วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อันตรายของอัตลักษณ์ (ตัวของกู)


ัีนตรายของอัตลักษณ์ (ตัวของกู พวกของกู ?)



          ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้คนส่วนใหญ่มักมองปัญหาภาคใต้เป็นเรื่องของ “ ความมั่นคง ” ซึ่งมองอย่างนี้ก็ไม่ผิด แต่ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ต้องไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแก้ปัญหาฝ่ายเดียวแต่เป็นปัญหาของชาติที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ปัญหา และอย่ามองปัญหาเป็นของ “คนนอก”  
        แต่เป็นปัญหาของ “คนในประเทศ” ฝ่ายกลุ่มขบวนการมีการสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานลับมาไม่น้อยกว่า 30 ปี จากรุ่นต่อรุ่น และมีกระบวนยุทธศาสตร์เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แต่มีธงเดียว คือ “แบ่งแยกรัฐปัตตานี” ดังนั้นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องมาร่วมกันคิด ต้องมาร่วมกันทำ คือ ทำอย่างไรที่ทุกฝ่ายไม่กลายเป็นขับเคลื่อนสงคราม  และผลักดันให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ไม่นำเรื่องภายในประเทศออกสู่นอกประเทศ รวมถึงไม่สนับสนุนให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนในทุกกรณี ซึ่งคนไทยทุกคนในประเทศนี้ คงไม่ยอมให้เกิดขึ้นแน่ แล้วปัจจัยอะไรล่ะ ที่อาจทำให้ประเทศไทย ในหลาย ๆ องคาพยพ หลงติดกับดักของขบวนการกับดักของอำนาจ ผลประโยชน์ หรือกับดักของเสรีประชาธิปไตยโดยขาดการยั้งคิด จนเป็นเครื่องมือของสงครามแบ่งแยกดินแดน ที่เรียกว่า “แนวร่วมมุมกลับ”ซึ่งส่วนสำคัญที่พอชูออกมาให้เป็นมูลเหตุแห่งการได้ ไตร่ตรอง พอจะมีให้เห็นอยู่หลายประเด็น  ซึ่งผู้เขียนขอยกมาบางส่วนตามสายตาที่จับจ้องได้แต่ในส่วนที่มองไม่ เห็นคงได้เห็นผู้ทีต่อยอดทางความคิด โดยเห็นประโยชน์ของชาติบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ได้ร่วมกันผลักดันตามแต่ความสามารถและหนทางของแต่ละบุคคล   

การเมือง (Politics)
       การเมืองในที่นี้ ผู้เขียนเองคงไม่ได้หมายถึงวาทะกรรมการเมืองนำการทหารที่ใช้สันติวิธี การบังคับใช้กฎหมาย หรือการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน การพัฒนาแทนการใช้กำลังของการยุทธ์การรบ และอาวุธ กระทำต่อกลุ่มขบวนการปฏิวัติหรือฝ่ายก่อเหตุรุนแรงที่เข้าใจกันอยู่ปัจจุบัน แต่การเมืองในประเด็นนี้ผู้เขียนหมายถึง รัฐบาลที่ (Goverment) ประกอบด้วยองคาพยพหลาย ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายค้าน ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยรวมที่เกิดเป็นรัฐโดยมีการเมือง (Polity) เป็นจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศ 
       โดยทุกฝ่ายต้องตระหนัก และคิดเป็นหนึ่งรวมกัน เพื่อร่วมกำหนดแนวทางระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และร่วมแก้ไขปัญหาเป็นทางเดียวกัน รับฟังข้อเสนอแนะของแต่ละฝ่าย โดยมีจุดประสงค์ร่วมกันคือเราจะไม่ยอมเสียดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดง่ายที่สุดก็คือตรงข้ามกับฝ่ายกลุ่มขบวนที่ต้องการการแบ่งแยกดินแดน แต่รัฐบาลจะใช้วิธีไหนล่ะ โดยรวมหัวใจทุกฝ่ายที่เป็นการเมืองทุกระดับ ที่จะแสดงพลังอำนาจรัฐในการบริหารจัดการ และมีธงเดียวคือ ไมมีการแบ่งแยกดินแดนปกครองทั้งนี้ใช้ว่าการคัดค้านเห็นต่างจากอีกฟากการเมืองไม่ใช่สิ่งไม่ดี 
       แต่ถูกต้องแล้วที่ต้องมีการตรวจสอบการทำงาน และความโปร่งใส เช่น งบประมาณถึงประชาชนทั่วถึงหรือไม่ มีการคอรับชั่นทั้งระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติหรือไม่ซึ่งเป็นการถ่วงดุลของ รัฐโดยสังคม และการเมืองในระบอบประชาธิปไตยทั้งนี้ต้องไม่มีการแฝงประโยชน์หรือขัดผล ประโยชน์ของฝ่ายกลุ่มของตนเอง โดยรวมแล้ว ต้องทิ้งคำว่าผลประโยชน์ของตนเองให้หมด สำหรับการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ทุกพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือพรรค (party) ต้องมุ่งสู่ผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก อย่าเอาแต่ขัดขวาง ป้ายสีฝ่ายตรงข้าม เอาประโยชน์ใส่ตนเองโดยมี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ทางการเมือง
       เมื่อไม่นานมานี้เองถือว่าเป็นแสงสว่างของการเมืองไทยในขบวนการร่วมกันแก้ไข ปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ เมื่อพรรคการเมืองที่มีอำนาจบริหารฝ่ายรัฐบาลร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน หารือกันเป็นครั้งแรกแม้ในการหาทางแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อประชาชน 3 จังหวัด เมื่อ 18 กันยายน 2555 แม้ว่าจะมีความเห็นที่ต่างกันในบางเรื่องแต่ก็มีความเห็นที่เหมือนกันเช่น ยึดมั่นในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และการใช้นโยบายการเมืองนำการทหารใช้การพัฒนาแก้ไขปัญหา และพัฒนาต่อเนื่องจากรัฐบาลประชาธิปัตย์ ส่วนความเห็นที่ต่างกันเช่น แนวคิดการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ หรือ ร่าง พ.ร.บ. ปัตตานีมหานคร และการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษทั้งกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินแต่ให้ใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแทน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ถือได้ว่าเป็นหนทางเริ่มต้น และเป็นหนทางเดียวกัน ที่ฝ่ายการเมือง (politics) ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลมีความเห็นทางเดียวกันคือไม่ยอมแบ่งและแยกดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ออกจากประเทศไทย 
       ในการประชุมหารือกันครั้งนี้เป็นครั้งแรก และอาจมีครั้งต่อไป ในระดับปฏิบัติที่นักการเมืองจะร่วมกับกำลังฝ่ายความมั่นคงทั้งฝ่ายตำรวจที่มี รองนายกเฉลิม ฯ เป็นหัวหอก และฝ่ายทหารที่มี รองนายก ยุทธศักดิ์ฯ เป็นผู้นำโดยทุกฝ่ายต้องร่วม และรับฟังซึ่งกัน และกันเพื่อหาทางออก และหนทางปฏิบัติจากระดับนโยบายยุทธศาสตร์ ลงสู่ประชาชน เพื่อเป้าหมายสันติสุขอย่างยั่งยืน ของประชาชนชาวไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
       ทั้งชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมาลายู สามารถอยู่ร่วมกัน ดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั้นคือ การแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของรัฐไทย ความเข้มแข็งของการเมืองที่อยู่เหนือฝ่ายปฏิวัติในสงครามประชาชนอย่างแท้จริง
       แต่การร่วมมือทางการเมืองของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรคของรัฐไทยครั้งนี้ ย่อมมีนักการเมืองหลายระดับ หลายกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ทางการเมือง และในระดับบุคคลก็มีหลายคนที่หมดความชอบธรรม เสียประโยชน์ทางการเมือง และโจมตีต่อต้านนโยบายยุทธศาสตร์ของรัฐมาโดยตลอด รวมถึงการกล่าวโจมตีฝ่ายความมั่นคงอย่างต่อเนื่องในทุกวิถีทาง แต่หาประโยชน์ในทางปฏิบัติเพื่อนำความสุขสงบมาสู่ประชาชนไม่ได้เลย 
