วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เถียงเรื่องนิยาย ตายเพราะนิยาม

วันนี้ในอดีต  27 ก.พ.54

ผมชอบอ่านเรื่องราวใน wikipedia  วันนี้ 27 ก.พ. ในเมืองไทย
ก็ตรงกับวันอาทิตย์ ในขณะที่กำลังซดกาแฟโดย(ไม่ได้แปรงฟัน)
ก็เปิดอ่านเรื่องราววันนี้ในอดีต ก็ไปเจอรายการที่สามก็พบรายการ
วันนี้ในอดีตรายการหนึ่ง มีข้อความว่า



เีืรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 9 ปีที่แล้ว สาเหตุที่แท้จริงของเรื่องนี้ก็คือ
ความขัดแย้งกัน เกี่ยวกับเรื่องนวนิยาย ที่แต่ละลัทธิ แต่ละศาสนา
สร้างขึ้นมาเพื่อ ผลทางจิตใจของศาสนิกของตัวเอง  ทีนี้ถ้ามันอยู่
ในกลุ่มของ ลัทธิตนเอง ก็คงไม่มีปัญหา

แต่นวนิยายที่ต่างคนต่างแต่งกันขึ้นมา ต่างลัทธิ ต่างก็แต่งนวนิยาย
ของตนเองขึ้นมา  ที่นี้พอนวนิยายเหล่านี้ ดันไปขัดแย้งกับนวนิยายของ
ลัทธิอื่น  ปัญหาก็เกิดละครับ

ต่างลัทธิกัน ต่างความเชื่อกัน ก็มานั่งเถียงกันละว่า นิยายของเอ็ง
ผิด ของข้าถูก นิยายของข้าถูก ของเอ็งผิด  อย่ากระนั้นเลย
จงทำลายนวนิยายเรื่องนี้ซะ เผามันทิ้งซะ

กรณีเผารถไฟ 27 ก.พ.  ความเป็นมาของเรื่องนี้ก็คือ 1,500 ปี
ก่อนคริสตศักราช หรือเมื่อ 3,500 ปีก่อน ชาวฮินดูที่นับถือ
นวนิยรามเกียรติ์ ที่สอนสาวกของตนเองให้เชื่อว่า
พระราม อันเป็นพระเอกของเรื่อง ประสูติ ที่เมืองอโยธยา 
รัฐอุตตรประเทศ 


นวนิยายเรื่องนี้บอกว่า พระรามถูกเนรเทศ ออกจากอโยธยา
เป็นเวลา 14 ปี โดยมีนางสีดา ชายาผู้ภักดี และพระลักษมณ์ 
พระอนุชาสุดที่เลิฟ ติดตามไปด้วย



ข้างฝ่ายจอมวายร้ายของเรื่อง ทศกัณฐ์ซึ่งครองกรุงลงกา 
ดันทะลึงไปลักพาตัวนางสีดาไป (ซึ่งตามนวนิยายนี้ ก็บอกไว้ว่า
ที่ทางสีดานี้ ก็คือลูกสาวของทศกัณฑ์)  พระรามจึงทำสงคราม
กับทศกัณฐ์ (แย่งผู้หญิงกัน) ที่สุดพระรามชนะเพราะมีบรรดา
สัตว์ติรัฉฉาน คนไทยชอบเรียกว่า เดียรัฉฉาน (คำว่า ติรัฉฉาน
แปลว่า สัตว์โลกผู้ไปในทางขวาง คือ ไม่สามารถยืนตรง
และเดินได้เหมือนมนุษย์  สัตว์พวกนี้ เวลาไปไหนมาไหน
หัว หรือ ศรีษะ จะนำหน้าเสมอ) พระรองของเื่รื่อง 
ยกเอาบรรดาฝูงลิงอมตะ (ไม่มีวันตาย ตายเมื่อไหร่ ลมพัด
ก็ฟื้น) ฝูงลิงหนุมานช่วย 

เมื่อชนะสงคราม พระรามจึงพานางสีดากลับพระนคร
คนฮินดูถือว่า พระรามคือแบบอย่างแห่งยอดบุรุษและยอดกษัตริย์
และนางสีดา คือ นางแก้วในอุดมคติของคนอินเดีย

สถานที่ที่เชื่อกันว่าพระรามประสูติในรัฐอุตตรประเทศนั้น ชาวฮินดููในสมัยปัจจุบันเชื่อกันว่าชาวฮินดูโบราณได้สร้างวัดถวายเอาไว้ด้วย

นวนิยายเรื่องนี้ ได้รับความกระทบกระเทือนเมื่อปี ค.ศ.1526 หรือ 481 ปี
ก่อน เมื่อกษัตริย์บาบาร์ ผู้สืบเชื้อสายจากเจงกีสข่าน ของมองโกเลีย ยึดอินเดียได้จึงสถาปนาราชวงศ์โมกุล ราชวงศ์นี้นับถือศาสนาอิสลาม 

อีก 2 ปีต่อมา มีการสร้างมัสยิดตรงสถานที่ที่เชื่อว่าเคยสร้างวัดฮินดูมาก่อน  (อันนี้ คือการที่กษัตริย์ ไปย่ำยีหัวใจของฮินดูเป็นครั้งแรก) 

39 ปี ต่อมา ค.ศ.1855 ฮินดูกับมุสลิมตีกันเรื่องนี้ที่เมืองอโยธยา วัดของกู
มัสยิสของกู กูมาก่อน มึังมาหลัง สุดท้ายก็มีมีคนตายสังเวยความเชื่อใน
นวนิยายของลัทธิตนเองไป 75 คน 

อีก 2 ปีต่อมา นักบวชชาวฮินดูสร้างที่บูชาพระรามเล็ก ๆ ใน มัสยิดบาบรี ทั้งชาวฮินดูและมุสลิม ต่างเดินเข้าไปในบริเวณนี้เพื่อปฏิบัติ ศาสนกิจของตน
เหมือนจะซ่อนนัยยอะไรบางอย่าง เช่น อยู่ร่วมกันได้ แต่ดูอีกมุมหนึ่งก็เหมือน
ฮินดูเจตนา ดูหมิ่นอีกศาสนาหนึ่ง เพื่อเป็นการแก้แค้น ที่เองดันมาสร้าง
มัสยิสแทนที่วัดเก่าของ ฮินดู มันหยามกันนี่หว่า 


ถ้าพิจารณาโดยพื้นฐาน พวกฮินดูนี่ แม้แต่ศาสนาเดียวกัน(ฮินดู) ก็บลัฟกันเองอยู่ประจำ พระอิศวร พระนารายณ์ พระศิวะ พระวิษณุ พระอะไรต่อมิอะไร องค์นี้เหนือกว่า องค์นี้ สร้างไอ้นี่ องค์นี้มีฤทธิ์ปราบไอ้นั่น  จนผลสุดท้าย ทะเลากันเอง กว่าจะจบลงได้ ต้องแต่งนวนิยายเรื่องใหม่ คือ ตรีมูรติ เพื่อให้
บรรดาพระเจ้า ปรองดองกันได้ แบ่งกันใหญ่ แบ่งกันเก่งได้

ย้อนกับไปที่ความขัดแย้งเรื่องนี้ หลายปีต่อมา ความขัดแย้งระหว่างคน 2 ศาสนาก็ยังฮึ่มๆใส่กัน อังกฤษผู้ปกครองคนใหม่ก็จึงทำกำแพงแยกกันซะเลย 

นักบวชฮินดูขออนุญาตทางราชการเพื่อสร้างวัดฮินดู แต่ศาลปฏิเสธ แม้ว่าจะอุทธรณ์ แต่ก็ยังโดนปฏิเสธ (อิอิ ศาลนับถือลัทธิอะไร) 

ความขัดแย้งระหว่าง 2 ศาสนาในการแย่งสถานที่แห่งนี้ระบาดเป็นการจลาจลไปทั่วประเทศ

เหตุมันเกิดเพราะขัดแย้งกัน แต่ดูไปดูมา เวลาประชาชนทะเลาะกัน
เอาเรื่องไปพึ่งศาล ซึ่งเป็นที่พึ่งสุดท้าย  พอศาลตัดสินออกมาไม่
ถูกใจฝ่ายใดฝายหนึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาละครับ ก็ไม่สบอารมณ์
ไม่ฝายใดก็ฝ่ายหนึ่งที่แพ้ความ  แต่กรณีนี้ ศาลในอินเดีย ท่านก็
นับถือศาสนาหนึ่งในสองที่เขากำลังตีกันนี่แหละครับ ผลของการ
ตัดสินย่อมไม่เป็นที่สบอารมณ์แน่นอน

ค.ศ.1949  มีคนฮินดูอุตริ แอบเอารูปเคารพของพระรามและนางสีดา เข้าไปวางไว้ในมัสยิด ทั้ง ๆ ที่ทราบว่า อิสลามไม่มีรูปเคารพ ก็ทะเลาะกันอีก รัฐบาลอินเดีย ไม่รู้จะแก้ปัญหานี้ยังงัย ก็เลยประกาศให้ให้ศาสนสถาน
แห่งนั้นเป็นดินแดนพิพาท และไขกุญแจปิดตายมัสยิด (ทะเลาะกัน
ดีนัก  มึงไม่ต้องใช้ทั่งคู่แหละ)

ปีถัดมาทั้งมุสลิมและฮินดูไปยื่นขอต่อศาลขอเป็นเจ้าของที่ดิน แต่ศาลยืนกรานแบบเดิม คือ ถ้ามึงยังทะเลาะกันไม่เลิก ได้ไม่ต้องใช้มันทั่งคู่และวะ

ค.ศ.1983  ฮินดูรุกคืบใหม่ โดยอาศัยสภาฮินดูโลก รณรงค์จะสร้างวัดฮินดูตรงมัสยิดที่ว่า (นัยยก็คือการแก้แค้น เพราะเองมาสร้างมัสยิสทับวัดของตรู) ฮินดูขอให้ศาลเปิดกุญแจ 

อีก 3 ปีถัดมา ศาลตำบลก็ออกคำสั่งให้เปิดมัสยิด (ศาลท่านนี้ เป็นฮินดูหรือป่าว อิอิ) ให้คนฮินดูเข้าไปสักการะในมัสยิดได้ ทำให้มุสลิมทั้งโลกโศกเศร้า และจำเป็นต้องเศร้า และจำเป็นต้องขยายความเศร้าให้มาก ๆ เพราะว่า มุสลิมทั้งโลกเป็นพี่น้องกัน ตามที่มีคนเอามาปลุกปั่น

ค.ศ.1989 เมื่อ 18 ปีก่อน นายกรัฐมนตรีอินเดีย นายราจีฟ คานธี อนุญาตให้มีการฉลอง การขุดดินเพื่อสร้างวัดฮินดู ซึ่งอยู่ห่างจากมัสยิดเพียง 58.5 เมตร จึงเกิดความขัดแย้ง ทางศาสนา ตามด้วยมีการจลาจลใหญ่ คนตายไป 600 คน

ค.ศ.1990 ผู้นำฮินดูก็เริ่มเดินขบวนด้วยรถม้าเพื่อชักชวนให้มีการสร้างวัดพระราม เหตุการณ์บานปลายทำให้มีอาสาสมัครศักดิ์สิทธิ์ฮินดูมารวมตัวกัน
ที่อโยธยาหลายหมื่นคน ตำรวจยิงตายไป 30 คน (เหตุการณ์ครั้งนั้นก็เพราะวา ตำ ที่ยิงคนตายไป ไม่ใช่ตำรวจ แต่เป็๋นตำเลาะ) 

รายงานข่าวไม่ได้เคยบอกให้โลกทราบว่า ตำรวจเหล่านั้นเป็นมุสลิม 
อาสาสมัครบางกลุ่มก็โต้กลับด้วยการเล่นงานมุสลิมใกล้มัสยิด พวกมุสลิมก็จับอาวุธสู้ ทำให้มียอด คนตายเพิ่มไปอีกกว่า 100 คน


บั้นปลายท้ายที่สุด ก็จะมีการสร้างวัดฮินดูในอาณาบริเวณที่่มุสลิมบอกว่า ย่ำยีหัวใจมุสลิม มันมีมัสยิดบาบรี อยู่  โดยมุสลิมเจตนาหลงลืมว่า
มัสยิสดังกล่าวนั้น สร้างลงทับพื่้นที่วัดเดิมของฮินดูอยู่ ต่างคนต่างอ้าง เอาเฉพาะที่เป็นประโยชน์ต่อลัทธิของตนเอง

นายกรัฐมนตรีนาราสิมฮา ราว ขอให้หยุด ปะทะกันซัก 3 เดือน เมื่อพ้น 3 เดือน คนฮินดู 3 แสนมารวมตัวกัน อาสาสมัครศักดิ์สิทธิ์ หลายพัน ที่มีแค้นฝั้งหุ่นที่ว่า พวกเองมาสร้างมัสยิส ทับที่วัดเก่าของตรู ก็ได้เข้าไปทำลาย มัสยิดอีก

แล้วเรื่องราววันนี้ในอดีตที่ผมอ่านเมื่อตะกี้นี้ ก็มาถึง  27 ก.พ. 2545 
ชาวฮินดูผู้เดินทางจะไปเมืองอโยธยา ถูกมุสลิมจุดไฟเผาในขบวนรถไฟ พวกฮินดูจึงโต้ตอบกลับ คราวนี้ตายไป 500 คน

ทุกวันนี้ ทุกทีที่มีการปลุกระดมให้ทําลายมุสลิม 
พวกฮินดูหัวรุนแรงก็มักจะยกเอาพระรามในเรื่องรามเกียรติ์มาอ้าง 
ส่วนพวกฮินดูสันติก็อ้าง นางสีดา นางเคยบอกพระรามตอนที่จะตามยักษ์แห่งป่าทันทกาไปว่า “ท่านกำลังทำบาปซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของพวกอวิชชา ที่คนโง่มักเอียงเข้าไปหา บาปที่ว่าคือการสังหารคนที่ไม่ได้ทำความผิด โอ้ ผู้เป็นวีรบุรุษ คำสวดของฉันก็คือ เมื่อท่านถือศรเป็นอาวุธ ท่านก็จะทำสงครามกับพวกยักษ์ผู้มีป่าเป็นบ้าน ท่านต้องไม่ฆ่าผู้ที่ไม่ผิด”


ทั้งหมดนั้นก็คือความเดือดร้อนรำเค็ญ เพราะดันไปอ่านนิยายคนละเล่ม
นับถือคนละแบบ  ทีนี้ถ้านับถือคนละแบบ ถ้าต่างคนต่างอยู่จะไม่เกิด
เรื่องนี้ขึ้นมาเลย  นับตั้งแต่มุสลิมคนแรกย่ำยีฮินดู คือกษัตริย์บาบาร์ 
ผู้สืบเชื้อสายจากเจงกีสข่าน ดันทรงพระทะลึงไปสร้างมัสยิสทับลง
บนวัดฮินดู ที่มีตั้งมากมาย ก็ไม่ทรงGet  ดันไป Get บนวัดฮินดู

มันก็เลยล้างแค้นกันไปล้างแค้นกันมา แล้วอ้างอ้างนวนิยายของ
ลัทธิตัวเอง เพื่อสร้างความชอบ(ทำ)ธรรม ในการรุกรานศาสนาอื่น
ฆ่าคนลัทธิอื่น แล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ พวกเราทุกคนในโลกเป็นพี่น้องกัน
แต่ไม่เป็นพี่น้องกับศาสนาอื่น  เพราะฉนั้น เราจึงมีความชอบธรรม
ในการรุมกินโต๊ะมัน เหยียบย้ำย่ำยีมัน  เรื่องมันก็เท่านั้น

ต้นตอของต้นเหตุ ก็คือคำสอนในศาสนา ที่สอนให้ศาสนิกของตนเอง
เบียดเบียนผู้อื่น โดยอ้างพระเจ้าได้ คนเลว ๆ ในศาสนานั้น ๆ ก็หยิบ
ยกเอาคำสอนนั่นแหละ มาสนับสนุนการทำควมเลวริยำของตนเอง
เพื่อจะบอกว่า สิ่งที่ฉันทำนี้ ถูกต้อง เพราะพระเจ้าทรงบัญชา

เหมือนกับตอนนี้ ที่พระเจ้าในบางศาสนา กำลังสั่งให้แบ่งแยกดินแดน สั่งให้ปล้นปืน สั่งให้ฆ่าไทยพุทธ สั่งให้เผาวัด สั่งให้วางระเบิด โดยการสนับสนุนจากผู้ก่อการร้ายนอกประเทศ ที่อ้างว่า มุสลิม ทุกคนในโลกนี้ เป็นพี่น้องกัน  

แต่โชคดีของมุสลิมเหล่านั้น ก็เพราะ 
พระพุทธศาสนา ไม่มีคำสอนใด ๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ทรงสอนให้เบียดเบียนผู้อื่น หรือศาสนาอื่น เลย
สาธุ....

แล้วที่นี้ โศกนาฏกรรม ประจำวันที่ 27 ก.พ. จะด่าใครดีละ............
ผมว่าท่านผู้อ่านคงด่าอยู่ในใจแหละ .........เลือกเอาเอง
แต่อย่ามาด่าผมก็แล้วกัน  อิอิ...........


เพราะโผมม่ายรู้ ผมม่ายฉะบาย.........อิอิ


ลุงคำต๋ำ

ศาลอินเดียพิจารณาคดีพื้นที่พิพาท ฮินดู-มุสลิม
อินเดียพร้อมรับมือความวุ่นวายจากการพิจารณาคดีของศาล ต่อกรณีข้อพิพาทระหว่างฮินดู มุสลิม ที่ยืดเยื้อยาวนานเหนือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์



     สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน (30 กย.)ว่า อินเดียเตรียมพร้อมรับมือความวุ่นวายจากการพิจารณาคดีของศาล ต่อกรณีข้อพิพาทระหว่างฮินดู มุสลิม อันยืดเยื้อยาวนานเหนือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะเป็นบททดสอบสำคัญต่อสถานะความสัมพันธ์ของศาสนาในประเทศ

     กำลังเสริมของทหารหลายพันคน ประจำการอยู่ทั่วพื้นที่เมืองอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือของอินเดีย อดีตที่ตั้งของมัสยิดบาบรี ในศตวรรษที่ 16 ซึ่งต่อมาถูกกลุ่มฮินดูเผาทำลายเมื่อปี 1992 อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกลุ่มศาสนาต่างอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าว

     ศาลสูงของรัฐอุตตรประเทศจะพิพากษาว่า ฝ่ายไหนควรครอบครองพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งทำให้รัฐบาลกระวนกระวายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากขณะนี้กำลังเตรียมการเป็นเจ้าภาพ มหกรรมกีฬาเครือจักรภพ ในกรุงนิวเดลี ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันอาทิตย์ (3 ต.ค.) นี้ ซึ่งการทำลายมัสยิดบาบรี ก่อให้เกิดความรุนแรงต่อสาธารณชนมากที่สุดในอินเดีย นับตั้งแต่การแบ่งแยกอินเดียเมื่อปี 1947 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2,000 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม

     และเมื่อไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลได้ออกประกาศคำวิงวอนต่อสาธารณชน ให้ช่วยกันรักษาความสงบต่อหน้าคณะลูกขุน รวมทั้งมีการลงประกาศในหนังสือพิมพ์ เพื่อเรียกร้องทั้งสองกลุ่มเคารพกฎหมาย และมีการเกณฑ์กองกำลังความมั่นคงจำนวนหลายหมื่นคนเข้ารักษาความสงบ ด้านอินเดีย และปากีสถาน ประเทศเพื่อนบ้าน อาจกล่าวได้ว่าเกิดมาเพื่อขัดแย้งซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากกำเนิดปากีสถาน ผ่านการแบ่งแยกอนุทวีปแห่งนี้เมื่อปี 1947 ได้ก่อให้เกิดการปะทะกันของผู้นับถือศาสนาที่ต่างกัน ซึ่งส่งผลให้ผู้คนเป็นล้านคนเสียชีวิต

     ทั้งนี้ ประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวจะได้รับการทดสอบ เมื่อศาลสูงจะเริ่มพิจารณาคดีเวลา 10.00 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) ซึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้งในเมืองอโยธยา ที่กลายเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกลุ่มฮินดูชาตินิยมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้ประจำการทั่วเมืองอโยธยาอย่างเข้มงวด รวมทั้งสถานที่ที่อาจเกิดเหตุปะทะอื่นๆ อีก 32 แห่งทั่วอินเดีย โดย 4 แห่งตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุด

     พี ชิดัมบาราม รัฐมนตรีมหาดไทย ให้ข้อมูลว่า เฉพาะในรัฐอุตตรประเทศมีกองกำลังประจำการอยู่แล้วจำนวน 190,000 คน ด้านชาวฮินดูกล่าวกันว่า มัสยิดบาบรี ซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิบาบาร์แห่งราชวงศ์โมกุล ตั้งอยู่บนพื้นที่ของโบสถ์ ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพของชาวฮินดู ทั้งนี้ ชาวฮินดูต้องการที่จะสร้างโบสถ์พระรามขึ้นแทนที่

     ศาลสูงจะพิจารณา 3 ประเด็นสำคัญด้วยกัน คือ พื้นที่พิพาทดังกล่าวเป็นสถานที่ประสูติของพระรามจริงหรือไม่, มัสยิดบาบรีสร้างขึ้นหลังจากการรื้อถอนโบถส์ฮินดูหรือไม่ และการสร้างมัสยิดขึ้นบาบรีขัดกับหลักศาสนาอิสลามหรือไม่

     อย่างไรก็ตาม การสู้คดีน่าจะยืดเยื้อกันจนถึงชั้นศาลสูงสุด ดังนั้น ทางออกของความขัดแย้งกว่า 60 ปีนี้ ก็ยังคงมืดมนต่อไป ซึ่งตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา พื้นที่ดังกล่าวตกอยู่ในการปิดล้อมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำนวนมาก


คำพิพากษาอโยธยา 
ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่อินเดียทั้งประเทศอยู่ในความตึงเครียดที่สุดช่วงหนึ่ง เหตุเพราะจะมีการตัดสินกรณีพิพาท ‘อโยธยา’ ว่าที่ดินผืนเล็กๆ อันเป็นที่ตั้งมัสยิด Babri ซึ่งถูกทุบทำลายโดยชาวฮินดูในปี 1992 ควรจะเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ฮินดูหรือมุสลิม คนทั่วทั้งประเทศต่างกลั้นใจรอ เพราะเกรงว่าผลของคำพิพากษาอาจนำไปสู่การนองเลือดอีกครั้ง แต่ที่สุดทุกฝ่ายก็หายใจทั่วท้อง เมื่อศาลพิพากษาให้คู่กรณีสามรายได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินไปเท่าๆ กัน และผู้คนที่มีทั้งพอใจและไม่พอใจกับคำพิพากษาต่างอยู่ในความสงบ

 มัสยิดบาบรีที่เป็นกรณีพิพาทนี้ตั้งอยู่ในเมืองอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ จากหลักฐานทางจารึกถือกัน ว่า Babur กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลพระองค์แรกรับสั่งให้ Mir Baqi สร้างมัสยิดแห่งนี้ขึ้นซึ่งแล้วเสร็จราวปี 1528-1529 ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและฮินดูปะทุขึ้นครั้งแรกในปี 1853 ด้วยชาวฮินดูเชื่อว่ามัสยิดนี้สร้างทับวัดฮินดูที่ถูกทุบทำลายลง ที่สำคัญบริเวณใต้โดมกลางของมัสยิดคือที่ประสูติของพระรามเทพองค์สำคัญในศาสนาฮินดู
หลังจากมีการไกล่เกลี่ยโดยทาง การสถานการณ์ค่อยเย็นลง จากบันทึกใน Faizabad Gazetteer ทั้งชาวฮินดูและมุสลิมสวดสักการะในตัวอาคารเดียวกันอยู่จนถึงปี 1859 เมื่อทางการซึ่งอยู่ในอำนาจการปกครองของอังกฤษ สั่งให้มีการกั้นรั้วพื้นที่สำหรับทำพิธีทางศาสนา โดยด้านในมัสยิดเป็นพื้นที่ของชาวมุสลิม ด้านนอกเป็นของชาวฮินดู


ในปี 1885 Mahant Raghubar Das ยื่นเรื่องต่อศาลขอสร้างวัดฮินดูขึ้นในพื้นที่ด้านนอก แต่ไม่ได้รับอนุญาต ต่อมาในคืนวันที่ 22 ธันวาคม 1949 มีคนลอบนำเทวรูปของพระรามเข้าไปตั้งไว้กลางมัสยิด ชาวมุสลิมพากันชุมนุมประท้วง ทั้งชาวมุสลิม และฮินดูต่างรวมกลุ่มกันยื่นฟ้องต่อศาลอ้างกรรมสิทธิ์ ในมัสยิดบาบรี รัฐบาลจึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปรักษาการ ระหว่างรอกระบวนการในชั้นศาล

วันที่ 6 ธันวาคม 1992 กลุ่ม Kar Savek ซึ่งปลุกระดมโดย Vishwa Hindu Parishad (VHP) กลุ่มฮินดูขวาจัด บุกเข้าทุบทำลายมัสยิดบาบรี หวัง ยึดพื้นที่คืนเพื่อสร้าง Ram Temple

เหตุการณ์ลุกลามไปสู่การปะทะระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมทั่วประเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน และเป็นต้นตอของการนองเลือดที่ตามมาอีกหลายครั้ง
กรณีที่ชาวฮินดูในรัฐคุชราตบุกโจมตีและฆ่าชาวมุสลิม ในปี 2002 ก็สืบเนื่องจากข่าวลือว่าเหตุเพลิง ไหม้ในรถไฟที่สถานีโกรา เป็นฝีมือชาวมุสลิมที่มุ่งแก้แค้นชาวฮินดูที่จะไปแสวงบุญที่อโยธยา ซึ่งเหตุการณ์ทั้งสองกรณี การทุบทำลายมัสยิดบาบรีและการนองเลือดในรัฐคุชราตต่างเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวนในชั้นศาลแยกออกไป


สำหรับคดีสิทธิ์เหนือมัสยิดบาบรีนี้ ปัจจุบันมีกลุ่มตัวแทนและองค์กรทั้งฮินดูและมุสลิม ยื่นฟ้อง ต่อศาลอ้างสิทธิ์รวม 28 ราย

ซึ่งตลอดหกทศวรรษที่ผ่านมาศาลยังไม่เคยสรุปคดี กระทั่งเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ศาลสูงเมืองอัลลาห์บัดประกาศว่าจะมีการ พิพากษาในวันที่ 23 แต่ต้องเลื่อนออกไปถึงสองครั้ง ในที่สุดมีการอ่านคำพิพากษาขึ้นในวันที่ 30 กันยายน ซึ่งในห้วงเวลานั้น หัวเมืองใหญ่ทุกเมืองในอินเดียโดยเฉพาะเมืองอัลลาห์บัด ล้วนอยู่ภายใต้การรักษาความปลอดภัยขั้นสูง และมีการระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจและกองกำลังพิเศษต่างๆ เต็มอัตราเพื่อรับมือกับสถานการณ์

หากผลคำตัดสินจุดชนวนให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ผู้นำศาสนาทั้งสองฝ่ายต่างเรียกร้องให้ศาสนิกชนรับฟังคำตัดสินโดยสงบ


ผู้พิพากษาที่ร่วมตัดสินคดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ประกอบด้วยผู้พิพากษา Dharam Veer Sharma, Sudhir Agarwal และ Sibghat Ullah Khan ทั้งสามขึ้นบัลลังก์อ่านคำพิพากษาแยกกัน โดยที่ผู้พิพากษา 2 ใน 3 ตัดสินให้

แบ่งที่ดินผืนดังกล่าว เป็น 3 ส่วนเท่าๆ กันและมอบสิทธิ์ในการจัดการดูแลแก่ผู้ยื่นร้อง 3 ราย ได้แก่ Ram Lalla (กลุ่มตัวแทนเทวรูปของพระราม), Sunni Central Waqf Board (ตัวแทนฝ่ายมุสลิมกลุ่มสำคัญ) และ Nirmohi Akara (ชาวฮินดู นิกายหนึ่งที่อ้างสิทธิ์การจัดการดูแลที่ประสูติของพระรามมาแต่ต้น) โดยที่ประดิษฐานของเทวรูปพระราม ปัจจุบันหรือพื้นที่ใต้โดมกลางของมัสยิดเดิมให้เป็นสิทธิ์ของ Ram Lalla


นอกเหนือจากเรื่องสิทธิ์ ผู้พิพากษายังตัดสินประเด็นสำคัญหลายประเด็นในคดีนี้ แม้จะมีคำตัดสินต่างกันไปบ้าง พอสรุปได้ว่า

ไม่มีผู้ใดถือสิทธิ์ขาดในที่ดิน ดังกล่าวเพราะชาวมุสลิมและฮินดูต่างสวดสักการะในที่เดียวกันมาก่อนปี 1859

ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าโครงสร้าง ที่ตกเป็นข้อพิพาท (มัสยิดบาบรี) สร้างโดยบาเบอร์กษัตริย์โมกุล โครงสร้างดังกล่าวสร้างบนซากศาสนสถานของฮินดู
แต่ไม่มีหลักฐานบอกได้แน่ชัดว่ามีการทุบทำลายศาสนสถานเดิม สำหรับที่ตั้งเทวรูปของพระรามในปัจจุบัน
ศาลตัดสินว่ายึดตามศรัทธา และความเชื่อของชาวฮินดูแล้วที่ดังกล่าวถือเป็นที่ประสูติของพระราม ส่วนเทวรูปนั้นไม่ได้มีมาแต่เดิม แต่มีผู้นำเข้าไปวางในคืนวันที่ 22 ธันวาคม 1949


ชาวอินเดียโดยรวมรับฟังคำพิพากษาโดยสงบ ไม่มีรายงานการปะทะหรือความรุนแรงใดๆ นายกฯ มานโมฮัน ซิงห์กล่าวชื่นชมประชาชนที่ให้ความเคารพต่อศาลและตอบรับสถานการณ์ครั้งนี้อย่างสง่างาม

ฝ่ายรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยนอกจากจะ ร่วมชื่นชมปฏิกิริยาตอบรับของประชาชนยังได้เสริม ย้ำว่าคำตัดสินนี้ไม่ได้ให้ความถูกต้องแก่กรณีการทุบทำลายมัสยิดบาบรี การกระทำนั้นยังถือว่าผิดตามกฎหมาย ความเห็นของเขาแม้จะถูกในหลักการ แต่ถูกประณามโดยพรรคฝ่ายค้านว่าไม่ถูกกาลเทศะ อาจทำให้เชื้อไฟที่คุนิ่งอยู่ลุกโหมขึ้นมาอีก


คำพิพากษาครั้งนี้หลายฝ่ายเรียกว่าเป็นงานเซอร์ไพรส์ บ้างเรียกว่าเป็นฉบับประนีประนอม แต่หลายภาคส่วนก็ผิดหวัง และแสดงความเห็นคัดค้าน ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของรัฐอุตตรประเทศกล่าวว่า ชาวมุสลิมรู้สึกเหมือนถูกโกง และตนผิดหวังที่ศาลยุติธรรมให้น้ำหนักกับศรัทธาความเชื่อมากกว่าหลักฐานข้อเท็จจริงและตัวบทกฎหมาย

ประเด็นที่ศาลยึดหลักศรัทธาความเชื่อมาใช้ในการพิพากษานี้ ได้รับการโจมตีอย่างหนักจากหลาย แวดวงวิชาการ ดร.ราจีฟ ธาวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญมองว่าเป็นการไกล่เกลี่ยแบบ ‘ศาลหมู่บ้าน’

“หนึ่งส่วนให้มุสลิม สองส่วนให้ฮินดู

ทั้งๆ ที่เดิมเป็นของชาวมุสลิม เป็นคำตัดสินที่ไม่ได้ยึดในตัวบทกฎหมาย ไร้ความถูกต้องทางศีลธรรม และวางมาตรฐานที่จะก่อผลเสียในอนาคต” ขณะที่ผู้พิพากษาราจินดาร์ ซาชาร์ อดีตผู้พิพากษาศาลสูง เดลีให้ความเห็นว่า ศรัทธาความเชื่อไม่มีนัยสำคัญในระบบศาลสถิตยุติธรรม คำตัดสินครั้งนี้มีแต่จะให้ความถูกต้องแก่เรื่องที่ประสูติของพระราม ซึ่งเป็นการเขียนประวัติศาสตร์ แบบ ‘ขวาจัด’ และยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันในทางประวัติศาสตร์


แวดวงนักประวัติศาสตร์เองก็มีผู้แสดงความเห็น คัดค้าน โดยเฉพาะการที่ศาลดูเหมือนจะใช้รายงานของ Archeological Survey of India เป็นตัวตั้ง ทั้งที่ข้อมูล และข้อสรุปหลายส่วนยังเป็นประเด็นร้อนที่โต้เถียงกันอยู่ในทางวิชาการ ศาสตราจารย์ ดี. เอ็น จา หนึ่งในทีมนักประวัติศาสตร์อิสระที่เข้าไปสำรวจมัสยิดบาบรีและยื่นรายงานต่อรัฐบาลไว้ตั้งแต่ปี 1991

ก่อนมัสยิดจะถูกทุกทำลายลง ชี้ว่ารายงานของ ASI เต็มไปข้อมูลที่ลักลั่นและอโยธยาเริ่มกลายเป็นที่แสวงบุญก็ราวปลายศตวรรษที่ 17 ซึ่งในรายงานที่นักประวัติศาสตร์อิสระทีมนี้ยื่นต่อรัฐบาล กล่าวว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา

VHP กลุ่มฮินดูขวาจัดไม่เคยสามารถอ้างอิงจารึกหรือคัมภีร์โบราณใดๆ ที่ระบุถึงที่ประสูติของพระราม ตำนานที่ว่า มัสยิดบาบรีสร้างโดยการทุบทำลายวิหารฮินดูและตั้งอยู่บนที่ประสูติของพระรามนั้น เริ่มแพร่พลายก็ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้จากการตรวจสอบจารึกภาษาเปอร์เซียในตัวมัสยิดบาบรีเองและคัมภีร์โบราณของฮินดูที่ร่วมสมัยกับการสร้างมัสยิดดังกล่าว ก็ไม่มีการกล่าวถึงการทุบทำลายวิหารฮินดูหรือเรื่องที่ประสูติของพระรามไว้เลย


หลังคำพิพากษา ตัวแทนฝ่ายมุสลิมและฮินดู ต่างเฉดต่างสีที่เป็นโจทย์ในคดีนี้ แสดงปฏิกิริยาต่าง กันไป ส่วนใหญ่รับฟังแต่ไม่ยอมรับ หลายกลุ่มประกาศชัดว่าจะอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุด บางกลุ่มหันมาเจรจาหาข้อตกลงนอกศาล

หนึ่งในแกนนำของ Nirmohi ตั้งข้อสังเกตว่า “ถ้าปล่อยให้เป็นเรื่องของชาวฮินดูและมุสลิมเมืองอโยธยาจัดการกันเอง คุยกันไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็คงตกลงกันได้” คำกล่าวนี้มีนัยว่าเรื่องนี้ถูกทำให้บานปลายกลายเป็นเหตุนองเลือดก็เพราะคนนอก โดยเฉพาะกลุ่มก้อนที่หวังผลทางอำนาจและการเมือง


คำกล่าวนี้ไม่ได้เพ้อพกเกินเลย ดังมีตัวอย่าง กรณีหมู่บ้าน Gotkhindi ในเมือง Sangli ที่ชาวบ้าน ฉลองเทศกาลบูชาพระพิฆเนศด้วยการตั้งเทวรูปในมัสยิด ประเพณีที่หาได้ยากนี้เริ่มขึ้นในปี 1979 ในเทศกาลครั้งนั้นชาวฮินดูทำพิธีกันกลางแจ้งเนื่องจาก ไม่มีปัจจัยสร้างปะรำพิธีแล้วเกิดฝนตกหนัก

ชาวมุสลิมในหมู่บ้านเห็นว่าพระพิฆเนศต้องตากฝน จึงเรียกให้เพื่อนบ้านชาวฮินดูนำเทวรูปเข้าหลบฝนบูชา ในมัสยิด ความภูมิใจในความสมานฉันท์ของคนในชุมชนทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติมาจนถึง ทุกวันนี้


แม้ข้อพิพาทมัสยิดบาบรี-ที่ประสูติพระรามมีเค้าว่าจะยังหาข้อยุติที่ลงตัวไม่ได้ในเร็ววัน แต่การที่ชาวอินเดียรับฟังคำพิพากษาครั้งนี้โดยสงบ ก็น่าจะเป็นความหวังได้ว่า ‘ความอดกลั้น’ ต่อความคิดต่างเห็นต่าง ต่อความไม่ชอบธรรม และความต่างทางศาสนา อาจจะกลับมานำรัฐนาวาของอินเดียข้ามพ้นปมความขัดแย้งโดยสันติไปได้อีกห้วงหนึ่ง


ลุงคำต๋า

สงครามศาสนาในอนุทวีป ปะทุรุนแรง รัฐบาลดึงการเมืองเข้าพัวพัน สถานการณ์ในอินเดีย กำลังร้อนแรง ความขัดแย้งในเรื่องความเชื่อ ในลัทธิศาสนา กำลังถูกดึงเข้าไปเป็นประเด็นการเมือง 
ก่อนที่พรรคภาราติยะชนะตะ หรือบีเจพี ของนายอะตาล   วัชปายี   จะเกิดขึ้นบริหารประเทศ  มีการปะทะกัน ระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิมอยู่ประปราย 
แต่หลังจากที่พรรคบีเจพี ขึ้นเป็นรัฐบาล มีการปะทะขึ้น บาดเจ็บ ล้มตาย เพราะเรื่อง ความแตกต่าง ในการนับถือศาสนา เพิ่มขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

เหตุการณ์ปะทะกันครั้งร้ายแรงที่สุด  เกิดขึ้นที่เมืองอาห์วา  เป็นเมืองเล็กๆ ที่มีพลเมืองเพียง 10,000 คน อยู่ทางภาคตะวันตก ของรัฐกุจราช ชาวฮินดูหลายพันคน ได้จัดการขุมนุมเดินขบวนไปตามท้องถนน ประนามการจัดงานเทศกาล ตามคตินิยมของคริสเตียน

ต่อมาม็อบถูกกระตุ้นให้เกิดความโกรธแค้นอย่างหนัก   ถึงกับยกพวกเข้าทำลายโรงเรียนของชาวคริสเตียน ที่ ดีพดาร์ชาน ในขณะที่แม่ชีกำลังสอนนักเรียนอยู่ 

ในวันต่อมา  โรงเรียนที่ดำเนินการโดย  คณะเจซูอิต ในอีกหมู่บ้านหนึ่ง ถูกม็อบในลักษณะเดียวกัน เข้าจู่โจมทำลาย ทำให้บาดหลวงเจซูอิต ได้รับบาดเจ็บหลายคน       ในสัปดาห์ต่อมา ชุมชนคริสเตียน อีก 20 แห่งถูกม็อบฮินดูบุกเข้าทำลาย

ทางด้าน  นายอะตาล บิหารี วัชปายี นายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำพรรคฮินดู หัวรุนแรง (เพราะลัทธิความเชื่อของตรู ได้ประโยชน์ ) ก็วางเฉยกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น 

นายอโศก  สิงฮาล ผู้นำกลุ่มวิศวะ ฮินดู ปาริชัด หรือวีเอชพี อันเป็นกลุ่มฮินดูหัวรุนแรง กล่าวว่า เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสถานการณ์ของชาวคริสต์เอง เพื่อเป็นการเรียกความสนใจจากสังคม และหวังจะกำจัดฮินดู ออกจากถิ่นของตน
นายพลเดนซิล คีลเลอร์ นายทหารอากาศที่มีชื่อเสียง ที่นับถือคริสเตียนคนหนึ่ง กล่าวว่า กลุ่มวีเอชพี มีแผนการ 3 ปี ที่จะเปิดศึกขั้นเด็ดขาด กับกลุ่มมิชชนนารีคริสเตียน และเปลี่ยน ชาวคริสเตียน ให้มานับถือฮินดู ให้หมด แม้ว่าชาวคริสเตียนในอินเดีย   จะถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในอินเดีย   แต่ก็มีผู้นับถือศาสนาคริสต์อยู่ถึง 23 ล้าน

ส่วนในปากีสถาน สถานการณ์รุนแรงกว่าหลายเท่า เพราะกฎหมายปากีสถานบัญญัติว่า ผู้ที่นับถือศาสนาอื่น (ที่ไม่ใช่ มุสลิม) ถือเป็นการประกอบอาชญากรรมอย่างหนึ่ง มีการจับกุมคุมขังผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ไปดำเนินคดี  และมักลงเอย ด้วยการจะเสียชีวิตของจำเลย  ด้วยเหตุต่างๆ ก่อนการดำเนินคดีจะสิ้นสุด บางรายจะถูกประชาทัณฑ์จนถึงแก่ชีวิต ก่อนที่จะถึงมือตำรวจ เป็นที่น่าเป็นห่วง ว่าหากถึงจุดที่สุดจะทนทาน ผู้ที่นับถือศาสนาอื่น อาจจับอาวุธเข้าต่อสู้ก็ได้

สงครามศาสนา ในอินเดีย  เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1526 เมื่อกษัตริย์บาบาร์ ผู้สืบเชื้อสายจากเจงกีสข่าน ของมองโกเลีย ยึดอินเดียได้จึงสถาปนาราชวงศ์โมกุล ราชวงศ์นี้นับถือศาสนาอิสลาม 

อีก 2 ปีต่อมา มีการสร้างมัสยิดตรงสถานที่ที่เชื่อว่าเคยสร้างวัดฮินดูมาก่อน  (อันนี้ คือการที่กษัตริย์ ไปย่ำยีหัวใจของฮินดูเป็นครั้งแรก) 
 
ยุคปัจจุบันเมื่อพรรคบีเจพี อันเป็นพรรคฮินดูหัวรุนแรง  ได้ปลุกม็อบเข้ารื้อสุเหร่าในเขตเมืองอโยธยา  เพื่อสร้างโบสถ์ฮินดูขึ้นบริเวณนั้น เพราะถือว่า เคยเป็นที่ตั้งของ วัดฮินดูเก่าแก่ สงครามระหว่างฮินดูกับมุสลิมในอินเดีย ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มีการยกพวกเข้า ปะทะกัน ในที่ต่างๆ  ทั่วประเทศ  และลุกลามเข้าไปในเมืองบอมเบย์ อันเป็นเสมือนเมืองหลวงของมุสลิมในอินเดีย 

เมื่อถึงขั้นนี้ มุสลิมในอินเดีย ซึ่งมีอยู่ถึง 120 ล้านคน ประกาศสู้ โดยวางแผนการตั้งรับและตอบโต้อย่างมีระบบ ทำให้ฮินดูหัวรุนแรงเข็ดขยาด ไม่กล้าตอแยมุสลิมนับแต่นั้น

อย่างไรก็ตาม  การปะทะกันของผู้นับถือศาสนาต่างๆ  ในอินเดีย  ยังจะสงบไม่ได้   ตราบใดรัฐบาล ไม่ได้รับความเชื่อถือ จากกลุ่มคนศาสนาอื่น     โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลของพรรคบีเจพี  ซึ่งโปรฮินดูอย่างเต็มที่ (ถ้าโปรอิสลาม อาจไม่มีปัญหานะครับ อิอิ...)บริหารประเทศ  การใช้กำลังทหารเข้าระงับเหตุ ไม่มีทางสัมฤทธิ์ผล เพราะต่างถูกมองว่า จะต้องเข้าข้างฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาเดียวกับผู้นำรัฐบาล

ได้ฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอินเดียแล้ว   รู้สึกเศร้าสลดใจ  ที่ผู้คนหันมาทำร้ายประหัตประหารกัน เพราะ การที่ต่างมีความศรัทธาเชื่อถือกันคนละอย่าง  กระแสที่เกิดขึ้นจาก บุคคลบางกลุ่ม บางเหล่านั้น เป็นมติมหาชนจริงหรือเปล่า อย่าหลับหูหลับตา เชื่อแต่กระแสอย่างคนสมองนิ่ม ปัญญาทราม เพราะหากไม่ใช่กระแสแท้ ผลที่ได้รับจะเป็นในทางตรงกันข้าม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม