วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีสงครามสงครามยืดเยื้อ

ทฤษฎีสงครามสงครามยืดเยื้อ


ทฤษฎีสงครามปฏิวัติตามแนวทางของเหมาเจ๋อตุง

     ในการทำสงครามต่อสู้ญี่ปุ่นและรัฐบาลก๊กมินตั๋ง เหมาฯยึดหลักพิชัยสงครามของ ซุนวู ปราชญ์ นักรบจีนโบราณที่ว่า ต้องเอาชนะจิตใจประชาชนต้องเอาแหล่งที่มาของเสบียงอาหาร และพิชิตป้อมปราการต่างๆ ให้จงได้โดยที่เหมาฯมีเหตุผลที่ว่า “ทหารเปรียบเสมือนปลา ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ ปลาถ้าขาดน้ำก็ตายฉันใด ทหารถ้าอยู่ห่างประชาชนก็ย่อมตาย ฉันนั้น ”
      เหมา ฯ ได้เขียนหนังสือชื่อ “On the Protracted War” โดยเหมาฯ กล่าวว่า การระดม กำลังทางการเมืองหมายถึงการบอกให้ประชาชน และกองทัพทราบถึงวัตถุประสงค์ทางการ เมืองในการทำสงครามนอกจากนั้นยังต้องวางกำหนด ขั้นตอนพร้อมทั้งจุดมุ่งหมาย ในการนำ ไปสู่วัตถุประสงค์อันนี้ไว้ให้ชัดเจนด้วย แนวความคิดของเหมาฯ ดังกล่าว ถือว่าเป็นรากฐาน ของการกำหนดยุทธศาสตร์สงครามปฏิวัติเพื่อยึดอำนาจรัฐด้วยมวลชนหรือ เรียกว่า “ สงคราม ประชาชน (People’s War) โดยมีหลักนิยมในการดำเนินการรวม ๓ ขั้นตอน คือ ปฏิวัติ ประชาชาติ ประชาธิปไตย ปฏิวัติสังคมนิยม และปฏิวัติไปสู่คอมมิวนิสต์สมบูรณ์แบบ
      ในการแย่งชิงอำนาจรัฐ จากรัฐบาลจะต้องใช้วิธีปลุกระดมมวลชน ให้ลุกขึ้นต่อสู้โดย เงื่อนไขประชาธิปไตย และเงื่อนไขประชาชาติ โดยรวมกำลังผู้รักชาติขับไล่จักรวรรดินิยมให้ หมดไปจากแผ่นดิน และใช้เงื่อนไขต่างๆ เช่น เงื่อนไขเศรษฐกิจเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมใน สังคม เป็นเครื่องมือในการรุกทางการเมือง เพื่อเตรียมมวลชนปฏิวัติ ทำสงครามประชาชนด้วย กองกำลังติดอาวุธ ตามกลยุทธ์ป่าล้อมเมืองทำการต่อสู้แบบยึดเยื้อยาวนานจนกว่าจะได้รับชัย ชนะ แบ่งยุทธวิธีออกเป็น ๓ ขั้นตอน
     ขั้นรับ ในขณะที่มีกำลังน้อยกว่ากำลังของเจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องดำเนินการแทรกซึมบ่อน ทำลาย และปลุกระดมทุกรูปแบบโดยดำเนินการทั้งในเมืองและชนบทเพื่อให้เกิดความแตก แยกในหมู่ประชาชนและข้าราชการ โดยชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแอและความล้มเหลวของรัฐบาล สำหรับการสู้รบใช้แบบ จรยุทธ์ (Mobile Warfare) ซุ่มยิง ซุ่มโจมตี หรือยิงรบกวน
     ขั้นยัน ในขั้นตอนนี้ฝ่ายที่ทำสงครามปฏิวัติ จะพยายามทำลายเศรษฐกิจของชาติทุก วิถีทาง และสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคม สำหรับในชนบทนั้นจะทำการสู้รบด้วยสงคราม จรยุทธ์เป็นหลัก ด้วยการต่อต้านกำลังป้องกันและปราบปรามฝ่ายรัฐบาลรวมทั้งเข้าครอบครอง พื้นที่ในชนบท บางแห่งเพื่อประกาศเป็นเขตปลดปล่อย และฐานที่มั่น
     ขั้นรุก ขั้นนี้เป็นขั้นที่ฝ่ายปฏิวัติจะทำการรุกทางทหารและดำเนินสงครามจิตวิทยาอย่าง กว้างขวาง การเปิดสงครามรบพุ่งจะเป็น การใช้กำลังรบตามแบบ (Conventional Warfare) เพื่อให้ได้ชัยชนะในขั้นแตกหัก ยึดเมืองและทำการปฏิวัติล้มล้างการปกครองและยึดอำนาจรัฐ และบีบบังคับให้รัฐบาลต้อง ยอมจำนนในที่สุด
      จากชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในการทำสงครามปฏิวัติ จีนและสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้เหมาฯ มีข้อสรุปว่า การนำทฤษฎีของมาร์กซ์ – เลนิน ซึ่งมีรากฐานจากการทำสงคราม ปฏิวัติสำหรับประเทสสังคมอุตสาหกรรมมาใช้กับประเทศ จีนที่เป็นสังคมเกษตรกรรมนั้น ไม่ได้ผล เพราะมีกรรมกรไม่เพียงพอที่จะเป็นมวลชนสนับสนุนการปฏิวัติในเมืองเช่นการปฏิวัติ รัสเซียได้ จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ชาวนาชาวไร่ตามกลยุทธ์ป่าล้อมเมืองแทน

การนำทฤษฎีสงครามปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงไปใช้ในช่วงสงครามเย็น

      กลยุทธ์ของการทำสงครามปฏิวัติในช่วงสงครามเย็นนั้น ทฤษฎีสงครามประชาชน (People’War) ของเหมา ฯ นับได้ว่า เป็นทฤษฎีที่โดดเด่นและมีผู้นำไปใช้ หรือนำไปดัดแปลง ใช้เป็นจำนวนมากที่ประสบผลสำเร็จอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ การทำสงครามกองโจรที่เรียกว่า FOCO เพื่อล้มล้างระบอบการปกครองของประธานาธิบดี บาติสต้า โดยมี ฟิเดล คาสโตร เป็น ผู้นำและการทำสงครามปฏิวัติโดยใช้กลยุทธ์ป่าประสานเมืองของโฮจิมินห์ นอกนั้นมีเกือบจะ สำเร็จ เช่น กัมพูชา แองโกลา ซิมบับเว นามิเบีย และแอลจีเรีย เป็นต้น จุดเด่นที่สำคัญของ ทฤษฎีสงครามประชาชนของเหมา ฯ ก็คือ การใช้การเมืองนำหน้า การทหาร การจัดตั้งกลุ่ม การเมืองทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยเพื่อประสานการเคลื่อนไหวทาง การเมืองการทำสงคราม ยืดเยื้อ และใช้ชนบทห่างไกลเป็นฐานที่มั่นในการรุกคืบหน้า เป็นต้น แนวความคิดต่างๆ เหล่านี้ ดูไม่ยุ่งยาก แต่ทำไมการทำสงครามปฏิวัติของเหมาฯ จึงประสบความสำเร็จและมีอุปสรรคค่อน ข้างน้อย ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ในช่วงนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ ไม่แพร่ หลาย นอกจากนี้จากการที่ฝ่ายปฏิวัติได้พยายามค้นหาหรือสร้างเงื่อนไขที่เป็นจุดอ่อนแอของ รัฐบาลที่ครองอำนาจรัฐอยู่ในขณะนั้น เช่นปัญหาการไร้ความชอบธรรมในการปกครองประเทศ ความยากจน และความไม่เป็นธรรมในสังคม เป็นต้น อย่างไรก็ดี การทำสงครามปฏิวัติในบาง ประเทศก็อยู่ห่างไกลจากความสำเร็จ เช่นกรณีของ เอล ซัลวาเดอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม