วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

กบฏมุสลิมมักกะสัน

กบฏมุสลิมมักกะสัน


            กบฏมุสลิม(มักกะสัน) ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า กบฏมักกะสัน  คือกลุ่มกบฏมุสลิมในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ 300 คน ตั้งบ้านเรือนอยู่ย่านคลองตะเคียน นอกพระนครศรีอยุธยา ได้สมคบกับเจ้านายพื้นเมืองกลุ่มอื่น ๆ ก่อความวุ่นวายขึ้น แต่ถูกปราบปรามจนต้องลงเรือหนีล่องตามแม่น้ำผ่านไปทางบางกอก เมื่อถูกสกัดกั้นจากกองทหารยุโรปที่รักษาเมือง พวกทหารพื้นเมืองกับพวกแขกมักกะสันเลยผสมโรงกันก่อความวุ่นวายทั่วเมืองธนบุรี ทั้ง ๆ ที่มีอาวุธประจำตัวเพียงอย่างเดียวคือกริช แต่กองทหารยุโรปมีปืนทันสมัย ก็ต้องล้มตายมากกว่าจึงปราบลงได้ ถูกบันทึกไว้หนังสือจดหมายเหตุของฟอร์บัง

         โดย "มักกะสัน" เพี้ยนจากชื่อหมู่เกาะมากัสซาร์ (Makassar ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย) แต่คนที่ถูกเรียกว่า แขกมักกะสัน มีทั้งมาจากเกาะมากัสซาร์และเกาะซูลาเวซี (เซเลบีส)


กบฏมักกะสัน 

             ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อขั้วอำนาจย้ายจากชาวมุสลิมไปอยู่กับชาวคริสตังขุนนางชาวกรีก คอนสแตนติน ฟอลคอลเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จึงกลายเป็นมีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ การค้า และการทูต และยังเป็นคนสนิทของสมเด็จพระนารายณ์  เขาเป็นผู้ขัดประโยชน์ของชาวมุสลิมในทุกด้าน และทำให้มุสลิมที่เคยยิ่งใหญ่เสื่อมเสียเกียรติคุณหลายต่อหลายครั้งอย่าง เช่นการเกณฑ์ชาวมุสลิมให้ไปเข้าแถวต้อนรับคณะราชทูตเชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ประกอบกับความรู้สึกที่เกิดจากการเปรียบเทียบระหว่างการต้อนรับราชทูตของ ทั้งสองประเทศ (คณะราชทูตสุลัยมาน ประเทศอิหร่าน) ย่อมจะทำให้ชาวอิหร่านน้อยใจ จึงได้ชักชวนพวกมุสลิมด้วยกันที่เป็นเชื้อชาติ เขมร มาลายู จาม ก่อการกบฎในปี พ.ศ. ๒๒๒๙

           ชาวมักกะสันหรือชาวมาการซาร์แต่เดิมอาศัยอยู่บนเกาะมากาสการ์ หรือมากัสซาร์ หรือสุราเวสี หรืออูจูปันดัง ในหมู่เกาะโมลุกะ ตอนใต้ของเกาะเซลีเบส ประเทศอินโดนีเซีย นับถือศาสนาอิสลาม ที่เรียกว่ามักกะสันเพราะเรียกเพี้ยนมาจากมาชื่อถิ่นที่อยู่อาศัยคือมาการ ซาร์นั่นเอง เมื่อถูกฮอลันดาโจมตีระหว่างปี พ.ศ.๒๑๕๙ ถึง พ.ศ. ๒๒๑๐ พวกนี้อพยพออกนอกประเทศ กระจัดกระจายกันอยู่แถบหมู่เกาะอินเดียตะวันออก มาลายู รวมทั้งเข้ามายังอยุธยาด้วย

           พวกมักกะสันเป็นคนรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว กล้าหาญ มีนิสัยดุร้ายไม่กลัวตายชอบเสพกัญชายาฝิ่น มีหอกซัด มีไม้ซางเป่าลูกดอกทำจากก้างปลาอาบยาพิษเป็นอาวุธ ผู้ที่ถูกยิงด้วยลูกดอกอาบยาพิษจะตายภายใน ๓ ชั่วโมง มีกริชเป็นอาวุธประจำกายทุกคน เชวาลิเอร์ เดอ ฟอร์บังนายเรือโททหารชาวฝรั่งเศส ได้อธิบายกริชของชาวมักกะสันดังที่เขาพบเห็นไว้ว่า


(ที่มา http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=2509&st=180)

            “นั้นเป็นของแหลมชนิดหนึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว และที่ต่อกับด้านนั้นกว้างประมาณนิ้วครึ่ง รูปคดเหมือนระลอกกระแสน้ำ ปลายแหลมคล้ายลิ้นงู ทำด้วยเหล็กกล้า ทั้งสองข้างคมเหมือนมีดโกน เหน็บไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้อาบยาพิษ”

            ชาวมักกะสันมีความเชื่อถือกันอยู่ว่า ถ้าได้ชักกริชออกจากฝักแล้วไม่ได้แทงใครถือว่าเป็นคนขลาด และยังเชื่ออีกว่า คนที่ถูกฆ่าให้ตายไปนั้นจะไปเป็นทาสรับใช้ในโลกหน้า หยิ่งในศักดิ์ศรีของตนจะไม่ยอมแพ้ใครถึงแม้ตัวจะตายไปก็จะถือว่าเป็น เกียรติยศล้ำเลิศแก่ตนเอง

            ชาวมักกะสันตั่งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับหมู่บ้านมาลายู และใกล้หมู่บ้านโปรตุเกส ฝั่งตะวันออกของคลองตะเคียน อยุธยา ส่วนหนึ่งรับราชการเป็นทหารรักษาพระองค์

 ก่อการกบฏ 

             วันหนึ่งเจ้าชายมาการ์ซาร์ที่หนีจากการปกครองของพวกฮอลันดา จากเกาะเซเลเบสมาอยู่เมืองไทยกับพวกประมาณ สามร้อยคน ได้ทำการคบคิดกับพวกเขมรและแขกจามเตรียมกบฏ

          พวกก่อการกบฏได้ทำการปล่อยข่าวลือว่า ได้เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ดาวเจ็ดดวงเรียงกันบนท้องฟ้าเป็นรูปจันทร์ครึ่ง ซีกล้อมรอบดวงจันทร์ซึ่งถือกันว่าเป็นลางบอกเหตุร้ายแก่บ้านเมือง และเป็นลางร้ายว่าจะเกิดอันตรายแก่ศาสนาอิสลาม  หรือเป็นลางดีว่าต่อไปพวกชาวมุสลิมจะมีความสุข ข่าวนี้เกิดผลขึ้นมีผลสองด้านด้วยกัน ด้านหนึ่งทำให้บรรดาชาวมุสลิมจำนวนมากทำการสนับสนุน อีกด้านหนึ่งทำให้ประชาชนคนไทยขวัญเสีย

           ชาวมุสลิมนำโดยแขกมักกะสัน ได้ตกลงกันวางแผนการเอาไว้ว่า จะจับพวกคริสตังฆ่าให้หมด ทำการปล่อยนักโทษออกจากคุก ทำการยึดวังหลวง เข้าปล้นพระคลังมหาสมบัติ ปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์ ยกเจ้าฟ้าอภัยทศพระ อนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองปะเทศ แต่มีข้อแม้ว่า เจ้าฟ้าอภัยทศจะต้องเปลี่ยนศาสนามาเป็นอิสลามเสียก่อนถ้าไม่ยอมก็จะฆ่าเสีย พร้อมกับบังคับให้ประชาชนทั้งหลายให้นับถือศาสนาอิสลาม  พวกกบฏอ้างว่าเหตุที่ต้องทำการในครั้งนี้ก็เพราะ สมเด็จพระนารายณ์เกื้อกูลพวกเข้ารีต ทำให้ผู้อื่นที่ไม่ได้เข้ารีตด้วยได้รับความเสียหาย แต่แผนการครั้งนี้ได้ล่วงรู้ถึงพระกรรณ์เสียก่อน จึงทำให้แผนการไม่สำเร็จลุล่วง

            ก่อนวันก่อการ ได้มีแขกจามคนหนึ่งได้แอบส่งจดหมายไปหาพี่ชายของตนที่เป็นทหารรักษาพระองค์ ในเมืองละโว้ให้หนีกลับมาสมทบ แต่พี่ชายไม่เล่นด้วย ประจวบกับที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงประทับที่พระราชวังเมืองละโว้โดยมีฟอล คอนอยู่เสนาบดีคู่พระทัยอยู่ด้วย ทหารจามจึงนำความไปแจ้งแก่ฟอลคอน และฟอลคอนก็ได้นำเนื้อความกราบบังคมทูลแก่สมเด็จพระนารายณ์อีกทอดหนึ่ง

           สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้นำตัวหัวหน้าพวกมักกะสันมาไต่ถามถึงตัวหัวหน้าผู้ ก่อการกบฏในครั้งนี้ ซึ่งหัวหน้ามักกะสันคนนั้นก็ไม่รู้ว่าใคร  แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นขุนนางชั้นสูงของไทยที่ไม่ชอบฟอลคอนร่วมกับขุนนาง มุสลิมและพ่อค้าอินเดียก็เป็นได้

           แต่ถึงอย่างไรชาวมุสลิมที่นำโดยชาวมักกะสันก็ยังทำการก่อกบฏในกรุงศรีอยุธยา

           การกบฏของพวกมักกะสันเกิดขั้นที่สองแห่งคือที่อยุธยาและบางกอกบริเวณป้อมวิไชยประสิทธิ์หรือป้อมวิชาเยนทร์ในสมัยนั้น

 เหตุการณ์ในกรุงศรีอยุธยา

          วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๒๒๙ คณะทำการก่อกบฏตามแผนที่ได้วางไว้ แต่เพราะฟอลคอนได้ทราบความก่อนแล้วจึงได้ระดมพล โดยมีชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยได้อย่างทันท่วงที ฝ่ายไทยปราบกบฏโดยการใช้อาวุธที่ทันสมัยกว่าเข้าต่อสู้ แต่ทหารฝ่ายไทยก็ได้เสียชีวิตไปกับเหตุการณ์นี้หลายคน แม้แต่ฟอลคอนเองก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด และไม่สามารถปราบพวกมักกะสันในครั้งเดียวได้

           “[วิชเยนทร์]จึงระดมทหารไปทำลายที่ซ่องสุมนั้นเป็นจำนวนถึงสองหมื่นคนให้ชาว ยุโรปคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ วิลันดาแกล้งทำหนี วิชเยนทร์หลงเชื่อ คิดว่ามันแตกตื่นหนีจริง ๆ จึงสั่งให้ทหารไทยไล่ติดตามมันแต่พอกองทหารนั้นแยกออกไปเป็นหมู่เล็ก ๆ พอแขกมักกะสันก็หันหน้าเข้ามาต่อสู้ฆ่าฟันทหารชาวทวีปยุโรปตายสิบเจ็ดคนและ คนไทยล้มตายลงบ้างไม่น้อย วิชเยนทร์เองเกือบเสียชีวิต กระโดดหนีมักกะสันลงไปในแม้น้ำ เกือบจมน้ำตาย หากคนใช้ของเขาคนหนึ่งลงไปช่วยขึ้นมาได้จึงรอดชีวิต ศพคนที่ตายลอยน้ำผ่านเมืองบางกอกลงมาเป็นพยานให้เราทราบว่าวิชเยนทร์แพ้พวก มักกะสัน”

            หนึ่งเดือนต่อมาในวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๒๒๙ ฟอลคอนได้ยกกำลังไปล้อมโจมตีหมู่บ้านมักกะสันที่อยุธยา ผู้บังคับการเรือรบสยาม  ซึ่งเป็นคนอังกฤษชื่อกัปตันโคต (Coats) เอาลูกแตก ขว้างและยิงระเบิดเพลิงเข้าไปในหมู่บ้านมักกะสัน พวกมักกะสันจึงกรุกันออกมาตีหัวกัปตันโคตตายทันที ส่วนกัปตัน อีอูดาล ผู้บังคับการเรือรบอังกฤษ ก็ถูกแทง ๕ แผล ถึงแก่ความตายในสมรภูมิ พวกฝรั่งกับทหารไทยยกกำลังยิงปืนใหญ่และธนูเพลิงเข้าไปเผาหมู่บ้านฆ่าแขกตาย มาก คอนได้ใช้ความชาญฉลาดของเขาโดยการอาศัยธรรมชาติและเครื่องมือแบบพิเศษทำการ ปราบมักกะสันด้วย

            “ตัวอย่างคราวแรกนั้นเป็นบทเรียนว่า ไม่ใช่เป็นการง่ายนักที่จะระดมเข้าต่อสู้โดยเปิดเผย เข้าได้เปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ คิดกลอุบายเป็นผมสำเร็จจึงเอาชนะได้...โดยเหตุที่ว่าเวลานี้น้ำท่วม ต้องลุยน้ำขึ้นมาถึงน่อง วิชเยนทร์จึงให้หาไม้ไผ่มาสานเข้าเป็นแผงหลายแผง ที่รอยต่อกันนั้นเอาตะปู เป็นรูปสามง่ามเสียบไว้ ปลายตะปูยื่นออกไปเกือบแปดนิ้ว เมื่อกองทหารลุยน้ำไป ก็เอาแผงไม้ไปไผ่นั้นหลงลงในโคลน พวกแขกมักกะสันไม่แลเห็น วิ่งหัวซุนมาจะแทงทหารไทย ตีนก็ติดขวากเหล็ก จะก้าวหน้าหรือถอยหลังก็ไม่ได้ ทหารไทยจึงเอาปืนยิงล้มตายเป็นอันมาก”

           การล้อมปราบในวันนั้น สู้กันตั่งแต่ตีสี่ครึ่งถึงบ่ายสี่โมง ทหารไทยตายประมาณพันคน คนยุโรปตาย ๑๗

           ฟอลคอนได้ลงโทษพวกมักกะสันที่ที่เหลือรอดโดยการมัดไว้กับกางเขนและปล่อยให้ เสือเข้ามากัดกินตั่งแต่มือถึงไส้ ส่วนทหารฝ่ายไทยที่หนีทหารในวันวันก่อกบฎถูกลงโทษโดยการตอกเศษไม้เข้าเล็บ ทุบนิ้วมือจนแตกน่วม ใช้ไฟจี้ที่แขน บีบขมับด้วยกระดานสองแผ่นประกบกัน บางคนถูกนำไปให้เสือกัดกิน ถูกโอรสของเจ้าชายมักกะสันสองคนถูกจับตัวได้ ฟอลคอนได้ให้บาทหลวงตาชาร์ดนำตัวไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส เขาได้เขียนจดหมายส่งตัวเจ้าชายทั้งสองคนลงวันที่ ๒๖ พฤษจิกายน พ.ศ.๒๒๒๙ ความว่า

           “ข้าพเจ้า ได้ส่งเจ้า ๒ องค์ บุตรของเจ้าเมืองมากาซา...ต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และเพื่อทรงพระกรุณาโปรดแก่เจ้า ๒ องค์ประการใดก็แล้วแต่จะทรงเมตตา”

           กบฏมักกะสันในกรุงศรีอยุธยาจบลงในวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๒๒๙

เหตุการณ์ในบางกอก


ป้อมวิชัยประสิทธิ์
(ที่มา : http://www.navy.mi.th/newwww/document/history/royalnavy/chap314.htm)

           จากนั้นพวกมาการ์ซาร์ ๕๓ คนต้องลงเรือหนีเข้ามาทางบางกอก แต่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้ส่งม้าเร็วให้นำหนังสือไปบอก ออกพระศักดิ์สงคราม หรือฟอร์บังผู้บังคับการชาวฝรั่งเศสรักษาป้อมเมืองบางกอก (ป้อมวิชัยประสิทธิ์) ให้ทำการนำโซ่กั้นขึงขวางแม่น้ำ ไม่ให้เรือสำเภาแขกหนีไปได้

          เมื่อเรือสำเภามาถึงเจอกับโซ่กั้นจึงไม่สามารถล่องเรือผ่านไปได้ ฟอร์บังใช้กำลังทหารเข้าจับกุมและยึดกริซของพวกมาร์กาซาร์ เมื่อจวนตัวจึงพากันแก้ผ้านุ่งขึ้นมาพันที่แขนทำเป็นโล่ และใช้กริซเข้าต่อสู้กับทหารของฟอร์บังอย่างสามารถ ใช้กริซไล่ฆ่า แทง แหวะท้องทหารฝรั่งเศสและทหารไทยล้มตายไปหลายคน จากนั้นจึงหนีเข้าป่า พระไทยวัดหนึ่งโดนฆ่าตายทั้งวัด ฟอร์บังใช้เวลาเดือนกว่า จึงจะกำจัดพวกแขกมาการ์ซาร์ได้ ฝ่ายไทยสูญเสียทหารไปราว ๓๖๖ คน พวกมาการ์ซาร์ตายไปเพียง ๑๗ คน แต่ก็ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างซ่อนตามจุดต่าง ๆ ทั่วเมืองบางกอก เมื่อเจ้าพระยาวิชาเยนทร์และเดอลามาร์มาถึงอยุธยาก็โกรธแค้นพวกมาร์กาซาร์ เป็นอย่างมาก จึงนำกำลังเข้าโจมตีหมู่บ้านมาการ์ซาร์ ในวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๒๒๙ โดยการใช้อาวุธที่ทันสมัยกว่า ทั้งระเบิดมือ ปืนไฟ ปืนใหญ่ ครั้งนั้นฝ่ายสยามตายไปประมาณพันกว่า คนยุโรป ๑๗ คน พวกมาการ์ซาร์หลายคน คนที่บาดเจ็บและเหลือรอดถูกจับมัดเข้ากับไม้กางเขนและปล่อยเสือเข้ากัดกิน ทั้งร่าง

          เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้แขกในเมืองไทยทั้งแขกขาวแขกดำหมดอำนาจ ส่วนเจ้าชายดายถูกยิงเสียชีวิต บุตรของเจ้าชายถูกส่งไปเรียนที่ฝรั่งเศส ทหารที่หนีราชการในช่วงนั้นถูกเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ลงโทษโดยวิธีการอันทารุณ ถูกตอกเศษไม้เข้าเล็บ ทุบนิ้วมือจนแตกน่วม ใช้ไฟที่จี้ที่แขน ใช้ไม้บีบขมับ บางคนถูกนำไปให้เสือกัดกิน

         เมื่อการกบฏสงบลง สมเด็จพระนารายณ์ไม่ได้ลงพระอาญาบรรดาพวกมุสลิมที่การสนับสนุนมักกะสันใน ครั้งนี้เท่าที่ควร รวมถึงไม่ทำการลงโทษชาวมุสลิมที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้เพราะทรงเกรงว่าจะทำให้พวกมุสลิมที่เหลือพากันกระด้างกระเดื่อง และเสียผลประโยชน์ทางการค้า ถึงอย่างไรเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ความรุ่งเรืองของแขกมักกะสันในสยามจบลง แต่ฟอลคอนก็ไม่ได้มีอำนาจเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด กลับทำให้เขาเสื่อมอำนาจลงไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ ด้วยเพราะความที่เขาเป็นคนมีศตรูหลายด้านจึงไม่มีใครขึ้นกับเขาอยากจริงจัง นัก ฟอลคอนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ ว่าจะทำการลอบปลงพระชนม์สมเด็จกระนารายณ์ เป็นบุคคลชักจูงให้ชาวฝรั่งเศสทำการยึดประเทศไทยในช่วงปลายรัชการสมเด็จพระ นารายณ์ จนท้ายที่สุด คอนแสตนติน ฟอลคอน ออกญาวิชาเยนทร์ก็ได้ถูกสำเร็จโทษอย่างทารุณด้วยฝีมือของพระเพทราชา หนึ่งในศตรูคนสำคัญของเขานั่นเอง


             จดหมายเหตุฟอร์บัง  ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๕๐ ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๘๐,องค์การค้าคุรุสภา : กรุงเทพฯ, ๒๕๑๓, หน้า ๑๖๑.
            เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๘๔.
            เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๘๔-๑๘๕.
            ประชุพงศาวดารเล่มที่ ๒๖ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๔). :องค์การค้าคุรุสภา : กรุงเทพฯ, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ : หน้า ๔๕.

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง
บรรณานุกรม
จันทร์ฉาย ภัคอธิคม.ประวัติศาสตร์ไทยสมัยแรกเริ่มถึงสมัยธนบุรี. เล่ม๑. ๒. มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพฯ.
­­ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ของมุสลิมทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ ๔.  มติชน : กรุงเทพฯ. พ.ศ.๒๕๔๕.
พลับพลึง มูลศิลป์. ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส สมัยอยุธยา. พิมพ์ครั้งแรก,  บรรณกิจ : กรุงเทพฯ. พ.ศ.๒๕๒๓.
รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต(วัน วลิต). ในวาระ ๔๐๐ ปี สัมพันธไมตรีไทย –   เนเธอร์แลนด์, ฉบับปรับปรุง,  พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพ. พ.ศ.๒๕๔๘.
วิไลเลขา ถาวรธนสาร, และคณะ.  พื้นฐานวัฒนธรรมไทย (HI 121). พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพฯ. พ.ศ.๒๕๔๒.
ศิลปากร, กรม.  จดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์. จดหมาย มองซิเออร์ เวเรต์ ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๒๕ (ประชุมพงศาวดารภาคที่๔๑ ต่อ – ๔๒ - ๔๓). พิมพ์ครั้งที่ ๑,  องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๒๒.  
__________, จดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศส. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔๔ (ภาคที่ ๕). พิมพ์ครั้งที่ ๑.  องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๒๗.
___________, จดหมายเหตุฟอร์บัง  ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๕๐ ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๘๐.    ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๑๓.
__________,  ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๒๖ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๔). ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ : องค์การค้าคุรุสภา : พระนคร.
__________,  พงศาวดารเรื่องฝรั่งเศสกับไทย ประชุมพงศาวดารเล่ม ๑๖ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่   ๒๗). พิมพ์ครั้งที่ ๑, : องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๒๗.
__________,  พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน. สำนักพิมพ์คลังวิทยา : พระนคร. ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์.
__________,  เรื่องเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ พงศาวดารเล่มที่ ๑๒ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่๑๕-๑๘). ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๐๗.
อาทร จันทวิมล ดร. ประวัติศาสตร์ของแผ่นดินไทย. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=2509&st=180, สืบค้นเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓.
http://www.navy.mi.th/newwww/document/history/royalnavy/chap314.htm. สืบค้นเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓.

http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม