษีบ อัลอูซัยนะห์ รองปลัดกระทรวงฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ประสานงานและกิจการฮัจญ์ กระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามคูเวต ได้ระบุถึงความจำเป็นของมุสลิมในการทำความเข้าใจแนวความคิดทางสายกลางในศาสนาอิสลาม เพราะแนวความคิดจะส่งผลต่อการกระทำ หากเข้าใจแนวทางสันติแห่งอิสลามแล้ว จะเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ ดังนั้นรัฐบาลคูเวตจึงมีความพยายามที่จะสนับสนุนการทำความเข้าใจต่อแนวคิดนี้ให้เผยแพร่สู่ชาวมุสลิมทั่วโลก
นักวิชาการด้านด้านอิสลามศึกษาของไทยและต่างประเทศ (กาตาร์ คูเวต อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ญี่ปุ่น ศรีลังกา และฟิลิปปินส์) ได้ร่วมกันอ่านปฏิญญาของการประชุมนานาชาติ เรื่องสายกลาง“อัลวะสะฎียะฮ์”โดยมีมติเสนอให้จัดตั้งสถาบันวะสะฎียะฮ์ ที่มหาวิทยาลัยฟาฎอนี พร้อมส่งเสริมและเผยแพร่แนวความคิดสายกลางในศาสนาอิสลาม เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นหนึ่งเดียวของมุสลิมกับความสัมพันธ์กับศาสนิกชนของศาสนาอื่นๆ นอกจากนี้ ผศ.ดร.อับดุลเลาะห์ หนุ่มสุข ผู้อำนวยการสถาบันวะสะฎียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักจุฬาราชมนตรี ได้อธิบายความหมายของ “อัลวะสะฎียะฮ์”คือ “ความสมดุล ความยุติธรรม การค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดเป็นกลาง และความเที่ยงตรง”
แนวความคิดในการจัดตั้งรัฐอิสลามบริสุทธิ์ ที่กำลังขยายสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดความขัดแย้ง ก่อความรุนแรงตามมา เป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งพี่น้องมุสลิมในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศจะต้องรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิชาการ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่รัฐ ควรจะศึกษาแนวคิดสายกลาง (อัลวะสะฎียะฮ์) ในศาสนาอิสลามให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อไปเผยแพร่ทำความเข้าใจกับประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ไม่ให้ไปหลงผิด
จากการจัดโครงการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ หัวข้อ “แนวทางสายกลางของประชาชาติที่ดีเลิศ สู่สังคมสันติสุขและประชาคมอาเซียน” (International on Wasatiah) ในครั้งนี้เป็นการเผยแพร่แนวความคิดสายกลางในศาสนาอิสลามจากคูเวต ผ่านนักวิชาการด้านอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งสอดรับกับคำกล่าวของจุฬาราชมนตรี ระบุว่า สถาบันวะสะฎียะฮ์ จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่นักวิชาการ ผู้นำศาสนา และทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ชาวมุสลิม และเชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
*****************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น