วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มารู้จักกับ "ยาอัลปราโซแลม" ระบาดหนักในหมู่โจรฟาตอนี และเยาวชนใต้


                  ยาตัวนี้ มาระบาดใน ภาคใต้ ประมาน 10-11 ก่อน แต่จะเล่นในเพฉาะ ทหารเกณฑ์ไทยพุทธและ มุสลิม ที่ไปเกณฑ์ต่างบ้าน ต่างจังหวัด แล้วกับบ้านมา แล้วได้นำมาขยาย เขาสู่เยาวชน ในช่วงนั้น ไม่มีการ ควรคุม ยาชนิดนี้ และได้มีการเอาออกมา จำหน่ายอย่างเป้นจิงเป็นจัง เพราะราคา ถูก ขายได้กำไร แถมเห็นผล โดยยาชนิดนี้ ในภาคใต้ ระบาดใน นักเรียน มัธยม เร็วมาก ตอนนี้ก็ ยังมีการขาย อยู่ ในทุกกลุ่ม ทุกวัย
           ปัจจุบันมีการใช้ยาอัลปราโซแลม ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไปในทางที่ผิด เช่น นำไปใช้เป็นยานอนหลับอย่างแรงเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ หรือนำไปผสมในสารเสพติด

           ยาอัลปราโซแลม มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น “ซาแน็กซ์โซแลม” ในทางการแพทย์เราใช้ยาอัลปราโซแลม เพื่อบรรเทาหรือรักษาอาการวิตกกังวลและอาการตื่นตระหนก หรือใช้เป็นยานอนหลับในกรณีที่จำเป็น ที่มีประสิทธิภาพดีในทางรักษา


           สำหรับยาอัลปราโซแลมที่แพทย์ใช้มีอยู่ 3 ขนาด คือ 0.25 มิลลิกรัม 0.5 มิลิกรัม และขนาด 1 มิลลิกรัม โดยมีรูปร่างเม็ดรี สีที่เฉพาะตามขนาด คือสีขาว สีชมพู และสีม่วง ตามลำดับ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ยานี้ออกฤทธิ์เร็วหลังจากรับประทานไปประมาณ 20 นาที ดาบย่อมมีสองคมเช่นเดียวกันกับยาอัลปราโซแลม พบว่าผู้ที่ใช้ยาอาจมีอาการหลงลืม โดยจะจำเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้หลังจากที่รับประทานยาไป ทำให้เป็นที่มาในการใช้ยานี้เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ เพราะเหยื่อจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่ฤทธิ์ของยาจะคงอยู่ไม่เกิน 1 วัน และถ้าดื่มน้ำมากๆ ยาก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะจนหมด นอกจากนี้ การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติดยาได้ทั้งร่างกายและจิตใจ และหากหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา มีอาการคลื่นไส้ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้

            ปัจจุบัน มีการควบคุมการใช้ยาอัลปราโซแลมอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิด ซึ่งหากอยู่ในมือของแพทย์ก็จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์ แต่หากอยู่ในมือของผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากผู้อื่นในทางมิชอบ ก็จะกลายเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน เนื่องจากยาอัลปราโซแลม เป็นสารประกอบที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ถ้านำไปผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ที่ดื่มมีอาการง่วงซึม มึนงง สูญเสียการทรงตัวและสูญเสียความทรงจำ ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มต้องระมัดระวังกันมากขึ้น

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.สุวิทย์ เจริญศักดิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม