วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่กับการพัฒนาและความร่วมมือของประชาชน

การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่กับการพัฒนาและความร่วมมือของประชาชน

การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่กับการพัฒนาและความร่วมมือของประชาชน




          การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคู่กับการพัฒนา และความร่วมมือของประชาชน

         จากสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ.2547 รัฐบาลไทยได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการแก้ไขปัญหาโดยการทุ่มเททรัพยากรและงบประมาณ เพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้นโดยเร็ว รวมทั้งได้มีการพัฒนาและจัดตั้งหน่วยงานเข้ารับผิดชอบด้วยการผสมผสาน ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติโดยมีกฎหมายรองรับ ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนก็คือ "กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า" หรือ กอ.รมน.ภาค 4 สน. และฝ่ายที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาก็คือ "ศูนย์อำนวย



          การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือ ศอ.บต. ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นองค์กรหลักในการแก้ปัญหาซึ่งต้องเผชิญกับเงื่อนไขของกลุ่มขบวนการที่มีผู้กล่าวอ้างอยู่เสมอ อันได้แก่ เงื่อนไขด้านศาสนา ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ รวมทั้งภัยแทรกซ้อน เช่น ยาเสพติด สินค้าเถื่อน

         ทั้งนี้ ยังมีองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญและมิควรมองข้าม คือ "มิติต่างประเทศ" โดยเฉพาะการติดตามแก้ไขปัญหาของประชาชนมุสลิม และความขัดแย้งของประชาชนมุสลิมทั่วโลกโดยมีองค์กรที่ชื่อว่า องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ซึ่งในประเทศไทยพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ OIC ให้ความสนใจและติดตามการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทย ที่มีความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนท่านผู้อ่านได้รับทราบผลการดำเนินงานของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จึงขอชี้แจงสรุปท่าทีของ OIC ในห้วงที่ผ่านมาดังนี้.-

        ประการที่ 1 การแสดงท่าทีขององค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ในห้วงที่ผ่านมาในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ครั้งที่ 39 ณ กรุงจิบูติประเทศสาธารณรัฐจิบูติ ระหว่างวันที่ 15 ถึง 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศไทยเดินทางไปเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ และล่าสุดในการประชุมผู้นำสูงสุดขององค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ครั้งที่ 12 ณ กรุงไคโรประเทศอียิปด์ ระหว่างวันที่ 6 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 โดยมีผู้นำสูงสุดจากประเทศสมาชิกรวม 26 ประเทศ จากทั้งหมด 57 ประเทศเข้าร่วมประชุมซึ่งการประชุม




          ในครั้งหลังสุดนี้ ประธานและผู้แทนในเครือประเทศสมาชิก ที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมประชุมได้แสดงความชื่นชมต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบ และการดูแล พี่น้องมุสลิมของรัฐบาลไทยโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาจังหวัดขายแดนภาคใต้ OIC ได้ออกแถลงการณ์ยอมรับความตั้งใจจริง และความพยายามในการแก้ไขปัญหาตามที่ได้แถลงการณ์ร่วมกับ OIC เมื่อปี พ.ศ. 2550 มีความว่า

        “ขอแสดงความชื่นชนในความพยายามของเลขาธิการ OIC ที่ได้ติดตามสถานการณ์ของพี่น้องมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุน และมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ เพื่อปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาในแถลงการณ์ร่วมเมื่อปี พ.ศ. 2550 พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลไทยจะดำเนินการในลักษณะที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และใคร่ขอร้องให้เลขาธิการ OIC ร่วมมือกับรัฐบาลไทย และติดตามการพบปะ พูดคุยเชิงสร้างสรรค์ภายใต้ผลประโยชน์ของพี่น้องชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยอันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ในเรื่องเสรีภาพความมั่นคง และสันติสุขต่อไป”

         ประการที่ 2 ในการแถลงการณ์ร่วมเมื่อ พ.ศ.2550 คำแนะนำ และข้อห่วงใยของคณะผู้แทน OIC ในขณะนั้นรัฐบาลไทยได้แสดงความจริงใจในการนำมาแก้ไขปัญหาโดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในหลายประการ รวมทั้งได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์อย่างจริงจังอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เรื่องการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน การเยียวยา และการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม การไม่กีดกันทางศาสนา รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย และการเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยโดยสันติวิธี ซึ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ทุกฝ่ายของ OIC มีความพอใจหมดความกังวล อีกทั้งยังมีความเข้าใจต่อสถานการณ์ความจริงที่ทั้งโลกได้รับรู้ว่า

  • 1. ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยไม่ใช่ปัญหาทางศาสนา ถือเป็นเรื่องปกติของทุกประเทศที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยจึงควรใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา

 

  •  2. องค์กรต่างประเทศ และ OIC ต่างประณามการกระทำของผู้ที่ก่อเหตุรุนแรงทุกระดับ การสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไทยพุทธ โดยเฉพาะการกระทำต่อ นักบวช ครู เด็ก และสตรี
  • 3. การทำร้ายพี่น้องมุสลิม และผู้ที่นับถือศาสนาอื่นที่บริสุทธิ์ การขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ เป็นการกระทำที่ผิดกฎบัตร OIC และหลักศาสนาอิสลาม
  • 4. เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันคัดค้านการใช้ความรุนแรงแต่ให้อยู่ร่วมกันโดยสมานฉันท์ และร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่าปล่อยให้ใครนำศาสนาอิสลามไปเชื่อมโยงกับก่อการร้าย
  • 5. ผู้กระทำความผิดต้องถูกนำตัวมาลงโทษตามกฎหมาย ทุกคนควรมีความเสมอภาค และอยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมาย
  • 6. ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอาณาเขต มีความเป็นประชาธิปไตยโดยไม่อาจแบ่งแยกได้

         กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภาคในภาค 4 ส่วนหน้า ถือว่าความร่วมมือ ร่วมใจ ความคิดเห็นของทุกฝ่าย และท่าทีของประชาคมโลก โดยเฉพาะองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ได้มีส่วนในการสร้างสันติภาพแสดงความมั่นใจให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นพลังผลักดันให้กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้รับทราบ และตระหนักถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน อันจะนำไปสู่การยินยอม

         ปรับแนวความคิดของกลุ่มหรือบุคคลให้มีการใคร่ครวญพิจารณาถึงหลักการแห่งสันติภาพ ความมีมนุษยธรรม การเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนโดยในปัจจุบันทางรัฐบาลไทยได้เปิดโอกาส และทางออกสำหรับการออกมาพูดคุยเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จด้วยตัวของตนเองเป็นสำคัญ
http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม