วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ไม่แตกต่าง โจรฟาตอนี ฆ่ามุสลิมภาคใต้ Isis ฆ่ามุสลิมในอีรัก

เปิดม่านความจริง [The Truth]

ความเป็นมากลุ่มรัฐอิสลาม ก่อเกิดวิกฤติในอิรัก (Crisis in Iraq)...
อย่างที่รู้กันว่าอิรักเป็นประเทศที่ผู้คนนับถืออิสลามซึ่งอิสลามก็แบ่งเป็นนิกายย่อยอีกที่สำคัญคือชีอะห์และสุหนี่ อิรักตอนนี้เจอวิกฤตหนักในหลายปีที่ผ่านมา ประเทศแขวนอยู่บนหน้าผาที่ประเทศจะต้องแตกแยกกระจัดกระจายออกเพราะการสู้รบโจมตีโดยกลุ่มมุสลิมสุหนี่

Iraq is facing its most severe crisis in years, with the country on the brink of break-up amid lightning offensives by Sunni Muslim militants.


กลุ่มสุหนี่รุนแรงที่มีบทบาทสำคัญคือกลุ่มไอซิส (ISIS) ที่อยู่ในอิรักและซีเรีย ซึ่งกลุ่มนี้ก็อ้างความเป็นรัฐอธิปไตยเหนือดินแดนอิรักและซีเรียซึ่งในอนาคตก็จะขยายไปประเทศใกล้เคียงอีก

เหตุการณ์ไม่สงบในปัจจุบันมีที่มาจากเมื่อเดือน ธ.ค. กลุ่มหัวรุนแรงสุหนี่พยายามก่อตั้งรัฐอิสลามขึ้นในอิรักและซีเรียโดยได้ยึดเมืองฟาลูจา กลุ่มสุหนี่หัวรุนแรงหรือไอซิสนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนเผ่าในท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มไอซิสฉวยโอกาสจากการที่ชาวสุหนี่ไม่พอใจโกรธแค้นในวงกว้างต่อนายกรัฐมนตรีอิรักที่ชื่อ นูรี มาลิคี(คนในภาพที่สาม) ซึ่งเป็นคนชีอะห์ โดยชาวสุหนี่กล่าวหาว่านายกคนนี้ใช้อำนาจกลั่นแกล้งชาวสุหนี่และผูกขาดอำนาจแต่ผู้เดียว

Current events kicked off in December when Sunni militants seeking to create an Islamic state in Iraq and Syria seized the central city of Falluja. Backed by local tribesmen, the militants exploited widespread anger among Sunni Arabs, who accuse Prime Minister Nouri Maliki, a Shia, of discriminating against them and monopolising power.
หกเดือนต่อมา กลุ่มรุนแรงไอซิสเริ่มโจมตีเมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของอิรัก คือโมซูล ทางภาคเหนือ ทหารอิรักราวสามหมื่นนายยอมวางอาวุธและหลบหนีไปเมื่อเผชิญหน้ากับกลุ่มติดอาวุธไอซิสราวแค่แปดร้อยคน กลุ่มไอซิสได้แรงใจเดินหน้าบุกต่อไปทางใต้ไปสู่เมืองหลวง

Six months later, the militants launched an assault on Iraq's second largest city, Mosul, to the north. Thirty-thousand soldiers dropped their weapons and fled when confronted by an estimated 800 gunmen. Emboldened, the militants advanced southwards, towards the capital.

นิดนึงครับกลุ่มไอซิส (ISIS)นี้มีชื่อเต็มว่า the Islamic State in Iraq and the Levant หรือเรียกย่อๆว่า ISIS เป็นกลุ่มย่อยที่แตกตัวมาจากกลุ่มอัลเกด้า (al-Qaeda)ของนายอุซมา บินลาเดน ครับ จุดประสงค์ของกลุ่มนี้คือต้องการสถาปนารัฐอิสลามขึ้นโดยการยึดครองจากประเทศในแถบนี้ครับ

แม้ว่าถ้าดูจำนวนของไอซิสแล้วมีอยู่แค่ไม่กี่พันคน แต่ว่ากลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากในอิรัก ความสนับสนุนนั้นมาจากกลุ่มชนเผ่าที่นับถือสุหนี่และกลุ่มอดีตทหารชาวอิรักซึ่งได้ถูกสหรัฐอเมริกาโจมตีมาก่อนและต้องสลายตัวไปเมื่อนายซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่นจากอำนาจ

Although ISIS numbers only an estimated few thousand fighters, they are hugely bolstered in Iraq by support from Sunni tribesmen and former soldiers from the Iraqi army, which was controversially dissolved by the US after the overthrow of Saddam.

สถานการณ์ความรุนแรงเล่นเอากองทัพอิรักต้องเครียดหัวหมุนจากความขัดแย้งและการโจมตีอย่างรุนแรงจากกลุ่มไอซิส ซึ่งโจมตีทั้งในรูปแบบระเบิดพลีชีพ ฆ่าตัดศีรษะ จนถึงนำตัวไปตรึงกางเขน หรือปล่อยคนทิ้งกลางทะเลทราย และหน่วยทหารและความมั่นคงของประเทศยังอ่อนแอเรื่อยๆจากความตึงเครียดจากเรื่องนิกายศาสนา การใช้อำนาจข่มเหงและ การทุจริตคอร์รัปชั่น

Troops have since become increasingly disillusioned by the grinding conflict and ISIS's ferocious attacks - from suicide bombings to beheadings and crucifixions - leading many to desert. The security forces are also said to have been steadily weakened by sectarian tensions, abuses and corruption.

ตามประวัติศาสตร์เป็นเวลามากกว่าหนึ่งพันปีแล้ว ที่อิรักเป็นสนามรบในเหตุการณ์ครั้งแล้วครั้งเล่าซึ่งเกิดจากความแตกแยกทางศาสนาระหว่างกลุ่มนิกายสุหนี่และชีอะห์ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมากลุ่มอาหรับสุหนี่ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของอิรักได้ครองประเทศและมีการกดขี่ข่มเหงขาวชีอะห์ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศทำให้เกิดความแบ่งแยกโกรธแค้นกันระหว่างสองนิกาย การที่ซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่นอำนาจไปถือเป็นประตูเปิดโอกาสให้กลุ่มชีอะห์กลับมามีอำนาจได้

For more than 1,000 years, Iraq has served as a battleground for many of the events that have defined the schism between Sunni and Shia Muslims. In recent decades, the dominance of Iraq's minority Sunni Arabs and their persecution of the Shia majority only served to stoke sectarian tensions. The overthrow of Saddam Hussein gave the Shia an opportunity to seek redress.

ในด้านมุมมองต่างประเทศ อเมริกาถือว่ากลุ่มไอซิส เป็นภัยต่อทั้งภูมิภาค และบารัค โอบามา ก็พยายามทุกทางรวมทั้งทางทหารเพื่อช่วยรัฐบาลอิรัก แต่ด้านสหรัฐก็ยืนยันว่าโอบามายังไม่คิดจะส่งทหารกลับไปที่อิรัค

The US has said ISIS is "a threat to the entire region" and President Barak Obama is looking at all options - including military ones - to help the Iraqi government. However, officials have insisted he is not contemplating sending US troops back to Iraq.
ด้านฝ่ายเพื่อนบ้านอิรัก คืออิหร่านประธานาธิบดีฮัสซาน รูฮานี ประนามกลุ่มไอซิสว่าโหดร้ายป่าเถื่อนและกล่าวว่ารัฐบาลของกรุงเตหะรานแห่งอิหร่านจะไม่ลังเลที่จะปกป้องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชีอะห์ไม่ว่าจะเป็น การ์บาลา, นาจาฟ, แบกแดด และซามาร่า ด้านฟากเตอร์กีหรือตุรกีก็เตือนว่าจะใช้กำลังตอบโต้แน่นอนถ้ากลุ่มชาวตุรกีของตนที่ถูกจับตัวไปโดยกลุ่มไอซิสทางตอนเหนือของอิรักได้รับอันตราย

Iranian President Hassan Rouhani has denounced ISIS as "barbaric" and said Tehran will not hesitate to protect Shia holy sites in Karbala, Najaf, Baghdad and Samarra. Turkey has warned that it will retaliate if any of the dozens of its citizens recently seized by ISIS in northern Iraq are harmed.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม