วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

โต๊ะหมอแขก คาถา อาคม เครื่องราง ของขลัง ตะกรุต อาซีมัต


          ในชุมชน ที่มุสลิมอาศัยอยู่ จะมีหมอประจำอยู่ ที่เขาเรียกว่าโต๊ะหมอแขก มีทั้งโต๊ะหมอที่เป็นผู้ชาย และเป็นผู้หญิง อาจมีการแต่งกายที่ดูแล้วขลังหรือดูเป็นผู้เคร่งคลัดในศาสนา โต๊ะหมอแขกในที่นี้ หาใช่หมอที่มีการรักษาด้วยยาสมุนไพร่ หรือ ยาแผนปัจจุบันไม่ 

          แต่เป็นหมอทีมีการรักษาด้วยการปัดเป่าจากดุอาอ์ หรือคาถาอาคมต่างๆ ซึ่งอาจเป็นอัลกุรอาน หรือคาถาที่เป็นภาษาบาลีสัตกฤต หรือภาษาใด ๆ ก็ตาม ซึ่งอาจปัดเป่าไปยังที่แผล หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผู้รับรักษา เช่น กระหม่อม หน้าผาก หรือการกล่าวแล้วเป่าลงไปในน้ำที่เตรี่ยมไว้แล้วให้ผู้ป่วยไปดื่มกิน หรือขบเคี้ยวสิ่งหนึ่ง เช่น หมากกับใบพลูและปูน พร้อมกล่าวดุอาอ์ หรือคาถาอาคม แล้วนำหมากพลูที่เคี่ยวละเอียดที่ผ่านการกล่าวดุอาอ์หรือคาถานั้นแล้ว ให้ผู้ป่วยนำไปทาที่แผล หรือบริเวณที่เกิดโรค หรือไม่โต๊ะหมอก็คายหมากที่เคี้ยวหรือเป่าไปที่บริเวณจะรักษานั้น 

          นอกจากนี้ ยังมีการทำเครื่องรางของขลัง เช่น ตะกรุด หรืออาซีมัต หรือเส้นด้าย อาจมีสีขาวล้วนๆ หรือมีหลายสี และมีการใส่อายะฮฺอัลกุรอาน คำคาถาภาษาบาลีสันตกฤตหรือวัตถุอื่นๆ เช่น กระดูกงู กระดูกจระเข้ ในตะกรุด หรืออาซีมัตนั้น แล้วมีการเป่าดุอาอ์ หรือเสกคาถาลงไปที่ตะตะกรุด หรืออาซีมัต หรือเส้นด้ายนั้น หรือนำตะกรุด หรือเส้นด้ายจุ่มลงไปในน้ำที่เตรียมไว้ แล้วเป่าคาถาลงไป แล้วมอบไห้ผู้ทำการรักษาไปสวมไว้ที่คอ สวมไว้แขนข้อมือ รอบเอว หรือแขวนไว้ที่หน้ารถ หัวเรือ หรืออาจทำเป็นปลัดคลิกแล้วนำสวมไว้ที่รอบเอวอีกด้วย

          นอกจากนี้ โต๊ะหมอแขก ยังอาจเป็นหมอดู ทำนายทายทัก ดูดวงโชคลางต่างๆ ดูวันฤกษ์ยามต่างๆ เช่น ดูวันฤกษ์ยามดีในการแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ หรือออกรถ เป็นต้น เมื่อผู้ใดมีของสูญหาย มีคนลักขโมย มีคนที่เป็นเครือญาติสูญหาย หรือเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบายใจ หรือกิจการงาน หรือทำการค้าขายไม่ได้เท่าที่ควรก็จะมาหาโต๊ะหมอแขก เพื่อจะให้ดูว่าของนั้นอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้ขโมยไป หรือดูว่าคนที่สูญหายอยู่ที่ไหน มีชีวิตอยู่อีกหรือไม่ หรือการเจ็บป่วย หรือการดำเนินกิจการไม่ได้กำไรเท่าที่ควร มันเกิดอะไรขึ้น (ท่านอิหม่ามอะห์มัดกล่าวว่า อิรอฟะห์(การทำนายของหาย) เป็นส่วนหนึ่งของไสยศาสตร์ จากหนังสืออัลมุฆนียฺ ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 20 หน้า 13) 

         โต๊ะหมอแขก ก็อาจมีการจุดเทียน หรือใส่น้ำในภาชนะ แล้วมีการกล่าวดุอาอ์หรือมนต์คาถาต่าง ๆ แล้วเมื่อตนเห็นอะไรแล้ว ก็จะบอกผู้มาหาว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ที่เจ็บป่วยเป็นประจำ หรือค้าขายไม่ได้ มีคนมาทำของ(ถูกของ)หรือไสยศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้โต๊ะหมอแขกบางคนยังเป็นผู้ทำคุณไสยฯ และแก้คุณไสยอีกด้วย เช่น ทำให้คนนั้น รัก เกลียด หลง เป็นบ้า หรือเจ็บป่วย เป็นต้น

         สำหรับ การรักษาต่าง ๆ จากโต๊ะหมอแขก ไม่ใช่ว่าจะทำการรักษากัน ฟรีๆ หรือทำการเสกเป่าตะกุด หรืออะซีมัต โดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ต้องจ่ายค่าทำหมอ ที่เรียกว่าค่าสงคลาด หรือค่าหลาด โต๊ะหมอแขกบางคนก็เอาค่าทำหมอไม่มาก เช่น เงิน 40 บาท เกลือ 5 5 ถุง น้ำ 1 ขวด เป็นต้น แต่โต๊ะหมอแขกบางคนเรียกค่าทำหมอแพงมาก เช่น ค่าทำอะซีมัต เส้นหนึ่งต้องจ่ายค่าทำหมอ ถึงหลักพันเลยทีเดียว เป็นต้น แต่ที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้ คือเกลือ เพราะมีความเชื่อว่าเกลือจะช่วยให้ความเข็มข่นในความเป็นโต๊ะหมอเพิ่มขึ้น

         ในชุมชนมุสลิมบางพื้นที่ โต๊ะหมอแขก มีความสำคัญสำหรับพวกเขาเป็นอย่างมาก ถือเป็นบุคคลที่เขาพึ่งพา ช่วยเหลือ เคารพนับถือ บางครั้งถึงขั้นวอนขอโต๊ะหมอแขกเป็นสื่อกลางต่ออัลลอฮฺเลยที่เดียว ซึงเคยถามโต๊ะหมอแขกคนหนึ่งว่า : ท่านมีความพิเศษอย่างไรที่จะทำการรักษา หรือรู้สิ่งเร้นลับ ที่คนอื่นไม่อาจรู้ได้: โต๊ะหมอคนนั้นตอบว่า : อัลลอฮฺให้เขามีความเป็นพิเศษที่จะทำการรักษา รู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้:

          โต๊ะ หมอแขก จึงเป็นตัวแทนของชุมชนที่จะทำพิธีกรรม หรือกิจการบางอย่าง เช่น เป็นหมอบ่าว ทำการกล่าวดุอาอ์ หรือกล่าวศอลาวาตก่อนที่เจ้าบ่าวและญาติๆ ออกจากบ้าน หรือก่อนขึ้นรถ ไปบ้านเจ้าสาว โดยที่โต๊ะหมอแขกจะอยู่เคียงข้างเจ้าบ่าวตลอดเวลา และเมื่อจะเข้าบ้านเจ้าสาว โต๊ะหมอก็จะเดินนำหน้าเจ้าบ่าว และคนอื่นๆ เข้าบ้านเจ้าสาว และเมื่อเจ้าบ่าวเจ้าสาวพบกันในที่ๆจัดไว้ โต๊ะหมอที่เป็นหมอบ่าวทำการเป็นผู้นำขอดุอาอ์ให้แก่เจ้าบ่าวเจ้าสาว หรือกรณีญินเข้าสิงมุสลิมคนหนึ่ง (ที่เรียกว่าผีเข้า และเข้าใจว่าเป็นผีจากวิณญาณของผู้ที่ตาย) โต๊ะหมอแขกก็จะทำการปัดเป่าให้ญินตนนั้นออกไปจากร่างกายคนที่ถูกสิงนั้น เป็นต้น

          แท้ที่จริงโต๊ะหมอแขก ไม่ใช่ผู้ที่เป็นผู้รู้ โต๊ะครูบาบอ ที่แตกฉานหรือเคร่งคลัดทางศาสนาแต่อย่างใด บางคนก็ไม่ได้จบการศึกษาทางศาสนามาแม้แต่น้อยเลย ไม่ได้รู้ลึกถึงหลักปฏิบัติศาสนาและอากีดะฮฺแต่อย่างใด แต่ความรู้ที่โต๊ะหมอแขกได้รับมานั้นมีการสืบทอดต่อกันมาจากปู่ย่าตายาย ซึ่งโต๊ะหมอแขกถือเป็นผู้ที่ได้รับการไว้วางใจจากบรรพบุรุษของท่าน ที่จะได้สืบทอดวิชาอาคมเหล่านั้นต่อมา 

         จึงเห็นอยู่ไม่น้อยที่โต๊ะหมอแขกบางคนละหมาด 5 เวลาไม่ครบ ปล่อยปละละเลยลูกหลานไม่ให้ปฏิบัติศาสนกิจ ไม่ส่งเสริมบุตรหลานให้ศึกษาเหล่าเรียนศาสนา เรื่องศาสนานั้นมองเป็นสิ่งไม่สำคัญ แต่เรื่องการปฏิบัติการใดต้องให้เป็นในวันฤกษ์ยามดี ต้องมีการทำพิธีกรรมอย่างเคร่งคลัด จึงไม่แปลกที่ชาวบ้านบางคน ไม่เคยละหมาด ถือศิลอดไม่ครบ แต่เมื่อลูกจะแต่งาน เมื่อจะสร้างบ้านพักอาศัย เมื่อจะขึ้นบ้านใหม่ เมื่อจะซื้อรถ ต้องไปหาโต๊ะหมอแขก ทำการดูวันฤกษ์ยามดี มีการสะเดาะเคราะห์ การกล่าวดุอาอ์หรือคาถา และเจิมรถ หรือนำเส้นด้ายที่ผ่านการเสกเป่าแล้วมาผูกที่หัวรถ ก็เพราะการได้รับการบ่มความเชื่อและคำสอนจากโต๊ะหมอแขกและบรรพบุรุษของตนสอน สั่งกันมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม