บทที่ ๕ ปูมหลังปัตตานี (ในตำรา) ภาค ๒ เริ่มแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐...เป็นต้นมาการก่อการร้ายที่เคยมีมาแต่ก่อนอย่างไร ยังคงมีอยู่อย่างไม่เลิกรา ในระยะหลังๆนี้ พวกโจร อดีตบริวารของอับุดุลกาเดร์มาจนถึงยุค ๓ ตวนกูผู้ยิ่งใหญ่ พากันมีวิธีสร้าง เงื่อนไขแหลมคมขึ้นทุกที เช่น การไม่แสดงความเคารพต่อสัญลักษณ์ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ทำอะไรขัดข้องขึ้นมาหน่อย จะโวยวายหาว่าเห็นพวกเขาเป็นอิสลาม เลยถือโอกาสบั่นทอนเสรีภาพหรือไงนี่ถ้าเป็นพุทธจะเป็นอย่างนี้ไหม เขาถามประชดประชันอย่างนี้ รัฐบาลในสมัยนั้น พากันหนักใจ ไม่เข้าใจวิธีแก้ปัญหา จึงใช้วิธีการ "ใช้เงินซื้อ" โดย เชื่อว่าอำนาจเงินจะสามารถทำให้โจรเปลี่ยนใจได้ แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ การก่อการร้ายยังคง มีอยู่ โดยเฉพาะได้แก่การจับตัวเรียกค่าไถ่ คราวนี้ ชื่อของ หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ปรากฏขึ้นมาในทำเนียบของหัวหน้าแบ่งแยกดินแดน ในระดับหัวหน้าใหญ่ มีเครือข่ายบริวารอีกมากมายหะยีสุหลง...ชื่อนี้ คนไทยในประเทศไทยได้รับทราบและรับฟังมายาวนาน หะยีสุหลง อัปดุลกาเดร์ ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของ "อับดุลกาเดร์" ได้กระทำอย่างเปิดเผย ไม่มีปิดบังอำพราง เขาประกาศปลดปล่อยปัตตานี ประกาศเสริมกำลังขบวนการ "พูโต" มีกองกำลังแยกย้ายกันทำงานในหลายจังหวัดที่ภาคใต้อย่างเอาเป็นเอาตาย รัฐบาลจึงจับกุมตัว ส่งฟ้องศาลที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พิพากษาให้จำคุก ๗ ปี ในระหว่างหะยีสุหลงอยู่ในคุก...คิดว่าจะไม่มีใครบังอาจกระทำการอีก ที่ไหนได้ คราวนี้มีหัวหน้าคนใหม่ชื่อ หะยีดือราแม... ปี พ.ศ.๒๔๙๑ หะยีดือราแม ก่อกบฏขึ้นที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เรียกว่ากบฏ "ดุชงญอ" มีการปะทะกันอย่างหนัก เป็นสงครามย่อยๆ ไล่ล่าฆ่าแกงกันใกล้กับชายแดน พวกสมุนบริวาร กระจายอยู่ตามอำเภอเจาะไอร้อง สุไหงปาดี ตากใบ ท้ายสุด หะยีดือราแมหัวหน้ากบฏ"ดุชงญอ" สู้ไม่ได้ หนีข้ามฝั่งไปกบดานอยู่รัฐกลันตัน ปี ๒๔๙๓...ประตูเรือนจำได้เปิดออก นักโทษกบฏคนสำคัญได้รับพระราชทานอภัยโทษ เดินออกมาจากคุก...เขาผู้นั้นคือ หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ เขาได้รับอิสรภาพ หลังจากอยู่ทนทุกข์ทรมานในคุก ๓ ปีกับ ๖ เดือนทว่า...ในปี ๒๔๙๔ ข่าวน่าตกใจเกิดขึ้น หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกจับถ่วงน้ำที่บริเวณเกาะหนู-เกาะแมว จังหวัดสงขลา ข่าวว่าตำรวจที่พอจะทราบ เรื่องราวความเป็นมา มีชื่อ พ.ต.ท. บุญเลิศ เลิศปรีชา รวมอยู่ด้วย ตั้งแต่วินาทีนั้นเป็นต้นมา...ปูมหลังปัตตานี (ในตำรา) ภาค ๒ จึงฉายให้เห็นภาพความขัดแย้ง ได้ถือกำเนิดเกิดมาอย่างยาวนาน โดยที่ฝ่ายหนึ่งอ้างว่าถูกปกครอง แต่อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า "ไม่จริง" เราไม่ได้ไปเอาพวกท่านมาปกครอง เราเป็นเจ้าของแผ่นดินตรงนี้มาเนิ่นนานแล้ว พวกท่านอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารต่างหาก มาอยู่แล้วก็ไม่ว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน อย่ามาแบ่งแยก การกล่าวเช่นนี้ ยิ่งยุให้เกิดการโต้แย้ง มีการต่อสู้หนักหน่วงยิ่งขึ้น ยิ่งเมื่อหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกจับถ่วงน้ำ มันกลายเป็นว่าช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิด ไม่อยู่ ข่าวลือถูกขยายความไปต่างๆนานา ล้วนแต่เสียหาย รัฐบาลเอง ทำเป็นไม่รู้เรื่องในการตายของหะยีสุหลง แต่ชาวบ้านแถบนั้น รู้กันไปจนทั่ว เพราะจุดเกิดเหตุ ตั้งอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ ๕๐๐ เมตร เท่านั้น ตอนที่ผมไปทำงานเป็นผู้จัดการของบริษัท ยูโนแคล ผมนั่งมองดูจุดเกิดเหตุจากโรงแรม มิหลา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยมีเพื่อนนักหนังสือพิมพ์เล่าให้ฟัง ท่านผู้นี้คือนายสะพรั่ง จันทรัตน์ และยังได้นำเอาประวัติศาสตร์ เก่าๆมาเปิดเผย เล่าให้เห็นภาพของพวกโจรว่า แต่ละคนโหดผิดมนุษย์...เขาทำบาปเอาไว้มาก กรรมสนองกรรม นายสะพรั่ง บอกกับผม |
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554
กระเทาะเปลือกไฟใต้ใครบงการ_บทที่ 5
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น