ความกลัวและความคิดแบ่งแยกดินแดนเริ่มจางหายไปเรื่อย ๆ เพราะเหตุผลทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว ประชาธิปไตยในบ้านเมืองเริ่มมีความมั่นคงมากขึ้น ประตูทางการเมืองได้เปิดกว้าง นักการเมืองมุสลิมได้รับการยอมรับเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง ในระดับรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง การเปลี่ยนแปลงนี้ เริ่มตั้งแต่ ทศวรรษที่ 90 (พ.ศ.2533) เป็นต้นมา นับตั้งแต่ปี 2533 สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ คือ การต่อสู้นอกระบบ (Underground) ได้ลดลง
แต่การต่อสู้ภายในระบบ (In-system) เริ่มได้รับการยอมรับจากประชาชนชาวไทยมุสลิม รวมทั้ง นักการเมืองมุสลิม เพราะระบบรัฐสภาไทยได้เปิดกว้างขึ้น เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บรรดาขบวนการใต้ดินทั้งหลายจำเป็นจะต้องปรับตัวเอง กับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในเมื่อตัวแทนของพวกเขาสามารถเข้าไปอยู่ในรัฐสภา และสามารถนำปัญหาของพวกเขา ไปสู่เวทีทางการเมืองอย่างเปิดเผย การต่อสู้นอกระบบการเรียกร้องแบ่งแยกดินแดน ไม่ได้รับตอบสนองจากประชาชนอีกต่อไป บรรดาขบวนการใต้ดินที่หลงเหลืออยู่นั้นเป็นเพียงขบวนการก่อการร้ายธรรมดา ๆ เท่านั้น"
สิ่งที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐควรกระทำคือ ลดเงื่อนไขและข้ออ้างของคนบางกลุ่ม ที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ มักจะยกเอามาเป็นข้ออ้างเพื่อต่อต้านรัฐว่า "ดินแดนนี้ เป็นของคน เชื้อชาติไทย เท่านั้น เราคนมลายู ไม่ใช่เจ้าของ แผ่นดินนี้ ฉะนั้น เราต้องต่อสู้ เพื่อได้มาซึ่งรัฐปัตตานี เป็นของเรา"
นี่คือข้ออ้าง ที่ใช้อยู่ในกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติเสมอมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น