แก้ปัญหาไฟใต้ เอาแบบนี้มัั้ยครับ | |
ภาพการพูดคุยสันติภาพที่เกิดขึ้นจึงเหมือนภาพสามมิติ ที่จุดสำคัญของผู้กำหนดเกมคือ คนเพียงไม่กี่คนที่มีอำนาจในสองประเทศ คือมาเลเซีย และ คนกำหนดสภาพความเป็นไปในรัฐไทย ที่ตกลงและหาข้อสรุป โดยมีผลประโยชน์แห่งชาติของสองประเทศเป็นบทสรุป ในขณะที่ขบวนการบีอาร์เอ็น น่าจะขอแค่การแบ่งสรรผลประโยชน์และทรัพยากรที่จะได้รับจากผลประโยชน์ร่วมสองชาติ โดยที่คนระดับล่างไม่ว่าจะเป็นแนวร่วมอาร์เคเค ที่เป็นมุสลิม ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งต้องต่อสู้กันด้วยชีวิต ไม่ได้รับประโยชน์จากการตกลงแลกเปลี่ยนในการดับไฟใต้ครั้งนี้เลย จึงไม่แปลกที่คนในรัฐบาลไทย ฝ่ายการเมือง และ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่ออกหน้าไปคุยกับ นายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย รวมถึงรัฐบาลมาเลเซีย และ แกนนำบีอาร์เอ็น ต้องการให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไป เพราะมีคนที่ได้ประโยชน์จากการตกลงระดับบน ในขณะที่ฝ่ายกองทัพ และ พวกกำลังติดอาวุธอาร์เคเคในพื้นที่ เห็นว่าการพูดคุยสันติภาพไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ได้นำไปสู่เป้าหมายที่ถูกวางไว้ ในขณะที่ ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับฟังข้อมูลจากกองทัพ จะขอดูผลสรุปการหารือเพื่อสันติภาพครั้งที่ 3 ในวันที่ 13 มิถุนายนนี้ว่ามีผลไปในทิศทางบวกต่อการก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่หรือไม่ โดยจะสอบถามความเห็นจากผู้บัญชาการเหล่าทัพว่าจะมีความเห็นเป็นอย่างไรต่อผลการหารือที่เกิดขึ้น ก่อนสรุปเป็นความคิดเห็นเสนอนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด สำทับด้วยท่าทีของ พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ตอบโต้การแสดงออกของแกนนำบีอาร์เอ็นผ่านยูทูบว่าไม่เป็นไปตามกติกา และ เป็นการเรียกร้องที่มากเกินไป ต้องเข้าใจสถานะของบีอาร์เอ็นว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ มีคดีความติดตัว และบางคนให้ประกันตัว การออกมาเปิดหน้าให้ร้ายกองทัพ และ ปฏิบัติการทหารของฝ่ายรัฐไทยว่า สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อสองฝ่ายเลือกที่จะพูดคุยกันบนโต๊ะเจรจาแล้ว กระนั้น ในฟากของประชาสังคม ที่เกรงว่ากระบวนการสันติภาพจะจบลงเพราะกองทัพไม่เห็นด้วย กับการแสดงตัวของบีอาร์เอ็นอย่างนอกกติกา ทั้งการเปิดหน้าในยูทูบให้ร้ายทหาร เลยไปถึงการไม่สามารถควบคุมการปฏิบัติการของอาร์เคเค และข้อสงสัยที่ว่าอาจขยิบตาให้อาร์เคเคในพื้นที่ปฏิบัติการก่อเหตุรุนแรง เพื่อเป็นเงื่อนไขต่อรองของการเจรจาด้วยซ้ำ ซึ่งประชาสังคมก็พยายามเสนอข้อมูลและบทเรียนการเจรจาสันติภาพในโลก ที่ยังไม่พบว่าสถานการณ์จะยุติหรือลดลงได้ทันทีเมื่อเปิดโต๊ะเจรจา ทว่าจะยังคงมีสถานการณ์รุนแรงต่อไประยะหนึ่ง ตอกย้ำด้วยการแสดงตัวของ นายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวปาฐกถาในงานประชุมสัมมนานานาชาติ หัวข้อ “อิสลามและศักราชใหม่ของชาติอาเซียน” ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่บอกว่า ให้ชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลังต่อสู้เพื่อสิทธิอันยิ่งใหญ่ว่า ไม่ควรแยกตัวเป็นอิสระจากรัฐ แต่ควรเป็นเขตปกครองตนเองที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มชาวมุสลิมในประเทศอย่างฟิลิปปินส์ ไทย และพม่า ต้องเข้าใจว่าพวกเขาอยู่ภายใต้รัฐบาลแห่งชาติปัจจุบันของแต่ละประเทศ พวกเขาต้องลืมความคิดที่จะเป็นรัฐมุสลิมอิสระ เพราะมันไม่ตั้งอยู่บนความเป็นจริง แต่ควรเป็นเขตปกครองตนเองที่มีความหมาย ไม่ใช่รัฐอิสระ นั่นเปรียบเหมือนคำตอบที่รัฐไทย มาเลเซีย บีอาร์เอ็น ล้วนมีร่วมกันตั้งแต่ต้นแล้ว กระบวนการหารือเพื่อสันติภาพ ที่มีพลโทภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นแกนนำ คือละครฉากหนึ่งในการสร้างความชอบธรรมให้เห็นว่า รัฐบาลใช้ความเป็นทางการสร้างฉันทานุมัติในการดำเนินการ แต่การตกลงแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างชาติและการเมืองร่วมกัน ได้ข้อสรุปในเบื้องต้น โดยทั้งหมดล้วนอ่านทางสภาพสังคม กลุ่มมวลชนในพื้นที่ ไว้ครบถ้วนหมดแล้ว จะมีก็แต่ประชาชนในพื้นที่ กองกำลังอาร์เคเค ที่ปฏิบัติการก่อความไม่สงบ ซึ่งถูกปลูกฝังให้ใช้ความรุนแรงเพื่อเอกราชที่จะได้รับ รวมถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการของรัฐไทย ที่ลงไปทำงานตามหน้าที่ และในที่สุดจะมีแต่ความสูญเสียเพราะทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และ อุดมการณ์ที่ถูกสร้างขึ้นเท่านั้น. | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
แก้ปัญหาไฟใต้ เอาแบบนี้มัั้ยครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น