       อีกทั้งยังประพฤติตนเหมือนเป็นผู้ที่ต้องการจะแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ให้กับกลุ่มขบวนการ และทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้หรือจงใจที่จะมองไม่เห็นว่ามีนักการเมืองตั้งแต่ ระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติเป็นกลุ่มแนวร่วมที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนตรงนี้ 
        เองผู้เขียนก็ไม่มีคำตอบ แต่ขอยกเหตุการณ์เมื่อ ๑๖ ธ.ค.๕๔ นักการเมืองคนหนึ่งที่ชื่อนาย มุกตาร์   กีละ หัวหน้าพรรคประชาธรรมที่คะแนนเสียงของชาวบ้านมาแรง และมีแนวโน้มจะได้ใจประชาชนในทุกระดับที่นักการเมืองท่านนี้ทุ่มเทให้กับการ นำความสงบสุขมาสู่ประชาชนอย่างแท้จริงด้วยแนวทางการเมือง และสันติทั้งที่ตอนเริ่มต้นถูกฝ่ายความมั่นคงมองว่าเป็นแนวร่วมขบวนการ แต่สุดท้ายต้องมาจบชีวิตด้วยน้ำมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดนโดยกลุ่ม RKK เขต กูจิงรือปะ  
      ที่สุดท้ายถูกชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านสังหารในเวลาต่อมา ไม่เช่นนั้นการตายของ มุกตาร์  กีละ จะเป็นเครื่องมือของฝ่ายแบ่งแยกดินแดน ที่เตรียมป้ายสีให้กับฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทย ตรงนี้ทุกฝ่ายก็ต้องไตร่ตรองว่ามีหรือไม่ ที่การเมืองตั้งแต่ระดับชาติ ถึงระดับท้องถิ่นบางกลุ่ม กับกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีสายสัมพันธ์กันหรือไม่ แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าปล่อยให้ฝ่ายความมั่นคงฝ่ายเดียวคงไม่มีปัญญาแน่นอน
       ที่จะขาดไม่ได้ก็พวก “พลอยกระโจน” กระโดดเข้าร่วมวงวิจารณ์เสนอปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้    ในเวทีต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์แท้จริงกับประชาชนไม่ได้เลย  
        สำหรับนักการเมืองบางคนที่เสียผลประโยชน์ และชื่อเสียงของตน ก็ส่งเสริม และยกปัญหาสู่สากลโดยไม่รู้ตัว รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมีความจงใจเพียงเพื่อชื่อเสียงของตนเองหรือแสดงภูมิว่าเป็นผู้รู้ ผู้ช่ำชอง จนเป็นการเอื้อประโยชน์ และช่องทางให้กลุ่มขบวนการใช้เป็นเครื่องมือหรือตกเป็นเครื่องมือของกลุ่ม ขบวนการแบ่งแยกดินแดนโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังผลักดันให้มีการแบ่งแยก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกจากประเทศไทย  
         ทั้งที่ความสามารถของตนเองไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักการเมืองไทยพุทธ หรือนับถือศาสนาอิสลาม ลองใช้ความรู้ความสามารถของพวกท่านมาร่วมกันกับทุกฝ่ายทำให้บ้านเมืองภาคใต้ กลับสู่ความสงบ ไม่ต้องแบ่งแยกดินแดน นำสันติสุขมาสู่ประชาชนอย่างแท้จริงไม่ดีกว่าหรือ นี้เองเป็นผลที่มองได้ว่าการเมือง (politic ) ที่ไม่ได้จงใจแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกจากประเทศไทย หรือด้วยความรู้เพียงแค่ผลประโยชน์ของตน จนที่สุดเป็นเครื่องมือของกลุ่มขบวนการนำไปใช้ประโยชน์ เป็น “แนวร่วมมุมกลับ” โดยนักการเมืองนั่นเอง

สื่อมวลชน (Journalists)
       เปิดประเด็นหัวข้อนี้ ผู้เขียนคงไม่ต้องแยกว่าสื่อมวลชนประเภทไหน ชนิดใด ช่องทางอะไร แต่ขอรวมทั้งหมดในภาพกว้างทั้งคอลัมนิสต์, นักเขียน, นักวิจารณ์, พิธีกร, ผู้จัดรายการ ทั้งที่มีสังกัดและเสรี ทั้งนี้ตัวผู้เขียนเองมีความเห็นเป็นส่วนตัวว่า สื่อคือสิ่งสำคัญ และมีพลังอย่างยิ่งใหญ่ต่อโลกปัจจุบันโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ทั้งนี้พลังของสื่อนั้นยิ่งใหญ่จนประเมินไม่ได้ ดั่งสถานการณ์ของโลกที่เราเห็นอยู่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 9 – 11 หรือการนำเสนอข่าวสารของสหรัฐอเมริกาของสื่อ CNN ( Cable News Network) และฝ่ายตรงข้ามโลกอาหรับอย่าง อัลจาซีร่า 
       แม้แต่ในเอเชียที่สำคัญเช่น ประเทศมาเลเซีย ( The star ) หากเจาะลึกลงไปถึงในประเทศต่าง ๆ ที่มีปัญหาของสงครามปฏิวัติการก่อความไม่สงบในประเทศเช่น ในฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย สื่อในประเทศเหล่านี้จะร่วมกันต่อต้านความไม่สงบที่ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนเป็นเสียงเดียวกัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อคือสิ่งที่สร้างความสมดุล และนำเสนอข่าวสาร ข้อเท็จจริง ข้อมูลที่เป็นจริง โดยไม่บิดเบือนสู่สายตาประชาชน และการรับรู้อย่างทั่วถึงด้วยวิชาชีพและจรรยาบรร ( morality ) ซึ่งมีพลังที่ยิ่งใหญ่ และเปลี่ยนโลกนี้ได้จริงด้วยพลังของสื่อ
       มองดูปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2947 ( คศ.1999 ) ถึงปัจจุบัน มีการนำเสนอสื่อถึงเรื่องราวใน 3 จังหวัดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำเสนอภาพเหตุการณ์ออกสู่สายตาประชาชน และประชาคมโลก โดยแม้นแต่ขบวนการแบ่งแยกดินแดงเองก็มีความต้องการสื่อ และมีการนำสื่อต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมืออย่างแยบยล ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ฝ่ายรัฐเองก็มีความพยายามทำความเข้าใจร่วมมือกับสื่อมาอย่างต่อ เนื่อง แต่อาจมีมุมมองที่ต่างกันที่ฝ่ายสื่อมองว่ารัฐต้องการปิดบังข้อมูลความจริง
      ฝ่ายรัฐก็มองว่าสื่อนำเสนอข้อมูลในทางเดียวที่มุ่งสู่การขยายผลการ ปฏิบัติของกลุ่มขบวนการ ทั้งนี้เวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสุดท้ายทุกฝ่ายก็ต้องร่วมมือกันเพื่อผล ประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ที่ทั้งฝ่ายความมั่นคงและสื่อเองก็ไม่อยากให้เสียดินแดน 3 จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส  แบ่งแยกออกจากประเทศไทย 
      ตัวอย่างเหตุการณ์วันที่ 28 กรกฏาคม 2555 กลุ่มขบวนการได้แสดงศักยภาพของตนเองโดยสังหารเจ้าหน้าที่ทหาร ผ่านหน้ากล้อง CCTV จงใจแสดงศักยภาพ ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตจำนวน 4 นาย และภาพเผยแพร่อย่างรวดเร็วผ่านสื่อต่าง ๆ รวมถึงสื่อ Social Media ( youtube ), Facebook จนที่สุดฝ่ายความมั่นคงต้องออกมาขอร้องการนำเสนอภาพคลิบดังกล่าว และก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี ทุกคลิบ ทุกภาพ ทุกสื่อ งดแพร่กระจายคลิบดังกล่าวทันทีในวันต่อมา นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ทุกส่วนทุกฝ่ายมีความเห็นในทางเดียวกัน โดยเฉพาะสื่อมองเห็นว่านี้คือ ความมั่นคงของชาติ  

       สื่อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทั้งสื่อที่เป็นไทยพุทธ, ไทยมุสลิม, ไทยมาลายู, สื่อหลัก, สื่ออิสระ, สื่อท้องถิ่น, สื่อเชิงวิชาการ, สื่อที่เกาะติดสถานการณ์, นักวิจารณ์, คอลัมนิสต์ ทั้งที่มีสังกัดและเสรี รวมถึงสื่อทางเลือกของมือสมัครเล่น และนักวิชาการ ซึ่งในส่วนของนักวิชาการ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงในประเด็นต่อไป สื่อต่าง ๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมากมายนี่เอง ที่สถานการณ์ความไม่สงบจากสงครามปฏิวัติของกลุ่มขบวนการที่ใช้ประชาชนเป็นเหยื่อและเครื่องมือในการก่อการ เปิดโอกาสให้กับสื่อได้หยิบฉวยและสร้างโอกาสทางความคิด ทางอาชีพ จนบางคน บางกลุ่มลืมจรรยาบรรณและลืมไปว่านี่คือประเทศไทย และสื่อจะยอมเสียดินแดนตรงนี้ไปไห้กลุ่มขบวนการแล้วใช้ชื่อว่า ปัตตานีดารุสลามหรือไม่ 
     คงต้องถามใจสื่อเอง และผู้เขียนไม่ปฏิเสธว่าสื่อมีหน้าที่ต้องเสนอความจริง ตรวจสอบความจริงเพื่อสร้างสมดุลและความถูกต้องให้กับสังคม เพื่อป้องกันผู้ใดผู้หนึ่งมาแสวงประโยชน์จากสังคมนี้โดยขาดการตรวจสอบ

       ถูกต้องทุก ๆ สังคมที่ประกอบเป็นรัฐ ย่อมมีการตรวจสอบ แต่ทั้งนี้สื่อต้องไม่ลืมไปว่ากลุ่มขบวนการก็มีความต้องการสื่อเช่นกัน โดยเฉพาะการขยายผลสู่ประชาคมโลกได้รับรู้ 
        ทั้งนี้สุดท้ายก็อยู่ที่วิจารณญาณ และจรรยาบรรณของสื่อที่จะมีส่วนร่วมนำสันติสุขกลับสู่ประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไรโดยไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายกลุ่มขบวนการ   
        คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้ สื่อบางท่าน        มีรายได้เป็นกอบเป็นกำมีชื่อเสียงไปถึงระดับต่างประเทศเนื้อหาของสื่อที่ออก สู่สายตาชาวโลกโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นการสื่อให้โลกเข้าใจปัญหาที่แท้จริงในประเทศไทยของเรา หรือต้องการให้ต่างประเทศมาแทรกแซง เพื่อแบ่งประเทศแยกดินแดนออกจากประเทศไทยนี้ก็ต้องคิดดูกัน
       ถ้าถามว่ามีสื่อที่เป็นพวกกับกลุ่มขบวนการไหม คงไม่มีใครตอบได้นอกจากสื่อด้วยกันเอง และถ้าจะบอกว่าเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สื่ออิสระบางกลุ่มที่ต้องการชื่อเสียงไหม และถ้าดินแดน 3 จังหวัดแห่งนี้ถูกแยกออกไปจากประเทศไทยจะมีประโยชน์อะไรได้อีก นี่ก็คงต้องพิจารณากันไป ทั้งนี้ผู้เขียนว่าทุกฝ่ายต้องหันมาเห็นประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และต้องไม่มีการเสียดินแดนเป็นที่ตั้ง ต้องมีจุดยืนเดียวกัน แต่จะนำเสนอแบบไหนก็แล้วแต่ช่องทาง และความชำนาญในวิชาชีพของตน แต่ถ้าหวังเพียงผลประโยชน์ ชื่อเสียง เพื่อความมันส์ และเพียงเพื่ออัตตาของตนเอง โดยไม่นึกถึงประเทศชาติเป็นส่วนรวม นั่นแหละที่เขาเรียกว่า “เข้าทางโจร” แล้วท่านจะไปอยู่ที่ไหน

องค์กรภาคประชาสังคม NGO (Non Government  Orgnizations
       เหตุการณ์ปัญหาความไมสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 (คศ.1999) ทำให้เกิดองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ มากมาย ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และต่างประเทศ จุดหนึ่งที่ตอบได้อย่างมั่นใจว่าองค์กรภาคประชาสังคมทำให้หน่วยงานความมั่นคงทำงานได้อย่างลำบาก และขัดแย้งกันอยู่เนือง ๆ 
       แต่ต้องเข้าใจว่าองค์กรภาคประชาสังคม หรือ NGO คือผู้สร้างความสมดุล และดำรงซึ่งสิทธิมนุษยชนของทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ทุกศาสนา ซึ่งรายละเอียดของประเด็นหัวข้อนี้ ผู้เขียนเคยเขียนให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบแล้วในตอนที่ 3 ที่ผ่านมา จึงขอสรุปเพียงว่าองค์กรภาคประชาสังคมหรือ NGO ควรหันหน้ารับฟังอย่างรอบด้าน และต้องมีการตรวจสอบข้อมูลจากทุกด้าน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มขบวนการ รวมถึงต้องนึกถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นที่ตั้ง  
         หากผลประโยชน์ส่วนตนมาบดบังความถูกต้องเสียแล้ว ความสมดุลของมนุษยชาติย่อมไม่เกิด ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีการแก้ปัญหาของรัฐน่าจะต้องนำมารายงานหรือไม่ NGO ต้องควรนำไปพิจารณา การตอกย้ำ ซ้ำ ๆ ปัญหาเป็นสิ่งถูกต้องกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ แล้วประชาชนที่ถูกกระทำที่ไม่ใช่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ชาติพันธ์อื่นไม่ถูกกล่าวถึงในเวทีสากล สิทธิความเท่าเทียมต้องมีขึ้นกับมนุษยชาติ ทุกชาติพันธ์ ทุกศาสนา ทุกภาษาไม่ใช่หรือ และถึงเวลาหรือยังที่องค์กรภาคประชาสังคม หรือ NGO จะมองถึงจุดหมายของการไม่แบ่งแยกดินแดน และอยู่ร่วมกันได้ของทุกชาติพันธ์หรือถ้าแบ่งแยกดินแดนไปแล้ว องค์กรภาคประชาสังคม หรือ NGO ที่เป็นคนไทยเขียนรายงานไปต่างประเทศจะภูมิใจไหมที่มีส่วนให้การแบ่งแยก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกจากประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ แล้วต่อไปจะไปแยกส่วนไหนของประเทศไทยออกอีก     

นักวิชาการ ( Academician )
       ประเด็นตรงนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงอย่างน้อยนิด ด้วยความรู้ ความสามารถของผู้เขียนเองมีน้อยมากในตรงนี้ ผู้เขียนขอรวมถึงนักวิชาการทั้งหมดที่ติดตาม เขียน วิจารณ์ และพยายามหาทางออกให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงนักวิชาการด้านศาสนาทุกศาสนาโดยเฉพาะศาสนาอิสลาม และนักวิชาการด้านความมั่นคง   โดยความสำคัญของความเป็นนักวิชาการที่ฝ่ายรัฐสามารถนำมาใช้พิจารณาประกอบการ แก้ปัญหาความไม่สงบได้สัมฤทธิ์ผลได้ดีทีเดียวแต่ทั้งนี้นักวิชาการต้องเข้า มามีส่วนร่วมอย่างจริงใจ และต้องไม่มีผลประโยชน์ ชื่อเสียง หรือการเงิน  
       ขอให้มองผ่านจุดนี้ไป โดยเห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง และต้องไม่มีการแบ่งแยกดินแดน นักวิชาการศาสนาถึงเวลาออกมาร่วมแสดงออกให้สาธารณชนได้เข้าใจเรื่องของศาสนา ที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ไม่บิดเบือนทุกฝ่ายต้องออกมาแสดงให้ทุกคนรับรู้ในมุมมองของตนตามหลักการ ทางช่องทางต่าง เพราะหากนิ่งเฉยด้วยเพราะความกลัวหรือไม่แสดงออกก็เท่ากับว่า สิ่งที่ฝ่ายขบวนการกระทำนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่
       การนำเสนอของนักวิชาการนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถเป็นแนวทางที่นำมาสู่การปฏิบัติได้จริง การออกมาร่วมมือให้ข้อคิดเห็นล้วนมีประโยชน์ แต่ถ้าประโยชน์นั้นไม่สามารถเอื้อต่อฝ่ายรัฐไทย แต่ไปเอื้อให้กับฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ก่อการร้ายกระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์นั้น นักวิชาการก็ควรต้องมานั่งทบทวนอย่างจริงจังก่อนนำเสนอข้อมูลออกไปสู่สาธารณชนหรือไม่

องค์กรนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ( Student Organization
               ในตอนที่ 1 และ 2 ของแนวร่วมมุมกลับจากเว็บไซต์ที่เคยนำเสนอแล้วได้กล่าวให้ผู้อ่านได้เข้าใจแล้วอย่างละเอียด ฉะนั้นตอนนี้ขอสรุปเพียงเข้าใจว่าพลังนักศึกษามีส่วนขับเคลื่อนอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของประเทศในอดีตที่ผ่านมา 
         แต่ถ้าเจาะลงไปที่องค์การนักศึกษาที่เป็นมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้บางกลุ่มที่มุ่งเคลื่อนไหวเพื่อความขัดแย้งของชาติพันธุ์และศาสนา โดยที่สถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาส่วนใหญ่นิ่งเฉย  
        หรือจะปฏิเสธว่าไม่มีนักศึกษาอุดมศึกษามุสลิมบางคน เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อเหตุรุนแรง และแฝงตัวอยู่กับนักศึกษาส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่กรุงเทพมหานคร 
         เมื่อหลับหู หลับตานิ่งเฉยอย่างนี้ จะมีประโยชน์อะไรที่บัณฑิตจากอุดมศึกษาที่รับนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีนักศึกษาจากนอก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเรียนในมหาวิทยาลัยเลย 
        ด้วยเพราะอิทธิพลมืดกลุ่มนักศึกษาที่นิยมจักรวรรดิของความรุนแรง ในโลกที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องปัจจุบันมนุษย์ชาติกลุ่มเดียวคงไม่อาจอยู่ร่วมกับชาติพันธุ์อื่นได้ หากมีความคิดที่สุดโต่งขัดแย้งกับผู้อื่น  
        ความเป็นบัณฑิตและสถาบันที่ผลิตบุคลากรเพื่อไปพัฒนาสังคม และประเทศคงต้องถึงเวลาทบทวนที่นักศึกษามุสลิมส่วนใหญ่และสถาบันอุดมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องร่วมกันผลักดันความรุนแรงสุดโต่งออกจากสังคม และออกมาแสดงให้สาธารณชนได้รับรู้ว่า ความรุนแรงเพื่อแบ่งแยกสังคม สุดท้ายพวกท่านต้องเป็นผู้ที่จะประกาศให้สังคมรู้ว่านักศึกษามุสลิมส่วนใหญ่และสถาบันอุดมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการความสงบที่อยู่ร่วมกันได้ ทุกชาติพันธุ์ ภาษา ทุกศาสนา และไม่แบ่งแยกดินแดนออกจากประเทศไทยแล้วท่านกล้าหรือกลัวที่จะรักษาประเทศชาติ

         ตอนจบของแน่วร่วมมุมกลับนี้ อาจเป็นบทสรุปของความหมายทางวิชาการความมั่นคง เรื่องแนวร่วมมุมกลับก็ได้หรือมีมากกว่านี้ก็ได้ในมุมมองของผู้เขียน และผู้อ่านตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับ 4 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ สงขลาบางส่วน ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่นของโลกด้วยปัจจัยและสภาพแวดล้อมความเป็นมาที่ที่ ต่างกันแต่ที่เหมือนกันทั่วโลกคือความโหดร้ายทารุณของสงครามปฏิวัติ โดยใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือก่อความรุนแรงที่มี ศาสนา ชาติพันธุ์ ภาษาเป็นข้ออ้างเพื่ออำนาจของกลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่งมีกลุ่มคนอีกหลายส่วนที่ลงมาร่วมหรือคล้อยตาม และหลงในวังวนของสงครามนี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น 
           เพียงคำว่า อัตลักษณ์ เท่านั้น ที่เป็นตัวอันตรายทึ่เกิดความทุกเข็นของมนุษยชาติในครั้งนี้ ความเป็นตัวตน ความเป็นเจ้าของบางสิ่งที่ผูกมัดกับคำว่า อัตลักษณ์ตัวกูของกู จึงก่อเกิดสงครามและการต่อสู้ที่สร้างแต่ความเดือดร้อนอย่างไม่จบสิ้น และ หาก  
        ทุกฝ่ายลดอัตลักษณ์ของตนเอง ลดความเป็นตัวกูของกูและเข้าหากันอย่างสันตินั่นแหละ ทุกชาติพันธุ์ ทุกภาษา ทุกศาสนาก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขในโลก รวมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
----------------------------------
บินหลาดง   นรา
http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม