โดย ..อิมรอน
องค์กรภาคประชาสังคมฝ่ายการเมืองของ ผกร. แสวงประโยชน์จากกลไกกระบวนการสันติภาพ จากการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาและในปัจจุบันกลับพบว่าองค์กรภาคประชาสังคมมักจะไม่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างรัฐบาลกับประชาชน แต่กลับขับเคลื่อนงานการเมืองสนับสนุน BRN มุ่งไปยังเป้าหมายคือ“เอกราช”ด้วยการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่รวมไปถึงต่างประเทศ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงก็จะลงไปตรวจสอบไปเยี่ยมครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ สร้างภาพโชว์ผลงานด้วยการกล่าวหาโจมตี บิดเบือนข้อเท็จจริงว่าเกิดจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สื่อทางเลือก เป็นการจุดประเด็นขยายผลสื่อไปยังต่างชาติ เพื่อวัตถุประสงค์ต้องการขอรับเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ
นี่คือความจริงที่อยู่ภายใต้หน้ากากขององค์กรภาคประชาสังคมชายแดนใต้ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ น่าเศร้าใจจริงๆ ไม่เพียงแต่คนไทยและประชาชนในพื้นที่เท่านั้นที่โดนหลอก แม้แต่ฝรั่งเจ้าของเงินทุนสนับสนุนยังตามไม่ทันเล่ห์เพอุบาย ความลื่นไหลขององค์กรเหลือบริ้นไรเหล่านี้ ได้อาศัยสถานการณ์บังหน้าแฝงกายซุกใต้ปีกขบวนการแต่งแต้มหน้าตาเหมือนผู้ใจบุญ ช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย, ด้านสิทธิมนุษยชน ให้การช่วยเหลือเด็กกำพร้า, หญิงหม้าย และสตรีที่ได้รับผลกระทบแต่เบื้องลึกแล้วเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่มุ่งแสวงประโยชน์เพื่อตนเองและขบวนการเท่านั้น
ขออภัยองค์กรภาคประชาสังคมที่ดี ทำงานเพื่อส่วนรวมจริงๆ ผู้เขียนจำเป็นจะต้องออกมากระชากหน้ากาก ความจัญไรขององค์กรภาคประชาสังคมหลายองค์กรที่กระทำตัวเป็นอีแอบ หากไม่นำข้อมูลมาเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้ ประชาชนก็ยังหลงเชื่อเยินยอไม่รู้ธาตุแท้ขององค์กรเหล่านี้ และพลอยทำให้องค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้อื่นๆ พลอยได้รับความมัวหมอง...
มิน่าล่ะ! ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมองค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีจำนวนมากถึง 419 องค์กร ลองคิดเล่นๆ ดูว่าเงินสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศในแต่ละปีจะมียอดจำนวนเท่าไหร่? คิดไปก็ไร้ประโยชน์ ผู้ที่รับประโยชน์เต็มๆ คือใคร? ผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึงดีกว่า แต่ขอฝากผ่านไปยัง 419 องค์กรว่า องค์กรของท่านได้มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาไฟใต้ หรือเป็นการซ้ำเติมปัญหาไฟใต้กันแน่...ตัวของท่านเองย่อมรู้ดีกว่าใครอื่น..แต่อีกไม่นานประชาชนจะรู้เท่าทันปิดได้ไม่นานหรอก....
http://pulony.blogspot.com/2015/01/419-ngos.html
พื้นที่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก พื้นที่ไหนมีการขัดแย้งยืดเยื้อยาวนาน และมีปัญหาความรุนแรงต่อพลเรือนที่ไม่ใช่ทหาร ยิ่งมีการก่อเหตุส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้บริสุทธิ์มากเท่าไหร่ จะเป็นช่องทางที่กลุ่มองค์กรนานาชาติ เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนเงินทุนและให้ความรู้เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการสันติภาพ โดยขับเคลื่อนกิจกรรมผ่านตัวแทนในพื้นที่
ตัวแทนในพื้นที่ที่มีการขับเคลื่อนมี 3 ระดับด้วยกัน คือผู้นำระดับสูง (Top Leaders) ผู้นำระดับกลาง (Middle-Level Leaders) และผู้นำระดับรากหญ้า (Grassroots Leaders)
ผู้นำระดับรากหญ้า (Grassroots Leaders) ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่นระดับเล็กที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ภาคประชาสังคม, NGOs ท้องถิ่น จะขับเคลื่อนโดยคณะทำงานเพื่อสันติภาพในระดับหมู่บ้าน การให้ความรู้และฝึกอบรมเรื่องสันติภาพในระดับรากหญ้า ตลอดจนการลดอคติ ความเกลียดชัง รวมไปถึงการช่วยเหลือเยียวยาที่เกิดขึ้นบนความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีหลายองค์กรที่ได้ดำเนินการเคลื่อนไหวอยู่
เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีการจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคมดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดสันติภาพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตามมีการเคลื่อนไหวชิงความได้เปรียบในด้านสังคมจิตวิทยา มีการต่อต้านการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุข มีการโจมตีทุ่งยางแดงโมเดล เพื่อมุ่งทำลายยุทธศาสตร์ และวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างกองกำลังภาคประชาชนของรัฐบาล
องค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกลไกที่เกิดขึ้นจากการผลักดันของต่างชาติ และเป็นกลไกสากลทำให้ได้รับการยอมรับของนานาประเทศ ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐบาล แต่ในปัจจุบันองค์กรภาคประชาสังคมได้กลายเป็นปัญหาต่อความมั่นคง ไม่ใช่เป็นองค์กรที่จะช่วยแก้ปัญหาไฟใต้ที่คนทั่วไปเข้าใจอีกต่อไปแล้ว แต่กลับกลายเป็นว่าองค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กรหาจังหวะคอยซ้ำเติมราดน้ำมันบนกองเพลิงไฟใต้
องค์กรภาคประชาสังคมฝ่ายการเมืองของ ผกร. ได้แสดงบทบาทสำคัญในการต่อสู้ โดย BRN ใช้ยุทธศาสตร์สงครามประชาชนนำไปสู่เป้าหมาย คือ “เอกราช” และ “ยุทธศาสตร์วิธีสงครามกองโจร” (ญิฮาด) รวมทั้งสงครามข่าวสาร (IO) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการก่อเหตุของกำลังทหาร ควบคู่กับเน้นงานการเมืองเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย“การกำหนดใจตนเอง” ในการแยกดินแดนเป็นอิสระจากรัฐบาลไทย
ขณะที่ภาคประชาสังคมฝ่ายการเมืองซึ่งทำการขับเคลื่อนโดยกลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี (PerMAS) ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดใจตนเอง เพื่อนำไปสู่การลงประชามติในอนาคต มีความประสานสอดคล้องกันระหว่าง BRN กับ PerMAS
กลุ่ม PerMAS พยายามสื่อให้ประชาชน และต่างชาติเห็นว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ขัดแย้งด้วยอาวุธ ประชาชนมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง และเป็นดินแดนที่ถูกยึดครองจากรัฐไทย อีกทั้งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง
เมื่อองค์กรภาคประชาสังคมฝ่ายการเมืองของ ผกร. กลายเป็นตัวแสดงสำคัญในการต่อสู้อีกทั้งยังได้รับท่อน้ำเลี้ยงอย่างดีจากต่างชาติ จึงเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่เจริญเติบโตแตกกิ่งก้านสาขาและเข้มแข็ง จะเห็นได้ว่ามีการรุกรอบใหม่ตีโจทย์ให้แคบขึ้นโดยมุ่งปลุกเร้าในการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องสันติภาพในระดับรากหญ้า
ไม่น่าเชื่อว่าภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมา ณ ปัจจุบันนี้มีถึง 419 องค์กรด้วยกัน
เมื่อนำรายชื่อภาคประชาสังคมมาแยกแยะจัดหมวดหมู่แบ่งออกเป็น 12 กลุ่มงานด้วยกัน ประกอบด้วย 1) ผู้หญิง 107 องค์กร, 2) การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม 88 องค์กร, 3) สื่อสาธารณะ 43 องค์กร, 4) เยียวยา 35 องค์กร, 5) เยาวชน 33 องค์กร, 6) วิชาการ 31 องค์กร, 7) พัฒนาชุมชน 31 องค์กร, 8) สาธารณสุข 14 องค์กร, 9) ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 11 องค์กร, 10) เครือข่าย 10 องค์กร, 11) เศรษฐกิจ 10 องค์กร, 12) สิทธิมนุษยชน 6 องค์กร
พื้นที่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก พื้นที่ไหนมีการขัดแย้งยืดเยื้อยาวนาน และมีปัญหาความรุนแรงต่อพลเรือนที่ไม่ใช่ทหาร ยิ่งมีการก่อเหตุส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้บริสุทธิ์มากเท่าไหร่ จะเป็นช่องทางที่กลุ่มองค์กรนานาชาติ เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนเงินทุนและให้ความรู้เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการสันติภาพ โดยขับเคลื่อนกิจกรรมผ่านตัวแทนในพื้นที่
ตัวแทนในพื้นที่ที่มีการขับเคลื่อนมี 3 ระดับด้วยกัน คือผู้นำระดับสูง (Top Leaders) ผู้นำระดับกลาง (Middle-Level Leaders) และผู้นำระดับรากหญ้า (Grassroots Leaders)
ผู้นำระดับรากหญ้า (Grassroots Leaders) ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่นระดับเล็กที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ภาคประชาสังคม, NGOs ท้องถิ่น จะขับเคลื่อนโดยคณะทำงานเพื่อสันติภาพในระดับหมู่บ้าน การให้ความรู้และฝึกอบรมเรื่องสันติภาพในระดับรากหญ้า ตลอดจนการลดอคติ ความเกลียดชัง รวมไปถึงการช่วยเหลือเยียวยาที่เกิดขึ้นบนความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีหลายองค์กรที่ได้ดำเนินการเคลื่อนไหวอยู่
เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีการจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคมดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดสันติภาพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตามมีการเคลื่อนไหวชิงความได้เปรียบในด้านสังคมจิตวิทยา มีการต่อต้านการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุข มีการโจมตีทุ่งยางแดงโมเดล เพื่อมุ่งทำลายยุทธศาสตร์ และวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างกองกำลังภาคประชาชนของรัฐบาล
องค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกลไกที่เกิดขึ้นจากการผลักดันของต่างชาติ และเป็นกลไกสากลทำให้ได้รับการยอมรับของนานาประเทศ ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐบาล แต่ในปัจจุบันองค์กรภาคประชาสังคมได้กลายเป็นปัญหาต่อความมั่นคง ไม่ใช่เป็นองค์กรที่จะช่วยแก้ปัญหาไฟใต้ที่คนทั่วไปเข้าใจอีกต่อไปแล้ว แต่กลับกลายเป็นว่าองค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กรหาจังหวะคอยซ้ำเติมราดน้ำมันบนกองเพลิงไฟใต้
องค์กรภาคประชาสังคมฝ่ายการเมืองของ ผกร. ได้แสดงบทบาทสำคัญในการต่อสู้ โดย BRN ใช้ยุทธศาสตร์สงครามประชาชนนำไปสู่เป้าหมาย คือ “เอกราช” และ “ยุทธศาสตร์วิธีสงครามกองโจร” (ญิฮาด) รวมทั้งสงครามข่าวสาร (IO) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการก่อเหตุของกำลังทหาร ควบคู่กับเน้นงานการเมืองเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย“การกำหนดใจตนเอง” ในการแยกดินแดนเป็นอิสระจากรัฐบาลไทย
ขณะที่ภาคประชาสังคมฝ่ายการเมืองซึ่งทำการขับเคลื่อนโดยกลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี (PerMAS) ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดใจตนเอง เพื่อนำไปสู่การลงประชามติในอนาคต มีความประสานสอดคล้องกันระหว่าง BRN กับ PerMAS
กลุ่ม PerMAS พยายามสื่อให้ประชาชน และต่างชาติเห็นว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ขัดแย้งด้วยอาวุธ ประชาชนมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง และเป็นดินแดนที่ถูกยึดครองจากรัฐไทย อีกทั้งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง
เมื่อองค์กรภาคประชาสังคมฝ่ายการเมืองของ ผกร. กลายเป็นตัวแสดงสำคัญในการต่อสู้อีกทั้งยังได้รับท่อน้ำเลี้ยงอย่างดีจากต่างชาติ จึงเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่เจริญเติบโตแตกกิ่งก้านสาขาและเข้มแข็ง จะเห็นได้ว่ามีการรุกรอบใหม่ตีโจทย์ให้แคบขึ้นโดยมุ่งปลุกเร้าในการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องสันติภาพในระดับรากหญ้า
ไม่น่าเชื่อว่าภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 47 เป็นต้นมา ณ ปัจจุบันนี้มีถึง 419 องค์กรด้วยกัน
เมื่อนำรายชื่อภาคประชาสังคมมาแยกแยะจัดหมวดหมู่แบ่งออกเป็น 12 กลุ่มงานด้วยกัน ประกอบด้วย 1) ผู้หญิง 107 องค์กร, 2) การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม 88 องค์กร, 3) สื่อสาธารณะ 43 องค์กร, 4) เยียวยา 35 องค์กร, 5) เยาวชน 33 องค์กร, 6) วิชาการ 31 องค์กร, 7) พัฒนาชุมชน 31 องค์กร, 8) สาธารณสุข 14 องค์กร, 9) ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 11 องค์กร, 10) เครือข่าย 10 องค์กร, 11) เศรษฐกิจ 10 องค์กร, 12) สิทธิมนุษยชน 6 องค์กร
นี่คือความจริงที่อยู่ภายใต้หน้ากากขององค์กรภาคประชาสังคมชายแดนใต้ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ น่าเศร้าใจจริงๆ ไม่เพียงแต่คนไทยและประชาชนในพื้นที่เท่านั้นที่โดนหลอก แม้แต่ฝรั่งเจ้าของเงินทุนสนับสนุนยังตามไม่ทันเล่ห์เพอุบาย ความลื่นไหลขององค์กรเหลือบริ้นไรเหล่านี้ ได้อาศัยสถานการณ์บังหน้าแฝงกายซุกใต้ปีกขบวนการแต่งแต้มหน้าตาเหมือนผู้ใจบุญ ช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย, ด้านสิทธิมนุษยชน ให้การช่วยเหลือเด็กกำพร้า, หญิงหม้าย และสตรีที่ได้รับผลกระทบแต่เบื้องลึกแล้วเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่มุ่งแสวงประโยชน์เพื่อตนเองและขบวนการเท่านั้น
ขออภัยองค์กรภาคประชาสังคมที่ดี ทำงานเพื่อส่วนรวมจริงๆ ผู้เขียนจำเป็นจะต้องออกมากระชากหน้ากาก ความจัญไรขององค์กรภาคประชาสังคมหลายองค์กรที่กระทำตัวเป็นอีแอบ หากไม่นำข้อมูลมาเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้ ประชาชนก็ยังหลงเชื่อเยินยอไม่รู้ธาตุแท้ขององค์กรเหล่านี้ และพลอยทำให้องค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้อื่นๆ พลอยได้รับความมัวหมอง...
มิน่าล่ะ! ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมองค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีจำนวนมากถึง 419 องค์กร ลองคิดเล่นๆ ดูว่าเงินสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศในแต่ละปีจะมียอดจำนวนเท่าไหร่? คิดไปก็ไร้ประโยชน์ ผู้ที่รับประโยชน์เต็มๆ คือใคร? ผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึงดีกว่า แต่ขอฝากผ่านไปยัง 419 องค์กรว่า องค์กรของท่านได้มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาไฟใต้ หรือเป็นการซ้ำเติมปัญหาไฟใต้กันแน่...ตัวของท่านเองย่อมรู้ดีกว่าใครอื่น..แต่อีกไม่นานประชาชนจะรู้เท่าทันปิดได้ไม่นานหรอก....
-----------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น