วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มะกอกสามตะกร้า

ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่านครับ



ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า หลักการของศาสนาอิสลาม มาจาก 2 แหล่ง คือ
1.กุรอาน
2.ซุนนะห์ (แนวทาง กิจปฏิบัติ รวมทั้งคำพูด) ของท่านศาสดา

หลัก การใดขัดแย้งไปจากนี้ถือว่า ไม่ใช่หลักการอิสลาม และหากหลักการใดมีการขัดแย้งกันเอง ให้ถือว่ากุรอานคือข้อตัดสินขั้นเด็ดขาดครับ

การพ้นไปจากศาสนาอิสลามนั้น ในภาษาอาหรับ คือ “ริดดะฮฺ” ซึ่งแปลว่า การหันหลังให้ ส่วนผู้ที่กระทำการดังกล่าว เรียกว่า มุรตัด ซึ่งเป็นที่เข้าใจในหลาย ๆ ครั้งว่า โทษคือการประหารชีวิต ... แต่ในความเป็นจริงเมื่อเราพิจารณาจากกุรอาน เราจะพบว่า กุรอานได้บัญญัติเรื่องการพ้นจากศาสนาไว้ 13 อายะห์ (โองการ) ในแต่ละซูเราะห์ (บท) เช่น

“...จน กว่าเจ้าจะปฏิบัติตามศาสนาของพวกเขา จงกล่าวเถิด แท้จริงคำแนะนำของอัลลอฮ์เท่านั้น คือ คำแนะนำ แน่นอนถ้าเจ้าปฏิบัติตามความใคร่ของพวกเขา หลังจากที่มีความรู้มายังแล้ว ก็ย่อมไม่มีผู้คุ้มครองและผู้ช่วยเหลือใด ๆ สำหรับเจ้าให้พ้นจากการลงโทษของอัลลอฮ์ได้” (กุรอาน 2:120) 

“และ ผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (กุรอาน 3:85) 

“ผู้ ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์หลังจากที่เขาได้รับศรัทธาแล้ว(เขาจะได้รับความ กริ้วจากอัลลอฮ์) เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับทั้งๆ ที่หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาด้วยการปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็จะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์และสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่าง มหันต์” (กุรอาน 6:106)

แต่จากทั้งหมด พบว่า ไม่มีโองการใดเลยที่ระบุถึงโทษทัณฑ์ที่ต้องได้รับบนโลกนี้ โทษทั้งหมดถูกระบุว่าเป็นความรับผิดชอบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น

ถึงแม้ว่า จะมีการก่อตั้งรัฐอิสลามขึ้นแล้วก็ตาม ก็ยังไม่มีโองการใดระบุว่าต้องทำโทษหรือประหารผู้ที่หลุดพ้นจากศาสนา อาทิเช่น ซูเราะห์อัล บากอเราะห์ อายะห์ที่ 217 ความว่า

“...และ ผู้ใดในหมู่พวกเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของเขา แล้วเขาตายลง ขณะที่เขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้วไซร้ ชนเหล่านี้แหละบรรดาการงานของพวกเขาไร้ผล ทั้งในโลกนี้และปรโลก และชนเหล่านี้แหละคือชาวนรก ซึ่งพวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล”

นักการ ศาสนาบางท่านให้ความเห็นว่า การพ้นจากศาสนานั้น เป็นความผิดที่เขาผู้นั้นต้องรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเอง ซึ่งหากว่ามีการลงโทษประหารชีวิตด้วยเหตุผลของการพ้นจากศาสนาจริง มันก็จะไปขัดแย้งกับโองการที่ว่า -

"ไม่ มีการบังคับใด (ให้นับถือ) ในศาสนา อิสลาม แน่นอน ความถูกต้องนั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อ อัฎ-ฎอฆูต(ซัยตอน) และศรัทธาต่ออัลลอฮ์แล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว โดยไม่มีการขาดใด ๆ เกิดขึ้นแก่มัน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้" (กุรอาน 2:256)

เมื่อไม่มีการระบุการลงโทษในทางโลกที่บันทึกในกุรอานแล้ว หากมามองในแง่ของซุนนะห์ท่านศาสดาจะพบว่า

ครั้งหนึ่ง มีชาวยิวกลุ่มหนึ่ง มาเข้ารับศาสนาอิสลาม แต่ต่อมาก็ได้ละทิ้งอิสลามและกลับไปสู่ศาสนาเดิม ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะห์อาลิอิมรอน อายะห์ที่ 71-73 แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้ถูกท่านศาสดาลงโทษแต่ประการใด ... หรืออีกกรณีหนึ่งที่อาหรับเบดูอิน คนหนึ่งมาหาท่านศาสดาและขอเข้ารับอิสลาม แต่ต่อมาเขาก็ล้มป่วยและมาขอยกเลิกการเป็นมุสลิม (คือ เปลี่ยนจากอิสลามไปเป็นอย่างอื่น) ถึง 3 ครั้ง แต่ทั้ง 3 ครั้งท่านศาสดาก็ปฏิเสธอย่างสุภาพ จนสุดท้ายเขาจึงเดินทางออกไปจากมาดีนะห์ ซึ่งท่านศาสดาก็ไม่ได้กล่าวโทษเอาผิด หรือส่งทหารออกตามล่าแต่อย่างใด

จากบทสรุปในหลายส่วน นักวิชาการมุสลิมให้ความเห็นในหลายด้าน บ้างก็ว่า การพ้นจากศาสนาจำเป็นต้องถูกประหารโดยอ้างเอาหะดิษ ของอิบนุอับบาส ที่ว่า “ผู้ใดเปลี่ยนศาสนาจงฆ่าเขา” หรือหะดิษที่เกี่ยวกับชนเผ่าอูกัลป์เป็นต้น แต่ทั้งหมดก็ถูกอีกฝ่ายโต้แย้ง โดยอ้างหลักฐานจากกุรอานในซูเราะห์ที่ 2 อายะห์ที่ 256 และซุนนะห์ท่านศาสดา โดยวิจารณ์ว่าการสังหารที่เกิดขึ้น เป็นเพราะคดีความอื่น (เช่นการปล้น) ไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนศาสนา

โดยทั้งนี้มีหลักฐานบางประการจากคอลีฟะห์อุมัร (รด.) ว่าท่านได้สั่งให้ทหารของท่านจัดการกับผู้เปลี่ยนศาสนาอย่างสันติวิธี หรือหากชักชวนไม่ได้ผล ก็ควรจำคุกดีกว่าการประหารนักวิชาการมุสลิมจึงให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนศาสนาของมุสลิมคนหนึ่งนั้น ควรจำกัดให้เป็นโทษแบบตะอฺซีร (คือ อยู่ในดุลพินิจของผู้พิพากษา) หากการเปลี่ยนศาสนานั้นไม่ได้ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ ก็ไม่จำเป็นต้องลงโทษ หรือแค่แนะนำ ตักเตือน แต่หากการเปลี่ยนศาสนามีผลต่อความมั่นคงของรัฐ หรือเปลี่ยนด้วยเจตนาของการก่อกบฏต่อรัฐ ก็อาจจำคุก หรือประหารชีวิตได้ ซึ่งทัศนะนี้ได้รับการยอมรับมากกว่า ทัศนะของบางมัซฮับ (สำนักคิดทางนิติศาสตร์อิสลาม) ที่กล่าวว่ามันเป็นโทษประเภท ฮัด (ความผิดที่ชัดเจน)

สิ่งที่เราควรย้อนไปพิจารณาที่มาของการกำหนดโทษประหาร นั้นก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ในสมัยแรกเริ่มของการจัดตั้งอาณาจักรอิสลามนั้น มีผู้คนที่เข้ามานับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผล 3 อย่างคือ 1. ศรัทธาในศาสนา 2.ต้องการได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและการเมือง ในฐานะที่เป็นพลเมืองมุสลิม และ 3. คือ เข้ามาหาข่าว หรือ เป็นพวกสอดแนมจากฝ่ายศัตรูของมุสลิม

การกำหนดโทษของการประหาร จึงเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นแก่ความมั่นคงของศาสนา และ เป็นการพิสูจน์ว่า ผู้ที่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลามนั้น คือ ผู้ที่จิตใจของเขา ศรัทธาและมั่นคงในอิสลามอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลงแล้ว

บรรดา ผู้ที่เกลียดชังอิสลามนั้น ต่างพยายามหาข้อโจมตีศาสนาอิสลามในเรื่องนี้ แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้พิจารณาด้วยใจที่เป็นธรรมว่า ... อิสลามนั้นไม่ได้บังคับให้ใครต้องมานับถือศาสนา ก่อนที่เขาเหล่านั้นจะเข้าใจในศาสนาอิสลาม ความจริงแล้วอิสลามกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่จะปฏิญาณตนเป็น มุสลิมนั้น คือ ผู้ที่จิตใจของเขาศรัทธามั่นในพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และ พร้อมที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติต่าง ๆ ของศาสนาได้อย่างสมบูรณ์

หากไม่สามารถศรัทธา และ ปฏิบัติได้ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ... การเป็นมุสลิมของเขาก็ไม่ถูกต้อง

...แล้วเหตุใด ศาสนาอิสลาม จึงต้องกลายมาเป็นจำเลย ให้กับ ความไม่จริงใจและความกลับกลอก ของบุคคลเหล่านี้ ฮืม
   http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/401/7401/images/Adam/islam/musachi1/normal_Mecca.jpg


   ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน


มีคำถามหนึ่งได้ถามมายังผมว่า “ เหตุใด การเป็นมุสลิม ต้องศรัทธา ในโลกหน้า”
คำถามนี้ ผมขอแยกเป็น 2 คำถามย่อย เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ
1.ทำไมต้องศรัทธา
2.เหตุผลของการศรัทธา คืออะไร


1.ทำไมต้องศรัทธา?

คำตอบที่ง่ายที่สุด และ เป็นเหตุผลของตัวมันเอง ก็คือ เพราะเป็นมุสลิม จึงต้องศรัทธาโลกหน้า... ถ้ายังงง เราลองย้อนไปดูหลักศรัทธา ของการเป็นมุสลิมกันก่อนดีกว่ามั้ย ครับ

หลักการศรัทธาของอิสลามนั้น มี 6 ประการหลัก ๆ ข้อแรก คือ การศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า และข้อที่ 5 คือ การศรัทธาในโลกหน้า
สิ่งที่เป็นข้อพิสูจน์ความจริง และการยอมรับศรัทธาในเรื่องโลกหน้านั้น มี 3 หนทางด้วยกัน

1.1 การศรัทธาในโลกหน้า เพราะ เป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า ตรัสไว้
1.2 การศรัทธาในโลกหน้า เพราะท่านศาสดา ได้กล่าวไว้


1.1 การศรัทธาในโลกหน้า เพราะ เป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า ตรัสไว้

กุ รอาน นั้น คือ คำตรัสของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าจะส่วนหนึ่งส่วนใด หรือ ทั้งหมดก็ตาม กุรอานเองยืนยันตัวมันเองว่า ทุกส่วนของมันนั้น คือ คำตรัสของพระเจ้า และคำตรัสของพระเจ้า ย่อมเป็นสิ่งสัตย์จริงเสมอ

“..อัลกุรอานนั้น มิใช่อะไรอื่นนอกจากคำตักเตือนสำหรับประชาชาติทั้งหลายเท่านั้น” (กุรอาน 6: 90)

“ พวกเขาไม่พิจารณาดูอัล-กุรอานบ้างหรือ ? และหากว่า อัล-กุรอานมาจากผู้ที่ไม่ใช่อัลลอฮฺแล้วแน่นอนพวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความ ขัดแย้งกันมากมาย” (กุรอาน 4: 82)

“ และอัลกุรอานนี้มิใช่จะถูกปั้นแต่งขึ้นโดยผู้ใดนอนจากอัลลอฮ์ เป็นการยืนยันคัมภีร์ที่มีมาก่อน และเป็นการจำแนก ข้อบัญญัติต่าง ๆ ในนั้น ไม่มีข้อสงสัยในคัมภีร์นั้น ซึ่งมาจากพระเจ้าแห่งสากลโลก” (กุรอาน 10: 37)


กุรอาน หรือ คำตรัสของพระผู้เป็นเจ้านั้น ได้บอกแก่เราถึงเรื่องความตาย และ เรื่องโลกหน้าไว้ในหลายส่วนด้วยกัน เช่น


"ทุกชีวิตย่อมลิ้มรสความตาย และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความชั่วและความดี และพวกเจ้าจะต้องกลับไปหาเราอย่างแน่นอน " (กุรอาน 21: 35)

“ผู้ที่ศรัทธาในคัมภีร์ ที่เราได้ส่งมาให้แก่เจ้า และในคัมภีร์ที่เราได้ส่งมา ก่อนหน้าเจ้า และเชื่อมั่นในโลกหน้า” (กุรอาน 2:4 )

“และชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้นมิใช่อะไรอื่น นอกจากการเล่น และการเพลิดเพลินเท่านั้น และแน่นอนสำหรับบ้านแห่งอาคีเราะห์ นั้นดียิ่งกว่า สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง พวกเจ้าไม่ใช้ปัญญาดอกหรือ? (กุรอาน 6:32 )

“และแท้จริงบรรดาผู้ไม่ศรัทธาต่อโลกหน้านั้น เราได้เตรียมไว้สำหรับพวกเขาแล้วซึ่งการลงโทษอันเจ็บแสบ” (กุรอาน 17:10 )



1.2 การศรัทธาในโลกหน้า เพราะ เป็นสิ่งท่านศาสดา กล่าวไว้

ท่าน ศาสดามูฮัมมัด (ซล.) ได้ถูกกล่าวไว้ว่า ท่านคือ ผู้นำ และ ผู้สืบสาส์นจากพระเจ้า มายังมนุษย์ ทุกสิ่งที่ท่านกล่าวหรือ บอกให้เรารู้นั้น ไม่ได้มาจากตัวท่านเอง หากแต่มาจากการดลใจของพระผู้เป็นเจ้า

“..และเจ้าจงปฏิบัติตามที่ถูกวะฮีย์ (ดลใจ)แก่เจ้าและจงอดทน..” (กุรอาน 10:109 )

“และในทำนองนั้น เราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาไว้เป็นข้อชี้ขาดที่เป็นภาษาอาหรับ…” (กุรอาน 13:37 )

“และ จงอ่านสิ่งที่ถูกวะฮี (ดลใจ) แก่เจ้า จากคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้าของเจ้า ไม่มีผู้ใดเปลี่ยนแปลงคำกล่าวของพระองค์ และเจ้าจะไม่พบที่พึ่งใด ๆ เลยนอกจากพระองค์” (กุรอาน 18:27 )

จาก อบูมุฮัมมัด อับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล อาศ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "คนหนึ่งคนใดในพวกท่าน ไม่มีศรัทธา (ที่แท้จริง ที่สมบูรณ์) จนกว่าความต้องการ ของเขาจะตาม (เห็นด้วยกับ) สิ่งที่ฉันได้นำมา (สอนแก่ท่าน)" ( หะดีษหะซัน เศาะฮีหฺ)


ท่านศาสดา ได้กล่าวถึงเรื่องโลก หรือ กล่าวพาดพิงไปยังโลกหน้า ( กิยามะห์ และ อาคิเราะห์ ) ไว้ เช่น


"พึง ทราบเถิดว่า ผู้ใดก็ตามที่กดขี่ต่อ ผู้มีพันธะสัญญา หรือ ล่วงละเมิด หรือ ให้เขารับผิดชอบในสิ่งที่เกินกำลังของเขา หรือ เอาสิ่งใดจากเขา โดยที่เขาไม่เต็มใจ ดังนั้น ฉันจะโต้แย้งกับเขาในวันกิยามะฮ" (รายงานโดยอบูดาวูด)

จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า

" ผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และศรัทธาต่อวันสุดท้าย เขาจักต้องพูดจาที่ดีๆหรือไม่ก็เงียบ และผู้ใดศรัทธาในอัลลอฮฺและวันสุดท้าย เขาจักต้องให้เกียรติเพื้อนบ้านของเขา และผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสุดท้าย เขาจักต้องให้เกียรติแขกของเขา" ( หะดีษนี้ บันทึกโดย บุคอรี มุสลิม)


หะดิษ ( คำพูด) นี้มีนัยยะสำคัญซ่อนอยู่ สังเกตให้ดีจะเห็นว่า ท่านศาสดานั้น เน้นย้ำอยู่กับ 2 สิ่งที่สำคัญยิ่ง นั่นคือ พระผู้เป็นเจ้า และ วันสุดท้าย หรือ โลกหน้า อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความสำคัญของการศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้านั้น มีปลายทางอยู่ที่ การเดินทางสู่โลกหน้านั่นเอง


ดัง นั้น จะเห็นได้ว่า หลักฐานการอ้างอิงเรื่องโลกหน้า นั้น มิใช่การนึกฝันหรือ พูดเอาเองจากใคร หากแต่มีหลักฐานชัดแจ้งมาจาก พระผู้เป็นเจ้า และ ผู้นำสาส์นของพระองค์ จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ผู้ที่ยอมรับในศาสนาอิสลาม จะปฏิเสธความศรัทธาในเรื่องนี้

หากเราศรัทธาในศาสนาอิสลามด้วยเชื่อว่า มีพระเจ้าที่แท้จริงอยู่แล้ว เช่นนั้น เหตุใดจึงไม่ศรัทธาในสิ่งที่พระองค์ตรัสเล่า?

หาก เราศรัทธาในศาสนาอิสลามด้วยเชื่อว่า กุรอานนั้นคือ ความสัตย์จริงบนโลกแห่งการหลอกลวงใบนี้แล้ว เช่นนั้น เหตุใดจึงไม่ศรัทธาในสิ่งที่กุรอาน กล่าวว่า มันมีอยู่จริงเล่า?

และ หากเราศรัทธาในศาสนาอิสลามด้วยเชื่อว่า ท่านศาสดาคือ ผู้นำสาส์นที่แท้จริงจากพระเจ้ามาสู่มนุษย์แล้ว เช่นนั้น เหตุใดจึงไม่ศรัทธาในสิ่งที่ท่านศาสดาได้กล่าวตักเตือนเราไว้เล่า ?



หลัก ศรัทธาในศาสนาอิสลามนั้น มิได้ถูกจำแนกแยกย่อยเป็นปัจเจก หรือ ดำรงอยู่อย่างเอกเทศได้ แต่ หลักศรัทธาทั้งหมดนั้น มีที่มาจากหลักการศรัทธาเพียงข้อเดียวคือ “ลาอิลาฮฺ ฮาอิลลัลเลาะห์” หรือ “ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลเลาะห์” เราเลือกที่จะศรัทธาข้อนั้น ไม่ศรัทธาข้อนี้ ไม่ได้ เพราะ ดังได้กล่าวแล้วว่า ... การศรัทธาในศาสนาอิสลามนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาจำแนกแยกย่อยพิจารณา หากแต่ทั้งหมด คือ องค์ประอบที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้


ดัง นั้น การศรัทธาในโลกหน้านั้น จึงมิใช่เป็นการศรัทธาในตัวตน หรือการมีอยู่อย่างเอกเทศของมัน หากแต่มันเป็นผลผลิตของความศรัทธา ที่มีต่อแก่นของศาสนาอิสลาม .... ความศรัทธาสูงสุดของอิสลามนั้นคือ การศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และ การศรัทธาในข้ออื่นๆ นั้น ก็คือ ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการศรัทธา ในพระผู้เป็นเจ้า นั่นเอง …. หากการศรัทธาในศาสนาอิสลามคือต้นไม้ 1 ต้น แก่นของลำต้นนั้นก็คือ การศรัทธาในพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว และการศรัทธาในข้ออื่น ๆ ก็คือ บรรดา ใบ ดอก และ ผลของมัน ... แน่นอนว่า ต้นไม้ นั้นอาจอยู่ได้ด้วยแก่นของมัน แต่ มันจะเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์ไม่ได้ หากว่า ใบ ดอก และผลของมันไม่งอกเงยออกมา และไม่ถูกยอมรับ


ต้นแอบเปิ้ล จะเป็นต้นแอปเปิ้ลที่สมบูรณ์ได้อย่างไร หากว่า มันไม่เคยมีใบ หรือ ผลแอปเปิ้ลออกมาเลย สักครั้งเดียว.... ความศรัทธาก็เช่นกัน จะสมบูรณ์ได้อย่างไร เมื่อมันถูกปฏิเสธองค์ประกอบของการศรัทธาทิ้งไป....

   2.เหตุผลของการศรัทธา คืออะไร
  
   กุรอานได้บอกแก่เราว่า
  
   “และ ชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้นมิใช่อะไรอื่น นอกจากการเล่น และการเพลิดเพลินเท่านั้น และแน่นอนสำหรับบ้านแห่งอาคีเราะห์ นั้นดียิ่งกว่า สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง พวกเจ้าไม่ใช้ปัญญาดอกหรือ? (กุรอาน 6:32 )
   อิสลามนั้น วางอยู่บนหลักปรัชญาพื้นฐานในการมีชีวิตอยู่ว่า “โลกนี้ถูกสร้างมาเพื่อนเรา แต่เราถูกสร้างมาเพื่อโลกหน้า” อันมีความหมายว่า บรรดาสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ ที่เราสัมผัสได้ ล้วนเป็นเพียงการตอบสนองต่อ มายาภาพ สิ่งทั้งหลายที่มากระทบนั้นล้วนไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสิ่งที่มีขึ้น แล้วดับไป กุรอานได้อธิบายความรู้สึกเหล่านี้ด้วยประโยคที่ว่า
    
  
   “และชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้นมิใช่อะไรอื่น นอกจากการเล่น และการเพลิดเพลินเท่านั้น..”
    
  
   โองการข้างต้น สะท้อนให้เห็นความไม่มีแก่นสารของสัมผัสเหล่านั้น มันถูกสร้างมาจากพระผู้อภิบาลของมัน เพียงเพื่อการตอบสนองความสุข และ ความทุกข์ บนโลกนี้เท่านั้น เพียงเพื่อให้มนุษย์ได้รู้จักแสวงหา รู้จักที่จะฝึกจิต และ เรียนรู้การแสวงหาสัจธรรม หรือ ความจริงสูงสุด
    
  
   เมื่อโลกนี้ดับสูญ สิ่งเหล่านี้ก็ดับสูญในรูปลักษณ์ของมัน หน้าที่ของมันในโลกหน้าก็คือ การเป็นพยานยืนยันต่อสิ่งที่มนุษย์ได้เก็บเกี่ยวเอาไปจากมัน ความสวยงามที่เราเห็น จะฟ้องว่า ตอนที่เรามีชีวิตนั้น เราใช้มันทำอะไรบ้าง ... ใช้เสริมสวย ... ใช้เพื่อยั่วยวนราคะจริต หรือ ใช้เพื่อพิจารณาความเป็นไปของโลก ความน่าเกลียด ก็จะฟ้องเราว่า ตอนที่เรามีชีวิตนั้น เราใช้มันทำอะไรบ้าง ... ใช้ทำร้ายคนอื่น ... ใช้เพื่อสร้างความสนุกสนาน หรือ ใช้เพื่อจรรโลงใจเราให้สงบนิ่ง ดังที่กุรอานได้กล่าวว่า
  
   “และ สิ่งใดที่พวกเจ้ามิได้รับนั้น มันเป็นเพียงปัจจัยแห่งชีวิตของโลกนี้ และเป็นเครื่องประดับของมัน(*1*)แต่ที่อัลลอฮ์นั้นดีกว่าและจีรังกว่า(*2*) พวกเจ้าไม่ใช้ปัญญาใคร่ครวญดอกหรือ ?” (กุรอาน 28:60)
  
   (1) คือสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่มนุษย์ เช่น ทรัพย์สมบัติ และความดีต่าง ๆ นั้น มันเป็นเพียงปัจจัยเล็กน้อย ที่พวกเจ้าจะได้ใช้มันในชีวิตนี้เท่านั้น แล้วมันก็จะสูญสลายพินาศไป
   (2) ส่วนที่อัลลอฮ์ทรงจัดเตรียมไว้ให้แก่บ่าวผู้ยำเกรงนั้น เช่น ผลบุญแห่งการตอบแทน และความโปรดปรานที่ยั่งยืนตลอดไปนั้นย่อมดีกว่าและประเสริฐกว่าปัจจัยที่สูญ สลายยิ่งนัก
  
  
   ดังนั้นสำหรับโลกนี้แล้ว จึงไม่มีอะไรมากไปกว่า สิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน ไม่มีตัวตนที่แท้จริง และ ไม่มีความมั่นคง หากแต่อิสลามนั้น ไม่ได้กล่าวว่า โลกนี้เป็นทุกข์ แต่อิสลามกล่าวว่า โลกนี้คือ บททดสอบ ทุกข์ในโลกนี้ ไม่จริง สุขในโลกนี้ไม่จริง ทุกอย่างเป็นไปเพื่อการทดสอบ เพื่อการแสวงหา และเพื่อการเข้าใจ
    
  
   ความสุขในโลก มีไว้เพื่อทดสอบตัวมนุษย์เอง ว่าเขาจะหลงใหลไปกับมันหรือไม่ หรือ เพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จากมัน ความทุกข์ก็เช่นกัน มีไว้เพื่อทดสอบตัวมนุษย์เอง ว่าเขาจะทุกข์ทรมานไปกับมันหรือไม่ หรือ เรียนรู้ที่จะใช้มันตักเตือนตนเอง กุรอานได้กล่าวว่า
    
  
   “และ เราได้แยกพวกเขาออกเป็นกลุ่มๆ ในแผ่นดิน จากพวกเขานั้นมีคนดี และจากพวกเขานั้นมีอื่นจากนั้น และเราได้ทดสอบพวกเขาด้วยบรรดาสิ่งที่ดี และบรรดาสิ่งที่ชั่ว..” (กุรอาน 7:168)
  
   "ทุกชีวิตย่อมลิ้มรสความตาย และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความชั่วและความดี และพวกเจ้าจะต้องกลับไปหาเราอย่างแน่นอน " (กุรอาน 21: 35)
    
  
   ทุก ๆ การทดสอบล้วนมีผลตามมา กุรอานได้กล่าวว่า
  
   “...ชีวิต นั้นจะได้รับการตอบแทนดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิตนั้นจะได้รับการลงโทษในสิ่งชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้..." (กุรอาน 2:286)
    
  
   โลกหน้านั้น เป็นโลกแห่งการตอบแทน เป็นโลกที่จีรัง ยั่งยืน สภาพของโลกหน้านั้น ไม่มีใครรู้นอกจากที่กุรอานได้กล่าวไว้ และไม่มีใครเข้าใจในสิ่งที่กุรอานอุปมาโลกหน้าไว้ นอกไปจาก อัลเลาะห์ (ซบ.)
    
  
   “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) “ไม่มีผู้ใดในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินจะรู้ในสิ่งพ้นญาณวิสัย นอกจากอัลลอฮ์...” (กุรอาน 27:65)
  
   การเดินทางสู่โลกหน้านั้น ไม่ใช่เรื่องของการตอบแทนความดี ความชั่ว ต้องแยกแยะตรงนี้ก่อน
  
   การ ตอบแทนความดีความชั่วนั้น เป็นเรื่องของการกระทำ เป็นกฎแห่งกรรม ในขณะที่การเข้าสู่โลกหน้านั้นเป็นเรื่องของการศรัทธา กุรอานกล่าวว่า
    
  
   “...ชีวิต นั้นจะได้รับการตอบแทนดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิตนั้นจะได้รับการลงโทษในสิ่งชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้..." (กุรอาน 2:286)
    
  
   “ผู้ ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน เราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วน ซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกลิดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด ชนเหล่านั้น พวกเขาจะไม่ได้รับการตอบแทนอันใดในโลกอาคิเราะฮ์ นอกจากไฟนรกและสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ในโลกดุนยาก็จะไร้ผลและสิ่งที่พวก เขาได้กระทำไว้ก็จะสูญเสียไป” (กุรอาน 11: 15-16)
    
  
   คุณลักษณะ ประการหนึ่งของอัลเลาะห์ คือ ความยุติธรรม แน่นอนว่าการตอบแทนการกระทำของมนุษย์นั้นก็ถูกวางอยู่บนหลักของความยุติธรรม เช่นกัน เมื่อมนุษย์ทำดี พระองค์ก็จะตอบแทนความดีแก่เขา และเมื่อเขาทำชั่ว พระองค์ก็จะตอบแทนความชั่วแก่เขา แต่สำหรับการตอบแทนในโลกหน้าที่จีรังยั่งยืนนั้น
    
   พระองค์ ได้กล่าวไว้แล้วว่า มีไว้สำหรับผู้ที่ศรัทธาต่อมันเท่านั้น ผู้ที่ไม่ศรัทธานั้น สภาพของเขาในโลกหน้าจึงเป็นได้แค่เพียง ผู้ที่ไม่เชื่อและปฏิเสธต่อโลกหน้า และกฎสำหรับโลกหน้านั้น สิ่งที่ผู้ปฏิเสธจะได้รับก็คือ ไฟนรก เท่านั้น
    
  
   ด้วย เหตุที่ว่า เมื่อเขาไม่เชื่อในโลกหน้า ความดีและความชั่วทั้งหลาย จึงหมดลง และถูกตอบแทนจนหมดเพียงเฉพาะโลกนี้ เมื่อถึงโลกหน้า เขาจึงมีสภาพเหมือนที่กุรอานกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ขาดทุน
    
  
   “...แน่ นอนพวกเขาได้ยังความขาดทุนให้แก่ตัวของพวกเขาเอง และสิ่งที่พวกเขาอุปโลกน์ขึ้นนั้น(คือ บรรดาพระเจ้าปลอม หรือ รูปปั้นทั้งหลาย) ได้หายหน้าจากพวกเขาไป” (กุรอาน 7:53 )
  
   “และ ผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (กุรอาน 3:85)
    
  
   แต่ สำหรับผู้ที่ศรัทธาแล้ว การได้รับการตอบแทนในปรโลก คือ รางวัลของการศรัทธา ... ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน คำว่า การตอบแทนรางวัลของการศรัทธา กับ การตอบแทนการกระทำ
  
   การตอบแทนรางวัลของการศรัทธา นั้น วางอยู่บนพื้นฐานของการศรัทธา หมายความว่า เมื่อเขาศรัทธา เขาจึงได้รับการตอบแทน ซึ่งก็คือ การที่เขาไม่ต้องลงสู่ไฟนรกอย่างผู้ขาดทุน
  
   ส่วน การตอบแทนการกระทำ ก็คือ เมื่อเขาทำดี มากกว่า ความชั่ว เขาก็สามารถเข้าสู่สวงสวรรค์ได้ แต่หากเขาทำความชั่วมากกว่าความดี เขาก็ต้องไปรับการชดใช้ในนรก
    
  
   ดัง นั้น จะเห็นความแตกต่างก็คือ สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อโลกหน้านั้น การกระทำของเขาจะได้รับการตอบแทนในโลกนี้ แต่โลกหน้านั้น เขาจะกลายเป็นเพียงเชื้อเพลิงให้กับไฟนรก ไม่มีการพิพากษาใด ๆ ไม่มีการอุทธรณ์ความดี หรือ ความชั่วใด ๆ แก่เขา … ในขณะที่ ผู้ที่ศรัทธานั้น การตอบแทนกระทำของเขา จะถูกแยกเป็น 2 ส่วน คือ ตอบแทนทั้งในโลกนี้ และ ในโลกหน้า สิ่งที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เขาขาดทุนในโลกหน้า ก็คือ การศรัทธาในโลกหน้า นั่นเอง ให้เขาได้มีสิทธิ์ได้รับการพิพากษา ได้มีสิทธิ์ขอความช่วยเหลือจากบรรดา นบี ( ศาสดา) ส่วนเขาจะไปนรก หรือ สวรรค์ นั่นก็ขึ้นกับการกระทำของเขาเอง
    
  
   ณ จุดนี้คงพอมองเห็นภาพรวมและเป้าหมายของการศรัทธาในโลกหน้าแล้ว ว่ามีเป้าหมาย เหตุผล และบทสรุปเช่นไร การใช้ชีวิตในโลกนี้ ก็เหมือนปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำนั่นแหละครับ ปลาย่อมคิดว่า โลกที่เห็น ก็คือ โลกที่เต็มไปด้วยน้ำ มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำรอบตัวไปหมด โลกที่ไม่มีน้ำ จะมีอยู่จริงได้อย่างไร ... แต่เมื่อวันหนึ่งที่ได้ขึ้นมาอยู่บนโลกที่ไม่มีน้ำ ก็เพิ่งได้รู้ว่า โลกที่ไม่มีน้ำนั้นมีอยู่จริงๆ ... แต่มันก็สายไปแล้ว
  
   “พระองค์ นั้นคือผู้ที่ได้ส่งร่อซูลของพระองค์มาพร้อมด้วยคำแนะนำ และศาสนาแห่งสัจจะ เพื่อที่จะทรงให้ศาสนาแห่งสัจจะนั้นประจักษ์ เหนือศาสนาทุกศาสนา และแม้ว่าบรรดามุชริกจะชิงชังก็ตาม” (กุรอาน 9:33)
   
  
   ด้วยจิตคารวะ
   Kheedes
    
  
   (สงวนสิทธิ์ หากนำไปเเผยแพร่ กรุณาระบุที่มา)
   http://kheedes.blogspot.com/2008/12/2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม