วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

การสร้างเขตอิทธิพลมุสลิมในภาคใต้ ไม่ใช่ ญิฮาด

การสร้างเขตอิทธิพลมุสลิมในภาคใต้ ไม่ใช่ ญิฮาด

ความแตกต่างของการ "ญิฮาด"ที่ปาเลสไตน์ของชาวฟิลัสฏีน กับการ "ต่อสู้" ที่ฟะฏอนีย์ของมลายูมุสลิม


ความแตกต่างของการ "ญิฮาด"ที่ปาเลสไตน์ของชาวฟิลัสฏีน กับการ "ต่อสู้" ที่ฟะฏอนีย์ของมลายูมุสลิม


อัสสาลามุอาลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮ วะบะเราะกาตุฮฺ

          ก่อนอื่น ขอบอกก่อนเลยว่า ความคิดที่ผมจะนำเสนอหลังจากนี้ เป็นมุมมองและความเข้าใจส่วนตัว ที่ได้วิเคราะห์เท่าที่มีตัวเองมีความสามารถ ในเรื่องของการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในสองพื้นที่  นั่นคือ ปาเลสไตน์ และฟะฏอนีย์ ซึ่งกลุ่มคนจำนวนหนึ่งพยายามที่สร้างอิทธิพลหรือเงื่อนไข หรือแนวคิดอะไรบางอย่างที่จะให้ทั้งสองการต่อสู้นี้ เป็นการต่อสู้ที่เหมือนกัน มีเป้าหมายเดียวกัน และได้รับความชอบธรรมเหมือนๆกัน ซึ่งจะส่งผลต่อท่าทีของพี่น้องมุสลิมคนอื่นๆที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมในการต่อสู้ทั้งสองแห่งนี้.....

         พูดกันตรงไปตรงมา ก็คือ พวกเขาพยายามที่จะบอกว่า การต่อสู้ที่ฟะฏอนีย์ ของขบวนการต่อต้านปลดแอกปัตตานีในสามจังหวัดชายแดนใต้นั้น คือ การญิฮาดที่ได้รับความชอบธรรม เป็นการต่อสู้ที่ได้รับความชอบธรรมเช่นเดียวกับการต่อสู้และการญิฮาดของพี่น้องมุสลิมที่ปาเลสไตน์... 

          แต่เมื่อเราได้เหลียวมองการต่อสู้ของคนกลุ่มนี้ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอาจรวมถึงอนาคตต่อไปด้วย เรากลับแถบมองไม่เห็นร่องรอยของการต่อสู้หรือการญิฮาดที่ถูกต้องและได้รับความชอบธรรมเลย...

          ผมจึงอยากขอนำเสนอความแตกต่างบางประการ ซึ่งอินชาอัลลอฮ มันน่าจะเพียงพอในการยืนยันว่า การญิฮาดที่ปาเลสไตน์ กับการต่อสู้ของขบวนประหลาดที่ฟะฏอนีย์นี้ มันต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้

  • 1. ความสัมพันธ์เดิม : ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยามกับรัฐปัตตานีในอดีตนั้น เป็นความสัมพันธ์ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมาโดยตลอด เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกันในฐานะเมืองกับเมือง รัฐกับรัฐ เช่น การมีชายแดนติดต่อกัน การค้าร่วมกัน รบกัน ส่งบรราณาการแก่กัน ส่งตัวแทนแต่งงาน และปกครองกัน ทำนองนี้เป็นต้น แต่ความสัมพันธ์ของอิสราเอลกับปาเลสไตน์นั้นมันเริ่มจากศูนย์ อธิบายง่ายๆคือ อยู่ดีๆอิสราเอลก็เข้ามาเข่นฆ่าพี่น้องปาเลสไตน์ ยึดบ้านเรือน ทำลายที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย และสร้างอำนาจขึ้นปกครอง ดำเนินการเช่นนี้ เรื่อยมาจนถึงและเป็นดังปัจจุบัน


  • 2. การเข้ายึดครอง : ไม่ปรากฏว่ารัฐสยามเคยขับไล่ชาวถิ่นเดิมไปไหน โอเค มันมีการแก่งแย้งกันอยู่ มีการต่อสู้กันอยู่ แต่ก็ไม่ได้ต่อสู้กับประชาชนโดยตรง แต่จะใช้วิธีการเข้ายึดเอากับเจ้าเมืองและกำลังทหารที่คอยอารักขาเจ้าเมือง และเมื่อเจ้าเมืองยอมสยบ(ซึ่งก็ไม่เคยปรากฏว่า เจ้าเมืองจะต่อสู้ปกป้องแผ่นดินตัวเองจนตัวตาย) ก็ปล่อยให้ประชาชนอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐสยาม ส่วนตัวเองก็ทิ้งประชาชนของตัวเองไป ซึ่งต่างจากอิสราเอล ที่บุกเข้ายึดครองแผ่นดินปาเลสไตน์จากประชาชนโดยตรง เข่นฆ่าประชาชน ทั้งเด็ก ผู้หญิง และคนชรา ฆ่าเสร็จ ก็ยึดบ้าน หรือไม่ก็ทำลาย และสร้างบ้านตัวเองขึ้นมาใหม่ ขยายอณาเขตไปเรื่อยๆ แถมยังมีการสร้างกำแพงปิดกั้นดินแดนที่ยึดได้อีก แล้วเชิญชาวอิสราเอลจากที่อื่นๆเข้ามาอาศัย


  • 3. เป้าหมายของการยึดครอง : การต่อสู้ของสยามกับปัตตานี ไม่ปรากฏยุทธศาสตร์พิเศษอะไรต่อโลกอิสลามเลย และสยามเองก็ไม่ได้แสดงว่า ตัวเองกำลังต่อสู้กับมุสลิม แต่กำลังต่อสู้กับขบวนการอะไรบางอย่างที่กำลังต่อต้านหรือกำลังสร้างอิทธิพลในแผ่นดินของตนมากกว่า อีกทั้งก็เป็นที่ประจักษ์ว่า การต่อสู้ของสยามกับขบวนการแห่งปัตตานีนั้น ไม่มีเรื่องศาสนาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด(หรืออาจจะมี แต่ก็ไม่ใช่สาระหลัก) แต่ที่เป็นแก่นหลัก ก็คือ อำนาจและแผ่นดินต่างหาก ต่างกันลิบลับกับการต่อสู้ของอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ซึ่งยิวมียุทธศาสตร์ชัดเจนที่จะสร้างผลกระทบและความร่ะส่ำระส่ายต่อโลกอิสลามและมุสลิมทั้งหมด เพราะมัสญิดอักศอ ซึ่งเป็นเป้าหมายของยิวนั้น คือ จุดยุทธศาสตร์และจุดสำคัญของโลกอิสลาม ดังนั้น การที่อิสราเอลต่อสู้กับปาเลสไตน์ เพื่อยึดอักศอและแผ่นดินปาเลสไตน์นั้น มันจึงเป็นการต่อสู้กันที่มีผลต่ออิสลาม และแน่นอนทีเดียวว่า มันมีเรื่องศาสนาเกี่ยวข้องโดยตรง


  • 4. ขบวนการต่อสู้ : คำถามที่ต้องถามขบวนการต่อสู้ลับที่สามจังหวัด ก็คือ คุณคือใคร? ใครคือผู้นำของคุณ? เป้าหมายของคุณคืออะไร? แล้วแนวทางที่คุณจะใช้ในการต่อสู้คือแนวทางไหน? และสิ่งที่คุณกำลังเดินการอยู่นี้สอดคล้องกับสิ่งที่คุณสะบัดถ้อยคำต่อคำถามข้างต้นหรือไม่? 
  •          ทำไมต้องถามเช่นนี้ ก็เพราะว่า ประชาชนในสามจังหวัดส่วนใหญ่ก็ยังอ้าปากหวอ เพราะไม่เข้าใจว่า คนพวกนี้ต้องการอะไรกันแน่ ไม่ใช่แค่คนในสามจังหวัด คนนอกสามจังหวัด หรือนอกประเทศเองก็ยังไม่เข้าใจ มันบ่งบอกว่า กลุ่มต่อสู้นี้ ไม่เป็นที่ยอมรับจากคนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนในพื้นที่เอง(เขาอาจได้รับการยอมรับ แต่นั่นก็จากคนของพวกเขาเอง จากลูกหลาน วงศ์วานของพวกเขาเองเท่านั้น) ต่างกันกับปาเลสไตน์ ที่ขบวนการต่อสู้ต่างๆที่เกิดขึ้นมานั้น ต่างก็ได้รับการยืนยอม อีกทั้งการสนับสนุนจากประชาชนเอง ทั้งกลุ่มขบวนการและรัฐบาลที่ประชาชนเลือกขึ้นมาปกครอง ต่างก็มีเป้าหมายชัดเจน มีแนวทาง มีผู้นำชัดเจน รู้ว่าใครเป็นใคร กำลังทำอะไร และเป้าหมายสูงสุดคืออะไร นี่ย่อมแตกต่างกันอีกเช่นกัน


  • 5. การยอมรับ : ขบวนการต่อสู้ที่ปัตตานีไม่ได้รับการยอมรับจากโลกมุสลิม ก็อันเนื่องมาจากข้อสงสัยต่างๆมากมายต่อการเกิดขึ้น และการปฏิบัติการกลุ่มนี้นั่นแหล่ะ ซ้ำยังได้รับการต่อต้านจากผู้รู้ นักเคลื่อนไหว และประชาชนโดยส่วนใหญ่หรืออาจจะทั้งหมด(ยกเว้นพวกของเขาเอง)อีกด้วย ซึ่งหากจะได้รับความเชื่อเหลือ มันก้ได้รับความช่วยเหลือจากปัจเจกบุคคลเท่านั้น  แต่ต่างจากปาเลสไตน์ ที่การต่อสู้ของพวกเขาได้รับการยอมรับ สนับสนุน และช่วยเหลือจากผู้รู้ นักเคลื่อนไหว นักต่อสู้ และมุสลิมทั้งหมดทั่วโลก อีกทั้ง ยังถือเป็นภารกิจหลักของโลกอิสลามที่จะต้องร่วมกันต่อสู้และให้การช่วยเหลือ จะทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ อีกทั้งมันยังได้รับการพูดคุยอยู่เสมอทั้งจากภาครัฐ กลุ่มขบวนการต่อสู้เพื่ออิสลาม และจากประชาชนทั่วไป ซึ่งสิ่งนี้ไม่ปรากฎเกิดขึ้นกับการต่อสู้ของขบวนการประหลาดแห่งฟะฏอนีย์


  • 6. วิธีการต่อสู้ : เป็นสิ่งที่เห็นชัดกับตา สัมผัสได้ด้วยเสียงและร่างกายถึงวิธีการต่อสู้ของขบวนการกู้ชาติปัตตานีที่พวกเขาได้ใช้ในการต่อสู้ที่อ้างว่าเพื่อต่อต้านรัฐสยามที่อธรรมต่อพวกเขา เช่น  การยิงครู ยิงเด็ก เผ้าวัด เผาโรงเรียน ระเบิด ทำร้ายศพ ฆ่าเสร็จแล้วตัดคอ คนที่แค่สงสัยก็ฆ่าทันที และสารพัดวิธี เอาเถอะ เราสมมุติว่ายอมรับว่า ปัตตานีถูกรัฐสยามอธรรมจริง แต่วิธีการเหล่านี้หรือที่เรียกว่า การญิฮาด??? 
  •          คำตอบย่อมชัดเจน นั่นก็คือ ไม่ใช่!! เพราะการญิฮาด  ไม่ใช่แค่การต่อสู้เพื่อเป้าหมายในการปกป้องตัวเองเท่านั้น แต่มันต้องไม่ก่อความเสียหายอย่างเกินเลยด้วย ดังนั้น การญิฮาดในอิสลามจึงมีกฎเกณฑ์ ระเบียบ วิธีการที่ชัดเจน ว่าทำอะไรได้บ้าง ทำอะไรไม่ได้บ้าง อะไรอนุญาต อะไรต้องห้าม ซึ่งแน่นอนว่า วิธีการที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม และเป็นการกระทำที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง สิ่งนี้มิใช่เพราะความสะเพร่านะ มันเป็นยุทธวิธีหลักในการต่อสู้ของขบวนการนี้เสียด้วยซ้ำไป ซึ่งต่างจากขบวนการต่อสู้ของพี่น้องในปาเลสไตน์ เป้าหมายของพวกเขาชัดเจน วิธีการชัดเจน เรายอมรับว่า บางกลุ่มอาจจะมีผิดพลาดบ้าง เช่น พลาดไปคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ แต่นั่นไม่ใช่เพราะความตั้งใจ แต่เกิดจากความผิดพลาดที่เลี่ยงไม่ได้จริงๆ ซึ่งสิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้นในการสู้รบได้เสมอ แต่ไม่ใช่ด้วยความตั้งใจ เจตนาเช่นที่เกิดขึ้นในสามจังหวัด!! 



       ข้อเปรียบ 6 ประการนี้ น่าจะเพียงพอที่จะให้พี่น้องได้เข้าใจอย่างแจ่มชัด(อินชาอัลลอฮ)ว่า การต่อสู้ที่แผ่นดินฟิลัสฏีนกับการสู้รบที่ฟะฏอนีย์นั้น แตกต่างกันอย่างชัดเจน  มันไม่ใช่การต่อสู้ที่ชอบธรรม ทั้งจากหลักการศาสนาและจากประชาชน และแน่นอน มันไม่ใช่รูปแบบของการ “ญิฮาด” ที่ถูกต้องด้วย แม้นว่าคนกลุ่มดังกล่าวจะพยายามอ้างว่า เขากำลังทำการ “ญิฮาด” ก็ตาม.

...วัลลอฮุอะอฺลัม
http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม