การรับรู้ความเป็นไปของสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของคนทั่วไปทั้งใน
พื้นที่สามจังหวัดและพื้นที่อื่นของประเทศรวมถึงประชาคมโลกนั้น
หากไม่ใช่ผู้ที่ประสบเหตุด้วยตนเองเฉกเช่นคนในพื้นที่แล้ว
ล้วนได้รับข่าวสารผ่านทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
ทั้งสิ้น ซึ่งที่ผ่านมาในประเด็นของการนำเสนอทั้งทิศทางของความรุนแรง
ความน่าสะพรึงกลัวหวาดหวั่น
ขวัญกำลังใจในการดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ของประชาชน
หรือในแง่ความร่วมมือร่วมใจในการสร้างสันติสุข
ความเบื่อหน่ายของประชาชนจากการก่อเหตุของขบวนการ
หรือการวิพากษ์วิจารณ์ตามความคิดของตนเองโดยเหล่านักเขียนคอลัมนิสต์ต่างๆ
ที่สื่อออกไป
ล้วนสร้างการรับรู้ในมุมมองที่หลากหลายทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องให้แพร่
กระจายผ่านสื่อของตนไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ
ซึ่งเป็นผู้รับสารได้อย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะสื่อที่เผยแพร่ทางอินเตอร์เน๊ตที่มีเป็นจำนวนมากไม่สามารถตรวจสอบ
ที่มาที่ไปของผู้นำเสนอได้
และเมื่อตรวจสอบไม่ได้ “ท่านที่อ้างตัวว่าเป็นสื่อเหล่านั้นจึงมีเสรีที่จะนำเสนอในทุกเรื่องทุกประเด็นโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบใดๆ”
จึงปฏิเสธไม่ได้
ว่า
ภายใต้แรงขับเคลื่อนของสื่อนั้นหากนำเสนออย่างถูกต้องตรงไปตรงมาก็จะเป็น
ประโยชน์ต่อผู้รับสารในการได้รับข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์เพื่อนำเสนออย่าง
ถูกต้อง
และถ้าเป็นข่าวสารที่มุ่งสร้างความร่วมมือสร้างความรักความสามัคคีของคนใน
พื้นที่
ข่าวนั้นจะเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญที่จะช่วยระดมสรรพสิ่งที่เป็นตัวแปรให้เกิด
ความสงบสันติได้ แต่หากเป็นการนำเสนอโดยมุ่งหวังให้เกิดภาพลบ
แอบแฝงไว้ด้วยเจตนาที่จะทำลายความน่าเชื่อถือในกลุ่มคนหรือบุคคลโดยใช้
สถานการณ์ภาคใต้ที่หาทางออกได้ยากยิ่งนี้ล่ะ
เรื่องแบบนี้ย่อมส่งผลเลวร้ายกว่าที่คิด
และแน่นอนว่าสื่อใดๆ
ที่ประพฤติเยี่ยงนั้นย่อมมีความเลวร้ายยิ่งกว่า
เมื่อวานนี้ได้เห็นสื่อที่นำเสนอทางเว็บไซต์ชื่อภาษาอังกฤษที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่แปลตรงๆ ตัวได้ว่า “จับตาดูภาคใต้” นำเสนอบทความชื่อตอน
“จากสงครามฝิ่นแผ่นดินจีน ถึง(สงคราม)น้ำกระท่อมแผ่นดินปาตานี” ซึ่ง
เมื่ออ่านเนื้อหาโดยรวมแล้วในฐานะที่อยู่กับงานเขียนมาพอสมควรต้องขอชมเชย
ว่าผู้เขียนมีการนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ
ใช้สำนวนภาษาและข้อมูลประกอบได้อย่างน่าเชื่อถือ
ซึ่งนั้นเป็นคุณสมบัติของนักเขียนที่ดี
แต่เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาที่นำเสนอออกมาแล้วต้องตกใจ
ที่ว่าตกใจในที่นี่มิได้ตกใจว่าสถานการณ์ยาเสพติดประเภทน้ำกระท่อมในบ้านเรา
บานปลายไปจนยากจะแก้ไข
แต่ตกใจที่ผู้เขียนท่านนั้นได้ใช้ภาวะภัยแทรกซ้อนของยาเสพติดซึ่งเป็นส่วน
หนึ่งที่ส่งผลถึงปัญหาความไม่สงบในพื้นที่มาใช้ในการกล่าวหาหน่วยงานที่มี
หน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ซึ่งในความหมายที่พยายามสื่อออก
มานั้น
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าหมายถึงหน่วยงานใด
แต่ที่แน่ๆ
การกล่าวอ้างนำเสนอเพียงด้านเดียวแบบนี้ย่อมมิใช่วิสัยของสื่อที่มีจรรยาบรรณ
ยิ่งกว่านั้นยังอ้างอิงในลักษณะ
“จับแพะชนแกะ” ถึงเหตุการณ์สงครามฝิ่นในประเทศจีนว่ามีความคล้ายคลึงกัน
ตบท้ายด้วยการเรียกร้องให้เยาวชน (ซึ่งกำลังเมาน้ำกระท่อม)
ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อบ้านเมือง
ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่าเรื่องของปัญหายาเสพติดกับการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปาตานีจะถูกดึงมาเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร
แต่ถ้าจะกล่าวว่ามีบางกลุ่มใช้ยาเสพติดมอมเมาเยาวชนให้ฮึกเหิมแล้วลุกขึ้นมาต่อสู้น่าจะฟังแล้วเข้าใจง่ายกว่า
ว่าไปแล้วปัญหายาเสพติดโดยเฉพาะน้ำกระท่อมหรือที่เอาส่วนผสมอื่นๆ
มาใส่เพิ่มเติมจนเรียกว่า “สี่คูณร้อย”นั้นเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายให้
ความสำคัญและพยายามแก้ไขมาโดยตลอด
บทบาทหลักเท่าที่เห็นก็หนีไม่พ้นหน่วยงานภาครัฐกับผู้นำศาสนาที่ร่วมมือกัน
อย่างเหนียวแน่น
แต่ด้วยผู้ที่เสพติดส่วนใหญ่เป็นเยาวชนซึ่งเมื่อเห็นเพื่อนเสพก็เกิดความ
อยากลอง
และเมื่อเกิดการเสพติดแล้วการแก้ไขปัญหาด้วยการบำบัดเพียงอย่างเดียวจึงเป็น
การแก้ที่ปลายเหตุ ดังนั้นการให้ความรู้ถึงโทษภัยโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง
เริ่มตั้งแต่คนในครอบครัว ครูอุสตาช
ผู้นำศาสนาหรือแม้แต่เพื่อนๆ จึงเป็นเรื่องที่ต้องกระทำ
ไม่ปล่อยให้เป็นภาระของหน่วยงานเพียงลำพัง
หรือแม้แต่องค์กร
ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม
สามารถชี้นำโดยการให้ความรู้
การรณรงค์หรือการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อเยาวชนรุ่นต่อไปให้เติบโต
อย่างมีคุณค่าเช่น
องค์กรนักศึกษาในพื้นที่
ก็สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ได้ด้วยเช่นกัน
แต่เท่าที่เห็นปัญหานี่ยังถูกละเลยจากปัญญาชนคนหนุ่มสาวที่นี่
คงเห็นเพียงกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ
ที่เขาและเธอเหล่านั้นมักร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กรที่ใช้พลังนัก
ศึกษาเรียกร้องในสิ่งที่องค์กรนั้นๆ
ต้องการโดยเยาวชนเหล่านั้นมิได้เฉลียวซักนิดด้วยคิดว่าได้ทำในสิ่งที่ถูก
ต้อง
น่าเสียดายที่หากได้ใช้พลังนี้ตามบทบาทที่เหมาะสมและควรจะเป็นแล้วน่าจะเกิด
ผลดีต่อพื้นที่ในหลายด้านไม่มากก็น้อย
และปัญหาน้ำกระท่อมอาจกลายเป็นปัญหาที่แก้ได้อย่างไม่ยากนัก
จากบทความที่กล่าว
ข้างต้นซึ่งผู้เขียนอ้างว่าเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อ
พิทักษ์ประชาชนซึ่งหากเป็นจริงผู้เขียนท่านนั้นคงเป็นนักศึกษาและคงทราบดี
ถึงรากเหง้าของปัญหาน้ำกระท่อมในพื้นที่ดีว่ามีมาอย่างยาวนานก่อนเหตุการณ์
ความรุนแรงจะปะทุขึ้น
การนำข้อมูลจากที่นั้นนิดที่นี่หน่อยมาประติดประต่อกันแล้วสรุปเอาข้างเดียว
ว่าเพราะส่วนนั้นหน่วยนี้เป็นต้นเหตุและมีวัตถุประสงค์ทำลายเยาวชนโดยมิได้
ตระหนักถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาจึงไม่น่าจะยุติธรรม
นอกเสียจากว่าท่านผู้เขียนจะมีเจตนาสื่อถึงอย่างนั้นจริงๆ
ความพยายามใดๆ
ที่จะชี้นำประชาชนโดยใช้วาทะกรรม “การติดอาวุธทางความคิดให้กับประชาชน”
นั้นสามารถทำได้ในทางสร้างสรรค์ เช่น
การให้ความรู้ในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน
หรือการยอมรับในวิถีและความเชื่อที่แตกต่างจะช่วยให้บรรยากาศความรักความ
สามัคคีมีมากยิ่งขึ้นมิใช่หรือ
การเรียกร้องให้ประชาชนรักแผ่นดินถิ่นเกิด
ลุกขึ้นมาต่อสู้กับยาเสพติดเพื่อแผ่นดินของตนมิใช่สิ่งผิด
แต่การเรียกร้องให้เยาวชนซึ่งจะเป็นผู้ใหญ่รุ่นต่อไปลุกขึ้นมาต่อสู้ในความ
หมายของผู้เขียนท่านนี้มิใช่เท่ากับเป็นการเร่งให้แผ่นดินนี้ลุกเป็นไฟหรือ
ทุกวันนี้ประชาชนยังเดือดร้อนไม่พอกันหรืออย่างไร
ประชาชนส่วนใหญ่จะอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียนขอฝากคำถามนี้ไปยังพี่น้องประชาชนทุกท่านเพราะพลังของประชาชนเท่า
นั้นที่จะดับไฟที่รุมเร้าแผดเผาพื้นที่จังหวัดชายแดนแห่งนี้อยู่ทุกเมื่อ
เชื่อวัน
ฝากถึงกองบรรณาธิการสำนักข่าว
“จับตาดูภาคใต้” ด้วยว่าควรได้พิจารณาซักนิด
เรื่องนี้มิใช่เพียงเป็นการเปิดโปงตัวตนที่
แท้จริงของใครบางคนเท่านั้น
แต่เป็นการเปิดโปงทิศทางและคุณภาพการทำหน้าที่ในฐานะสื่อของสำนักข่าวของ
ท่านด้วย
พิราบแดนใต้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น