วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

ไอ้ลูกหมาฟาตอนี ไม่ได้ขี้ตีนคนพวกนี้ด้วยซ้ำ เสือกมาอ้างเป็นนักรบ ถุยส์........


การโจมตีแบบพลีชีพ


ตีพิมพ์ในนิตยสาร Topgun ฉบับเดือนธันวาคม 2552
โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

"... การโจมตีแบบพลีชีพ ถูกผูกโยงเข้ากับการต่อสู้ทางศาสนา 
แต่ความจริงแล้ว การโจมตีดังกล่าวมีประวัติมายาวนาน และไม่มี
ความเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทาง ศาสนาเลยแม้แต่น้อย ..."

           เสียงระเบิดที่ดังกึกก้องไปทั่วทั้ง เมืองเปชาวาร์ (Peshawar) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ ปากีสถาน เมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2009 ที่ผ่านมา ได้ปลุกให้ประชาคมโลกหันมาให้ความสนใจกับการโจมตีด้วย “ระเบิดพลีชีพ”  อีกครั้ง พร้อมๆ กับชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ 19 ชีวิตที่ได้ถูกมัจจุราชกระชากออกจากร่าง ทำให้บริเวณพื้นที่เมือง ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่อันตรายที่ถูกโจมตีด้วย ระเบิดพลีชีพเป็นจำนวนถึง 6 ครั้ง ในเวลาเพียงไม่ถึงสองสัปดาห์เป็น การตอกย้ำให้มวลมนุษยชาติได้ตระหนักว่า โลกยุคปัจจุบันคือ โลกแห่ง ยุคของการก่อการร้าย อย่างแท้จริง

       นับตั้งแต่โลกได้เคลื่อนตัว ผ่านยุค “สงครามเย็น” และก้าวเข้าสู่ยุคแห่ง “การก่อการร้าย” อย่างสมบูรณ์แบบสังคม ต่างๆ ดังเช่นสังคมในเมืองที่เงียบสงบแบบเมือง “เปชาวาร์” ก็ถูกปกคลุมไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว จากศักยภาพของ การปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ เพราะการปฏิบัติการเหล่านั้น ไม่ได้มีเป้าหมายอยู่ที่สัญลักษณ์ทางการเมือง การทหาร หรือสิ่งที่แสดงถึงอำนาจของฝ่ายตรงข้าม

         หากแต่มีเป้าหมายอยู่ที่ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ เด็ก สตรีและคนชรา การก่อการร้ายได้ก่อให้เกิดแนวความคิดที่ว่า “ไม่มีที่ใดที่ปลอดภัยอีกต่อไป” สถานที่หลายแห่ง เช่น โรงแรม สถานที่ตากอากาศ สถานีรถไฟ หรือห้างสรรพสินค้าที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คนตกเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาวุธแห่งการทำลายล้างที่รุนแรงเหี้ยมโหด ถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายผลิตคิดค้นขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับอาวุธและอำนาจรัฐฯที่มีศักยภาพและความรุนแรงไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น ระเบิดแสวงเครื่อง (IED – Improvised Explosive Device) อาวุธเชื้อโรค (Biochemical weapon - Bioterrorist) อาวุธศักยภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction) และระเบิดพลีชีพ (Suicide Bomb)




          เมื่อกล่าวถึงการโจมตีด้วย ระเบิดพลีชีพ หรือที่บางคนเรียกว่า ระเบิดแบบฆ่าตัวตาย ที่กำลังกลายเป็นเอกลักษณ์ของ การก่อการร้ายที่เชื่อมโยงกับสงครามทางศาสนา จนดูเหมือนจะเกิดความเข้าใจผิดในกลุ่มคนรุ่นใหม่ว่า “การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ” คือ ภารกิจหนึ่งของการเสียสละเพื่อทำสงครามทางศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์

           ซึ่งแนวคิดดังกล่าว ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการจำนวนหนึ่งว่า เป็นแนวคิดที่ถูกทำให้ผันแปรไปจากความเป็นจริง รวมทั้งมีความพยายามชี้ให้เห็นว่า การโจมตีแบบพลีชีพนั้น ไม่ใช่สัญลักษณ์ของการทำสงครามทางศาสนาอย่างที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายบางกลุ่ม มุ่งหวังจะให้เป็น

        หากมองย้อนกลับไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 เราจะพบว่านักรบกลุ่มแรกๆ ที่เปิดฉากการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ ไม่ใช่ นักรบที่สละชีพเพื่อศาสนาไม่ใช่แม้แต่สละชีพเพื่อพระเจ้า หากแต่เป็นการสละชีพเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินมาตุภูมิของนักบินกองทัพอากาศญี่ปุ่น ที่สร้างวีรกรรมอันห้าวหาญด้วยการนำเครื่องบินขับไล่บรรทุกระเบิดตอร์ปิโดหรือบรรทุกน้ำมันเต็ม ลำพุ่งเข้าชนเรือรบของสหรัฐฯ และสัมพันธมิตรภายใต้ชื่อ “กามิกาเซ่” (Kamikaze) หรือ “ลมศักดิ์สิทธิ์”

        ทั้งนี้เพื่อมุ่งผลในความแม่นยำของการโจมตีเป้าหมาย โดยกามิกาเซ่เริ่มปฏิบัติภารกิจครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 1944 ใน การรบที่อ่าวเลย์เตของฟิลิปปินส์ เพื่อหยุดยั้งการรุกคืบหน้าของกองเรือสหรัฐฯ การปฏิบัติภารกิจของเหล่านักบินกามิกาเซ่ เป็นการปฏิบัติที่กล้าหาญ เสียสละ และอุทิศตนต่อการทำลายเป้าหมายทางทหารของข้าศึก



         ดังเช่นบันทึกตอนหนึ่งของ ร้อยโท ยูกิโอะ เซกิ(Lieutenant Yukio Seki) นักบินกามิกาเซ่ที่กล่าวว่า 
“เราสมควรตายดีกว่า หากจะต้องมีชีวิตอยู่อย่างคนขี้ขลาด”

        ในขณะที่ นักบินกามิกาเซ่ ปฏิบัติการโจมตีด้วยการขับเครื่องบินพุ่งชนเรือรบของศัตรู ทหารราบญี่ปุ่น เองก็มีวิธีการ โจมตีแบบพลีชีพ หรือที่โลกตะวันตกขนานนามว่า “การโจมตีแบบบันไซ” (Banzai Charge) ด้วยเช่นกัน

       การโจมตีชนิดนี้ จะเป็นการใช้คลื่นมนุษย์ของเหล่าทหาร กองทัพญี่ปุ่น เคลื่อนที่เข้าโจมตีข้าศึกใน การรบขั้นแตกหัก  หรือการรบที่เต็มไปด้วยความเสียเปรียบ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับเป็นเชลย หรือการยอมแพ้

        การที่ทหารอเมริกันเรียกการโจมตีชนิดนี้ว่า การโจมตีแบบบันไซ ก็เพราะขณะที่เคลื่อนที่เข้าโจมตี ทหารญี่ปุ่นจะตะโกนว่า “เทนโนะเฮกะ บันไซ” ซึ่งแปลว่า “ขอให้องค์จักรพรรดิทรงพระเจริญ”

       การโจมตีแบบบันไซ ครั้งแรกๆ เปิดฉากขึ้นเมื่อญี่ปุ่นตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพ่ายแพ้ ที่ เกาะอัตสุ  (Attu Island) ซึ่งพันเอกยาสุโกะ ยามาซากิ (Colonel Yasuko Yamazaki) สังกัดหน่วยนาวิกโยธินญี่ปุ่นได้รวบรวม ทหารจำนวนกว่าหนึ่งพันนาย เข้าตีที่มั่นของทหารอเมริกัน โดยเขาถือดาบซามูไรนำหน้าเหล่าทหารด้วยความกล้าหาญจนสามารถเจาะแนวตั้งรับเข้า ไปได้จนถึงกำลังส่วนหลังของ กองทัพอเมริกัน สร้างความสูญเสียอย่างมาก ก่อนที่กำลังทหารญี่ปุ่นทั้งหมดจะถูกทำลายลง  ผลจากการรบ มีทหารญี่ปุ่นรอดชีวิตเพียง 28 นาย พลเสนารักษ์ของญี่ปุ่นที่รอดชีวิตจากการสู้รบ ได้เล่าถึง ยามาซากิ ว่า

          “พันเอกยามาซากิเป็นนักรบที่กล้าหาญมาก เขารู้ว่าทหารญี่ปุ่นไม่มีโอกาสที่จะต่อสู้กับกำลังของฝ่ายสหรัฐฯที่มีจำนวนมาก 
กว่าได้ แทนที่จะรอวันตาย เขากลับสั่งให้ทหารทุกนาย วิ่งเข้าหาความตายอย่างกล้าหาญ ก่อนตาย ยามาซากิบันทึกไว้ใน 
หนังสือไดอารี่ของเขาว่า ...ฉันกำลังจะสละชีพเพื่อผืนแผ่นดินนี้ หลังจากที่มีชีวิตอยู่มาเป็นเวลา 33 ปี ...ฉันไม่เคยเสียใจ 
และจะไม่เสียใจที่ตัดสินกระทำการเช่นนี้ ... ขอองค์พระจักรพรรดิจงทรงพระเจริญ ... “



         ทั้งการโจมตีแบบกามิกาเซ่และบันไซ ล้วนเป็น การโจมตีแบบพลีชีพ ทั้งสิ้นไม่ต่างจากการโจมตีแบบพลีชีพที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในยุคปัจจุบัน หากแต่มีความแตกต่างตรงที่ “กามิกาเซ่” และ“บันไซ”เป็นการโจมตีที่มุ่งหวังต่อกำลังพลสถานที่ทางยุทธศาสตร์และอาวุธยุทโธปกรณ์ของข้าศึก มิได้มุ่งหวังทำลายล้างชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงทำให้การโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นทั้งสองรูปแบบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นการปฏิบัติการรบที่กล้าหาญและเสียสละ

         ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2 สิ้นสุด เรื่องราวของการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพก็เริ่มจางหายไปจากความทรงจำของผู้คนหลง เหลือไว้แต่เรื่องราวอันห้าวหาญของทหารเหล่านั้นจนกระทั่งกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม(Liberation Tigers of Tamil Eelam)  ในประเทศศรีลังกา ได้เปิดฉากใช้การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพขึ้นมาอีกครั้ง  คราวนี้เป็นการโจมตีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อสู้และบั่นทอนทำลายอำนาจรัฐและสถาปนารัฐอิสระ “ทมิฬ” ขึ้นทางตอนเหนือ และทางตะวันออกของประเทศศรีลังกา

         ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกไว้ว่า กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม เป็นกองกำลังกลุ่มแรกที่คิดค้น “เข็มขัดพลีชีพ”(suicide belt อันลือ ชื่อที่กลุ่มก่อการร้ายต่างๆ นำมาใช้ในการโจมตีแบบระเบิดพลีชีพในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งหน่วยพลีชีพที่มีชื่อว่า “พยัคฆ์ดำ” (Black Tiger) ที่มีสมาชิกทั้ง ชายและหญิง ทำหน้าที่ในการ โจมตีแบบพลีชีพในทุกรูปแบบต่อ หน่วยทหารศรีลังกา ผู้นำรัฐบาล และบุคคลสำคัญในวงการเมืองของศรีลังกา




         นิตยสาร “เจน” (Jane) ได้สรุปสถิติการโจมตีแบบพลีชีพของ หน่วยพยัคฆ์ดำ ว่าได้ออกปฏิบัติภารกิจจำนวน 168 ครั้ง ตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 1976 จนถึง 2009 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่กลุ่ม ต้องประสบกับความพ่ายแพ้ต่อฝ่ายรัฐบาลในที่สุด รวมถึงการโจมตีท่าอากาศยานโคลัมโบ ของศรีลังกาในปี 2001 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 16 คน และทำให้อากาศยานพาณิชย์และอากาศยานทางทหารของกองทัพอากาศศรีลังกาจำนวน หนึ่งได้รับความเสียหาย

        นอกจากนี้ในปี 1998 กลุ่มพยัคฆ์ดำ ยังเป็นผู้โจมตีศาสนสถานของพุทธศาสนาใน เมืองกันดี (Kandy) ซึ่งได้รับการจัดให้ เป็นมรดกโลก และนับเป็นศาสนสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของศรีลังกา การโจมตีครั้งนี้ทำให้มีผู้แสวงบุญจำนวน 8 คนเสียชีวิต

         รวมทั้งนักรบพยัคฆ์ดำ ก็ยังเป็นผู้โจมตีแบบพลีชีพในการสังหาร อดีตนายกรัฐมนตรี ราจีฟ คานธี ของอินเดียในปี 1991 อีกด้วย ซึ่งการโจมตีแบบพลีชีพของกลุ่มนับเป็นการโจมตีบนพื้นฐานของการเมืองเป็นหลักมิได้มีพื้นฐานอยู่บนหลักศาสนาแต่อย่างใด

        การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ ที่กำลังเป็นที่จับตามองในปัจจุบัน ก็คือ การโจมตีในตะวันออกกลาง ซึ่งมีพื้นฐาน มาจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล และปาเลสไตน์ ส่งผลให้เกิดความกดดันทางจิตใจต่อชาวปาเลสไตน์อย่างมาก  ดังเช่นที่ สมาชิกกลุ่มฟาทาฮ์ (Fatah) ซึ่งปฏิบัติการต่อต้านอิสราเอลใน ฉนวนกาซา และเวสต์แบงค์ เปิดเผยต่อสำนักข่าวตะวันตกว่า

            “... ความเคียดแค้น ชิงชัง ที่มีต่ออิสราเอลในการกระทำต่อชาวปาเลสไตน์นั้น เป็นสิ่งที่ทำให้มีจดหมาย ยื่นความจำนงเข้า เป็นมือระเบิดพลีชีพเพื่อต่อสู้กับอิสราเอลหลั่งไหลเข้ามามากมายราวกับสายน้ำเลยทีเดียว ในจำนวนนี้มีทั้งสตรีหม้ายที่สูญเสียทั้งสามีและบุตร มีทั้งเด็กเยาวชนที่สูญเสียบิดามารดาไปจากการโจมตีของทหารอิสราเอล ...”

          มือระเบิดพลีชีพ เหล่านี้ได้ออกปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม 2002 ที่ กลุ่มฮามาส และฟาทาฮ์ ได้โหมปฏิบัติการต่อเป้าหมาย ในอิสราเอลอย่างถี่ยิบ ตั้งแต่วันที่ 2,5,7,9,17,20,21,27,29,30,31 มีนาคม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากเนื่องจากการโจมตีแต่ละครั้งมุ่งไป ที่สถานที่ชุมชนของชาวยิวในเมืองสำคัญๆ เช่น
  • ในวันที่ 29 มีนาคม กลุ่มฟาทาฮ์ ได้ส่งมือระเบิดพลีชีพที่เป็นสุภาพสตรีปาเลสไตน์ ผูกระเบิดจำนวน ไม่ต่ำกว่า 10 กก. รอบตัว ก่อนที่จะเดินเข้าไปในซุปเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเยรูซาเร็ม และจุดระเบิดบริเวณเคาน์เตอร์ ที่เต็มไปด้วยผู้คน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 28 คน 
  • ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม กลุ่มฮามาส ก็ได้ใช้มือระเบิดพลีชีพโจมตีภัตตาคาร “มัทซา” (Matza restaurant) ซึ่งเป็นภัตตาคารหรูหราในเมืองไฮฟา ทำให้ชาวยิวที่กำลังรับประทานอาหารเสียชีวิตทันที 15 คน บาดเจ็บอีกกว่า 40 คน 



          อย่างไรก็ตามหากวิเคราะห์จาก พฤติกรรมในการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ ในอิสราเอลจะเห็นได้ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นจากประเด็น ทางศาสนาเป็นหลัก หากแต่เกิดขึ้นจากความต้องการในการตอบโต้แก้แค้นและขับไล่อิสราเอลออกจากดินแดนปาเลสไตน์ รวมทั้งเป็นการโจมตีที่มีประเด็นของความกดดันทางจิตใจเป็นมูลเหตุสำคัญ แต่เนื่องจากความแตกต่างทางศาสนาในตะวันออกกลาง ทำให้การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพเริ่มถูกนำไปเชื่อมโยงกับความขัดแย้งทางศาสนา เพื่อสร้างความชอบธรรมและขยายแนวร่วมในการปฏิบัติการให้เพิ่มมากขึ้น

          การเชื่อมโยงดังกล่าวทำให้ การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพกลายเป็นเครื่องมือในการ ต่อสู้ในสงครามศาสนาไปในที่สุดโดยเฉพาะการโจมตีกำลังทหารสหรัฐฯ และ ฝรั่งเศส ในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน ด้วยมือระเบิดพลีชีพ ที่ขับรถยนต์โดยสารบรรทุกระเบิดเต็มคัน ทำให้ทหารสหรัฐฯและฝรั่งเศสเสียชีวิตถึงกว่า 300 นายในปี 1983 และเป็นผลทำให้สหรัฐฯ ต้องถอนทหารออกจากเลบานอนในที่สุด

      ความสำเร็จในครั้งนี้ ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่หลักศาสนาในการ ขับไล่ผู้รุกรานนอกศาสนา ออกจากแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ในตะวันออกกลาง

      จุดหักเหสำคัญที่ทำให้ การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ กลายเป็น สัญลักษณ์ของการต่อสู้ทางศาสนา ก็คือ ปฏิบัติการโจมตีแบบพลีชีพต่ออาคารเวิร์ลเทรดเซนเตอร์ (World Trade Center) และกระทรวงกลาโหม “เพนตากอน” (Pantagon) ของสหรัฐฯ ใน เหตุการณ์ 9/11 อันสะเทือนโลกในปี 2001 ของกลุ่มอัลกออิดะฮ์ ซึ่งนำโดย โอซามา บิน ลาเดน ผู้ซึ่งเชื่อมโยงการก่อการร้ายและการโจมตีแบบพลีชีพเข้ากับการต่อสู้ใน สงครามศาสนาจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ดังเช่นในปัจจุบัน


          นับจากนั้นมา การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ ก็เปิดฉากขึ้นมาอย่างรุนแรงอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่สหรัฐฯ และชาติตะวันตก เปิดฉากส่งกำลังทหารเข้ายึดครองประเทศอิรักเพื่อโค่นล้มอดีต ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เมื่อกลางปี ค.ศ. 2003

          เป็นที่น่าสังเกตว่า การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพเพื่อต่อสู้กับสหรัฐฯไม่ได้เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดในช่วงปีแรกของการยึดครอง ทั้งนี้จากสถิติการโจมตีต่อเป้าหมายของกลุ่มต่อต้านในอิรักในปี 2003 มีเพียงครั้งเดียวคือ ในวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.2003 ณ โรงแรมคาแนล กลางกรุงแบกแดด มีผู้เสียชีวิต 22 คน รวมทั้งผู้นำระดับสูงขององค์การสหประชาชาติ คือนาย เซอร์จิ โอ เดอ เมลโล (Sergio De Mello) ด้วย

         การโจมตีมาเริ่มต้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ในช่วงต้นปี 2004 โดยเฉพาะในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2004 เมื่อ อันซาร์ อัล ซุน น่าห์ (Ansar Al Sunnah) หนึ่งในผู้นำกลุ่มต่อต้านได้ส่งมือระเบิดพลีชีพ 2 คนคาดเข็มขัดที่มัดด้วยระเบิดแรงสูง เข้าโจมตีสถานที่สำคัญ 2 แห่งในเมืองโมซุลของอิรัก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 117 คน บาดเจ็บ 221 คน  และ อีกสิบวันต่อมาคือวันที่ 10 กุมภาพันธ์ มือระเบิดพลีชีพก็ขับรถยนต์บรรทุกระเบิดจำนวน 250 กิโลกรัม พุ่งเข้าใส่สถานีตำรวจอิรักในกรุงแบกแดด ซึ่งเต็มไปด้วยประชาชนที่กำลังเข้าแถวยาวเหยียดเพื่อสมัครเข้าเป็นตำรวจ ส่งผลให้ มีผู้เสียชีวิต 55 คน บาดเจ็บอีก 67 คน

          ต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม 2004 ก็เกิดการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ ใน มัสยิดของชนนิกายชีอะห์ พร้อมๆ กันทั้งที่ กรุงแบกแดด และเมืองคาร์บาล่า โดยเชื่อว่าเป็นการลงมือปฏิบัติการของ กลุ่มอัล กออิดะฮ์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันถึง 171 คน และบาดเจ็บเกือบ 600 คน ส่วนใหญ่เป็น เด็ก สตรีและคนชรา



           และ ในวันที่ 17 พฤษภาคม ก็เกิดการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพในรถยนต์ใจกลาง กรุงแบกแดด ส่งผลให้ เอซซาดิน ซาลิม  (Ezzadin Salim) ประธานสภาปกครองอิรัก เสียชีวิตพร้อมกับพลเรือนอีก 6 คน หลังจากนั้นตลอดทั้งปี 2004 ก็มีการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพประปราย แล้วเปลี่ยนมาใช้การโจมตีส่วนใหญ่ด้วยระเบิดแสวงเครื่อง เครื่องยิงลูกระเบิดและการซุ่มโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่กำลังทหารสหรัฐฯ และชาติตะวันตกเป็นหลัก

         โมฮัมเหม็ด เอ็ม ฮาเฟซ (Mohammed M. Hafez) จากสถาบันเพื่อสันติภาพของสหรัฐฯ (United States Institute of Peace) ได้วิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในอิรักไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง “ระเบิดพลีชีพในอิรัก” (Suicide bombers in Iraq) ว่าเป็นที่น่าแปลกใจที่อิรักตกเป็นสถานที่แห่งการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพอย่างรุนแรงและต่อเนื่องตั้งแต่การเลือกตั้งใน เดือนมกราคม 2005 เป็นต้นมา

        โดยเฉพาะในเดือนเมษายน เมื่อรัฐสภาอิรัก ได้ลงมติรับรองรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ส่งผลให้ภายหลังจากวันลงมติหนึ่งวัน คือในวันที่ 26 เมษายน มีการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพถึง 16 ครั้ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสื่อสารให้โลกภายนอกได้รับรู้ว่า กลุ่มต่อต้านจะไม่ยอมรับการแก้ปัญหาภายในของอิรักบนแนวทางการเมืองอย่างที่ โลกตะวันตกต้องการ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ฮาเซฟชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้ววัตถุประสงค์ของการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพนั้น มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง ไม่ใช่วัตถุประสงค์ทางศาสนาอย่างที่กลุ่มต่อต้าน กล่าวอ้าง

        นอกจากนี้ โมฮัมเหม็ด เอ็ม ฮาเฟซ ยังให้เหตุผลว่าการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพในอิรักมีการพุ่งเป้าหมายไปที่พลเรือนมากเท่ากับเป้าหมายทางทหาร โดยเฉพาะสถานที่สำคัญอันเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจของชนนิกายชีอะห์ ทั้งนี้เพื่อสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นระหว่างชนนิกายสุหนี่ และชีอะห์ อีกทั้งยังเป็นที่น่าประหลาดใจอย่างมากที่มือระเบิดพลีชีพส่วนใหญ่ในอิรักนั้น กลับไม่ใช่ชาวอิรัก หากแต่เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่เดินทางมาจากประเทศต่างๆ เช่น อียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน ลิเบีย โซมาเลีย และอัฟกานิสถาน ที่ต้องการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ ทั้งๆ ที่ชาวอิรักส่วนใหญ่โดยเฉพาะชนนิกายสุหนี่ ไม่มุ่งทำการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ โดยเฉพาะการโจมตีใส่กลุ่มประชาชนผู้บริสุทธิ์

         ฮาเซฟ สรุปบทความของเขาว่า การโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพในอิรัก จึงเป็นการโจมตีชาวอิรักโดยชาวต่างชาติที่ต้องการสละชีพเพื่อทำ สงครามศักดิ์สิทธิ์บนดินแดนอิรัก และเพื่อดำเนินกลยุทธในการทำลายประเทศอิรักด้วยการสร้างสงครามกลางเมืองขึ้น ระหว่างชนสองนิกาย ซึ่งจะส่งผลให้อิรักกลับไปสู่จุดต่ำสุดของประวัติศาสตร์ อันเป็นการทำลายโครงสร้างของประเทศลงอย่างสิ้นเชิง ก่อนที่จะเริ่มสร้างสังคมใหม่ที่เป็นสังคม “ศาสนาบริสุทธิ์” ขึ้นมานั่นเอง

        ปรากฏการณ์นี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในบางประเทศ เช่นในประเทศกัมพูชา ช่วง เขมรแดง ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั่นเอง จะแตกต่างกันก็เพียงแต่มีการนำหลักศาสนาเข้ามาเชื่อมโยงด้วยเท่านั้นเอง

         จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น แสดงให้เห็นได้ว่าการโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ ที่กำลังเป็นภัยคุกคามสังคมอันสงบและสันติอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่สัญลักษณ์ของการทำสงครามทางศาสนาแต่อย่างใด หากเป็นการกระทำที่มีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งทางการเมือง การทหาร เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ตลอดจนความขัดแย้งเกี่ยวกับดินแดน

         อีกทั้งการโจมตีแบบพลีชีพ นี้ก็มิได้เพิ่งเกิดขึ้นในโลกยุคก่อการร้าย หากแต่มีการปฏิบัติกันมาในสงครามหรือความขัดแย้งต่างๆ นับตั้งแต่อดีตมาแล้ว เพียงแต่การโจมตีเหล่านั้น มีเป้าหมายต่อกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ของข้าศึกรวมทั้งมุ่งหวังที่จะสร้างความได้เปรียบในการรบหรือทางยุทธวิธี ตลอดจนสร้างผลกระทบต่อสถานภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของข้าศึก มิได้มุ่งหวังที่จะประหัตประหารชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นหลัก

       ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของมวลมนุษยชาติทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันทุกวิถีทางในการ หยุดยั้ง “การโจมตีแบบพลีชีพ” ซึ่งเป็น  “การสังเวยชีวิตตน” เพื่อ “ทำลายล้างชีวิตคนผู้บริสุทธิ์” โดยอ้างหลักศาสนาเพื่อสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ทั้ง ๆ ที่คำสอนของศาสนาทุกศาสนาล้วนแต่มุ่งหวังหล่อหลอมให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนดี ด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อนำสังคมแห่งความสงบสุขกลับคืนสู่พื้นพิภพแห่งนี้อย่างมั่นคง ถาวรตราบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป


บทความนี้ เป็นสิทธิของ
พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ
ลงพิมพ์ในนิตยสาร Topgun ประจำเดือนกรกฎาคม 2552
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ของผู้ที่สนใจ
จึงขออนุญาตท่านเจ้าของ นำออกเผยแพร่เพื่อเป็นเกียรติและประโยชน์สาธารณะมา ณ โอกาสนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม